ใช้ชีวิตบนท้องถนนอย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5
ทุกวันนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนักเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ปัญหาโลกร้อน และที่กำลังเป็นที่หนักอกหนักใจของคนไทยในเมืองใหญ่เลยก็คือฝุ่นควัน 💨 โดยเฉพาะ PM 2.5 ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุว่า มลพิษทางอากาศคือหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจของคนเราและยังนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเพิ่มอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง16% เนื่องจากเจ้าฝุ่นชนิดนี้มีขนาดที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน จึงสามารถแทรกซึมเข้าไปในปอดได้ทันทีและยังเป็นพาหะนำสารพิษไปทั่วร่างกายได้อีกด้วย เรียกได้ว่ายิ่งขนาดของฝุ่นเล็กลงเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรามากขึ้นเท่านั้น
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษได้ระบุที่มาของฝุ่น PM 2.5 ไว้ว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซล 🚗 หรือก็คือยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง อีก 35% เกิดจากการเผา ไม่ว่าจะเผาเพื่อกำจัดขยะ วัชพืช หรือแม้กระทั่งการเผากระดาษในเทศกาลตรุษจีน และส่วนที่เหลือ 5% มาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน
วันนี้พี่หมอ 👨⚕️ ก็เลยมีคำแนะนำดีๆ มาฝากชาวพันทิป รวมถึงทุกคนที่ยังต้องใช้รถใช้ถนนท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 แบบนี้ โดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานครที่ต้องใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 70-90 นาทีต่อวัน (เป็นอย่างน้อย) ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากฝุ่นเหล่านี้นะครับ
ทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่บนท้องถนนในสภาวะฝุ่น PM 2.5
1. เปิดเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ โดยปรับให้ระบบอากาศเป็นแบบหมุนวนภายในห้องโดยสารเท่านั้น เนื่องจากระบบนี้จะปิดช่องดักอากาศจากภายนอก ซึ่งก็พอจะช่วยป้องกันฝุ่นที่จะเล็ดลอดเข้ามาในรถได้ในระดับหนึ่ง
2. ตรวจเช็คระบบแอร์และแผ่นกรองอากาศให้สะอาดเสมอ หรือเปลี่ยนเป็นแผ่นกรองอากาศที่สามารถดักฝุ่น PM 2.5 ได้
3. ใช้เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ อันนี้ง่ายที่สุดและได้ผลมากที่สุดเลยนะครับ แต่อาจจะจะต้องลงทุนซักหน่อย
4. 😷 สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะหากต้องเดินทางโดยรถที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น รถเมล์ รถตุ๊กตุ๊ก และมอเตอร์ไซค์ รวมถึงในกรณีที่ต้องขับรถเข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูงๆ
นอกจากจะต้องป้องกันไม่ให้หายใจเอาฝุ่นเข้าไปแล้ว ฝุ่นควันที่หนาแน่น (จนบางครั้งเราอาจนึกไปว่าหมอกลง 🌫️ โดยเฉพาะในเวลาเช้าๆ) ก็ยังทำให้ทัศนวิสัยในการขับรถแย่ลงได้อีก ซึ่งพี่หมอก็มีวิธีขับรถลุยฝุ่นให้ปลอดภัยมาแนะนำ ดังนี้ครับ
1. ทำความสะอาดกระจกหน้ารถเสมอ
2. เปิดไฟหน้ารถหรือใช้ไฟตัดหมอก เพื่อให้มองเห็นถนนและรถคันอื่นๆได้อย่างชัดเจน
3. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด 🚦 ไม่เปลี่ยนเลนหรือแซงในระยะกระชั้นชิด
4. ไม่ขับรถเร็วหรือชิดคันข้างหน้ามากเกินไป ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าไว้พอประมาณ เพื่อที่เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เราจะได้เบรกทัน
5. การเหยียบเบรกค้างไว้ขณะรถจอดจะช่วยให้รถคันหลังเห็นและสามารถชะลอได้ทัน
สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุชัดเจนถึงเรื่องความปลอดภัยจากฝุ่น PM.2.5 ในรถยนต์ส่วนตัว แต่มีงานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัย TERI ประเทศอินเดีย พบว่า ในกรุงนิวเดลียานพาหนะที่กันฝุ่น PM 2.5 ได้มากที่สุดคือรถยนต์ส่วนตัว ขณะที่รถแท็กซี่ 🚖 มีความหนาแน่นของฝุ่นมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวถึง 3.5 เท่า ทั้งๆ ที่ติดแอร์เหมือนกัน (อันนี้ส่วนตัวพี่หมอคิดว่าน่าจะเกิดจากฝุ่นที่สะสมในระหว่างใช้งานด้วย) และสำหรับผู้โดยสารรถเมล์แบบที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศและรถสามล้อก็มีโอกาสได้รับฝุ่นละอองในระดับสูงใกล้เคียงกัน และถึงแม้ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะไม่ได้กล่าวถึงมอเตอร์ไซค์ แต่ก็คงเดาได้ไม่ยากใช่มั้ยครับว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
แต่ก็ไม่ได้รับประกันนะครับว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจะช่วยให้เราปลอดภัยจากฝุ่น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นควันหนาแน่น ซึ่งสมัยนี้ก็มีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ช่วยบอกค่าฝุ่นได้ เช่น AirVisual Air4Thai Air Quality : Real time AQI เป็นต้น แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จริงๆ ก็ควรลดระยะเวลาการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้น้อยที่สุด และควรสวมหน้ากากอนามัยเอาไว้ตลอดเวลา โดยเฉพาะแบบที่สามารถกันฝุ่น PM 2.5 ได้ ที่สำคัญ หมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ถ้ามีอาการเจ็บคอ ไอ แสบตา รวมถึงมีผดผื่นคันตามผิวหนัง ก็ให้รีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับฝุ่นมากกว่าอาชีพอื่นๆ เช่น ตำรวจจราจร 👮 พ่อค้าแม่ค้าริมถนน พนักงานกวาดถนน คนขับสามล้อ รวมถึงมอเตอร์ไซค์รับจ้างด้วย
ซึ่งนอกจากการปกป้องตัวเองจากฝุ่นพิษแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่พี่หมอคิดว่าก็ควรทำเหมือนกันและยังช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวด้วยก็คือ การช่วยกันลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าหรือรถสาธารณะให้มากขึ้นใน การไม่ขับรถเข้าเมืองในวันที่ค่าฝุ่นสูงๆ หรือการดับเครื่องทุกครั้งที่จอดรถ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกัน เพื่อให้ประเทศไทยกลับมามีท้องฟ้าที่สดใสอีกครั้ง
ถ้ามีโอกาสพี่หมอจะนำเรื่องราวดีๆ มาฝากทุกคนอีกนะครับ หรือถ้าสนใจบทความเกี่ยวกับสุขภาพก็สามารถไปติดตามพี่หมอได้ที่ห้องสวนลุมพินีตลอดทุกสัปดาห์ แล้วพบกันครับ 👋👋👋
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ระวังหน้าหนาว PM 2.5 สูง เสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบ
PM 2.5 กระตุ้นสิวและผิวแพ้ง่าย
PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็กจิ๋ว แต่ส่งผลเสีย (ต่อสุขภาพ) มหาศาล
ใช้ชีวิตบนท้องถนนอย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5
ทุกวันนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนักเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ปัญหาโลกร้อน และที่กำลังเป็นที่หนักอกหนักใจของคนไทยในเมืองใหญ่เลยก็คือฝุ่นควัน 💨 โดยเฉพาะ PM 2.5 ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุว่า มลพิษทางอากาศคือหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจของคนเราและยังนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเพิ่มอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง16% เนื่องจากเจ้าฝุ่นชนิดนี้มีขนาดที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน จึงสามารถแทรกซึมเข้าไปในปอดได้ทันทีและยังเป็นพาหะนำสารพิษไปทั่วร่างกายได้อีกด้วย เรียกได้ว่ายิ่งขนาดของฝุ่นเล็กลงเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรามากขึ้นเท่านั้น
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษได้ระบุที่มาของฝุ่น PM 2.5 ไว้ว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซล 🚗 หรือก็คือยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง อีก 35% เกิดจากการเผา ไม่ว่าจะเผาเพื่อกำจัดขยะ วัชพืช หรือแม้กระทั่งการเผากระดาษในเทศกาลตรุษจีน และส่วนที่เหลือ 5% มาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน
วันนี้พี่หมอ 👨⚕️ ก็เลยมีคำแนะนำดีๆ มาฝากชาวพันทิป รวมถึงทุกคนที่ยังต้องใช้รถใช้ถนนท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 แบบนี้ โดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานครที่ต้องใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 70-90 นาทีต่อวัน (เป็นอย่างน้อย) ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากฝุ่นเหล่านี้นะครับ
ทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่บนท้องถนนในสภาวะฝุ่น PM 2.5
1. เปิดเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ โดยปรับให้ระบบอากาศเป็นแบบหมุนวนภายในห้องโดยสารเท่านั้น เนื่องจากระบบนี้จะปิดช่องดักอากาศจากภายนอก ซึ่งก็พอจะช่วยป้องกันฝุ่นที่จะเล็ดลอดเข้ามาในรถได้ในระดับหนึ่ง
2. ตรวจเช็คระบบแอร์และแผ่นกรองอากาศให้สะอาดเสมอ หรือเปลี่ยนเป็นแผ่นกรองอากาศที่สามารถดักฝุ่น PM 2.5 ได้
3. ใช้เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ อันนี้ง่ายที่สุดและได้ผลมากที่สุดเลยนะครับ แต่อาจจะจะต้องลงทุนซักหน่อย
4. 😷 สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะหากต้องเดินทางโดยรถที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น รถเมล์ รถตุ๊กตุ๊ก และมอเตอร์ไซค์ รวมถึงในกรณีที่ต้องขับรถเข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูงๆ
นอกจากจะต้องป้องกันไม่ให้หายใจเอาฝุ่นเข้าไปแล้ว ฝุ่นควันที่หนาแน่น (จนบางครั้งเราอาจนึกไปว่าหมอกลง 🌫️ โดยเฉพาะในเวลาเช้าๆ) ก็ยังทำให้ทัศนวิสัยในการขับรถแย่ลงได้อีก ซึ่งพี่หมอก็มีวิธีขับรถลุยฝุ่นให้ปลอดภัยมาแนะนำ ดังนี้ครับ
1. ทำความสะอาดกระจกหน้ารถเสมอ
2. เปิดไฟหน้ารถหรือใช้ไฟตัดหมอก เพื่อให้มองเห็นถนนและรถคันอื่นๆได้อย่างชัดเจน
3. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด 🚦 ไม่เปลี่ยนเลนหรือแซงในระยะกระชั้นชิด
4. ไม่ขับรถเร็วหรือชิดคันข้างหน้ามากเกินไป ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าไว้พอประมาณ เพื่อที่เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เราจะได้เบรกทัน
5. การเหยียบเบรกค้างไว้ขณะรถจอดจะช่วยให้รถคันหลังเห็นและสามารถชะลอได้ทัน
สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุชัดเจนถึงเรื่องความปลอดภัยจากฝุ่น PM.2.5 ในรถยนต์ส่วนตัว แต่มีงานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัย TERI ประเทศอินเดีย พบว่า ในกรุงนิวเดลียานพาหนะที่กันฝุ่น PM 2.5 ได้มากที่สุดคือรถยนต์ส่วนตัว ขณะที่รถแท็กซี่ 🚖 มีความหนาแน่นของฝุ่นมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวถึง 3.5 เท่า ทั้งๆ ที่ติดแอร์เหมือนกัน (อันนี้ส่วนตัวพี่หมอคิดว่าน่าจะเกิดจากฝุ่นที่สะสมในระหว่างใช้งานด้วย) และสำหรับผู้โดยสารรถเมล์แบบที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศและรถสามล้อก็มีโอกาสได้รับฝุ่นละอองในระดับสูงใกล้เคียงกัน และถึงแม้ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะไม่ได้กล่าวถึงมอเตอร์ไซค์ แต่ก็คงเดาได้ไม่ยากใช่มั้ยครับว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร
แต่ก็ไม่ได้รับประกันนะครับว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจะช่วยให้เราปลอดภัยจากฝุ่น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นควันหนาแน่น ซึ่งสมัยนี้ก็มีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ช่วยบอกค่าฝุ่นได้ เช่น AirVisual Air4Thai Air Quality : Real time AQI เป็นต้น แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จริงๆ ก็ควรลดระยะเวลาการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้น้อยที่สุด และควรสวมหน้ากากอนามัยเอาไว้ตลอดเวลา โดยเฉพาะแบบที่สามารถกันฝุ่น PM 2.5 ได้ ที่สำคัญ หมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ถ้ามีอาการเจ็บคอ ไอ แสบตา รวมถึงมีผดผื่นคันตามผิวหนัง ก็ให้รีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับฝุ่นมากกว่าอาชีพอื่นๆ เช่น ตำรวจจราจร 👮 พ่อค้าแม่ค้าริมถนน พนักงานกวาดถนน คนขับสามล้อ รวมถึงมอเตอร์ไซค์รับจ้างด้วย
ซึ่งนอกจากการปกป้องตัวเองจากฝุ่นพิษแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่พี่หมอคิดว่าก็ควรทำเหมือนกันและยังช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวด้วยก็คือ การช่วยกันลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าหรือรถสาธารณะให้มากขึ้นใน การไม่ขับรถเข้าเมืองในวันที่ค่าฝุ่นสูงๆ หรือการดับเครื่องทุกครั้งที่จอดรถ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกัน เพื่อให้ประเทศไทยกลับมามีท้องฟ้าที่สดใสอีกครั้ง
ถ้ามีโอกาสพี่หมอจะนำเรื่องราวดีๆ มาฝากทุกคนอีกนะครับ หรือถ้าสนใจบทความเกี่ยวกับสุขภาพก็สามารถไปติดตามพี่หมอได้ที่ห้องสวนลุมพินีตลอดทุกสัปดาห์ แล้วพบกันครับ 👋👋👋
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้