[CR] 🇹🇭 Praya Dining - พระยา ไดนิ่ง ร้านอาหารไทยโบราณในคฤหาสน์เก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

👉🏻ก่อนเข้ารีวิวเราขอแนะนำแฟนเพจ FB ของเราสักนิด เราเปิดขึ้นมาเพื่อรวบรวมร้านอาหารทั้งในและต่างประเทศมากมาย มาแบ่งปันกัน ฝากกดไลค์ กดแชร เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะค้าาา 
    📍 FB: ตามล่า Fine Dining
    📌 IG: Fine Dining lover 
     และช่องทางใหม่ทาง Youtube :  ตามล่า Fine Dining 

🇹🇭 Praya Dining - พระยา ไดนิ่ง

🍴 Thai - อาหารไทย

🎗 [Intro] รีวิวฉบับนี้เราได้รับเชิญจากห้องอาหาร Praya Palazzo เพื่อนำเสนอ Set Menu ชุดใหม่ที่ได้รวบรวม Signature Dish เมนูอาหารไทยชาววังต่างๆเข้าไว้ด้วยกันในราคาสุดคุ้มค่าเพียง 2,200 บาท/2 คน เนื่องจากตัวโรงแรมเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฉะนั้นก่อนเข้าสู่รีวิวเราจึงขอเกริ่นถึงประวัติของตัวอาคารกันสักหน่อย ส่วนเพื่อนๆที่อยากชมเฉพาะอาหารสามารถข้ามไปที่ด้านล่างได้เลย

🎗 [A Bit of History] อาคาร “พระยา พาลาซโซ่” แต่เดิมมีชื่อว่า “บ้านบางยี่ขัน” ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเรือนหอของ “อำมาตย์เอกชลภูมิพานิช” ข้าราชการเชื้อสายจีนในกรมท่าซ้าย กระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งสมรสกับคุณหญิงส่วนผู้เป็นข้าหลวงในสมเด็จพระราชินีนาถ (รัชกาลที่ ๕) ตำแหน่งที่ดินตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีบริเวณระหว่างสะพานพระรามแปดและสะพานพระปิ่นเกล้า ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Palladian Architecture สองชั้นก่อด้วยอิฐปูนหันหน้าเข้าฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดูสง่างาม เจ้าของผลงานเป็นสถาปนิกพระราชทานชาวอิตาเลียนสองคนคือ Galileo Chini และ Carlo Rigoli ทั้งคู่รู้จักกันในงานแสดงศิลปะ ณ กรุงปารีส, บรัสเซลส์ และเวนิส ก่อนที่จะชักชวนกันมาทำงานที่ประเทศสยามและฝากผลงานชิ้นเอกเอาไว้มากมายเช่น ภาพตกแต่งพระอุโบสถวัดราชาธิวาส, พระที่นั่งบรมพิมาน และวังบางขุนพรหม พระยาชลภูมิพานิชอยู่อาศัยจนมีบุตร-ธิดาถึง 10 คนและถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2481 ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 การคมนาคมในกรุงเทพได้เปลี่ยนจากการเดินทางด้วยเรือไปใช้รถยนต์เป็นหลักทำให้บ้านบางยี่ขันที่สามารถเข้าออกได้ด้วยเรือเท่านั้นไม่สะดวกต่อการอยู่อาศัย นายปานจิตต์ อเนกวณิช บุตรชายคนที่ 7 ผู้ถือครองโฉนดที่ดินจึงได้ขายบ้านและย้ายไปอยู่ในย่านสุขุมวิทฝั่งกรุงเทพฯ กรรมสิทธิ์ของบ้านถูกโอนไปให้กลุ่มมุสลิมบางกอกน้อยและโรงเรียนราชการุญตามลำดับ 

🎗 หลังจากโรงเรียนราชการุญปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2521 ตัวอาคารก็ถูกปล่อยทิ้งร้างในสภาพหลังคาบางส่วนพังยุบ ผนังมีเชื้อราขึ้น และมีน้ำท่วมขังภายใน กระทั่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย พิทักษ์วรรัตน์ และภรรยาเข้าไปบูรณะบ้านหลังนี้โดยให้คงลักษณะของเดิมไว้ให้มากที่สุด วัสดุก่อสร้างทั้งหมดต้องขนส่งทางเรือ กินเวลามากกว่า 20 เดือนจึงเเล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2552 และเปิดเป็นโรงแรมในชื่อ “พระยา พาลาซโซ่”ซึ่งหมายความว่า “คฤหาสถ์แห่งพระยาชลภูมิพานิช” หลังจากคุณวิชัยเสียชีวิตลงกรรมสิทธิ์และงานบริหารโรงแรมถูกขายให้กับเครือมณทาระ เจ้าของรีสอร์ทชื่อดังอย่าง  Trisara ในจังหวัดภูเก็ตและยังเป็นที่ตั้งของ PRU ห้องอาหารระดับหนึ่งดาวมิชลินแห่งเดียวในเมืองอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2554 โรงแรมพระยา พาลาซโซ่ได้เปิดห้องอาหารไทยเป็นของตัวเองในชื่อ “พระยา ไดนิ่ง” มีกระแสตอบรับเชิงบวกอย่างล้นหลามรวมไปถึงการได้รับรางวัลร้านอาหารไทยยอดเยี่ยมจาก Thailand Tatler และรางวัล Thai Select
 
🎗[The Place] เนื่องจากโรงแรม Praya Palazzo สามารถเข้าออกได้ทางเรือส่วนตัวเท่านั้นจึงขอแนะนำให้ลูกค้าขับรถไปจอดที่ลานจอดรถของวัดราชาธิ
วาสฝั่งกรุงเทพ (จอดฟรีเพียงแจ้งพนักงานว่ามาร้านพระยาไดนิ่ง) แล้วจึงโทรแจ้งกับทางโรงแรมเพื่อส่งเรือมารับที่ท่าน้ำของวัดภายใน 15 นาที เมื่อมาถึงท่าเรือของโรงแรมที่ฝั่งธนบุรีจะมีพนักงานต้อนรับพร้อม Welcome Drink หันมองทางฝั่งซ้ายมือเป็นสระว่ายน้ำพร้อมที่นั่งรับลมสุดชิล ดื่มน้ำกันเสร็จพนักงานจะนำทางเราเข้าสู่ห้องทานอาหารหลัก สังเกตตามขอบมุมจะมีเชิงแบบขนมปังขิงทรงโค้งมน ช่องลมฉลุลายโปร่งแบบจีนเข้ากันได้ดีทุกสัดส่วน ภายในตกแต่งแบบไทยเน้นใช้โทนสีแดงเป็นหลัก บนชั้นและในตู้มีเครื่องปั้นและเครื่องเรือนยุคเก่าวางประดับไว้ หลังทานอาหารเสร็จแนะนำให้ลองเดินขึ้นชั้นสองเพื่อชมห้องว่าราชการของพระยาชลภูมิพานิชซึ่งทางโรงแรมได้บูรณะให้ออกมาคล้ายกับต้นฉบับมากที่สุด

🎗 [The Food] เมนูอาหารที่นี่ทั้งหมดล้วนเป็นอาหารไทยโบราณ วันนี้เราได้เลือกทานเป็น 📃 PRAYA DINING Signature Set Menu ที่ราคาสุดคุ้มค่าคือ 2,200++/2 คนเท่านั้น (หรือ 3,600++/4คน) โดยทางร้านจะนำเสิร์ฟ อาหารว่าง, สลัด, ซุป, เมนคอร์สเสิร์ฟมาเป็นสำรับอย่างไทย ก่อนจะปิดท้ายด้วยขนมหวาน หรืออาจเลือกทานเป็นเมนู À La Carte ซึ่งจำเเนกหมวดหมู่อาหารตามยุคสมัย เริ่มจากสมัยสุโขทัยที่มักเป็นเมนูที่เรียบง่าย ยังไม่มีวิธีการปรุงที่ซับซ้อนเช่น “หลนปู” และ “หลนปลาเค็ม” ถัดมาคือสมัยอยุธยาที่เริ่มมีอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา มีการใส่เครื่องปรุงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศลงไปในอาหารเช่นมะละกอ สับปะรด มะเขือเทศ ถั่ว โดยเฉพาะพริกที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยในเวลาต่อมาดังจะเห็นได้จากเมนู “น้ำพริกกะปิ” หรือ “แกงมัสมั่น” นอกจากนี้อาหารหวานรสเลิศอย่าง “อินทนิล” ก็ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน สุดท้ายในยุคสมัยรัตนโกสินทร์เป็นยุคที่อาหารไทยทวีความซับซ้อนขึ้นอย่างมาก อาหารกลายเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวันเห็นได้จากการประพันธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน รวมไปถึงตำราการทำอาหารต่างๆ มีการนำเทคนิคการผัด การทอด จากจีนเข้ามา หรือการปรุงเเต่งด้วยเครื่องเทศที่หลากหลายจากอินเดียและศรีลังกา มีการก่อกำเนิดของสตรีทฟู้ดและอาหารสูตรชาววัง ทำให้ยุคสมัยนี้ถูกแบ่งออกตามรัชสมัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่ง Praya Dining ได้รวบรวมเมนูขึ้นชื่อที่หาทานได้ยากมาไว้ในเมนู เช่น “ล่าเตียง, แสร้งว่า, กระทงทอง, ยำทวาย และหมูผัดส้มเสี้ยว”

🎗 [Conclusion] รสชาติอาหารโดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์น่าประทับใจ อาหารแต่ละจานผ่านการปรุงด้วยแม่ครัวรสมือดี ราคาไม่แพงเทียบกับห้องอาหารระดับเดียวกัน บรรยากาศมีความเป็นส่วนตัว พนักงานมีความรู้ในรายละเอียดของอาหารพอสมควร บริการดีตามมาตรฐานโรงแรมห้าดาว Praya Dining ถือเป็นอีกหนึ่ง Hidden Gem ที่อยากแนะนำให้เพื่อนๆพาคนรู้ใจหรือครอบครัวตามไปลิ้มลองกัน

📃 PRAYA DINING Signature Set Menu (2,200++/2 คน หรือ 3,600++/4คน)

🥄 Amuse Bouche

แตงโมปลาแห้ง (Complimentary)
“Pla Haeng Tang Mo”
Amuse bouche

ม้าฮ่อ (Complimentary)
“Ma Hor”
Amuse bouche

🥄 Appetizer

กุ้งโสร่ง
“Goong Sarong”
Deep-fried prawns wrapped with egg noodles

ล่าเตียง
“La Tiang”
Ancient snack of pork, shrimp and peanuts wrapped in egg mesh

หมี่กรอบกระทงทอง
“Mee Krob Kratong Thong”
Crispy vermicelli with tamarind sauce served in crispy golden cup

🥄 Salad

ยำทวาย
“Yam Tawai”
Salad of shredded chicken and 7 vegetables blanched in coconut milk

🥄 Soup

แกงรัญจวญ
“Ran Juan Curry”
Traditional beef soup seasoned with shrimp paste

🥄 Main Dish

พล่าหมู
“Pla Mu”
Grilled pork with betal leaves and fresh herbs

ฉู่ฉี่กุ้งแม่น้ำ
“Chu Chee Kung Maenam”
Deep-fried river prawn with red curry sauce

หมูผัดส้มเสี้ยว
“Mu Pad Som siew”
Stir-fried pork with our forgotten yellow chili paste

ผัดผักนพเก้า
“Phad Pak Ruam”
Wok-fried mixed vegetables with oyster sauce

ข้าวสวย
“Khao Suay”
Steamed rice

🥄 Dessert

บัวลอยลูกตาลสด
“Bua Loy Look Tan”
Rice flour balls in coconut milk

- OR -

อินทนิล
“Inthanil” 
Sago balls with young coconut meat in coconut milk

👍 อาหารไทยชาววังรสดีในบรรยากาศคฤหาสถ์เก่า ราคาจับต้องได้ จัดเป็นอีกหนึ่งร้านที่เราอยากแนะนำให้ไปตามรอยกัน

🏵 Score:
รสชาติ : 12.5/20
ราคา : 🌟🌟🌟🌟
ความคุ้มค่า : 🌟🌟🌟🌟
เทคนิค : 🌟
บรรยากาศ : 🌟🌟🌟🌟
บริการ : 🌟🌟🌟🌟
ความประทับใจโดยรวม : 13/20

📍 Visit: Sep 2020

🏠 Location: 757/1 ซอย สมเด็จพระปิ่นเกล้า 2 แขวง บางยี่ขัน เขต บางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร 10700

🚗 Parking: จอดฟรีที่ท่าเรือวัดราชาธิราช

🕦 Operating Time: 11.30-21.30

💰 Price: 800-1,300 THB/p

📞 Tel: 02-883-2998

🧥 Dress Code: Casual

🖥 Website: https://www.prayapalazzo.com

🥰 ฝากเพื่อนๆช่วยกดไลค์และเเชร์เพจของเรา : ตามล่า Fine Dining

👍 เพจเราสร้างขึ้นเพื่อรีวิวห้องอาหาร Fine Dining ระดับมิชลินไกด์ทั่วโลก
#FineDining #AroiBKK #Bangkok #ตามล่าFineDining

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ทาด้าาา…ตอนนี้เรามีช่องยูทูปด้วยน้าา ตอนนี้อยู่ในช่วงฝึกหัด เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะค้า เปิดประเทศเมื่อไหร่ มีคลิปทั้งกิน ทั้งเที่ยวให้ดูกันเพลินๆแน่นอน FB: ตามล่า Fine Dining


รีวิวฉบับนี้เราได้รับเชิญจากห้องอาหาร Praya Palazzo เพื่อนำเสนอ Set Menu ชุดใหม่ที่ได้รวบรวม Signature Dish เมนูอาหารไทยชาววังต่างๆเข้าไว้ด้วยกันในราคาสุดคุ้มค่าเพียง 2,200 บาท/2 คน เนื่องจากตัวโรงแรมเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฉะนั้นก่อนเข้าสู่รีวิวเราจึงขอเกริ่นถึงประวัติของตัวอาคารกันสักหน่อย ส่วนเพื่อนๆที่อยากชมเฉพาะอาหารสามารถข้ามไปที่ด้านล่างได้เลย

เมื่อมาถึงท่าเรือของโรงแรมที่ฝั่งธนบุรีจะมีพนักงานต้อนรับพร้อม Welcome Drink

ดื่มน้ำกันเสร็จพนักงานจะนำทางเราเข้าสู่ห้องทานอาหารหลัก สังเกตตามขอบมุมจะมีเชิงแบบขนมปังขิงทรงโค้งมน ช่องลมฉลุลายโปร่งแบบจีนเข้ากันได้ดีทุกสัดส่วน

เมนูอาหารที่นี่ทั้งหมดล้วนเป็นอาหารไทยโบราณ วันนี้เราได้เลือกทานเป็น 📃 PRAYA DINING Signature Set Menu ที่ราคาสุดคุ้มค่าคือ 2,200++/2 คนเท่านั้น (หรือ 3,600++/4คน) โดยทางร้านจะนำเสิร์ฟ อาหารว่าง, สลัด, ซุป, เมนคอร์สเสิร์ฟมาเป็นสำรับอย่างไทย ก่อนจะปิดท้ายด้วยขนมหวาน

🥄 Amuse Bouche
แตงโมปลาแห้ง (Complimentary)
“Pla Haeng Tang Mo”
Amuse bouche
“ปลาแห้งแตงโม” เมนูอาหารชาววังที่มีประวัติย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมทานกันช่วงฤดูร้อนในหมู่ขุนนางและพระเจ้าแผ่นดิน ปรากฎหลักฐานชัดเจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อครั้งทำพระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต และฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้บันทึกว่าทรงจัดเมนูปลาแห้งแตงโมนำเสิร์ฟพระสงฆ์กว่าสองพันรูปควบคู่กับแกงพะแนง หมูผัดกุ้ง ไข่เจียว ลูกชิ้น มะเขือชุบไข่ทอด และกุ้งต้ม สำหรับเมนูปลาแห้งเเตงโมที่นี่ใช้แตงโมที่มีน้ำฉ่ำ คัดเฉพาะส่วนที่ไม่ติดเมล็ดมาใช้ ทำออกมาเป็นรูปหัวใจสวยงามน่าทาน มีรสชาติหวานเบาๆตัดกันกับรสเค็มของปลาแห้งได้อย่างลงตัวช่วยเรียกความสดชื่นก่อนเข้าอาหารจานถัดไปได้เป็นอย่างดี (12/20)
ม้าฮ่อ (Complimentary)
“Ma Hor”
Amuse bouche
“ม้าฮ่อ” เป็นอาหารไทยโบราณที่ได้จากการนำผลไม้รสเปรี้ยวในที่นี้คือสับปะรดหั่นออกมาเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ ทอปด้านบนด้วยเครื่องที่ได้จากการโขลกเนื้อหมูบด ไชโป๊หวาน หอมแดง เคี่ยวจนเหนียวแล้วจึงใส่กระเทียมเจียว หอมเจียวถั่วบด และเครื่องปรุงรสเข้าด้วยกัน ทานแล้วนะได้รสชาติหวานเพื่อให้ตัดกับรสเปรี้ยวของสับปะรดได้อย่างพอเหมาะพอดี (12/20)
ชื่อสินค้า:   🇹🇭 Praya Dining - พระยา ไดนิ่ง
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่