อาการป่วยซ่อนเร้นของผู้สูงอายุ
สังขารเสื่อมไปเป็นของธรรมดา เป็นวลีที่พี่หมอมักจะชอบพูดบ่อยๆเวลาที่ได้ยินได้ฟังเรื่องการเจ็บป่วยของคนรอบตัว เพราะเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากระบบอวัยวะที่ถือว่าเป็นฮาร์ดแวร์ของร่างกายจะเปลี่ยนไปแล้ว ระบบแสดงอาการหรือซอฟท์แวร์ก็ยังเปลี่ยนไปด้วย แม้แต่ตัวพี่หมอเองที่อายุก็ยังไม่มากเท่าไหร่ (แค่เกือบ 40 เอง) ก็ยังรู้สึกว่าร่างกายไม่เหมือนเดิมเลย
เพราะแม้จะป่วยด้วยโรคชนิดเดียวกัน แต่ร่างกายของผู้สูงอายุ 👨🦳👩🦳 จะแสดงอาการเจ็บป่วยแตกต่างไปจากอาการที่พบได้ในคนอายุน้อย หรือแม้แต่อาการปวด บางครั้งผู้สูงอายุก็ไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า ปวดอย่างไร ปวดตรงไหน หรือลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่ามีอาการดังกล่าว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสมองและความจำ
ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะแบบนี้ว่า ภาวะที่แสดงอาการเจ็บป่วยซ่อนเร้นของผู้สูงอายุ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้สูงอายุที่บ้านของเรามีอาการเจ็บป่วยอะไรซ่อนอยู่รึเปล่า ด้วยความอยากรู้พี่หมอก็เลยไปสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากคุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุมาไว้ตรงนี้แล้วครับ
ภาวะเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่อาจไม่แสดงอาการโดยตรง แบ่งตามอาการได้ดังนี้
ภาวะติดเชื้อ 🦠
ผู้สูงอายุส่วนมากจะยังมีอาการไข้เมื่อมีภาวะติดเชื้อ ยกเว้นผู้ที่สูงอายุมากๆ คือ ตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป หรือมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง หรือรับประทานยาที่มีฤทธิ์กดอาการอักเสบ ก็อาจจะไม่มีไข้หรือไข้ขึ้นช้าตามหลังการติดเชื้อหลายวัน ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นมีอาการอื่นเกิดขึ้นแทน เช่น อ่อนเพลีย ซึม วิงเวียนศีรษะ เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารไม่ได้ มีเลือดปนออกมาเวลาอาเจียนหรือขับถ่าย ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะน้อยลง
มีการงานวิจัยพบว่า หนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่ถูกวินิจฉัยว่า “ปอดอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อ” มักจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว รองลงมาคืออาการวิงเวียนศีรษะ และไม่ยอมรับประทานอาหาร
ภาวะเส้นเลือดตีบและหัวใจขาดเลือด 💔
อาการหลักของผู้ป่วยที่สูงอายุ คือ อาการเจ็บและแน่นหน้าอก แต่ในรายที่เส้นเลือดตีบในตำแหน่งด้านล่างหรือด้านหลังของหัวใจ หรืออยู่ใกล้กับอวัยวะอื่น เช่น กระบังลม หรือผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน จะทำให้เส้นประสาทรับความเจ็บปวดทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยก็อาจจะแสดงอาการอื่นออกมาแทน เช่น จุกที่บริเวณลิ้นปี่ มวนท้อง ปวดหลังช่วงอก
หรือผู้ป่วยบางรายก็อาจจะบ่นว่ามีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ปวดหรือเวียนศีรษะ มีอาการชาลามขึ้นไปที่คอหรือลงไปตามลำตัวแบบฉับพลัน อ่อนเพลียไม่มีแรง หายใจเหนื่อยหอบหรือหายใจลำบากจนไม่สามารถพูดได้จนจบประโยค ขาบวมทั้งสองข้าง ในขณะที่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม อาจมีอาการสับสน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นอาการของภาวะเส้นเลือดตีบและหัวใจขาดเลือดในผุ้สูงอายุได้เช่นกัน
ภาวะโลหิตจาง 🩸
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน การขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 โฟเลต ภาวะไขกระดูกฝ่อ หรือภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมากผิดปกติ ซึ่งหากไม่มีจุดที่เลือดออกอย่างชัดเจน อาการของผู้ป่วยก็จะค่อยเป็นค่อยไป
หรือบางรายก็อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการซีด เช่น เวียนศีรษะเรื้อรัง เหนื่อยง่าย ทรงตัวไม่ดี ล้มบ่อย การตื่นตัวลดลง สมาธิและความจำไม่ดี ซึ่งถ้าเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต ก็อาจมีอาการชา หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ ร่วมด้วย
ภาวะซึมเศร้า 😔
ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ได้แสดงอาการเศร้าออกมา แต่ลูกหลานอาจจะสังเกตได้จากอาการอื่นๆ เช่น มีพฤติกรรมหรือนิสัยที่เปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มแยกตัวเองจากคนในครอบครัว ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ เชื่องช้า ไม่มีแรงหรือลุกลน กระวนกระวายผิดปกติ เบื่ออาหารหรือกินมากผิดปกติ มีปัญหาในการนอน สมาธิสั้น ความจำไม่ดี รวมถึงการรู้สึกแย่กับตัวเอง หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ ไม่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งบางรายก็อาจละเลยไม่ดูแลความสะอาดของตัวเอง ไม่ดูแลบ้าน และไม่ยอมกินยาตามที่แพทย์สั่ง
แต่ถ้าไม่อยากให้เหล่าสว.ในบ้านเจ็บป่วย ลูกๆ หลานๆ อย่างเราก็ต้องช่วยกันดูแล ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้ท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ตามนี้เลยครับ
1. ออกกำลังกายวันละนิด โดยเราอาจจะชวนท่านเดิน 🚶♀️ รอบหมู่บ้านอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ทำงาน และลำไส้ได้เคลื่อนไหว ท้องจะได้ไม่ผูก ที่สำคัญ การเดินยังช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้อีกด้วย
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ผู้สูงอายุบางคนอาจจะไม่ชอบดื่มน้ำ เพราะเบื่อที่จะต้องเข้าห้องน้ำ ดังนั้น ก็ต้องอย่าลืมดูแลให้ท่านให้จิบน้ำบ่อยๆ ด้วยนะครับ
3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเน้นอาหารที่อ่อนนุ่ม รสชาติไม่จัดจ้าน ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ก็ควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอดีคำ หรืออาจจะเปลี่ยนวิธีการปรุงไปเป็นการนึ่งหรือตุ๋นแทน เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น และไม่ควรรับประทานอาหารที่ค้างคืนเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายได้
4. หมั่นดูแลความสะอาดของร่างกาย 🧼 เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้
5. พยายามให้ท่านใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หรือ วอลค์เกอร์ เพื่อช่วยให้เดินได้อย่างมั่นคงมากขึ้น และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดิน
6. ดูแลให้ท่านกินยา 💊 ให้ตรงตามเวลาและปริมาณที่แพทย์สั่ง ห้ามให้หยุดยาเอง และควรพาไปพบแพทย์ตามกำหนด
7. ดูแลสุขภาพกายแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพจิตของท่านด้วยนะครับ เพราะความรักและความเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ ถ้ามีเวลาก็อาจจะพาลูกหลานไปเยี่ยมและพูดคุยกับท่าน หรือพาไปรับประทานอาหารนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง หรือพยายามหากิจกรรมให้ท่านทำเพื่อไม่ให้เหงา และป้องกันความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย 😃
คงไม่มีใครอยากเห็นคนที่เรารักเจ็บป่วย ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว ดังนั้น การดูแลจึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจและความใส่ใจในทุกรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย การรักษาฟื้นฟู ไปจนถึงการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ท่านกลับมาป่วยซ้ำอีก รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของท่านด้วย
ที่สำคัญ ถ้าสังเกตเห็นอาการเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อยก็อย่ามองข้ามเด็ดขาด ควรจะรีบพาไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุดนะครับ 💝 💝 💝
อาการป่วยซ่อนเร้นของผู้สูงอายุ
สังขารเสื่อมไปเป็นของธรรมดา เป็นวลีที่พี่หมอมักจะชอบพูดบ่อยๆเวลาที่ได้ยินได้ฟังเรื่องการเจ็บป่วยของคนรอบตัว เพราะเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากระบบอวัยวะที่ถือว่าเป็นฮาร์ดแวร์ของร่างกายจะเปลี่ยนไปแล้ว ระบบแสดงอาการหรือซอฟท์แวร์ก็ยังเปลี่ยนไปด้วย แม้แต่ตัวพี่หมอเองที่อายุก็ยังไม่มากเท่าไหร่ (แค่เกือบ 40 เอง) ก็ยังรู้สึกว่าร่างกายไม่เหมือนเดิมเลย
เพราะแม้จะป่วยด้วยโรคชนิดเดียวกัน แต่ร่างกายของผู้สูงอายุ 👨🦳👩🦳 จะแสดงอาการเจ็บป่วยแตกต่างไปจากอาการที่พบได้ในคนอายุน้อย หรือแม้แต่อาการปวด บางครั้งผู้สูงอายุก็ไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า ปวดอย่างไร ปวดตรงไหน หรือลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่ามีอาการดังกล่าว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสมองและความจำ
ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะแบบนี้ว่า ภาวะที่แสดงอาการเจ็บป่วยซ่อนเร้นของผู้สูงอายุ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้สูงอายุที่บ้านของเรามีอาการเจ็บป่วยอะไรซ่อนอยู่รึเปล่า ด้วยความอยากรู้พี่หมอก็เลยไปสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากคุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุมาไว้ตรงนี้แล้วครับ
ภาวะเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่อาจไม่แสดงอาการโดยตรง แบ่งตามอาการได้ดังนี้
ภาวะติดเชื้อ 🦠
ผู้สูงอายุส่วนมากจะยังมีอาการไข้เมื่อมีภาวะติดเชื้อ ยกเว้นผู้ที่สูงอายุมากๆ คือ ตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป หรือมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง หรือรับประทานยาที่มีฤทธิ์กดอาการอักเสบ ก็อาจจะไม่มีไข้หรือไข้ขึ้นช้าตามหลังการติดเชื้อหลายวัน ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นมีอาการอื่นเกิดขึ้นแทน เช่น อ่อนเพลีย ซึม วิงเวียนศีรษะ เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารไม่ได้ มีเลือดปนออกมาเวลาอาเจียนหรือขับถ่าย ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะน้อยลง
มีการงานวิจัยพบว่า หนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่ถูกวินิจฉัยว่า “ปอดอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อ” มักจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว รองลงมาคืออาการวิงเวียนศีรษะ และไม่ยอมรับประทานอาหาร
ภาวะเส้นเลือดตีบและหัวใจขาดเลือด 💔
อาการหลักของผู้ป่วยที่สูงอายุ คือ อาการเจ็บและแน่นหน้าอก แต่ในรายที่เส้นเลือดตีบในตำแหน่งด้านล่างหรือด้านหลังของหัวใจ หรืออยู่ใกล้กับอวัยวะอื่น เช่น กระบังลม หรือผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน จะทำให้เส้นประสาทรับความเจ็บปวดทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยก็อาจจะแสดงอาการอื่นออกมาแทน เช่น จุกที่บริเวณลิ้นปี่ มวนท้อง ปวดหลังช่วงอก
หรือผู้ป่วยบางรายก็อาจจะบ่นว่ามีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ปวดหรือเวียนศีรษะ มีอาการชาลามขึ้นไปที่คอหรือลงไปตามลำตัวแบบฉับพลัน อ่อนเพลียไม่มีแรง หายใจเหนื่อยหอบหรือหายใจลำบากจนไม่สามารถพูดได้จนจบประโยค ขาบวมทั้งสองข้าง ในขณะที่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม อาจมีอาการสับสน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นอาการของภาวะเส้นเลือดตีบและหัวใจขาดเลือดในผุ้สูงอายุได้เช่นกัน
ภาวะโลหิตจาง 🩸
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีเลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน การขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 โฟเลต ภาวะไขกระดูกฝ่อ หรือภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมากผิดปกติ ซึ่งหากไม่มีจุดที่เลือดออกอย่างชัดเจน อาการของผู้ป่วยก็จะค่อยเป็นค่อยไป
หรือบางรายก็อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการซีด เช่น เวียนศีรษะเรื้อรัง เหนื่อยง่าย ทรงตัวไม่ดี ล้มบ่อย การตื่นตัวลดลง สมาธิและความจำไม่ดี ซึ่งถ้าเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต ก็อาจมีอาการชา หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ ร่วมด้วย
ภาวะซึมเศร้า 😔
ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ได้แสดงอาการเศร้าออกมา แต่ลูกหลานอาจจะสังเกตได้จากอาการอื่นๆ เช่น มีพฤติกรรมหรือนิสัยที่เปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มแยกตัวเองจากคนในครอบครัว ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ เชื่องช้า ไม่มีแรงหรือลุกลน กระวนกระวายผิดปกติ เบื่ออาหารหรือกินมากผิดปกติ มีปัญหาในการนอน สมาธิสั้น ความจำไม่ดี รวมถึงการรู้สึกแย่กับตัวเอง หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ ไม่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งบางรายก็อาจละเลยไม่ดูแลความสะอาดของตัวเอง ไม่ดูแลบ้าน และไม่ยอมกินยาตามที่แพทย์สั่ง
แต่ถ้าไม่อยากให้เหล่าสว.ในบ้านเจ็บป่วย ลูกๆ หลานๆ อย่างเราก็ต้องช่วยกันดูแล ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้ท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ตามนี้เลยครับ
1. ออกกำลังกายวันละนิด โดยเราอาจจะชวนท่านเดิน 🚶♀️ รอบหมู่บ้านอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ทำงาน และลำไส้ได้เคลื่อนไหว ท้องจะได้ไม่ผูก ที่สำคัญ การเดินยังช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้อีกด้วย
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ผู้สูงอายุบางคนอาจจะไม่ชอบดื่มน้ำ เพราะเบื่อที่จะต้องเข้าห้องน้ำ ดังนั้น ก็ต้องอย่าลืมดูแลให้ท่านให้จิบน้ำบ่อยๆ ด้วยนะครับ
3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเน้นอาหารที่อ่อนนุ่ม รสชาติไม่จัดจ้าน ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ก็ควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆพอดีคำ หรืออาจจะเปลี่ยนวิธีการปรุงไปเป็นการนึ่งหรือตุ๋นแทน เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น และไม่ควรรับประทานอาหารที่ค้างคืนเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายได้
4. หมั่นดูแลความสะอาดของร่างกาย 🧼 เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้
5. พยายามให้ท่านใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หรือ วอลค์เกอร์ เพื่อช่วยให้เดินได้อย่างมั่นคงมากขึ้น และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดิน
6. ดูแลให้ท่านกินยา 💊 ให้ตรงตามเวลาและปริมาณที่แพทย์สั่ง ห้ามให้หยุดยาเอง และควรพาไปพบแพทย์ตามกำหนด
7. ดูแลสุขภาพกายแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพจิตของท่านด้วยนะครับ เพราะความรักและความเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ ถ้ามีเวลาก็อาจจะพาลูกหลานไปเยี่ยมและพูดคุยกับท่าน หรือพาไปรับประทานอาหารนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง หรือพยายามหากิจกรรมให้ท่านทำเพื่อไม่ให้เหงา และป้องกันความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย 😃
คงไม่มีใครอยากเห็นคนที่เรารักเจ็บป่วย ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว ดังนั้น การดูแลจึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจและความใส่ใจในทุกรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการวินิจฉัย การรักษาฟื้นฟู ไปจนถึงการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ท่านกลับมาป่วยซ้ำอีก รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของท่านด้วย
ที่สำคัญ ถ้าสังเกตเห็นอาการเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อยก็อย่ามองข้ามเด็ดขาด ควรจะรีบพาไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุดนะครับ 💝 💝 💝