ต่อจากกระทู้เดิม: https://ppantip.com/topic/39651322
เขียนไว้เมื่อ 19 ก.พ. 2563
** กระทู้นี้เขียนจากความรู้ความเข้าใจเห็นส่วนตัวจากการติดตามข่าวสาร ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดๆ ถ้าผิดพลาดขออภัยครับ **
** ไม่สามารถเอาไปใช้อ้างอิงใดๆ ในทางวิชาการได้ **
ณ วันที่เขียนกระทู้ (20 พ.ย. 63) กฏหมายเก็บ VAT สินค้านำเข้าต่ำกว่า 1,500 บาท รวมทั้งบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากต่างประเทศ
ใกล้ออกเป็นกฏหมายบังคับใช้แล้ว ตอนนี้อยู่ในการพิจารณาวาระที่ 2 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญจะประชุมกันวันที่ 24 พ.ย. 2563 ตอน 9.30 น. เพื่อพิจารณาร่างกฏหมายนี้ ต่อจากนี้ก็จะเหลือขั้นสุดท้าย คือ ลงมติเห็นชอบและออกบังคับใช้ช่วงต้นปี 2564
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เรียกสั้นๆ ว่า กฏหมายอี-เซอร์วิส (e-Service) มีการแยกคำว่า สินค้า บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์แพล็ตฟอร์ม ออกจากกัน และเปลี่ยนจากเดิมที่ผู้ซื้อสินค้าบริการต้องยื่นภาษี กลายเป็นผู้ขายสินค้าบริการหรือเจ้าของแพล็ตฟอร์มยื่นภาษีแทนผู้ใช้บริการ
ในส่วนของสินค้า
จากการดูประชุมสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ได้ข้อสรุปว่า หลังกฏหมายนี้บังคับใช้ จะมีการออกกฏกระทรวงเพื่อยกเลิกการยกเว้นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้าที่มีราคา C.I.F ต่ำกว่า 1,500 บาท สินค้าทุกชิ้น พัสดุทุกกล่อง ไม่ว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ ถ้านำเข้ามาจะต้องจ่าย VAT 7% ในส่วนของสรรพากรทั้งหมด
แต่อากรนำเข้าในส่วนของศุลกากรสินค้าที่มีราคา C.I.F ต่ำกว่า 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นเหมือนเดิม
สั้นๆ ซื้อของ 1,400 บาท โดน VAT 7% อย่างเดียว ถ้าซื้อเกิน 1,500 โดน VAT 7% กับภาษีนำเข้า (Duty Tax) xx % ตามพิกัดอัตราศุลกากร 2 อย่าง
ในส่วนบริการทางอิเล็กทรอนิกส์
จะเป็นการเก็บ VAT กับ สินค้าบริการที่ไม่มีรูปร่าง ต้องกระทำโดยผ่านเทคโนโลยี เช่น ซื้อ Ads จ่าย Netflix ซื้อ App เกมส์ e-book หนัง เพลง Youtube Facebook ฯลฯ ผู้ให้บริการหรือเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ที่อยู่ต่างประเทศต้องเสีย VAT ให้ประเทศไทย
ส่วนอิเล็กทรอนิกส์แพล็ตฟอร์ม
จะเป็นการเก็บ VAT โดยผู้ให้บริการตลาดกลาง (Marketplace) เช่น Amazon Rakuten Ebay ต้องเสียภาษี VAT ให้ประเทศไทย โดยเรียกเก็บแทนผู้ค้าที่เข้าไปใช้บริการตลาดกลาง
แล้วผู้ที่หลบหลีกจะจัดเก็บได้ครบถ้วนหรือไม่
ตอนนี้มีกฏหมายต่ออีกฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ....
ช่วยเปิดทางให้สรรพากรสามารถติดตามข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการเงิน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรับชำระสินค้าบริการ และยังมีการแลกเปลี่ยนหรือขอข้อมูลได้จากหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ เช่น สรรพากรของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมพาคี
เท่ากับว่า จ่ายสินค้าไปกี่บาทแล้วเลี่ยงภาษี ถ้าสรรพากรสงสัยก็จะมีอำนาจดูข้อมูลทางการเงินได้หมด
ธุรกิจที่เป็นรายใหญ่มักหลบหลีกได้ยาก ส่วนรายย่อย ทางสรรพากรก็จะเปิดช่องให้รับเรื่อง
ข้อดีของกฏหมาย
1. ทำให้เกิดความเท่าเทียม ธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาทำรายได้ในประเทศไทยจะได้เสียภาษีเหมือนกับธุรกิจคนไทยที่ต้องเสียภาษี
2. ลดการดั๊มพ์ราคาจากต่างประเทศ (พอมองออกไหมครับว่าทำไม ของนอกถูกกว่าแต่ของในประเทศกลับแพงกว่า เพราะว่าเรื่องช่องโหว่ทางภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาต่างกัน)
3. ทำให้ผู้ซื้อหันมาใช้บริการกับธุรกิจคนไทยในประเทศมากขึ้น เงินก็หมุนเวียนในประเทศ
4. เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น เกิดกลไกการแข่งขันและพัฒนาธุรกิจ
ผลกระทบต่อบุคคลทั่วไป
ทำให้คนซื้อคิดว่าราคาสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศต้องแพงขึ้น จริงๆ แล้วธุรกิจต่างชาติ (ที่ยังไม่เคยจ่ายภาษีให้ไทยเลย) ไม่ตระหนึกถึงเรื่องภาษีว่ามันต้องจ่าย ทำให้โครงสร้างราคาสินค้าไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง การจัดเก็บภาษีนี้จะสะท้อนราคาสินค้าที่ควรจะเป็น ถ้ากฏหมายบังคับใช้แล้วและผู้ขายรายนั้นขึ้นราคา คนซื้อก็ย้ายไปซื้อกับผู้ขายรายอื่นที่ถูกกว่า มันอยู่ที่ว่าผู้ขายจะบริหารภาษีอย่างไรไม่ให้กระทบกับผู้ซื้อ ระหว่างเลือกที่จะโยนภาระให้คนซื้อจ่าย VAT (ผลคือขึ้นราคาสินค้าดื้อๆ เลย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่เห็นประโยชน์แก่ตัว) หรือ ผู้ขายจ่าย VAT ให้ (ราคาสินค้าเหมือนเดิม แต่ผู้ขายไปบริหารต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้ลดลงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายทางภาษี)
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศหรือผู้ประกอบการที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการต่างประเทศ
ไม่มีผลกระทบใดๆ เลย ยังคงเสีย VAT เหมือนเดิม
กฏหมายนี้มีผลผู้ประกอบการต่างประเทศที่อยู่นอกประเทศไทยแล้วมีรายได้จากประเทศไทยเท่านั้น
ซื้อสินค้าแล้วจะจ่าย VAT ยังไง
ถ้าสินค้าส่งผ่านไปรษณีย์ไทย ก็มีระบบจ่ายผ่าน e-Wallet แล้วรอรับที่บ้านให้บริการบางส่วนไปบ้างแล้ว แต่หลังจากฏหมายนี้บังคับใช้ก็น่าจะให้บริการครอบคลุมมากขึ้น เนื่องจากว่าปี 2562 กรมศุลกากรมีการริเริ่มระบบ Customs to Home เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระภาษี
แต่ถ้าสินค้าส่งผ่าน Courier เอกชน จะมีบริการเก็บปลายทางหรือจ่ายทางออนไลน์ได้อยู่แล้ว
นี่คือ Step แรกของการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับธุรกิจต่างชาติที่อยู่ต่างประเทศ ถ้าคำนวณย้อนกลับทำให้สามารถรับรู้ปริมาณเงินที่ไหลออกไปนอกประเทศได้เลย
Step ต่อไปในอนาคต เห็นว่าจะมีการเก็บภาษีเงินได้ (ภงด.) กับธุรกิจต่างชาติด้วย จะได้เท่าเทียมกับที่คนไทยต้องจ่าย ภงด. กับภาษีมูลค่าเพิ่ม
อ้างอิง:
1. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ....
https://www.rd.go.th/publish/27594.0.html
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
https://www.senate.go.th/document/Lawdraft/Ext4/4965_0001.PDF
3. การประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563
ความคืบหน้า กฏหมายเก็บ VAT สินค้านำเข้าต่ำกว่า 1,500 บาท (พ.ย. 2563)
เขียนไว้เมื่อ 19 ก.พ. 2563
** กระทู้นี้เขียนจากความรู้ความเข้าใจเห็นส่วนตัวจากการติดตามข่าวสาร ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดๆ ถ้าผิดพลาดขออภัยครับ **
** ไม่สามารถเอาไปใช้อ้างอิงใดๆ ในทางวิชาการได้ **
ณ วันที่เขียนกระทู้ (20 พ.ย. 63) กฏหมายเก็บ VAT สินค้านำเข้าต่ำกว่า 1,500 บาท รวมทั้งบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากต่างประเทศ
ใกล้ออกเป็นกฏหมายบังคับใช้แล้ว ตอนนี้อยู่ในการพิจารณาวาระที่ 2 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญจะประชุมกันวันที่ 24 พ.ย. 2563 ตอน 9.30 น. เพื่อพิจารณาร่างกฏหมายนี้ ต่อจากนี้ก็จะเหลือขั้นสุดท้าย คือ ลงมติเห็นชอบและออกบังคับใช้ช่วงต้นปี 2564
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เรียกสั้นๆ ว่า กฏหมายอี-เซอร์วิส (e-Service) มีการแยกคำว่า สินค้า บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์แพล็ตฟอร์ม ออกจากกัน และเปลี่ยนจากเดิมที่ผู้ซื้อสินค้าบริการต้องยื่นภาษี กลายเป็นผู้ขายสินค้าบริการหรือเจ้าของแพล็ตฟอร์มยื่นภาษีแทนผู้ใช้บริการ
ในส่วนของสินค้า
จากการดูประชุมสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ได้ข้อสรุปว่า หลังกฏหมายนี้บังคับใช้ จะมีการออกกฏกระทรวงเพื่อยกเลิกการยกเว้นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้าที่มีราคา C.I.F ต่ำกว่า 1,500 บาท สินค้าทุกชิ้น พัสดุทุกกล่อง ไม่ว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ ถ้านำเข้ามาจะต้องจ่าย VAT 7% ในส่วนของสรรพากรทั้งหมด
แต่อากรนำเข้าในส่วนของศุลกากรสินค้าที่มีราคา C.I.F ต่ำกว่า 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นเหมือนเดิม
สั้นๆ ซื้อของ 1,400 บาท โดน VAT 7% อย่างเดียว ถ้าซื้อเกิน 1,500 โดน VAT 7% กับภาษีนำเข้า (Duty Tax) xx % ตามพิกัดอัตราศุลกากร 2 อย่าง
ในส่วนบริการทางอิเล็กทรอนิกส์
จะเป็นการเก็บ VAT กับ สินค้าบริการที่ไม่มีรูปร่าง ต้องกระทำโดยผ่านเทคโนโลยี เช่น ซื้อ Ads จ่าย Netflix ซื้อ App เกมส์ e-book หนัง เพลง Youtube Facebook ฯลฯ ผู้ให้บริการหรือเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ที่อยู่ต่างประเทศต้องเสีย VAT ให้ประเทศไทย
ส่วนอิเล็กทรอนิกส์แพล็ตฟอร์ม
จะเป็นการเก็บ VAT โดยผู้ให้บริการตลาดกลาง (Marketplace) เช่น Amazon Rakuten Ebay ต้องเสียภาษี VAT ให้ประเทศไทย โดยเรียกเก็บแทนผู้ค้าที่เข้าไปใช้บริการตลาดกลาง
แล้วผู้ที่หลบหลีกจะจัดเก็บได้ครบถ้วนหรือไม่
ตอนนี้มีกฏหมายต่ออีกฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ....
ช่วยเปิดทางให้สรรพากรสามารถติดตามข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการเงิน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรับชำระสินค้าบริการ และยังมีการแลกเปลี่ยนหรือขอข้อมูลได้จากหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ เช่น สรรพากรของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมพาคี
เท่ากับว่า จ่ายสินค้าไปกี่บาทแล้วเลี่ยงภาษี ถ้าสรรพากรสงสัยก็จะมีอำนาจดูข้อมูลทางการเงินได้หมด
ธุรกิจที่เป็นรายใหญ่มักหลบหลีกได้ยาก ส่วนรายย่อย ทางสรรพากรก็จะเปิดช่องให้รับเรื่อง
ข้อดีของกฏหมาย
1. ทำให้เกิดความเท่าเทียม ธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาทำรายได้ในประเทศไทยจะได้เสียภาษีเหมือนกับธุรกิจคนไทยที่ต้องเสียภาษี
2. ลดการดั๊มพ์ราคาจากต่างประเทศ (พอมองออกไหมครับว่าทำไม ของนอกถูกกว่าแต่ของในประเทศกลับแพงกว่า เพราะว่าเรื่องช่องโหว่ทางภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาต่างกัน)
3. ทำให้ผู้ซื้อหันมาใช้บริการกับธุรกิจคนไทยในประเทศมากขึ้น เงินก็หมุนเวียนในประเทศ
4. เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น เกิดกลไกการแข่งขันและพัฒนาธุรกิจ
ผลกระทบต่อบุคคลทั่วไป
ทำให้คนซื้อคิดว่าราคาสินค้าที่ซื้อจากต่างประเทศต้องแพงขึ้น จริงๆ แล้วธุรกิจต่างชาติ (ที่ยังไม่เคยจ่ายภาษีให้ไทยเลย) ไม่ตระหนึกถึงเรื่องภาษีว่ามันต้องจ่าย ทำให้โครงสร้างราคาสินค้าไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง การจัดเก็บภาษีนี้จะสะท้อนราคาสินค้าที่ควรจะเป็น ถ้ากฏหมายบังคับใช้แล้วและผู้ขายรายนั้นขึ้นราคา คนซื้อก็ย้ายไปซื้อกับผู้ขายรายอื่นที่ถูกกว่า มันอยู่ที่ว่าผู้ขายจะบริหารภาษีอย่างไรไม่ให้กระทบกับผู้ซื้อ ระหว่างเลือกที่จะโยนภาระให้คนซื้อจ่าย VAT (ผลคือขึ้นราคาสินค้าดื้อๆ เลย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่เห็นประโยชน์แก่ตัว) หรือ ผู้ขายจ่าย VAT ให้ (ราคาสินค้าเหมือนเดิม แต่ผู้ขายไปบริหารต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้ลดลงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายทางภาษี)
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศหรือผู้ประกอบการที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการต่างประเทศ
ไม่มีผลกระทบใดๆ เลย ยังคงเสีย VAT เหมือนเดิม
กฏหมายนี้มีผลผู้ประกอบการต่างประเทศที่อยู่นอกประเทศไทยแล้วมีรายได้จากประเทศไทยเท่านั้น
ซื้อสินค้าแล้วจะจ่าย VAT ยังไง
ถ้าสินค้าส่งผ่านไปรษณีย์ไทย ก็มีระบบจ่ายผ่าน e-Wallet แล้วรอรับที่บ้านให้บริการบางส่วนไปบ้างแล้ว แต่หลังจากฏหมายนี้บังคับใช้ก็น่าจะให้บริการครอบคลุมมากขึ้น เนื่องจากว่าปี 2562 กรมศุลกากรมีการริเริ่มระบบ Customs to Home เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระภาษี
แต่ถ้าสินค้าส่งผ่าน Courier เอกชน จะมีบริการเก็บปลายทางหรือจ่ายทางออนไลน์ได้อยู่แล้ว
นี่คือ Step แรกของการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับธุรกิจต่างชาติที่อยู่ต่างประเทศ ถ้าคำนวณย้อนกลับทำให้สามารถรับรู้ปริมาณเงินที่ไหลออกไปนอกประเทศได้เลย
Step ต่อไปในอนาคต เห็นว่าจะมีการเก็บภาษีเงินได้ (ภงด.) กับธุรกิจต่างชาติด้วย จะได้เท่าเทียมกับที่คนไทยต้องจ่าย ภงด. กับภาษีมูลค่าเพิ่ม
อ้างอิง:
1. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ....
https://www.rd.go.th/publish/27594.0.html
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
https://www.senate.go.th/document/Lawdraft/Ext4/4965_0001.PDF
3. การประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563