[แปลบทสัมภาษณ์] คิมูระ ซาโอริ ชีวิตหลังเลิกเล่นวอลเลย์บอลคือการเดินทางที่อิสระ

เมื่อพูดถึงนักกีฬาวอลเลย์บอลญี่ปุ่นที่โด่งดังไปทั่วโลก "คิมูระ ซาโอริ" คือหนึ่งในนั้น เพราะนอกจากการสไตล์การเล่นที่เด็ดขาดและสวยงาม ผนวกกับเป็นเอสหลักให้กับทีมมาอย่างยาวนาน เธอยังมี Physical Attractiveness อีกด้วย แต่เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาเธอได้ประกาศเลิกเล่นวอลเลย์บอลเพื่อไปใช้ชีวิตของเธอ ตอนนี้ทำร้านคาเฟร่วมกันกับสามีที่ Osaka ไปเจอบทสัมภาษณ์มาก็เลยอยากจะมาแปลให้ทุกคนได้อ่านกัน

木村沙織、バレーが終わった後の人生 肩書きは「自由な人生トラベラー」
คิมูระ ซาโอริ ชีวิตหลังเลิกเล่นวอลเลย์บอลคือการเดินทางที่อิสระ
Q: ในงานแถลงข่าวเลิกเล่นก็ได้พูดไว้ว่า "อยากจะใช้ชีวิตอย่างเป็นตัวเอง" สำหรับคิมูระแล้วชีวิตที่สมกับเป็นตัวเองเป็นอย่างไรกัน?
A: วอลเลย์บอลไม่ใช่ทั้งหมดชีวิตเพราะงั้นชีวิตหลังเลิกเล่นยังมีอะไรให้ทำอีกมาก การมีความสุขแค่ตอนเล่นวอลเลย์บอลมันคงเป็นชีวิตที่น่าเสียดายมากเล่ยใช่ไหมคะ ชีวิตนี้มันมีแค่ครั้งเดียวก็เลยรู้สึกว่าถ้ามีอะไรที่อยากทำก็จะทำค่ะ เช่น การทำช่องยูทูปแรก  ๆ ก็มีเขินบ้างนิดหน่อยแต่  旦那 (แฟนของเธอ) ชอบยูทูปมากก็เลยเปิดช่องค่ะ 

Q: อาจจะมีคนกำลังคิดว่าไม่ค่อยเห็นในสื่อต่าง ๆ เลย 
A: ไม่ได้หมายความว่าจะหนีสื่อค่ะ แต่เดิมแล้วก็ไม่ได้อยากออกสื่อมากขนาดนั้นค่ะ ความรู้สึกที่อยากทำร้านคาเฟ่ที่เป็นความฝัน (มากกว่าการเป็นการทำงาน) หรือร้านสำหรับครอบครัว ก็มีค่ะ ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นเรื่องที่ถนัดค่ะ แต่เป็นคนที่พูดไม่ค่อยเก่งก็เลยไม่อยากให้คนคิดกันไปว่า "นักกีฬาวอลเลย์คือคนที่เรียนไม่ได้" หรือไม่อยากไปสร้างความรบกวนให้กับนักกีฬาทีมชาติชุดปัจจุบันค่ะ ตอนนี้ฉันสนุกกับการไปดูวอลเลย์บอลในฐานะผู้ชมที่ต้องซื้อตั๋วเหมือนกับแฟน ๆ มากค่ะ สนุกถึงกับขนาดที่ต้องปฏิเสธงานที่ถูกไหว้วานว่า "ขอโทษนะคะ คงทำให้ไม่ได้เพราะจะไปดูวอลเลย์บอลค่ะ" ในวันที่มีแข่ง

Q: มีเรื่องที่อยากทำอะไรอีกไหมตอนนี้?
A: ตอนนี้อยากทำรถอาหารเคลื่อนที่ตระเวนไปตามสถานที่แข่งขันต่าง ๆ ค่ะ อีกอย่างคือต้องแต่งงานในอนาคตด้วย ตอนนี้ก็อยากใช้ชีวิตให้สนุกไปพร้อม ๆ กับการทำงานค่ะ

Q: ถ้ามองย้อนกลับไปตอนเล่นทีมชาติ คิมูระมีความรู้สึกอย่างไรตอนเล่น?
A: สนุกมากค่ะ ทำตามที่ตัวเองจินตนาการไว้ได้ อ่านคู่แข่งออก เล่นไปและคิดว่า "ลูกต่อไปจะเล่นยังไงดีนะ" ในการแข่งขันทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทีมก็ไม่มีทางรู้เลยว่าจะเล่นออกมาแบบไหน แต่พอมันพอมันมีจังหวะที่เล่นได้ดีกว่าที่คิดไว้ด้วยก็รู้สึกสนุกและตื่นเต้นอยู่ตลอดเลยค่ะ

Q: ได้ไปเล่นโอลิมปิก 4 ครั้งติดต่อกันในฐานะนักกีฬาทีมชาติ คิมูระเล่นวอลเลย์บอลมาอย่างยาวนาน มีจุดเปลี่ยนของการแข่งขันหรือช่วงเวลาไหม?
A: ตอนยังเป็นเด็กก็คิดว่าอยากจะเลิกเล่นดีกว่าทุก ๆ ครั้งที่มีการแข่งขันใหญ่ ๆ ค่ะเพราะเรายังมีอะไรที่อยากทำหลายอย่างเลยค่ะ อย่างตอนเรียนจบ ม.ปลาย ก็ลังเลว่าจะเลือกเข้าเรียนโรงเรียนเสริมสวยดีไหม ก็เลยไปถามคุณแม่ คุณแม่เลยพูดว่า "วอลเลย์ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตเนอะ ถ้าหนูมีอะไรที่อย่างอื่นที่อยากทำ การเลือกทางนั้นก็เป็นสิ่งที่ดีนะ" แต่พอคิดกับตัวเองว่า "วอลเลยล์บอลไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำตลอดไป" ก็รู้สึกสนใจ ก็เลยเลือกเล่นวอลเลย์บอลต่อหลังจากนั้นค่ะ พอไปถามคุณแม่อีกรอบแม่ก็บอกกับฉันว่า "คิดไว้อยู่แล้วว่าต้องเลือกวอลเลย์"  

Q: แต่ถึงอย่างนั้น 17 ปีที่ถูกเลือกให้มาติดทีมชาติตั้งแต่ม.ปลายจนอายุ 30 ปี เหตุผลที่เล่นวอลเลย์บอลมาตลอดเลยคืออะไร?
A: แม้ว่าจะคิดเลิกเล่นสักวันแต่ก็ทำไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นค่ะ เพราะยังรู้สึกว่า "อยากจะเป็นนักกีฬาแบบนี้ให้ได้" "ถ้าทำแต้มนั้นไม่ได้ก็คงเสียใจ" ก็ยังอยากเล่นต่อไปเรื่อย ๆ ถึงจะชนะเลิศแล้วก็ตามค่ะ

Q: ช่วงปี 2008 - 2012 ได้ที่ 3 โอลิมปิก แล้วก็ชนะบราซิลจบด้วยที่ 4 ในรายการเวิร์ดคัพ เป็นสีปีที่ช่างสดใสมากเลย
A: เป็นการแข่งขันที่คิดว่าไม่สามารถชนะได้แน่นอนและ 3-0 ด้วยค่ะ ถึงจะเก็บไปแล้ว 2 เซ็ต ยังคิดอยู่ว่าชนะไม่ได้แน่ ๆ ถ้าไม่จบเซ็ตนี้ ตอนที่เหลืออีกคะแนนเดียวจะชนะ ในตอนนั้นตื่นเต้นมากค่ะ ตอนนั้นมองตาทาเคชิตะก็รู้เลยว่าจะต้องเซ็ตมาให้ฉันก็เลยหายใจลึก ๆ แล้วคิดว่า "เอาล่ะ ฉันต้องทำให้ได้แต้มนี้" 

Q: ตั้งแต่จบโอลิมปิกที่ลอนดอนจนโอลิมปิกที่ริโอทำหน้าที่เป็นกัปตันทีมมาตลอดเลย แต่การแข่งขันที่ได้ดูการเล่นที่นี่แหละคือคิมูระคือการแข่งขันกับอิตาลีในการแข่งขันคัดโอลิมปิก 2016 
A: การเป็นกัปตันทีมเป็นเรื่องที่ยากค่ะ ต้องรวมทีมเป็นหนึ่งแล้วก็ต้องใส่ใจกับทุก ๆ คนด้วย แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ มานาเบะจินตนาการการเล่นของทีมก็เลยเลือกฉันเป็นกัปตันทีมค่ะ  แต่ฉันจะเล่นยังไงก็ไม่มี passion เลยค่ะ ก็เลยเป็นกัปตันทีมที่ดึงศักยภาพของทีมออกมาไม่ได้เลยค่ะ  แต่แมชท์ที่แข่งกับอิตาลีในวันนั้นเป็นเครื่องที่เปิดสวิชต์ในตัวฉันเลยค่ะ วันนั้นฉันบอกกับมิยาชิตะว่า "ถ้าไม่รู้จะเซ็ตให้ใครก็ส่งมาให้ฉันเลย" ก็เป็นการแข่งขันคิดว่า "เราคือคีย์เวิร์ดของเกมใช่ไหมนะ"  ค่ะ 

(นัดนั้นญี่ปุ่นแพ้ 2-3 แต่คิมูระทำคะแนนไป 31 คะแนน)

Q: แต่การแข่งขันนั้น แม้จะทำคะแนนได้มากแต่ก็ไม่เห็นรอยยิ้มอย่างที่เคยเป็นเลย
A: ตั้งใจมากว่าต้องเข้าร่วมโอลิมปิกริโอให้ได้เพราะอยากจะให้ทุกคนได้รับประสบการณ์เพื่อโอลิมปิกที่โตเกียว ตั้งแต่เป็นกัปตันทีมมาก็รู้สึกเหมือนว่าทุกคนต้องได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่าตัวเอง ความรู้สึกเสียดายก็ค่อย ๆ เลือนลางหายไปค่ะ เมื่อก่อนพอแพ้แล้วก็จะตีบอลบ้าง เตะกำแพงบ้าง แต่ตอนนี้ความรู้สึกแบบนั้นหายไปแล้วค่ะ แต่เพราะการแข่งขันนั้น โอลิมปิก 2016 จบลง และได้เล่นลีกครั้งสุดท้ายกับน้องสาวก็ยังอารมณ์ไม่ดีอยู่บ้างน้า

(นัดสุดท้ายแพ้ nec 1-3 แล้วก็ไม่ได้เล่นเต็มด้วยเพราะเป็นตะคริวก่อน ถ้าตรงนี้ข้อมูลผิดช่วยบอกกันด้วยนะครับ)

Q: ตอนยังเล่นอยู่ แฟน ๆ ก็เรียกว่า "ซาโอริน" (サオリン) คิดยังไงกับการที่ตัวเองเป็นที่นิยมในตอนนั้น?
A: รู้สึกอยากขอบคุณค่ะ แต่ฉันเองก็ไม่ได้รับหน้าที่สำคัญอะไรมากขนาดนั้นค่ะ ทั้ง ๆ ที่เพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ เองก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีมาก ๆ และพาทีมชนะ พอเห็นหน้าหนังสือพิมพ์เขียนว่า "คิมูระ ซาโอริ  มีบทบาทอย่างมาก" ก็จะรู้สึกว่า "โอ๊ย อีกแล้วนะเนี่ย" ตัวเซ็ตหรือลิเบอโร่ก็ทำหน้าที่ได้ดีเหมือนกัน ฉันคิดมาตลอดเลยค่ะว่าทำไมต้องหยิบยกตัวตบที่ต้องตบเพื่อทำคะแนนมาเป็นประเด็นในตอนสุดท้ายด้วย การถูกหยิบยกขึ้นมาว่าเป็นหน้าที่ หรือ ไม่ชอบเพราะเครียดนั้นไม่มีเลยค่ะ แต่แค่รู้สึกแปลก ๆ เท่านั้นเอง

Q: หลังจากเลิกเล่นไปแล้ว มีนักกีฬาที่ถูกเรียกว่า "ซาโอริ 2" เยอะมาก รู้สึกอย่างไรบ้าง?
A: การได้ยินชื่อตัวเองรู้สึกดีใจค่ะแต่รู้สึกขอโทษมากกว่า คนนั้นก็มีชื่อเป็นของตัวเอง มีสไตล์การเล่น คนที่คิดว่า "ทำไมต้องเอาเขามาร่วมกับฉันด้วยล่ะ" ก็อาจจะมีอยู่ อยากให้ดูคน ๆ นั้นอย่างจริง ๆ ไม่ใช่ว่าเป็นซาโอริ 2 ค่ะ  แต่ไม่ใช่แค่กีฬาวอลเลย์หรอกเนอะคะที่มีการเรียกอย่างนี้ 

Q: โอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในปี 2021
A: เอริกะเป็นกัปตันเนอะ ตอนนี้ฉันทำได้แค่ขอให้ได้จัด การเลื่อนออกมาอย่างน้อยที่สุด 1 ปีนั้นมันรู้สึกอึดอัดมาก ๆ ค่ะ ร่างกายเองก็ด้วย ทั้งยังมาพร้อมกับความรู้สึกทางจิตใจอีก ริสะก็เพิ่งจะประกาศเลิกเล่นไปด้วย มีตัวเลือกหลายตัวมาก ถ้าเป็นฉันฉันก็คงจะเลิกเล่นเหมือนกันค่ะ  เพราะคิดว่า 1 ปีนั้นมันหนักมาก เพื่อให้คนที่พยายามมาตลอด ถ้าจัดปีหน้าได้ก็คงจะดีมาก ๆ เลยค่ะ


"ชีวิตอย่างที่เป็นฉันคือชีวิตที่ได้ทำเรื่องที่อยากทำอย่างแท้จริง"
                                                                - คิมูระ ซาโอริ, 2020.

ขอบคุณรูปภาพและบทความ : https://news.yahoo.co.jp/byline/tanakayuko/20201207-00211356
บทความเมื่อ : 7 ธ.ค. 2563 โดย 田中夕子 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่