ในขณะที่กำลังออกตรวจลาดตระเวนภัยคุกคาม จนถึงบริเวณ “ป่าพนมปรอปร๊อก” ท้องที่ตำบลบักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ชุด Smart Patrol เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก พบ “เลียงผา” ยืนอยู่ในพุ่มไม้ และยังคงอยู่นิ่งไม่วิ่งหนี แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะขยับเข้าไปใกล้ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เดินใกล้เข้าไปอีก จึงพบว่า ขาด้านขวาของ “เลียงผา” ติดกับดักบ่วงสลิง เจ้าหน้าที่จึงช่วยเหลือด้วยการตัดลวดสลิงออกจากขา แต่ “เลียงผา” ก็ยังยืนงงอยู่นาน แต่ไม่มีอาการอ่อนล้า
“บัญชา ประเสริฐศรี” หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก คาดว่าเลียงผาเพิ่งจะติดบ่วงล่าสัตว์ และผู้ล่าสัตว์ที่มาติดบ่วงวางกับดัก ยังไม่ถึงเวลาขึ้นมาตรวจสอบบ่วงของตน จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพื้นที่บริเวณใกล้เคียง พบบ่วงดักสัตว์อีกจำนวนหนึ่ง จึงเก็บกู้บ่วงออกทั้งหมด พร้อมทั้งสืบสวนหาข่าว เพื่อจะทำการจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้ต่อไป
ทั้งนี้ “เลียงผา” เป็นสัตว์กีบคู่ในวงศ์มหิงสาเช่นเดียวกับวัว ควาย แพะ แกะ อยู่ในวงศ์ย่อยแพะแกะ “เลียงผา” เป็นสัตว์โบราณที่สุดของวงศ์ย่อยแพะแกะ(Geist,1985) จึงมีปัญหาในการจำแนกว่าจะอยู่ในสกุลใดระหว่าง Capricornis sumatraensis และ Naemorhedus sumatraensis ดังนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของเลียงผา คือ Capricornis sumaatraensis จึงหมายถึง สัตว์ที่มีเขาอย่างแพะแห่งเกาะสุมาตรา สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งคือ Naemorhedus sumatranesis มีความหมายว่า แพะหนุ่มแห่งพงไพรของเกาะสุมาตรา เนื่องจากคำว่า Naemor มาจากคำว่า Nemoris ในภาษาลาติน แปลว่า ป่า (Grove,Forest) และ Hedus ในภาษาลาตินแปลว่า แพะหนุ่ม (Young Goats)
“เลียงผา” มีชื่อสามัญว่า Serow มาจากคำว่า Saro ในภาษาของชาว Lepacha กลุ่มชาติพันธุ์เล็กๆ อาศัยอยู่ที่สิกขิมลักษณะทั่วไป “เลียงผา” เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว (วิชาญ และสวัสดิ์,2539) ตัวเมียเล็กกว่าตัวตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขายาวต่อเนื่องทุกปี อาจยาวสุด 32 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนเขาประมาณ 15 เซนติเมตร
ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวมีสีดำ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีสีขาวแซม ขนมีทั้งที่เป็นสีดำและสีแดงขึ้นอยู่กับสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย(สืบ, 2531) น้ำหนัก 85-140 ก.ก. ความยาวลำตัว140-155 ซ.ม. ช่วงอายุเฉลี่ย 21 ปี ระยะตั้งท้อง 200-230 วัน สถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN) ชนิดพันธุ์ในบัญชีอนุรักษ์ (cites) Appendix l และเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 8 ตามพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535
เครดิตข่าว
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000116045
----------------------------------------------------------------------------------------------
บางครั้ง ก็ไม่สามารถทำความเช้าใจกับพวกคลั่งอนุรักษ์ จะแอนตี้อะไรนักหนากับ การเพิ่มจำนวนโดยเปิดให้เลี้ยงเชิงพาณิชย์ ซึ่งก็จะเหมือนกวางป่าที่มีจำนวนมากขึ้น
พวกนี้ชอบคิดเหมือนกับว่า เปิดให้เพาะพันธ์สัตว์ได้ แล้วจะเลิกอนุรักษ์ตัวในป่ายังไงไม่รู้
รอดหวุดหวิด!! เลียงผาป่าพนมดงรักติดบ่วง
“บัญชา ประเสริฐศรี” หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก คาดว่าเลียงผาเพิ่งจะติดบ่วงล่าสัตว์ และผู้ล่าสัตว์ที่มาติดบ่วงวางกับดัก ยังไม่ถึงเวลาขึ้นมาตรวจสอบบ่วงของตน จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพื้นที่บริเวณใกล้เคียง พบบ่วงดักสัตว์อีกจำนวนหนึ่ง จึงเก็บกู้บ่วงออกทั้งหมด พร้อมทั้งสืบสวนหาข่าว เพื่อจะทำการจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้ต่อไป
ทั้งนี้ “เลียงผา” เป็นสัตว์กีบคู่ในวงศ์มหิงสาเช่นเดียวกับวัว ควาย แพะ แกะ อยู่ในวงศ์ย่อยแพะแกะ “เลียงผา” เป็นสัตว์โบราณที่สุดของวงศ์ย่อยแพะแกะ(Geist,1985) จึงมีปัญหาในการจำแนกว่าจะอยู่ในสกุลใดระหว่าง Capricornis sumatraensis และ Naemorhedus sumatraensis ดังนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของเลียงผา คือ Capricornis sumaatraensis จึงหมายถึง สัตว์ที่มีเขาอย่างแพะแห่งเกาะสุมาตรา สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งคือ Naemorhedus sumatranesis มีความหมายว่า แพะหนุ่มแห่งพงไพรของเกาะสุมาตรา เนื่องจากคำว่า Naemor มาจากคำว่า Nemoris ในภาษาลาติน แปลว่า ป่า (Grove,Forest) และ Hedus ในภาษาลาตินแปลว่า แพะหนุ่ม (Young Goats)
“เลียงผา” มีชื่อสามัญว่า Serow มาจากคำว่า Saro ในภาษาของชาว Lepacha กลุ่มชาติพันธุ์เล็กๆ อาศัยอยู่ที่สิกขิมลักษณะทั่วไป “เลียงผา” เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว (วิชาญ และสวัสดิ์,2539) ตัวเมียเล็กกว่าตัวตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขายาวต่อเนื่องทุกปี อาจยาวสุด 32 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนเขาประมาณ 15 เซนติเมตร
ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวมีสีดำ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีสีขาวแซม ขนมีทั้งที่เป็นสีดำและสีแดงขึ้นอยู่กับสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย(สืบ, 2531) น้ำหนัก 85-140 ก.ก. ความยาวลำตัว140-155 ซ.ม. ช่วงอายุเฉลี่ย 21 ปี ระยะตั้งท้อง 200-230 วัน สถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN) ชนิดพันธุ์ในบัญชีอนุรักษ์ (cites) Appendix l และเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 8 ตามพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535
เครดิตข่าว
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000116045
----------------------------------------------------------------------------------------------
บางครั้ง ก็ไม่สามารถทำความเช้าใจกับพวกคลั่งอนุรักษ์ จะแอนตี้อะไรนักหนากับ การเพิ่มจำนวนโดยเปิดให้เลี้ยงเชิงพาณิชย์ ซึ่งก็จะเหมือนกวางป่าที่มีจำนวนมากขึ้น
พวกนี้ชอบคิดเหมือนกับว่า เปิดให้เพาะพันธ์สัตว์ได้ แล้วจะเลิกอนุรักษ์ตัวในป่ายังไงไม่รู้