เรื่องสภาพอากาศร้อนกลายเป็นสิ่งที่คู่บ้านคู่เมืองของเรา นับวันๆ ก็ดูเหมือนว่าจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้าน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หลายๆ คนให้ความสนใจกับการกันความร้อนที่หลังคา แต่อาจมองข้ามการกันความร้อนจากช่องประตูและหน้าต่าง ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ความร้อนจะเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง การเลือก กระจก สำหรับประตู-หน้าต่างที่ดี จะช่วยป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศและจากแสงแดด
HomeGuru จะมาช่วยแนะนำสรรพคุณของกระจกชนิดต่างๆ ที่จะช่วยมอบความอยู่สบายภายในบ้านไม่ร้อนเหมือนเตาอบ และแน่นอนว่ายังช่วยลดค่าไฟฟ้าในการทำความเย็นของตัวบ้าน รวมถึงยังช่วยลดปริมาณการระบายความร้อนจากเครื่องปรับอากาศที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้สภาพอากาศร้อนนั่นเอง
กระจกกันความร้อนเป็นวัสดุที่นิยมใช้สำหรับประตู-หน้าต่าง ซึ่งมีตัวเลือกอยู่ประมาณ 5 ชนิด โดยกระจกชนิดต่างๆ และฟิล์มนั้นมีความแตกต่างทั้งคุณสมบัติ การติดตั้ง และราคา
HomeGuru จะมาช่วยไขข้อสงสัยให้คุณเลือกใช้วัสดุที่เหมาะกับการใช้งานและงบประมาณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านบทความเกี่ยวกับกระจกเพิ่มเติมได้ที่ “กระจกเงา” เลือกอย่างไรให้มีสไตล์
อ่านบทความเกี่ยวกับกระจกเพิ่มเติมได้ที่ กระจกปลอดภัย…เลือก “กระจกนิรภัย” อย่างไรให้เหมาะกับคุณ
1. กระจกสี (Tinted Glass)
กระจกสีตัดแสงถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอดีต หากยังจำกันได้ในยุคสัก 15-20 ปีก่อนที่แทบทุกบ้านจะติดตั้งกระจกสีชาเข้ม หลักการช่วยลดความร้อนของกระจกสีตัดแสงนั้นมาจากความเข้มของสีกระจก กระจกยิ่งมีสีเข้มเท่าไร ก็ช่วยตัดความจ้าของแสงแดด สีที่เข้มช่วยลดความร้อนได้ประมาณหนึ่งแต่ไม่สามารถตัดคลื่นรังสีความร้อนได้ หากต้องการลดความร้อนให้ได้ดี จึงต้องใช้กระจกสีเข้มมากๆ ซึ่งมีทำให้แสงส่องผ่านได้น้อยทำให้ภายในบ้านดูมืด แถมกระจกยิ่งมีสีเข้มก็ยิ่งเป็นตัวสะสมความร้อน กระจกประเภทนี้มีราคาสูงกว่ากระจกใสประมาณ 10%
2. กระจกเขียวตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
ถือเป็นการพัฒนากระจกให้กันความร้อนโดยเติมออกไซด์โลหะประเภทเหล็ก โคบอลต์ หรือซีลีเนียมที่มีคุณสมบัติกักคลื่นความร้อนหรือคลื่นแสงอินฟาเรดไว้ไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน ซึ่งสารในกระจกนั้นทำให้เนื้อกระจกมีสีเขียว แต่ยังดูโปร่งใสกว่ากระจกสีแบบเดิม กระจกเขียวตัดแสงช่วยป้องกันความร้อนได้มากถึง 50% และมีราคาสูงกว่ากระจกใสราว 20% จึงเป็นกระจกที่ได้รับความนิยมแม้ในปัจจุบัน ข้อด้อยของกระจกประเภทนี้คือสารโลหะในเนื้อกระจกจะสะสมความร้อน ในบางกรณีพบว่ากระจกสะสมความร้อนไว้มากจนแตกร้าวเอง ทำให้บ่อยครั้งเราเห็นกระจกชนิดนี้ทำเป็นกระจกเทมเปอร์เพื่อป้องกันการแตกนั้นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านวิธีจัดสวนคลายร้อนเพิ่มเติมได้ที่ “จัดสวนคลายร้อน” กับสารพัดไอเดียเติมร่มเงาในสวน
อ่านความรู้เรื่องฉนวนกันร้อนเพิ่มเติมได้ที่ ‘ฉนวนกันความร้อน’ คือ? เลือกแบบไหนคลายร้อนให้บ้านคุณ
3. กระจกสะท้อนแสง (Reflective Glass)
กระจกประเภทนี้มีคุณสมบัติกันความร้อนโดยการสะท้อนแสงออกไป โดยเป็นการเคลือบสารสะท้อนแสงบนผิวกระจก ซึ่งช่วยสะท้อนแสงออกไปจึงช่วยกันความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านได้ดี ข้อดีอีกอย่างของกระจกชนิดนี้ในช่วงกลางวันจะช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว เพราะตอนกลางวันเราจะมองเห็นภาพสะท้อนของภายนอก แต่ในยามกลางคืนภายในนั้นสว่างกว่าภายนอก ก็จะกลายเป็นว่าสามารถมองเห็นภายในได้ในขณะที่ภายในจะเห็นเงาสะท้อน ดังนั้นเราจึงเห็นกระจกชนิดนี้ใช้กับอาคารสำนักงาน เพราะมีราคาสูงกว่ากระจกใส 1.5 เท่า แต่ช่วยสะท้อนความร้อนได้มากถึง 60% และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับตัวอาคาร ข้อเสียของกระจกชนิดนี้คือ การสะท้อนแสงออก ดังนั้นแน่นอนว่าแสงจะส่องผ่านได้น้อยลง ภายในจึงจะมืดและอาจต้องติดตั้งแสงภายในช่วยส่องสว่าง นอกจากนี้แสงที่สะท้อนเสมือนกระจกเงานั้น อาจเป็นการรบกวนพื้นที่โดยรอบอาคาร
4. กระจกโลว์อี (Low Emission Glass)
กระจก Low-E (Low Emission) เป็นกระจกที่มีการถ่ายเทความร้อนต่ำ เพราะผิวกระจกมีการเคลือบสารโลหะเงิน (Ag) (มีคุณสมบัติดีกว่าสารออกไซด์โลหะประเภทเหล็ก โคบอลต์ หรือซีลีเนียมในกระจกเขียวตัดแสงที่จะสะสมความร้อน) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นพลังงานความร้อน แต่ยังมีความใสให้แสงสว่างส่องผ่านได้ดี สารโลหะเงินนอกจากสะท้อนความร้อนแล้วช่วยให้กระจกยังมีค่าการถ่ายเทความร้อนที่ต่ำเพียง 2-30% เท่านั้น ขึ้นอยู่กับระดับการเคลือบสารโลหะเงิน อย่างไรก็ดี สารโลหะเงินที่เคลือบนั้นจะทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศและเปลี่ยนสภาพเป็นคราบสีดำ ดังนั้นกระจกโลว์อีจึงมักเป็นกระจกเทปเปอร์ที่สารเคลือบถูกปกป้องไว้ภายในระหว่างกระจกสองแผ่น หรือเป็นกระจกแผ่นหนึ่งในระบบของกระจกฉนวน 2 ชั้น กระจกโลว์อีนี่มีราคาสูงกว่ากระจกใสธรรมดาประมาณ 2.5-3 เท่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านวิธีแต่งบ้านให้เย็นเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่าวิกฤตหน้าร้อนกับคัมภีร์แต่งบ้านเย็นฉ่ำสุดประหยัดค่าไฟ
อ่านวิธีออกแบบบ้านคลายร้อนเพิ่มเติมได้ที่ บ้านเย็น..ไม่ยาก ออกแบบบ้านร้อนให้เย็นตั้งแต่พื้นจรดหลังคา
5. กระจกฉนวน 2 ชั้น (Double Insulated glass)
กระจกฉนวน 2 ชั้น เป็นการนำกระจกสองแผ่นมาประกอบเป็นชุดกระจกที่มีตั้งแต่ 2 แผ่นชั้นขึ้นไป ซึ่งบางครั้งยังมีการนำกระจกโลว์อีมาใช้เป็นหนึ่งในแผ่นกระจกอีกด้วย ระหว่างกระจกแต่ละชิ้นจะเว้นช่องว่าง และซีลปิดสนิทรอบด้าน ภายในช่องบรรจุอากาศแห้ง ก๊าซอาร์กอน หรือก๊าซคริปทอน ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้มากถึง 90% และยังช่วยไม่ให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำบนผิวกระจกที่มักเกิดขึ้นกรณีที่อุณหภูมิด้านนอกและด้านในแตกต่างกัน ดังนั้นชุดกระจกชนิดนี้ต้องใช้ร่วมกับชุดกรอบบานเฉพาะซึ่งจะติดตั้งสำเร็จมาจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขขนาดกรอบบานหน้างานได้ กระจกฉนวน 2 ชั้นถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง และช่วยลดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศได้มาก จึงมีราคาสูงและขึ้นอยู่กับขนาดบาน ประเภทของก๊าซภายใน และชนิดของกระจกที่ใช้
กระจก หรือ กระจกกันความร้อน ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถนำไปใช้ในบ้านอยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้มากหรือน้อยนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับประเภทกระจกที่คุณเลือก งบประมาณที่คุณมี แต่ไม่ว่าจะเป็นกระจกชนิดใด ก็ยังมีประสิทธิภาพดีกว่ากระจกใสธรรมดาแน่นอน นอกจากการใช้กระจกช่วยกันความร้อนแล้ว
HomeGuru แนะนำให้หาอุปกรณ์ช่วยบังแดดเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มีชายคา เช่น กันสาดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะแบบกึ่งถาวร หรือเป็นเปิด-ปิดใช้งาน นอกจากนี้ การปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ช่วยป้องกันแสงแดด และยังมอบความร่มรื่นให้กับบริเวณบ้านอีกด้วย
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง
http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง
https://bit.ly/3dQm4XE
เลือก “กระจก” อย่างไรให้บ้านไม่ร้อน
เรื่องสภาพอากาศร้อนกลายเป็นสิ่งที่คู่บ้านคู่เมืองของเรา นับวันๆ ก็ดูเหมือนว่าจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้าน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หลายๆ คนให้ความสนใจกับการกันความร้อนที่หลังคา แต่อาจมองข้ามการกันความร้อนจากช่องประตูและหน้าต่าง ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ความร้อนจะเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง การเลือก กระจก สำหรับประตู-หน้าต่างที่ดี จะช่วยป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศและจากแสงแดด HomeGuru จะมาช่วยแนะนำสรรพคุณของกระจกชนิดต่างๆ ที่จะช่วยมอบความอยู่สบายภายในบ้านไม่ร้อนเหมือนเตาอบ และแน่นอนว่ายังช่วยลดค่าไฟฟ้าในการทำความเย็นของตัวบ้าน รวมถึงยังช่วยลดปริมาณการระบายความร้อนจากเครื่องปรับอากาศที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้สภาพอากาศร้อนนั่นเอง
กระจกกันความร้อนเป็นวัสดุที่นิยมใช้สำหรับประตู-หน้าต่าง ซึ่งมีตัวเลือกอยู่ประมาณ 5 ชนิด โดยกระจกชนิดต่างๆ และฟิล์มนั้นมีความแตกต่างทั้งคุณสมบัติ การติดตั้ง และราคา HomeGuru จะมาช่วยไขข้อสงสัยให้คุณเลือกใช้วัสดุที่เหมาะกับการใช้งานและงบประมาณ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. กระจกสี (Tinted Glass)
กระจกสีตัดแสงถือเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอดีต หากยังจำกันได้ในยุคสัก 15-20 ปีก่อนที่แทบทุกบ้านจะติดตั้งกระจกสีชาเข้ม หลักการช่วยลดความร้อนของกระจกสีตัดแสงนั้นมาจากความเข้มของสีกระจก กระจกยิ่งมีสีเข้มเท่าไร ก็ช่วยตัดความจ้าของแสงแดด สีที่เข้มช่วยลดความร้อนได้ประมาณหนึ่งแต่ไม่สามารถตัดคลื่นรังสีความร้อนได้ หากต้องการลดความร้อนให้ได้ดี จึงต้องใช้กระจกสีเข้มมากๆ ซึ่งมีทำให้แสงส่องผ่านได้น้อยทำให้ภายในบ้านดูมืด แถมกระจกยิ่งมีสีเข้มก็ยิ่งเป็นตัวสะสมความร้อน กระจกประเภทนี้มีราคาสูงกว่ากระจกใสประมาณ 10%
2. กระจกเขียวตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
ถือเป็นการพัฒนากระจกให้กันความร้อนโดยเติมออกไซด์โลหะประเภทเหล็ก โคบอลต์ หรือซีลีเนียมที่มีคุณสมบัติกักคลื่นความร้อนหรือคลื่นแสงอินฟาเรดไว้ไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน ซึ่งสารในกระจกนั้นทำให้เนื้อกระจกมีสีเขียว แต่ยังดูโปร่งใสกว่ากระจกสีแบบเดิม กระจกเขียวตัดแสงช่วยป้องกันความร้อนได้มากถึง 50% และมีราคาสูงกว่ากระจกใสราว 20% จึงเป็นกระจกที่ได้รับความนิยมแม้ในปัจจุบัน ข้อด้อยของกระจกประเภทนี้คือสารโลหะในเนื้อกระจกจะสะสมความร้อน ในบางกรณีพบว่ากระจกสะสมความร้อนไว้มากจนแตกร้าวเอง ทำให้บ่อยครั้งเราเห็นกระจกชนิดนี้ทำเป็นกระจกเทมเปอร์เพื่อป้องกันการแตกนั้นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. กระจกสะท้อนแสง (Reflective Glass)
กระจกประเภทนี้มีคุณสมบัติกันความร้อนโดยการสะท้อนแสงออกไป โดยเป็นการเคลือบสารสะท้อนแสงบนผิวกระจก ซึ่งช่วยสะท้อนแสงออกไปจึงช่วยกันความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านได้ดี ข้อดีอีกอย่างของกระจกชนิดนี้ในช่วงกลางวันจะช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว เพราะตอนกลางวันเราจะมองเห็นภาพสะท้อนของภายนอก แต่ในยามกลางคืนภายในนั้นสว่างกว่าภายนอก ก็จะกลายเป็นว่าสามารถมองเห็นภายในได้ในขณะที่ภายในจะเห็นเงาสะท้อน ดังนั้นเราจึงเห็นกระจกชนิดนี้ใช้กับอาคารสำนักงาน เพราะมีราคาสูงกว่ากระจกใส 1.5 เท่า แต่ช่วยสะท้อนความร้อนได้มากถึง 60% และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับตัวอาคาร ข้อเสียของกระจกชนิดนี้คือ การสะท้อนแสงออก ดังนั้นแน่นอนว่าแสงจะส่องผ่านได้น้อยลง ภายในจึงจะมืดและอาจต้องติดตั้งแสงภายในช่วยส่องสว่าง นอกจากนี้แสงที่สะท้อนเสมือนกระจกเงานั้น อาจเป็นการรบกวนพื้นที่โดยรอบอาคาร
4. กระจกโลว์อี (Low Emission Glass)
กระจก Low-E (Low Emission) เป็นกระจกที่มีการถ่ายเทความร้อนต่ำ เพราะผิวกระจกมีการเคลือบสารโลหะเงิน (Ag) (มีคุณสมบัติดีกว่าสารออกไซด์โลหะประเภทเหล็ก โคบอลต์ หรือซีลีเนียมในกระจกเขียวตัดแสงที่จะสะสมความร้อน) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นพลังงานความร้อน แต่ยังมีความใสให้แสงสว่างส่องผ่านได้ดี สารโลหะเงินนอกจากสะท้อนความร้อนแล้วช่วยให้กระจกยังมีค่าการถ่ายเทความร้อนที่ต่ำเพียง 2-30% เท่านั้น ขึ้นอยู่กับระดับการเคลือบสารโลหะเงิน อย่างไรก็ดี สารโลหะเงินที่เคลือบนั้นจะทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศและเปลี่ยนสภาพเป็นคราบสีดำ ดังนั้นกระจกโลว์อีจึงมักเป็นกระจกเทปเปอร์ที่สารเคลือบถูกปกป้องไว้ภายในระหว่างกระจกสองแผ่น หรือเป็นกระจกแผ่นหนึ่งในระบบของกระจกฉนวน 2 ชั้น กระจกโลว์อีนี่มีราคาสูงกว่ากระจกใสธรรมดาประมาณ 2.5-3 เท่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. กระจกฉนวน 2 ชั้น (Double Insulated glass)
กระจกฉนวน 2 ชั้น เป็นการนำกระจกสองแผ่นมาประกอบเป็นชุดกระจกที่มีตั้งแต่ 2 แผ่นชั้นขึ้นไป ซึ่งบางครั้งยังมีการนำกระจกโลว์อีมาใช้เป็นหนึ่งในแผ่นกระจกอีกด้วย ระหว่างกระจกแต่ละชิ้นจะเว้นช่องว่าง และซีลปิดสนิทรอบด้าน ภายในช่องบรรจุอากาศแห้ง ก๊าซอาร์กอน หรือก๊าซคริปทอน ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้มากถึง 90% และยังช่วยไม่ให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำบนผิวกระจกที่มักเกิดขึ้นกรณีที่อุณหภูมิด้านนอกและด้านในแตกต่างกัน ดังนั้นชุดกระจกชนิดนี้ต้องใช้ร่วมกับชุดกรอบบานเฉพาะซึ่งจะติดตั้งสำเร็จมาจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขขนาดกรอบบานหน้างานได้ กระจกฉนวน 2 ชั้นถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง และช่วยลดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศได้มาก จึงมีราคาสูงและขึ้นอยู่กับขนาดบาน ประเภทของก๊าซภายใน และชนิดของกระจกที่ใช้
กระจก หรือ กระจกกันความร้อน ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถนำไปใช้ในบ้านอยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้มากหรือน้อยนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับประเภทกระจกที่คุณเลือก งบประมาณที่คุณมี แต่ไม่ว่าจะเป็นกระจกชนิดใด ก็ยังมีประสิทธิภาพดีกว่ากระจกใสธรรมดาแน่นอน นอกจากการใช้กระจกช่วยกันความร้อนแล้ว HomeGuru แนะนำให้หาอุปกรณ์ช่วยบังแดดเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มีชายคา เช่น กันสาดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะแบบกึ่งถาวร หรือเป็นเปิด-ปิดใช้งาน นอกจากนี้ การปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ช่วยป้องกันแสงแดด และยังมอบความร่มรื่นให้กับบริเวณบ้านอีกด้วย
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3dQm4XE