ก่อนอื่นขอนำภาพ ดร ซาราห์ กิลเบิร์ต หัวหน้าทีมวิจัยมาให้ชมเพื่อเป็นเกียรติ
จบคณะวิทยาศาตร์ สาขาชีววิทยา ได้ปริญญาเอก งานวิจัยพันธุกรรมและชีวเคมีของยีสต์
มีเรื่องราวมากมายระหว่างการทำวัคซีนกว่าจะสำเร็จซึ่งจะนำมาขึ้นกระทู้ต่อไป
วันนี้เสนอภาพที่บอกว่าความสำเร็จหรือล้มเหลวของวัคซีนตัวนี้สำคัญกับโลกอย่างไร
จะเห็นว่าคำสั่งจองวัคซีนของประเทศต่างๆนั้นได้ฝากความหวังไว้กับวัคซีนตัวนี้อย่างมากเพียงใด
แม้แต่อเมริกาที่ผลิตทั้งวัคซีนไฟเซอร์ และโมเดอร์น่าก็ทุ่มหน้าตักไว้กับความสำเร็จของออกซฟอร์ดถึง 500 ล้านโดส
และสั่งวัคซีนที่วิจัยและผลิตในประเทศตัวเองเพียงบริษัทละ 100 ล้านโดสเพื่อครอบคลุมประชากรทั้ง 330 ล้านคน
ส่วนตัวคิดว่าไฟเซอรืและโมเดอร์น่าเพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยง ส่วนประชากรทั่วไป 250 ล้านคนจะได้ของออกซฟอร์ด
โดยบริษัทที่ผลิตวัคซีนออกซฟอร์มคือบริษัทในอเมริกาชื่อ Emergent BioSolutions
ซึ่งได้รับเงินจากทำเนียบขาวไปแล้ว $1,200m สำหรับเบื้องต้น 300 ล้านโดส
ส่วนรัฐบาลอินเดียสั่งไป 500 ล้านโดสจากบริษัทเซรุ่มที่ขายให้ในราคา $3 ต่อ 2 โดส
ภายใต้นโยบายที่ทีมวิจัยออกซฟอร์ดทำไว้กับผู้ผลิตให้ขายเพียงราคาทุนโดยค่าลิขสิทธิงานวิจัย ออกซฟอร์ดยกให้สาธารชน
ในขณะที่ผู้ผลิตเจ้าอื่นอาจมีค่างานวิจัยเข้ามารวมอยู่ในราคาด้วยซึ่งทำให้ราคาต่างกันเป็นสิบเท่าของวัคซีนออกซฟอร์ด
ถามว่าถ้ายกเลิกล่ะ ก็ทำได้ครับ แต่ไม่คืนเงินเพราะนั่นคือเงื่อนไขที่ทำไว้แต่ต้นเพื่อให้บริษัทผู้ผลิตนำไปลงทุนอุปกรณ์
ข่าวดีคือเฟส 3 ในอังกฤษอยู่ระหว่างประเมิน คาดว่าจะอนุมัติได้ก่อนปีใหม่ ส่วนประเทศอื่นๆก็จะทยอยอนุมัติตามๆกันไป
ประเทศโลกที่สามก็จะได้บริจาคเพียงแต่คงต้องรอให้จัดส่งให้คำสั่งซื้อล่วงหน้าเสร็จสิ้นไปแล้ว น่าจะปลายปีหน้า
โดยปลายปีหน้าจะได้รับวัคซีนมากขึ้นจากสายการผลิตใหม่ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษที่กำลังสร้างกันอย่างไม่หยุดเร่งด่วน
โดยมีชื่อว่า Vaccines Manufacturing & Innovation Centre (VMIC)
https://www.vmicuk.com/
ที่เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะสามารถผลิตวัคซีนได้ 70 ล้านโดสในเวลา 4 เดือน
โดยแนวคิดที่ว่า ไม่มีประเทศไหนปลอดภัยเมื่อประเทศอื่นยังมีโรค ดังนั้นวัคซีนจึงต้องทำเพื่อแจกจ่ายไม่ใช่เพื่อหากำไร
[covid-19] ทำไมวัคซีนออกซฟอร์ดจึงเป็นความหวังของคนทั้งโลก ในภาพเดียว
จบคณะวิทยาศาตร์ สาขาชีววิทยา ได้ปริญญาเอก งานวิจัยพันธุกรรมและชีวเคมีของยีสต์
มีเรื่องราวมากมายระหว่างการทำวัคซีนกว่าจะสำเร็จซึ่งจะนำมาขึ้นกระทู้ต่อไป
วันนี้เสนอภาพที่บอกว่าความสำเร็จหรือล้มเหลวของวัคซีนตัวนี้สำคัญกับโลกอย่างไร
จะเห็นว่าคำสั่งจองวัคซีนของประเทศต่างๆนั้นได้ฝากความหวังไว้กับวัคซีนตัวนี้อย่างมากเพียงใด
แม้แต่อเมริกาที่ผลิตทั้งวัคซีนไฟเซอร์ และโมเดอร์น่าก็ทุ่มหน้าตักไว้กับความสำเร็จของออกซฟอร์ดถึง 500 ล้านโดส
และสั่งวัคซีนที่วิจัยและผลิตในประเทศตัวเองเพียงบริษัทละ 100 ล้านโดสเพื่อครอบคลุมประชากรทั้ง 330 ล้านคน
ส่วนตัวคิดว่าไฟเซอรืและโมเดอร์น่าเพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยง ส่วนประชากรทั่วไป 250 ล้านคนจะได้ของออกซฟอร์ด
โดยบริษัทที่ผลิตวัคซีนออกซฟอร์มคือบริษัทในอเมริกาชื่อ Emergent BioSolutions
ซึ่งได้รับเงินจากทำเนียบขาวไปแล้ว $1,200m สำหรับเบื้องต้น 300 ล้านโดส
ส่วนรัฐบาลอินเดียสั่งไป 500 ล้านโดสจากบริษัทเซรุ่มที่ขายให้ในราคา $3 ต่อ 2 โดส
ภายใต้นโยบายที่ทีมวิจัยออกซฟอร์ดทำไว้กับผู้ผลิตให้ขายเพียงราคาทุนโดยค่าลิขสิทธิงานวิจัย ออกซฟอร์ดยกให้สาธารชน
ในขณะที่ผู้ผลิตเจ้าอื่นอาจมีค่างานวิจัยเข้ามารวมอยู่ในราคาด้วยซึ่งทำให้ราคาต่างกันเป็นสิบเท่าของวัคซีนออกซฟอร์ด
ถามว่าถ้ายกเลิกล่ะ ก็ทำได้ครับ แต่ไม่คืนเงินเพราะนั่นคือเงื่อนไขที่ทำไว้แต่ต้นเพื่อให้บริษัทผู้ผลิตนำไปลงทุนอุปกรณ์
ข่าวดีคือเฟส 3 ในอังกฤษอยู่ระหว่างประเมิน คาดว่าจะอนุมัติได้ก่อนปีใหม่ ส่วนประเทศอื่นๆก็จะทยอยอนุมัติตามๆกันไป
ประเทศโลกที่สามก็จะได้บริจาคเพียงแต่คงต้องรอให้จัดส่งให้คำสั่งซื้อล่วงหน้าเสร็จสิ้นไปแล้ว น่าจะปลายปีหน้า
โดยปลายปีหน้าจะได้รับวัคซีนมากขึ้นจากสายการผลิตใหม่ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษที่กำลังสร้างกันอย่างไม่หยุดเร่งด่วน
โดยมีชื่อว่า Vaccines Manufacturing & Innovation Centre (VMIC)
https://www.vmicuk.com/
ที่เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะสามารถผลิตวัคซีนได้ 70 ล้านโดสในเวลา 4 เดือน
โดยแนวคิดที่ว่า ไม่มีประเทศไหนปลอดภัยเมื่อประเทศอื่นยังมีโรค ดังนั้นวัคซีนจึงต้องทำเพื่อแจกจ่ายไม่ใช่เพื่อหากำไร