เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563ณ ห้องกรุงศรีอยุธยา2 โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัพระนครศรีอยุธยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมสัมมนา “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม" โดยมีวัตถุประสงค์สร้างการรับรู้การปฏิบัติงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลัก 12 ด้านของรัฐบาล
โดยมุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทาง สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะข่าวปลอม (Fake News) ที่สร้างความตื่นตระหนกและความเสียหายกับประชาชนและสาธารณชนในวงกว้าง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center: AFNC) ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 โดยได้ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย โดยเน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4 กลุ่มข่าว คือ
(1) กลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ ไฟไหม้) (2) กลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร / หุ้น (3) กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น และ(4) กลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดต่อศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ การสัมมนาในการสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอมได้มีการจัดมาแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรสพรีเมี่ยม จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี ภาคใต้ โรงแรมเอราวัณ จ.พังงา และครั้งที่ 4 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับครั้งที่ 5 จะดำเนินการสัมมนา ณ กรุงเทพมหานคร การสัมมนาในการสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างการรับรู้เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถรับมือ กับข่าวปลอมได้ ด้วย 12 วิธีตรวจสอบ ข่าวปลอม ดังนี้
1.อ่านข่าวทั้งหมดโดยไม่เชื่อพาดหัวข่าวเพียงอย่างเดียว 2.ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ที่นำมาเผยแพร่ 3.ตรวจสอบแหล่งที่มาตัวตนของผู้เขียน 4. ดูความผิดปกติของตัวสะกดภาษาที่ใช้หรือการเรียบเรียง 5. พิจารณาภาพประกอบข่าว 6.ตรวจสอบวันที่ของการเผยแพร่ข่าว 7.ตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้ 8.หาข้อมูลเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่น 9.ตรวจสอบว่าข่าวสารที่ส่งต่อกันมามีวัตถุประสงค์ใด 10.พิจารณาความสมเหตุสมผลของข่าว 11.ตรวจสอบอคติของตนเอง 12.หากมีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ในส่วนของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้ดำเนินการ โดยมีภารกิจหลักคือการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ซึ่งถูกเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์และความมั่งคงภายในประเทศ พร้อมกับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้องสู่ประชาชนและสาธารณชน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว
กระทรวงดิจิทัล สร้างการรับรู้ การรับมือกับ Fake News
โดยมุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทาง สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะข่าวปลอม (Fake News) ที่สร้างความตื่นตระหนกและความเสียหายกับประชาชนและสาธารณชนในวงกว้าง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center: AFNC) ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 โดยได้ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) (ศปอส.ตร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนคนไทยรู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย โดยเน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4 กลุ่มข่าว คือ
(1) กลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ ไฟไหม้) (2) กลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร / หุ้น (3) กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น และ(4) กลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดต่อศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ การสัมมนาในการสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอมได้มีการจัดมาแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรสพรีเมี่ยม จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงแรมนภาลัย จ.อุดรธานี ภาคใต้ โรงแรมเอราวัณ จ.พังงา และครั้งที่ 4 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับครั้งที่ 5 จะดำเนินการสัมมนา ณ กรุงเทพมหานคร การสัมมนาในการสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างการรับรู้เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถรับมือ กับข่าวปลอมได้ ด้วย 12 วิธีตรวจสอบ ข่าวปลอม ดังนี้
1.อ่านข่าวทั้งหมดโดยไม่เชื่อพาดหัวข่าวเพียงอย่างเดียว 2.ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ที่นำมาเผยแพร่ 3.ตรวจสอบแหล่งที่มาตัวตนของผู้เขียน 4. ดูความผิดปกติของตัวสะกดภาษาที่ใช้หรือการเรียบเรียง 5. พิจารณาภาพประกอบข่าว 6.ตรวจสอบวันที่ของการเผยแพร่ข่าว 7.ตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้ 8.หาข้อมูลเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่น 9.ตรวจสอบว่าข่าวสารที่ส่งต่อกันมามีวัตถุประสงค์ใด 10.พิจารณาความสมเหตุสมผลของข่าว 11.ตรวจสอบอคติของตนเอง 12.หากมีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ในส่วนของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบหมายให้ดำเนินการ โดยมีภารกิจหลักคือการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ซึ่งถูกเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์และความมั่งคงภายในประเทศ พร้อมกับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้องสู่ประชาชนและสาธารณชน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว