สวัสดีชาวพันทิพย์ค่ะ ก่อนอื่นต้องขอโทษที่พี่วินนี่หายไปนานเลยรอบนี้ ติดทั้งภารกิจดูเรซูเม่ให้น้องๆ และงานภายในบริษัทชนิดหัวหมุนทุกวันเลยค่ะ แต่ก็สนุกดี ใกล้สิ้นปีก็จะประมาณนี้
วันนี้พี่วินนี่อยากหยิบยกประเด็นที่ถูกถามเข้ามาเรื่อยๆว่าคนไทยเป็นที่ต้องการมากน้อยแค่ไหนในการตลาดเรือสำราญ เพราะไม่ค่อยได้ยินว่ามีเพื่อนหรือคนรู้จักทำงานนี้กันเท่าไหร่ แต่ทางเอเจนซี่หลายๆที่ก็ประกาศกันว่าเรือสำราญต้องการลูกเรือไทยเป็นจำนวนมาก อะไรคือความจริง ?
อยากบอกว่า พี่วินนี่เข้าใจในความสับสนนี้ดี วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกัน
เริ่มจาก คำตอบคือ "จริง" ค่ะ ที่สายเรือต่างๆยินดีต้อนรับลูกเรือคนไทยมาก จะบอกว่ามากๆก็ไม่ผิด
เพราะอะไร ?
ก่อนอื่นประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีโรงแรมรองรับได้นักท่องเที่ยวได้ถึง 30 ล้านคนต่อปี ซึ่ง GDP ร้อยละ 10 ของประเทศมาจากการท่องเที่ยว หมายความว่า ประเทศของเรานั้นค่อนข้างจะพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จากสถิติจะเห็นได้ว่า เมืองไทยเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว ติดต่อกันมากที่สุดในโลกถึง 5 ปีซ้อนด้วยกัน
ซึ่งนั่นแสดงถึงศักยภาพของคนไทยที่มีประสบการณ์ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว เรามีบุคลากรที่มีความสามารถในสายโรงแรม และการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก นั่นเป็นจุดดึงดูดให้สายการเดินเรือต่างๆสนใจในคนไทย เพราะแทบไม่ต้องขัดเกลาอะไรเพิ่มเลย
และอีกจุดเด่นหนึ่งของคนไทยก็คือ "รอยยิ้ม" และความอ่อนน้อมถ่อมตัวของคนไทย พวกเราคนไทยกันเองอาจจะไม่ค่อยได้สังเกต ว่าการที่มีธรรมชาติที่เป็นคนยิ้มง่าย ชอบให้ความช่วยเหลือดูแลผู้อื่น เป็นสิ่งที่หาได้ยากในต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีน้ำใจต่อผู้อื่นเท่าเรา แต่เป็นเรื่องของการแสดงออกมากกว่า ซึ่งลักษณะท่าทีดั่งกล่าวที่มีอยู่ในตัวของคนไทยนี้จะเลียนแบบก็ถือว่ายาก เพราะทั้งหมดคือ Inner ที่ออกมาจากภายในตัวของคนไทยเองโดยอัตโนมัติ (ในหลายๆประเทศต้องมีการฝึกยิ้มในงานบริการเพื่อให้ผู้อื่นรู้สึกประทับใจ แต่คนไทยทำได้เลย)
อีกจุดที่พี่วินนี่อยากจะพูดถึงในตัวคนรุ่นใหม่ นั่นก็คือความสนุกสนาน ร่าเริง เพราะนอกจากงานบริการแล้ว ชื่อก็บอกอยู่ว่าเรือสำราญ เราต้องมีหน้าที่ Entertain แขก ให้แขกรู้สึกสนุกระหว่าง Trip ได้ ซึ่งคนไทยจะดูมีบุคลิกที่ไม่ซีเรียส สบายๆ เมื่อเทียบกับลูกเรือส่วนใหญ่ของเอเชีย อินโดนีเซีย อินเดีย หรือฟิลิปปินส์ เจ้าของสายเรือต่างๆจึงชอบมากหากมีคนไทยสมัครเข้าไปเป็นลูกเรือเพราะเขาเชื่อว่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับแขกบนเรือได้ อย่างตำแหน่ง Cruise Staff ที่มาแรงในช่วงหลังๆ คนไทยเหมาะเข้าไปทำมากนอกจากตำแหน่งที่ฮิตตลอดกาลอย่าง Waiter, Waitress
ทั้งนี้จุดอ่อนของคนไทยก็มีเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุปสรรคทางด้านภาษาอังกฤษ หรือการทำงานที่ต้องมี Global Mindset รวมถึงปัญหาเรื่องเอเจนซี่เถื่อน ซึ่งจุดต่างๆพวกนี้แหละทำให้การทำงานบนเรือสำราญจึงยังถูกจำกัดในวงแคบ คราวหน้าพี่วินนี่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันต่อค่ะ แต่เชื่อว่าเนื้อหาในครั้งนี้คงตอบคำถามหลายๆคนได้แล้วเนอะ
งานเรือสำราญสนใจรับสมัครคนไทยเป็นจำนวนมาก จริงเหรอ ?
วันนี้พี่วินนี่อยากหยิบยกประเด็นที่ถูกถามเข้ามาเรื่อยๆว่าคนไทยเป็นที่ต้องการมากน้อยแค่ไหนในการตลาดเรือสำราญ เพราะไม่ค่อยได้ยินว่ามีเพื่อนหรือคนรู้จักทำงานนี้กันเท่าไหร่ แต่ทางเอเจนซี่หลายๆที่ก็ประกาศกันว่าเรือสำราญต้องการลูกเรือไทยเป็นจำนวนมาก อะไรคือความจริง ?
อยากบอกว่า พี่วินนี่เข้าใจในความสับสนนี้ดี วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกัน
เริ่มจาก คำตอบคือ "จริง" ค่ะ ที่สายเรือต่างๆยินดีต้อนรับลูกเรือคนไทยมาก จะบอกว่ามากๆก็ไม่ผิด
เพราะอะไร ?
ก่อนอื่นประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีโรงแรมรองรับได้นักท่องเที่ยวได้ถึง 30 ล้านคนต่อปี ซึ่ง GDP ร้อยละ 10 ของประเทศมาจากการท่องเที่ยว หมายความว่า ประเทศของเรานั้นค่อนข้างจะพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จากสถิติจะเห็นได้ว่า เมืองไทยเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว ติดต่อกันมากที่สุดในโลกถึง 5 ปีซ้อนด้วยกัน
ซึ่งนั่นแสดงถึงศักยภาพของคนไทยที่มีประสบการณ์ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว เรามีบุคลากรที่มีความสามารถในสายโรงแรม และการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก นั่นเป็นจุดดึงดูดให้สายการเดินเรือต่างๆสนใจในคนไทย เพราะแทบไม่ต้องขัดเกลาอะไรเพิ่มเลย
และอีกจุดเด่นหนึ่งของคนไทยก็คือ "รอยยิ้ม" และความอ่อนน้อมถ่อมตัวของคนไทย พวกเราคนไทยกันเองอาจจะไม่ค่อยได้สังเกต ว่าการที่มีธรรมชาติที่เป็นคนยิ้มง่าย ชอบให้ความช่วยเหลือดูแลผู้อื่น เป็นสิ่งที่หาได้ยากในต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีน้ำใจต่อผู้อื่นเท่าเรา แต่เป็นเรื่องของการแสดงออกมากกว่า ซึ่งลักษณะท่าทีดั่งกล่าวที่มีอยู่ในตัวของคนไทยนี้จะเลียนแบบก็ถือว่ายาก เพราะทั้งหมดคือ Inner ที่ออกมาจากภายในตัวของคนไทยเองโดยอัตโนมัติ (ในหลายๆประเทศต้องมีการฝึกยิ้มในงานบริการเพื่อให้ผู้อื่นรู้สึกประทับใจ แต่คนไทยทำได้เลย)
ทั้งนี้จุดอ่อนของคนไทยก็มีเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุปสรรคทางด้านภาษาอังกฤษ หรือการทำงานที่ต้องมี Global Mindset รวมถึงปัญหาเรื่องเอเจนซี่เถื่อน ซึ่งจุดต่างๆพวกนี้แหละทำให้การทำงานบนเรือสำราญจึงยังถูกจำกัดในวงแคบ คราวหน้าพี่วินนี่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันต่อค่ะ แต่เชื่อว่าเนื้อหาในครั้งนี้คงตอบคำถามหลายๆคนได้แล้วเนอะ