เชียงใหม่-ลำปาง แก้ปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล(Biomass)ได้ไหม ?

เข้าหน้าหนาวแล้ว อากาศเริ่มแห้ง อีก 2-3 เดือน ฝุ่นควัน pm 2.5 จะเริ่มมามากขึ้น ทั้งเชียงใหม่-ลำปาง (ที่จริงก็เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ) ซึ่งทำลายสุขภาพปชช. นับเป็นต้นทุนทางสังคมที่แพงมากๆ รัฐต้องเสียงบทางการแพทย์มหาศาล+ปชช.ต้องจ่ายค่ารักษารวมๆกันไม่น้อย ทุกปี

สาเหตุหลักๆของฝุ่นควัน pm 2.5 ในภาคเหนือมาจาก
1. การเผาฟางข้าว-ซังข้าวโพด เกษตรกรต้องการกำจัด อยากทำแบบง่าย/เร็ว/ถูก ก็เลยเผา
2. ไฟป่า อย่างดอยสุเทพมีเกือบทุกปี และคงดอยอื่นๆด้วย เข้าหน้าแล้งขาดน้าใบไม้ร่วงสะสม พอเข้าหน้าร้อนก็เกิดไฟป่าง่าย อาจเกิดเองหรือมีคนจุดไฟก็แล้วแต่
3. จากประเทศเพื่อนบ้าน(จริงเปล่าไม่รู้ ไม่มีตัวเลขชัดเจน อาจโทษไว้ก่อน)

ข้อ3. เราควบคุมประเทศอื่นไม่ได้ ก็ข้ามไปก่อน เพราะถ้าแก้ข้อ 1-2 ได้ ลดปัญหาไปได้ 50-70% ความเข้มข้นของปัญหาก็ลดลงไปเยอะเลย

สำหรับสาเหตุข้อ 1-2, ถ้ารัฐบาลผลักดันส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวล(Biomass) ขนาดเล็ก VSPP / SPP ให้กระจายไปในหลายๆจังหวัดอย่างเหมาะสม แล้วให้กฟภ.รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะทำให้ 

1. ฟางข้าว-ซังข้าวโพด หรือซากพืชเกษตรอื่นๆ ที่เกษตรกรต้องการกำจัดอยู่แล้ว จะถูกไปผลิตไฟฟ้า ลดต้นทุนการกำจัด +ลดต้นทุนสุขภาพ +ได้ไฟฟ้าไปใช้ในชุมชน/ในเมือง ปัจจุบันมีบ.เอกชนไทย ที่มีเทคโนโลยีในการเผาซากพืชเกษตรเพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุนต่ำอยู่แล้ว ยิ่งขยายได้มากเท่าไร ปชช.ยิ่งได้ประโยชน์ สังคมได้ประโยชน์

2. กรณีไฟป่า รัฐอาจให้สัมประทานเอกชนเข้าไปเก็บกวาด ใบไม้/กิ่งไม้แห้งที่ร่วงหล่นตามพื้นป่า ขนออกจากป่า โดยรัฐอาจออกค่าใช้จ่าย subsidize ในส่วนนี้ (ก็ใช้งบที่รัฐต้องเสียไปกับการสาธารณสุขที่ต้องรักษาโรคทางเดินหายใจทุกปี+งบดับไฟป่า ซึ่งไม่น้อยเลย และแก้ปํญหาที่ปลายเหตุ) หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่รัฐเก็บกวาดออกมากองที่จุดรับส่ง นอกอุทยานก็ได้แล้วให้บ.เอกชนขนออกไปโรงไฟฟ้าชีวมวล(Biomass)เอง 

ถ้าลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ไปได้ 50-70%  ตามนี้แล้ว เราจะ
1. แก้ปัญหาการกำจัดซากพืชเกษตรอย่างยั่งยืน
2. แก้ปัญหาไฟป่าอย่างยั่งยืน
3. แก้ปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 อย่างยั่งยืน
4. แก้ปัญหาสุขภาพ-โรคทางเดินหายใจ อย่างยั่งยืน
5. ประหยัดงบประมาณสาธาณสุข-ดับไฟป่า อย่างยั่งยืน
6. ได้รับไฟฟ้าสะอาดมาใช้ประโยชน์ แก้ปัญหาการผลิตพลังงาน อย่างยั่งยืน

ยังไม่นับเรื่องประโยชน์จากการได้เรียนพัฒนาเทคโนโลยีจากการลงมือทำจริง อนาคตอาจลดต้นทุนได้อีก ยิ่งได้ทำเร็วยิ่งเรียนรู้ได้เร็ว และยังแก้ปัญหาโลกร้อนได้อีก ลดการบริโภคพลังงานจากฟอสซิล ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ+น้ำมัน+ถ่านหิน

ลองนึกภาพว่า ถ้ามีโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก VSPP / SPP กระจาย ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน เยอะๆ สังคม+ปชช.จะได้ประโยชน์มากขนาดไหน 

อุปสรรคเดียวที่มีคือ หน่วยงานภาครัฐที่อณุมัติ ทำงานช้ามาก ขั้นตอนกระบวนการเยอะ ขาดแรงจูงใจเพราะไม่เห็นภาพรวม 

เพราะคนตัดสินใจอณุมัติ/ไม่อณุมัติ   คิดแต่เรื่องไฟฟ้าว่า ได้ไฟฟ้า/ไม่ได้ไฟฟ้า ไฟฟ้ากี่บาท คิดอยู๋แค่นั้น ..... เขาไม่ได้มองปัญหาที่เกี่ยวเนื่องอื่นเลย  เรื่องปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 +การกำจัดซากพืชเกษตร +ไฟป่า +ปัญหาโรคทางเดินหายใจ +ประหยัดงบประมาณสาธาณสุข 

ทุกวันนี้ ผลการผลักดันส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลออกมาน้อยมาก ไม่ทันต่อการแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเลย

ถ้าจะให้ปชช.ออกมาเรียกร้อง กดดันภาครัฐให้เร่งแก้ปัญหา ก็ไม่รู้ว่าจะได้ผลไหม?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
โรงไฟฟ้าชีวมวลถ้าจะทำให้สะอาดจริงๆก็ทำได้    วิทยาการเดี๋ยวนี้จัดการได้หมดไม่ยากครับ   แต่ต้นทุนมันก็จะเพิ่มตามไปด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่