สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
รศ.112 มันก็คือปี 2436 พึ่งผ่านมาแค่ 127 ปีนะครับ คนที่อยู่ทันเหตุการณ์นั้นมีเยอะเลยที่อยู่มาได้จนเกินปี 2500 ถ้ามันไม่จริงการเขียนประวัติศาสตร์ช่วงนี้ต้องมีคนทักท้วงตั้งแต่มีการเขียนแรกๆแล้ว แม้แต่สมัยคณะราษฎรที่พยายามจะดิสเครดิตประวัติศาสตร์และผลงานต่างๆก็ไม่เคยมีใครหักล้างเรื่องนี้ไปได้เลย
บันทึกเรื่องสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นนั้นหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิสกุลได้ทรงนิพนธ์ไว้จบสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งในปีนั้นบรรดาพระราชวงศ์ที่ทันได้เห็นเหตุการณ์รศ.112 ยังมีอยู่หลายท่านนัก
บันทึกเรื่องสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นนั้นหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิสกุลได้ทรงนิพนธ์ไว้จบสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งในปีนั้นบรรดาพระราชวงศ์ที่ทันได้เห็นเหตุการณ์รศ.112 ยังมีอยู่หลายท่านนัก
ความคิดเห็นที่ 18
ก็ตลกดี ประวัติศาสตร์ชาติตัวเอง ที่มีทั้งคนไทยคนฝรั่งเขียนตั้งแต่สมัยนั้นๆ กลับมาตั้งข้อสงสัย ทั้งๆที่มีทั้งภาพในหนังสือและภาพในพิพิธภัณฑ์ แต่กลับไปเชื่อไอ้พวกที่เพิ่งมาเขียนเมื่อไม่กี่ปี แล้วมาตั้งข้อสงสัยคนสมัยก่อนว่าบอกไม่จริง แต่ไอ้คนที่เพิ่งเขียนไม่นาน ยกแม่น้ำทั้ง5 ยกนู่นผสมนี่ ไม่มีหลักฐานใดๆ มีแต่ข่าวว่า เล่าว่า อาจจะ จากพวกที่มันตั้งใจจะบิดเบือนมาแต่ไหนแต่ไร ไอ้พวกที่ดูหนังสือพวกนั้นก็เอามาพูดเป็นตุเป็นตะให้คนอื่นฟัง คิดว่าตัวเองรู้จริง แต่ให้เอาหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันก็ไม่มี
ความคิดเห็นที่ 9
ถ้าพูดถึงว่าเงินถุงแดงมีอยู่จริงหรือไม่ ส่วนตัวเชื่อว่าจะมีธรรมเนียมที่กษัตริย์ในสมัยโบราณเก็บเงินบางส่วนไว้ในถุงแดงข้างพระที่มาตั้งแต่ก่อนรัชกาลที่ 3 แล้ว สำหรับใช้พระราชทานหรือใช้จ่ายตามพระราชประสงค์ครับ เพราะมีหลักฐานที่กล่าวถึงการเก็บเงินพระราชทรัพย์ไว้ในถุงอยู่
ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ระบุว่าเมื่อเกิดไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทใน พ.ศ. 2332 มีการ "ขนถุงเงินพระราชทรัพย์ในพระคลังลงทิ้งในสระในพระอุทยานภายในพระราชวัง" แสดงให้เห็นว่าสมัยโบราณบรรจุเงินในไว้ถุงจริง (จะเป็นถุงสีแดงหรือไม่ไม่ทราบได้)
เรื่องเงินถุงแดงของรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในสาส์นสมเด็จว่า "มูลของพระคลังข้างที่นั้นหม่อมฉันเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า เดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่ง สำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่ายการอันใดโดยลำพังพระองค์เอง คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ จะเป็นประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาหรือมามีขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ไม่ทราบแน่ เห็นจะเรียกกันว่า “เงินข้างที่” ทำนองเดียวกับเรียกเงินที่เอาตามเสด็จไปไหนๆ ว่า “เงินท้ายที่นั่ง” และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่นเอง ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นของส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นในเงินข้างที่อีกมาก สำหรับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ และมีเงินซึ่งเรียกกันว่า “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ กำปั่นเก็บเงินข้างที่มีมากขึ้นหรือจะต้องเก็บในห้องหนึ่งต่างหากเหมือนอย่างคลัง จึงเรียกกันว่า “คลังข้างที่” เกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๒ แต่ดูเหมือนจะเรียกกันแต่ในราชสำนักฝ่ายในมาจนในรัชกาลที่ ๔ จึงเรียกปรากฏในทางราชการ"
ถ้าเชื่อตามนี้คือรัชกาลที่ 3 ทรงแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในข้างที่บางส่วนออกมาเป็น "เงินถุงแดง" สำหรับใช้สำรองยามฉุกเฉิน แต่มากน้อยเท่าใดไม่ชัดเจน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งเคยเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังทรงพระพินธ์บทละครเรื่องพระลอว่า "พระชนนี เฮ้อผู้รับสั่งไปบอกนางชาวคลังให้ไปเอาเงินถุงแดงในพระคลังในสี่ถุง กับเสื้อผ้าอย่างดีมารางวัลพระหมอเฒ่าเดี๋ยวนี้และ ตูข้าขอบคุณนักเหนอ ตาสิทธิชัย" จึงเป็นไปได้มากที่พระคลังสมัยโบราณมีการใส่เงินพระราชทรัพย์ไว้ในถุงแดงจริง
แต่หากพูดถึงประเด็นว่าเงินถุงแดงนั้นมีบทบาทใน ร.ศ. 112 มากเท่าใด พิจารณาจากหลักฐานแล้ว เงินที่ใช้จ่ายเป็นค่าปฏิกรรมสงครามใน ร.ศ. 112 ไม่น่าจะมีแต่เงินถุงแดงจากสมัยรัชกาลที่ 3 เท่านั้น แต่ควรจะมีเงินส่วนอื่นสมทบด้วยอีกจำนวนมาก เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ว่าเมื่อตอนก่อนรัชกาลที่ 3 สวรรคต ทรงมีพินัยกรรมว่าเงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินมีอยู่ 40,000 ชั่ง ทรงขอไว้ 10,000 ชั่งสำหรับใช้บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างวัด จึงตกมาถึงรัชกาลที่ 4 จำนวน 30,000 ชั่ง (2.4 ล้านบาท) ซึ่งคือพระราชทรัพย์ทั้งหมด เงินถุงแดงที่ทรงแยกออกมาต่างหากควรจะน้อยกว่านี้ลงไปอีก
รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึง พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ความว่าพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ 3 จำนวน 30,000 ชั่งนั้นทรงถือว่าเป็นทรัพย์แผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์ส่วนพระองค์
"ไหน ๆ หม่อมเจ้าพวกนั้นก็มีมานะ ถือว่าทรัพย์สินสิ่งของกรมขุนธิเบศบวร เปนทรัพย์ของบิดา เปรียบความตามฝ่ายกระหม่อมฉัน เหมือนพระราชทรัพยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กระหม่อมฉันก็ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ของตัวแลบุตรภรรยาเลย เมื่อท่านจะสวรรคตท่านทรงเขียนพิไนยกรรม์ พระราชทรัพย์หมื่นชั่ง ให้จ่ายพระอารามที่ค้าง เหลือสามหมื่นชั่งถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ทองคำร้อยชั่งให้แผ่ทำเปลวปิดพระอารามที่ค้าง เหลือนั้นให้เปนของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ก็ตัวกระหม่อมฉันเข้ามาเปนพระเจ้าแผ่นดิน ตามที่ท่านผู้รับสั่งมีชื่อในพิไนยกรรม์นั้น คือเจ้าพระยาพระคลัง พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาราชสุภาวดี ปฤกษากับเจ้านายขุนนาง เลือกผู้ที่เนื่องใน พระราชวงษานุวงษ์ หนุ่มฤาแก่ปานกลางเปนเจ้าแผ่นดินต่อไปเถิด ก็เพราะท่านทั้งสามนั้นเลือกกระหม่อมฉันเข้ามา จึงได้เปนเจ้าแผ่นดินอยู่ แต่เพราะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านไม่ได้เลือกกระหม่อมฉัน เฉพาะตัวโดยตรง ก็ไม่ได้ว่าจะถือเอาพระราชทรัพย์ของท่านเปนมรฎกได้ ของทั้งปวงก็ยังเปนของกลางแผ่นดินอยู่หมด"
เมื่อเข้าสู่รัชกาลที่ 5 พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังก็หมดสิ้น กรมพระคลังมหาสมบัติก็เป็นหนี้ ดังที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม ร.ศ. 122 ความตอนหนึ่งว่า
"…ในเวลาครึ่งปีต่อมา เงินภาษีอากรก็ลดเกือบหมดทุกอย่าง ลดลงไปเป็นลำดับ จนถึงปีมะแม ตรีศก (พ.ศ. ๒๔๑๔) เงินแผ่นดินที่เคยได้อยู่ปีละ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ ชั่งนั้น เหลือจำนวนอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่ง แต่ไม่ได้ตัวเงินกี่มากน้อย แต่เงินเบี้ยหวัดปีละ ๑๑,๐๐๐ ชั่ง ก็วิ่งตาแตก ได้เงินในคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นของเจ้าหน้าที่วิ่งมาหาเป็นพื้น นอกนั้นก็ปล่อยค้าง ที่ได้เงินตัวจริงมีประมาณ ๒๐,๐๐๐ ชั่งเท่านั้น ... เงินไม่พอจ่ายราชการต้องเป็นหนี้ตั้งแต่งานพระบรมศพมาจนปีมะแมนี้ (พ.ศ.๒๔๑๔) เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ ชั่ง เพราะเหตุเช่นนี้ หม่อมฉันจึงนิ่งอยู่ไม่ได้ จับจัดการคลังมหาสมบัติ..."
เรื่องนี้เป็นสาเหตุให้ทรงปฏิรูประบบภาษีอากรใหม่ ยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอาการ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ แล้วพัฒนาเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทำให้หาพระราชทรัพย์เข้าหลวงมากขึ้นหลายเท่า ในช่วงหลังก่อน ร.ศ. 112 รายรับของรัฐบาลจากภาษีอากรต่อปีใน พ.ศ. 2435 (ร.ศ. 111) อยู่ที่ประมาณ 15 ล้านบาท มากกว่าพระราชทรัพย์ 30,000 ชั่ง (2.4 ล้านบาท) ที่ตกทอดมาจากสมัยรัชกาลที่ 3 หลายเท่า
มีการวิเคราะห์ว่าเงินที่ถูกใช้จ่ายไปใน ร.ศ. 112 อาจเป็น "เงินบรมราชโองการ" (งบกลางในปัจจุบัน) สำหรับให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เพราะใน พ.ศ.2435 มีการใช้เงินพระบรมราชโองการ 1,255,230.58 บาท เมื่อถึง พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เพิ่มขึ้นโดดมาจากปีอื่นเป็น 3,025,062.32 บาท แต่ใน พ.ศ. 2437 ลดลงเหลือแค่ 652,513.58 บาท พ.ศ. 2438 เหลือ 598.304.54 บาท
ทั้งนี้หลักฐานที่กล่าวถึงการนำเงินถุงแดงไปใช้ใน ร.ศ. 112 ก็มีแต่งานเขียนของ มจ.พูนพิศมัย ดิศกุล เพียงชิ้นเดียว ซึ่งก็เพียงแต่ระบุว่า "เงินถุงแดงข้างพระที่ๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดำรัสว่า “เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง” ก็ได้ใช้จริงคราวนี้" คือระบุว่าถูกนำมาใช้เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าเงินทั้งหมดที่จ่ายในคราวนั้นมาจากพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ 3 เท่านั้น และยังระบุต่อไปว่าเจ้านายในพระราชวังยังมีการเททรัพย์เพิ่มเติมด้วย ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะนำงบประมาณส่วนอื่นมาสมทบ
ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ระบุว่าเมื่อเกิดไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทใน พ.ศ. 2332 มีการ "ขนถุงเงินพระราชทรัพย์ในพระคลังลงทิ้งในสระในพระอุทยานภายในพระราชวัง" แสดงให้เห็นว่าสมัยโบราณบรรจุเงินในไว้ถุงจริง (จะเป็นถุงสีแดงหรือไม่ไม่ทราบได้)
เรื่องเงินถุงแดงของรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในสาส์นสมเด็จว่า "มูลของพระคลังข้างที่นั้นหม่อมฉันเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า เดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่นเงินไว้ข้างพระแท่นที่บรรทมใบหนึ่ง สำหรับทรงหยิบพระราชทานผู้ใดหรือใช้จ่ายการอันใดโดยลำพังพระองค์เอง คือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ จะเป็นประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาหรือมามีขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ไม่ทราบแน่ เห็นจะเรียกกันว่า “เงินข้างที่” ทำนองเดียวกับเรียกเงินที่เอาตามเสด็จไปไหนๆ ว่า “เงินท้ายที่นั่ง” และคงแบ่งไปจากเงินพระคลังในนั่นเอง ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บหอมรอมริบเงินซึ่งเป็นของส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นในเงินข้างที่อีกมาก สำหรับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ และมีเงินซึ่งเรียกกันว่า “เงินถุงแดง” สำรองไว้สำหรับใช้ในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ กำปั่นเก็บเงินข้างที่มีมากขึ้นหรือจะต้องเก็บในห้องหนึ่งต่างหากเหมือนอย่างคลัง จึงเรียกกันว่า “คลังข้างที่” เกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๒ แต่ดูเหมือนจะเรียกกันแต่ในราชสำนักฝ่ายในมาจนในรัชกาลที่ ๔ จึงเรียกปรากฏในทางราชการ"
ถ้าเชื่อตามนี้คือรัชกาลที่ 3 ทรงแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในข้างที่บางส่วนออกมาเป็น "เงินถุงแดง" สำหรับใช้สำรองยามฉุกเฉิน แต่มากน้อยเท่าใดไม่ชัดเจน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งเคยเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังทรงพระพินธ์บทละครเรื่องพระลอว่า "พระชนนี เฮ้อผู้รับสั่งไปบอกนางชาวคลังให้ไปเอาเงินถุงแดงในพระคลังในสี่ถุง กับเสื้อผ้าอย่างดีมารางวัลพระหมอเฒ่าเดี๋ยวนี้และ ตูข้าขอบคุณนักเหนอ ตาสิทธิชัย" จึงเป็นไปได้มากที่พระคลังสมัยโบราณมีการใส่เงินพระราชทรัพย์ไว้ในถุงแดงจริง
แต่หากพูดถึงประเด็นว่าเงินถุงแดงนั้นมีบทบาทใน ร.ศ. 112 มากเท่าใด พิจารณาจากหลักฐานแล้ว เงินที่ใช้จ่ายเป็นค่าปฏิกรรมสงครามใน ร.ศ. 112 ไม่น่าจะมีแต่เงินถุงแดงจากสมัยรัชกาลที่ 3 เท่านั้น แต่ควรจะมีเงินส่วนอื่นสมทบด้วยอีกจำนวนมาก เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ว่าเมื่อตอนก่อนรัชกาลที่ 3 สวรรคต ทรงมีพินัยกรรมว่าเงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินมีอยู่ 40,000 ชั่ง ทรงขอไว้ 10,000 ชั่งสำหรับใช้บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างวัด จึงตกมาถึงรัชกาลที่ 4 จำนวน 30,000 ชั่ง (2.4 ล้านบาท) ซึ่งคือพระราชทรัพย์ทั้งหมด เงินถุงแดงที่ทรงแยกออกมาต่างหากควรจะน้อยกว่านี้ลงไปอีก
รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึง พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ความว่าพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ 3 จำนวน 30,000 ชั่งนั้นทรงถือว่าเป็นทรัพย์แผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์ส่วนพระองค์
"ไหน ๆ หม่อมเจ้าพวกนั้นก็มีมานะ ถือว่าทรัพย์สินสิ่งของกรมขุนธิเบศบวร เปนทรัพย์ของบิดา เปรียบความตามฝ่ายกระหม่อมฉัน เหมือนพระราชทรัพยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กระหม่อมฉันก็ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ของตัวแลบุตรภรรยาเลย เมื่อท่านจะสวรรคตท่านทรงเขียนพิไนยกรรม์ พระราชทรัพย์หมื่นชั่ง ให้จ่ายพระอารามที่ค้าง เหลือสามหมื่นชั่งถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ทองคำร้อยชั่งให้แผ่ทำเปลวปิดพระอารามที่ค้าง เหลือนั้นให้เปนของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ก็ตัวกระหม่อมฉันเข้ามาเปนพระเจ้าแผ่นดิน ตามที่ท่านผู้รับสั่งมีชื่อในพิไนยกรรม์นั้น คือเจ้าพระยาพระคลัง พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาราชสุภาวดี ปฤกษากับเจ้านายขุนนาง เลือกผู้ที่เนื่องใน พระราชวงษานุวงษ์ หนุ่มฤาแก่ปานกลางเปนเจ้าแผ่นดินต่อไปเถิด ก็เพราะท่านทั้งสามนั้นเลือกกระหม่อมฉันเข้ามา จึงได้เปนเจ้าแผ่นดินอยู่ แต่เพราะรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านไม่ได้เลือกกระหม่อมฉัน เฉพาะตัวโดยตรง ก็ไม่ได้ว่าจะถือเอาพระราชทรัพย์ของท่านเปนมรฎกได้ ของทั้งปวงก็ยังเปนของกลางแผ่นดินอยู่หมด"
เมื่อเข้าสู่รัชกาลที่ 5 พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังก็หมดสิ้น กรมพระคลังมหาสมบัติก็เป็นหนี้ ดังที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม ร.ศ. 122 ความตอนหนึ่งว่า
"…ในเวลาครึ่งปีต่อมา เงินภาษีอากรก็ลดเกือบหมดทุกอย่าง ลดลงไปเป็นลำดับ จนถึงปีมะแม ตรีศก (พ.ศ. ๒๔๑๔) เงินแผ่นดินที่เคยได้อยู่ปีละ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ ชั่งนั้น เหลือจำนวนอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่ง แต่ไม่ได้ตัวเงินกี่มากน้อย แต่เงินเบี้ยหวัดปีละ ๑๑,๐๐๐ ชั่ง ก็วิ่งตาแตก ได้เงินในคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นของเจ้าหน้าที่วิ่งมาหาเป็นพื้น นอกนั้นก็ปล่อยค้าง ที่ได้เงินตัวจริงมีประมาณ ๒๐,๐๐๐ ชั่งเท่านั้น ... เงินไม่พอจ่ายราชการต้องเป็นหนี้ตั้งแต่งานพระบรมศพมาจนปีมะแมนี้ (พ.ศ.๒๔๑๔) เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ ชั่ง เพราะเหตุเช่นนี้ หม่อมฉันจึงนิ่งอยู่ไม่ได้ จับจัดการคลังมหาสมบัติ..."
เรื่องนี้เป็นสาเหตุให้ทรงปฏิรูประบบภาษีอากรใหม่ ยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอาการ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ แล้วพัฒนาเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทำให้หาพระราชทรัพย์เข้าหลวงมากขึ้นหลายเท่า ในช่วงหลังก่อน ร.ศ. 112 รายรับของรัฐบาลจากภาษีอากรต่อปีใน พ.ศ. 2435 (ร.ศ. 111) อยู่ที่ประมาณ 15 ล้านบาท มากกว่าพระราชทรัพย์ 30,000 ชั่ง (2.4 ล้านบาท) ที่ตกทอดมาจากสมัยรัชกาลที่ 3 หลายเท่า
มีการวิเคราะห์ว่าเงินที่ถูกใช้จ่ายไปใน ร.ศ. 112 อาจเป็น "เงินบรมราชโองการ" (งบกลางในปัจจุบัน) สำหรับให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เพราะใน พ.ศ.2435 มีการใช้เงินพระบรมราชโองการ 1,255,230.58 บาท เมื่อถึง พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เพิ่มขึ้นโดดมาจากปีอื่นเป็น 3,025,062.32 บาท แต่ใน พ.ศ. 2437 ลดลงเหลือแค่ 652,513.58 บาท พ.ศ. 2438 เหลือ 598.304.54 บาท
ทั้งนี้หลักฐานที่กล่าวถึงการนำเงินถุงแดงไปใช้ใน ร.ศ. 112 ก็มีแต่งานเขียนของ มจ.พูนพิศมัย ดิศกุล เพียงชิ้นเดียว ซึ่งก็เพียงแต่ระบุว่า "เงินถุงแดงข้างพระที่ๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดำรัสว่า “เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง” ก็ได้ใช้จริงคราวนี้" คือระบุว่าถูกนำมาใช้เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าเงินทั้งหมดที่จ่ายในคราวนั้นมาจากพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ 3 เท่านั้น และยังระบุต่อไปว่าเจ้านายในพระราชวังยังมีการเททรัพย์เพิ่มเติมด้วย ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะนำงบประมาณส่วนอื่นมาสมทบ
ความคิดเห็นที่ 14
มันตลกไม่ออกตรงที่ว่า
กลายเป็นคนไทยสงสัยและพยายามบลัฟกันเองไปมา และยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีพยาน หลักฐานคลุมเครือ.. ต้องตีความ ยิ่งไปกันใหญ่ ไม่อยากจะบอกว่าเป็นเรื่องหลักฐานทางโบราณคดีจริงๆ หรือแค่เป็นองค์ประกอบของการเมือง
แทนที่เรื่องมันควรจะเป็นว่า
1. คนไทยเดินขบวนเรียกร้องค่าเสียหายจากฝรั่งเศส
2. ขยายวงเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. ฝรั่งเศส ยกหลักฐานเพื่อแก้ตัวเรื่องเงินที่รีดไถไปจากสยาม ว่าไม่มีจริง !!!
กลายเป็นคนไทยสงสัยและพยายามบลัฟกันเองไปมา และยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีพยาน หลักฐานคลุมเครือ.. ต้องตีความ ยิ่งไปกันใหญ่ ไม่อยากจะบอกว่าเป็นเรื่องหลักฐานทางโบราณคดีจริงๆ หรือแค่เป็นองค์ประกอบของการเมือง
แทนที่เรื่องมันควรจะเป็นว่า
1. คนไทยเดินขบวนเรียกร้องค่าเสียหายจากฝรั่งเศส
2. ขยายวงเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. ฝรั่งเศส ยกหลักฐานเพื่อแก้ตัวเรื่องเงินที่รีดไถไปจากสยาม ว่าไม่มีจริง !!!
แสดงความคิดเห็น
ว่าด้วยเรื่องของ"เงินถุงแดง"นั้นไม่มีจริง
และไม่มีหลักฐานหรือบันทึกไว้เลยว่าเคยมี การเก็บ"เงินถุงแดง" มีเพียงแค่ คำพูดปากต่อปากที่มาจาก ของ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เท่านั้น
นี่จริงเท็จแค่ไหนหรอครับ?