สวัสดีค่า กระทู้แรกของแอคเค้านี้เลย แนะนำตัวก่อนว่า เราเป็นกลุ่มแม่ๆกัน4คนที่มีลูกสาวลูกชายที่กำลังถึงวัยสิวขึ้นพอดี พวกเราก็ลองๆให้ลูกใช้โฟมมาหลายยี่ห้อ เวิคบ้าง ไม่เวิคบ้าง หลังจากที่ตอนแรกซื้อมั่วๆแต่พอลูกใช้ละทำไมไม่ถูกโฉลกสักทีก็เริ่มอ่านหลังฉลาก ว่าแบรนด์ไหนใส่สารอะไรบ้าง ฟื้นความรู้สมัยป.โทที่แทบจะคืนครูไปหมดแล้วก็ได้กลับมาใช้ค่ะ555555 ด้วยความที่โควิดว่าง พวกเราก็เลยตัดสินใจอยากกระทู้ที่ใช้ความรู้ตอนป.โทที่เรียนเคมีกับเภสัขเคมีกันมา มาชำแหละส่วนผสมโฟมล้างหน้า18ยี่ห้อดัง เผื่อจะช่วยทั้งแม่ๆคนอื่นที่มีลูกวัยขึ้นสิวเหมือนกัน หรือใครที่ยังมีปัญหาหาโฟมล้างหน้าที่ถูกกับผิวไม่ได้สักที อาจจะเป็นเพราะสารเคมีในนั้น มันไม่เหมาะสมกับใบหน้าเราค่ะ หลังจากอ่านฉลากกันตาแฉะและหมดงบไปกับการเหมาโฟมล้างหน้ามาก็มาเป็นกระทู้นี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรขออภัยล่วงหน้าค่ะ
อันนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราลองกันและชำแหละส่วนผสมกันค่ะ
ต่อไปนี้เป็นตารางสรุปเลยนะคะ
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตารางสรุปด้านบน ก็ต้องมีเกร็ดความรู้ต่อไปนี้นะคะ
ความเป็นกรดเบส pH ที่เหมาะสมของผิว pH หรือ potential of hydrogen คือค่าวัดความเป็นกรดเป็นด่างของสารเคมีที่ละลายอยู่ในน้ำ ระดับของค่า pH ทั้งหมดจะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 14 ยิ่งตัวเลขน้อยก็หมายถึงความเป็นกรดมาก แต่ถ้าตัวเลขสูงก็หมายถึงความเป็นด่างมาก ค่า pH 7 คือ เป็นกลางไม่เป็นกรดไม่เป็นด่าง โดยปกติแล้ว ผิวสุขภาพดีจะมีค่า
pH ตามธรรมชาติเป็นกรดอ่อนๆ คือ ประมาณ 5 – 6 ค่า pH ของโฟมหรือเจลล้างหน้าจึงไม่ควรต่ำกว่า 4 และไม่ควรสูงกว่า 6
สารชะล้าง (surfactant) เป็นสารที่ตัวมันสามารถจับได้กับทั้งน้ำและน้ำมัน จึงนิยมใช้ชะล้างสิ่งสกปรกที่มีน้ำมัน
สารชะล้างแบ่งเป็น 1) แบบที่มีประจุลบ 2) แบบที่ไม่มีประจุ 3) แบบที่มีประจุทั้งบวกและลบในตัวเอง และ 4) แบบที่มีประจุบวก
1) สารชะล้างที่นิยมใช้มาสกที่สุดเป็นพวกมีประจุลบ โดยตัวหลักคือ
พวกซัลเฟต และพวกสารสบู่ซึ่งมีราคาถูกสามารถชะสิ่งสกปรกได้ดี แต่ก็สามารถชะไขมันตามธรรมชาติของผิวหนังชั้นนอกสุดออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย จึงมีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ง่าย ล้างแล้วผิวสะอาดมากแต่เมื่อทิ้งไว้สักแป๊บมักรู้สึกผิวแห้งตึง (ในต่างประเทศ พวกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า อาบน้ำ แชมพู ที่เป็น sulfate free หรือ ไม่ใช้สารชะล้างแบบซัลเฟตเลย จะราคาแพงกว่าปกติพอสมควรค่ะ ในประเทศไทยหาค่อนข้างยาก มีแชมพูบางยี่ห้อ ส่วนเจลล้างหน้าก็ดูกันเองค่ะ จากตารางด้านบน)
2) สารชะล้างแบบไม่มีประจุ นิยมใช้เป็นตัวเสริมให้สารชะล้างประจุลบ สารชะล้างกลุ่มนี้จะอ่อนโยนต่อผิวกว่ากลุ่มซัลเฟตมาก
3) สารชะล้างแบบที่มีประจุบวกและลบในตัวเอง พวกนี้ให้ฟองดีและไม่ทำให้ผิวแห้งเท่าพวกประจุลบ
4) สารชะล้างแบบประจุบวก นิยมใช้ในครีมนวดผม และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หากใช้กับผิวจะให้ความรู้สึกผิวนุ่ม แต่ทำให้แพ้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ (จึงไม่ควรให้ครีมนวดผมโดนผิวหน้า) ไม่นิยมผสมในน้ำยาล้างหน้า ยกเว้นบางยี่ห้ออยากให้รู้สึกผิวนุ่มหลังล้างก็ผสมไปบ้าง (คนแพ้ง่ายก็ควรระวังค่ะ)
ปริมาณสารต่างๆในแต่ละผลิตภัณฑ์ และลำดับชื่อสารในฉลาก การแสดงส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ถูก อ.ย. กำหนดให้ทำตามหลักการคือ ส่วนผสมอันดับแรกๆจะใส่เยอะที่สุด แล้วก็ไล่ลำดับไปเรื่อยๆ จนถึงส่วนผสมสุดท้ายคือใส่น้อยที่สุด หากมีประวัติแพ้สารเคมีง่าย ควรเลือกเครื่องสำอางที่มีจำนวนสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบให้น้อยที่สุด ปัจจุบันเริ่มมีคนนิยมใช้เครื่องสำอางที่มีองค์ประกอบไม่เกิน 10 ตัว เพื่อปกป้องตัวเองจากการโดนสารเคมีที่ไม่จำเป็นกระตุ้นผิวมากเกินไป เข้าใจว่า อ.ย. มีระเบียบให้ผลิตภัณฑ์ทุกตัวต้องแสดงส่วนผสม นะคะ
สารกันบูด คือสารที่ใส่เข้าไปเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคโตได้ในผลิตภัณฑ์ จึงไม่เน่า หากใช้มากๆให้โทษมหาศาล กฎหมายทั่วโลกจึงจำกัดปริมาณการใช้สารกันบูดไว้ เพื่อปกป้องผู้บริโภค ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องสำอางที่ไร้สารกันบูดออกมาขายโดยจะมีบรรจุภัณฑ์ที่พิเศษกว่าปกติคือจะบีบบออกได้อย่างเดียวอากาศหรือสิ่งต่างๆมีโอกาสเข้าไปได้น้อยมากและหลังจากเปิดใช้ก็จะมีเวลาเหลือให้ใช้ได้ไม่นาน หากมีประวัติแพ้ง่าย แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารกันบูดน้อยที่สุด และชื่อสารกันบูดควรจะอยู่ลำดับท้ายๆของฉลาก หากมีการใส่สารกันบูดหลายตัว และยังเป็นตัวที่มีลำดับต้นๆหรือกลางๆ ก็ควรต้องเลี่ยง
สารกันบูดควรอยู่ท้ายๆ เพราะเป็นสารที่ห้ามใช้ในปริมาณมาก หากในสลากตรงส่วนประกอบ สารใดมาหลังสารกันบูดก็แสดงว่าใส่น้อยมากๆ
ต่อไปเป็นรายละเอียดรายตัวเลยนะคะ
1. Senka Perfect Whip Foam
1. สารชะล้างหลัก: สารสบู่ (Potassium hydroxide + Stearic acid)
2. pH: 6-7
3. สารกันบูด: Sodium benzoate, Citric acid, Potassium sorbate
4. สารควบคุมไม่ให้สีผลิตภัณฑ์เปลี่ยน / สารฟอกขาว: Sodium metabisulfite
5. มีโปรตีนไหม เซริซิน แต่น้อยกว่าสารกันบูด
2. Hada Labo Deep Clean & Pore Refining Face Wash
1. สารชะล้างหลัก: สารสบู่ (Potassium hydroxide + Stearic acid + Palmitic acid)
2. pH: 7
3. มีสาร surfactant ประจุบวก (สารที่ใช้ในครีมนวดผม) Polyquarternium-7
4. สารกันบูด: Methyl paraben, Propyl paraben, Citric acid, Potassium sorbate
มีสารสกัดจากพืช (Citrus paradisi peel oil, Citrus aurantium dulcis peel oil) มากกว่าสารกันบูด
3. Neutrogena Deep Clean Acne Foam Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: สารสบู่ (Potassium hydroxide + Lauric acid)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Ethylhexylglycerin, o-Cymen-5-ol
4. สารเคมีอื่นๆ: น้ำหอม (Fragrance)
5. ใส่สารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติ (Cedrus Atlantica bark extract)
4. Peurri All Acne Clear Cleanser
1. สารชะล้างหลักที่เลือกใช้: กลุ่มซัลเฟต (Lauryl hydroxysultaine)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Caprylhydroxamic acid, Ethylhexylglycerin
4. สารลอกผิว: Salicylic acid, Glycolic acid
5. สารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ
5. Clear Nose Acne Care Solution Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Sodium benzoate, Phenoxy ethanol, Citric acid, Potassium sorbate,
4. กรดลอกผิว: Salicylic acid
5. สารควบคุมไม่ให้สีผลิตภัณฑ์เปลี่ยน / สารฟอกขาว: Sodium sulfite และ Sodium metabisulfite
6. มีปริมาณสารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติ
6. Mentholatum Acnes Creamy Wash
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Sodium benzoate, Citric acid, Sodium citrate
4. ใส่สารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติ (เหล่าชื่อที่ลงท้ายด้วย extract)
7. Ziiit Wash
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Diazolidinyl urea, Iodopropyl butylcarbamate,
4. สารลอกผิว: Salicylic acid, สารเคมีอื่นๆ: ซิลิโคน (Dimethyl silane), น้ำหอม (Fragrance)
5. มีว่านหางจระเข้ (Aloe Barbadensis Leaf Juice) น้อยกว่าสารกันบูด
8. Himalaya Herbals Purifying Neem Face Wash
1. สารชะล้างหลักที่เลือกใช้: กลุ่มซัลเฟต (Ammonium lauryl sulfate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Methylchloroisothiazolinone & Methylisothiazolinone, Citric acid
4. สารเคมีอื่นๆ: ผงสี (CI19140, CI 42090)
5. สารป้องกันผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสี สารฟอกขาว: Sodium sulfite และ Sodium metabisulfite
9. La Roche Posay Effaclar Purifying Foaming Gel
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Sodium benzoate, Citric acid
4. สารเคมีอื่นๆ: Fragrance (มีน้ำหอม)
10. Acne-Aid Liquid Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: Sodium lauroyl Sarcosinate และมีสารชะล้างประจุลบกลุ่มซัลเฟตเสริมคือ sulfated olive oil
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Imidazolidinyl urea
11. Eucerin Pro Acne Solution Cleansing Gel
1. สารชะล้างหลัก: สารชะล้างแบบมีประจุบวกและลบอยู่ในตัวเอง (Sodium cocoamphoacetate) ผสมกับกลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Citric acid, Sodium benzoate
4. สารลอกผิว: Salicylic acid
12. Mizumi Extra Mild Facial Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: Lauryl glucoside และมีแบบซัลเฟตเป็นตัวเสริมในลำดับหลังๆ (sodium cocoyl isethionate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxyethanol, o-Cymen-5-OL
13. Tarel Acne Sensitive Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: Sodium lauroyl glutamate ไม่มีซัลเฟต
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol
4. มีสารสกัดจากพืช (พวกที่ลงท้ายด้วย extract) มากกว่าสารกันบูด
14. Cerave Hydrating Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: PEG-40 stearate ผสมกับสารชะล้างกลุ่มซัลเฟต (Behentrimonium methosulfate) โดยใช้ glycerin และ Fatty alcohol เป็นสารหลัก
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxyethanol, Ethylhexylglycerin
4. สารกันบูดมากกว่าสารบำรุงวิตามิน tocopherol หรือ ceramide
15. Cetaphil Gentle Skin Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: ใช้สารพวกแอลกอฮอล์ตัวใหญ่ๆ (cethyl alcohol) ผสมกับสารชะล้างกลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Methylhydroxybenzoate, Propylhydroxybenzoate, Butylhydroxybenzoate
16. Physiogel Hypoallergic Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: ใช้สารพวกแอลกอฮอล์ตัวใหญ่ๆ (cetearyl alcohol) และสาร PEG-90 (คล้ายๆ glycerin ที่ตัวใหญ่มากๆ) ผสมกับสารชะล้างกลุ่มซัลเฟต (Sodium cocoyl isethionate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Methylparaben, Citric acid, Butylparaben, Propylparaben
4. สารเคมีอื่นๆ: Fragrance (มีน้ำหอม)
(คำเต็ม ต่อในคอมเมนต์นะคะ)
ชื่อสินค้า: เซนกะ เพอร์เฟกวิปโฟม, นิวโตรจีน่า ดีพคลีน แอคเน่โฟม, ฮาดะ ลาโบะ ดีพคลีน, เพียวริ ออลแอคเน่, เคลีนร์โนสแอคเน่แคร์, เมนโทลาตัม, แอคเน่ ครีมมี่, ซิทอิท วอช, หิมาลายา เฮอร์บัล, ลาโรชโพเซ เอฟฟาแคลร์, แอคเน่เอด, ยูเซอริน โปรแอคเน่, มิซิมิ เอกซ์ตร้าไมลด์, ทาเรล, เซราวี ไฮเดรทติ้ง, เซทาฟิล เจนเทลสกิน, ฟิสิโอเจล, สมูทอี เบบี้เฟส, ดร สมชาย แอคเน่
คะแนน:
[CR] อภิมหากาพย์รีวิวชำแหละส่วนประกอบโฟมล้างหน้า18แบรนด์ดัง
อันนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราลองกันและชำแหละส่วนผสมกันค่ะ
ต่อไปนี้เป็นตารางสรุปเลยนะคะ
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตารางสรุปด้านบน ก็ต้องมีเกร็ดความรู้ต่อไปนี้นะคะ
ความเป็นกรดเบส pH ที่เหมาะสมของผิว pH หรือ potential of hydrogen คือค่าวัดความเป็นกรดเป็นด่างของสารเคมีที่ละลายอยู่ในน้ำ ระดับของค่า pH ทั้งหมดจะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 14 ยิ่งตัวเลขน้อยก็หมายถึงความเป็นกรดมาก แต่ถ้าตัวเลขสูงก็หมายถึงความเป็นด่างมาก ค่า pH 7 คือ เป็นกลางไม่เป็นกรดไม่เป็นด่าง โดยปกติแล้ว ผิวสุขภาพดีจะมีค่า pH ตามธรรมชาติเป็นกรดอ่อนๆ คือ ประมาณ 5 – 6 ค่า pH ของโฟมหรือเจลล้างหน้าจึงไม่ควรต่ำกว่า 4 และไม่ควรสูงกว่า 6
สารชะล้าง (surfactant) เป็นสารที่ตัวมันสามารถจับได้กับทั้งน้ำและน้ำมัน จึงนิยมใช้ชะล้างสิ่งสกปรกที่มีน้ำมัน
สารชะล้างแบ่งเป็น 1) แบบที่มีประจุลบ 2) แบบที่ไม่มีประจุ 3) แบบที่มีประจุทั้งบวกและลบในตัวเอง และ 4) แบบที่มีประจุบวก
1) สารชะล้างที่นิยมใช้มาสกที่สุดเป็นพวกมีประจุลบ โดยตัวหลักคือพวกซัลเฟต และพวกสารสบู่ซึ่งมีราคาถูกสามารถชะสิ่งสกปรกได้ดี แต่ก็สามารถชะไขมันตามธรรมชาติของผิวหนังชั้นนอกสุดออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย จึงมีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ง่าย ล้างแล้วผิวสะอาดมากแต่เมื่อทิ้งไว้สักแป๊บมักรู้สึกผิวแห้งตึง (ในต่างประเทศ พวกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า อาบน้ำ แชมพู ที่เป็น sulfate free หรือ ไม่ใช้สารชะล้างแบบซัลเฟตเลย จะราคาแพงกว่าปกติพอสมควรค่ะ ในประเทศไทยหาค่อนข้างยาก มีแชมพูบางยี่ห้อ ส่วนเจลล้างหน้าก็ดูกันเองค่ะ จากตารางด้านบน)
2) สารชะล้างแบบไม่มีประจุ นิยมใช้เป็นตัวเสริมให้สารชะล้างประจุลบ สารชะล้างกลุ่มนี้จะอ่อนโยนต่อผิวกว่ากลุ่มซัลเฟตมาก
3) สารชะล้างแบบที่มีประจุบวกและลบในตัวเอง พวกนี้ให้ฟองดีและไม่ทำให้ผิวแห้งเท่าพวกประจุลบ
4) สารชะล้างแบบประจุบวก นิยมใช้ในครีมนวดผม และน้ำยาปรับผ้านุ่ม หากใช้กับผิวจะให้ความรู้สึกผิวนุ่ม แต่ทำให้แพ้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ (จึงไม่ควรให้ครีมนวดผมโดนผิวหน้า) ไม่นิยมผสมในน้ำยาล้างหน้า ยกเว้นบางยี่ห้ออยากให้รู้สึกผิวนุ่มหลังล้างก็ผสมไปบ้าง (คนแพ้ง่ายก็ควรระวังค่ะ)
ปริมาณสารต่างๆในแต่ละผลิตภัณฑ์ และลำดับชื่อสารในฉลาก การแสดงส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ถูก อ.ย. กำหนดให้ทำตามหลักการคือ ส่วนผสมอันดับแรกๆจะใส่เยอะที่สุด แล้วก็ไล่ลำดับไปเรื่อยๆ จนถึงส่วนผสมสุดท้ายคือใส่น้อยที่สุด หากมีประวัติแพ้สารเคมีง่าย ควรเลือกเครื่องสำอางที่มีจำนวนสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบให้น้อยที่สุด ปัจจุบันเริ่มมีคนนิยมใช้เครื่องสำอางที่มีองค์ประกอบไม่เกิน 10 ตัว เพื่อปกป้องตัวเองจากการโดนสารเคมีที่ไม่จำเป็นกระตุ้นผิวมากเกินไป เข้าใจว่า อ.ย. มีระเบียบให้ผลิตภัณฑ์ทุกตัวต้องแสดงส่วนผสม นะคะ
สารกันบูด คือสารที่ใส่เข้าไปเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคโตได้ในผลิตภัณฑ์ จึงไม่เน่า หากใช้มากๆให้โทษมหาศาล กฎหมายทั่วโลกจึงจำกัดปริมาณการใช้สารกันบูดไว้ เพื่อปกป้องผู้บริโภค ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องสำอางที่ไร้สารกันบูดออกมาขายโดยจะมีบรรจุภัณฑ์ที่พิเศษกว่าปกติคือจะบีบบออกได้อย่างเดียวอากาศหรือสิ่งต่างๆมีโอกาสเข้าไปได้น้อยมากและหลังจากเปิดใช้ก็จะมีเวลาเหลือให้ใช้ได้ไม่นาน หากมีประวัติแพ้ง่าย แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารกันบูดน้อยที่สุด และชื่อสารกันบูดควรจะอยู่ลำดับท้ายๆของฉลาก หากมีการใส่สารกันบูดหลายตัว และยังเป็นตัวที่มีลำดับต้นๆหรือกลางๆ ก็ควรต้องเลี่ยง สารกันบูดควรอยู่ท้ายๆ เพราะเป็นสารที่ห้ามใช้ในปริมาณมาก หากในสลากตรงส่วนประกอบ สารใดมาหลังสารกันบูดก็แสดงว่าใส่น้อยมากๆ
ต่อไปเป็นรายละเอียดรายตัวเลยนะคะ
1. Senka Perfect Whip Foam
1. สารชะล้างหลัก: สารสบู่ (Potassium hydroxide + Stearic acid)
2. pH: 6-7
3. สารกันบูด: Sodium benzoate, Citric acid, Potassium sorbate
4. สารควบคุมไม่ให้สีผลิตภัณฑ์เปลี่ยน / สารฟอกขาว: Sodium metabisulfite
5. มีโปรตีนไหม เซริซิน แต่น้อยกว่าสารกันบูด
2. Hada Labo Deep Clean & Pore Refining Face Wash
1. สารชะล้างหลัก: สารสบู่ (Potassium hydroxide + Stearic acid + Palmitic acid)
2. pH: 7
3. มีสาร surfactant ประจุบวก (สารที่ใช้ในครีมนวดผม) Polyquarternium-7
4. สารกันบูด: Methyl paraben, Propyl paraben, Citric acid, Potassium sorbate
มีสารสกัดจากพืช (Citrus paradisi peel oil, Citrus aurantium dulcis peel oil) มากกว่าสารกันบูด
3. Neutrogena Deep Clean Acne Foam Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: สารสบู่ (Potassium hydroxide + Lauric acid)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Ethylhexylglycerin, o-Cymen-5-ol
4. สารเคมีอื่นๆ: น้ำหอม (Fragrance)
5. ใส่สารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติ (Cedrus Atlantica bark extract)
4. Peurri All Acne Clear Cleanser
1. สารชะล้างหลักที่เลือกใช้: กลุ่มซัลเฟต (Lauryl hydroxysultaine)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Caprylhydroxamic acid, Ethylhexylglycerin
4. สารลอกผิว: Salicylic acid, Glycolic acid
5. สารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ
5. Clear Nose Acne Care Solution Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Sodium benzoate, Phenoxy ethanol, Citric acid, Potassium sorbate,
4. กรดลอกผิว: Salicylic acid
5. สารควบคุมไม่ให้สีผลิตภัณฑ์เปลี่ยน / สารฟอกขาว: Sodium sulfite และ Sodium metabisulfite
6. มีปริมาณสารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติ
6. Mentholatum Acnes Creamy Wash
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Sodium benzoate, Citric acid, Sodium citrate
4. ใส่สารกันบูดมากกว่าสารสกัดจากธรรมชาติ (เหล่าชื่อที่ลงท้ายด้วย extract)
7. Ziiit Wash
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Diazolidinyl urea, Iodopropyl butylcarbamate,
4. สารลอกผิว: Salicylic acid, สารเคมีอื่นๆ: ซิลิโคน (Dimethyl silane), น้ำหอม (Fragrance)
5. มีว่านหางจระเข้ (Aloe Barbadensis Leaf Juice) น้อยกว่าสารกันบูด
8. Himalaya Herbals Purifying Neem Face Wash
1. สารชะล้างหลักที่เลือกใช้: กลุ่มซัลเฟต (Ammonium lauryl sulfate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Methylchloroisothiazolinone & Methylisothiazolinone, Citric acid
4. สารเคมีอื่นๆ: ผงสี (CI19140, CI 42090)
5. สารป้องกันผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสี สารฟอกขาว: Sodium sulfite และ Sodium metabisulfite
9. La Roche Posay Effaclar Purifying Foaming Gel
1. สารชะล้างหลัก: กลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol, Sodium benzoate, Citric acid
4. สารเคมีอื่นๆ: Fragrance (มีน้ำหอม)
10. Acne-Aid Liquid Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: Sodium lauroyl Sarcosinate และมีสารชะล้างประจุลบกลุ่มซัลเฟตเสริมคือ sulfated olive oil
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Imidazolidinyl urea
11. Eucerin Pro Acne Solution Cleansing Gel
1. สารชะล้างหลัก: สารชะล้างแบบมีประจุบวกและลบอยู่ในตัวเอง (Sodium cocoamphoacetate) ผสมกับกลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Citric acid, Sodium benzoate
4. สารลอกผิว: Salicylic acid
12. Mizumi Extra Mild Facial Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: Lauryl glucoside และมีแบบซัลเฟตเป็นตัวเสริมในลำดับหลังๆ (sodium cocoyl isethionate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxyethanol, o-Cymen-5-OL
13. Tarel Acne Sensitive Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: Sodium lauroyl glutamate ไม่มีซัลเฟต
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxy ethanol
4. มีสารสกัดจากพืช (พวกที่ลงท้ายด้วย extract) มากกว่าสารกันบูด
14. Cerave Hydrating Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: PEG-40 stearate ผสมกับสารชะล้างกลุ่มซัลเฟต (Behentrimonium methosulfate) โดยใช้ glycerin และ Fatty alcohol เป็นสารหลัก
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Phenoxyethanol, Ethylhexylglycerin
4. สารกันบูดมากกว่าสารบำรุงวิตามิน tocopherol หรือ ceramide
15. Cetaphil Gentle Skin Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: ใช้สารพวกแอลกอฮอล์ตัวใหญ่ๆ (cethyl alcohol) ผสมกับสารชะล้างกลุ่มซัลเฟต (Sodium laureth sulfate)
2. pH: 5-6
3. สารกันบูด: Methylhydroxybenzoate, Propylhydroxybenzoate, Butylhydroxybenzoate
16. Physiogel Hypoallergic Cleanser
1. สารชะล้างหลัก: ใช้สารพวกแอลกอฮอล์ตัวใหญ่ๆ (cetearyl alcohol) และสาร PEG-90 (คล้ายๆ glycerin ที่ตัวใหญ่มากๆ) ผสมกับสารชะล้างกลุ่มซัลเฟต (Sodium cocoyl isethionate)
2. pH: 6
3. สารกันบูด: Methylparaben, Citric acid, Butylparaben, Propylparaben
4. สารเคมีอื่นๆ: Fragrance (มีน้ำหอม)
(คำเต็ม ต่อในคอมเมนต์นะคะ)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้