ในตอนนี้จะพาไปรู้จักประวัติของหนึ่งในโรงงานสรรพาวุธที่เก่าแก่ที่สุดในจีนก่อตั้งมาตั้งแต่ตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีส่วนสำคัญในการผลิตอาวุธป้อนให้แก่กองทัพของขุนศึกจาง จั้วหลิน ขุนศึกผู้ปกครองเขตแมนจูเรียในสมัยขุนศึกและต่อมากลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธให้กองทัพของจักรวรรดิแมนจูกัวรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นเวลาผ่านไปไม่นานก็กลายเป็นของกองทัพคันโต (กลุ่มกองทัพของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นประจำเขตแมนจูเรีย) ภายหลังการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ของจักรวรรดิญี่ปุ่นพื้นที่ของอดีตจักรวรรดิแมนจูกัวที่ถูกปลดปล่อยโดยกองทัพโซเวียตก็ถูกส่งคืนให้แก่สาธารณรัฐจีนโรงงานสรรพาวุธแห่งก็ตกเป็นของก๊กมินตั๋งซึ่งจากที่นั้นมันผลิตปืนและกระสุนให้กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนเพื่อต่อสู้กับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนในสงครามกลางเมืองจีนก่อนฝ่ายก๊กมินตั๋งจะพ่ายจนเสียแผ่นดินใหญ่ให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนจนท้ายที่สุดแล้วโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ก็กลายมาเป็นแหล่งผลิตอาวุธให้แก่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นโรงงานผลิตอากาศยานที่ยังคงเปิดสายการผลิตอยู่จนถึงทุนวันนี้
แมนจูเรียอยู่ที่ไหน ?
มุกเดนอยู่ตรงส่วนไหนของแมนจูเรีย ?
แผนที่ของอดีตจักรวรรดิแมนจูกัวโดยมีเมืองมุกเดน (Mukden) เป็นหนึ่งในสามเมืองใหญ่ของประเทศนี้แผนที่นี้มาจากสมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นเขตแดนของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ยังคงมีเกาหลีเป็นดินแดนของตนอยู่ทำให้ประเทศแมนจูกัวซึ่งตั้งอยู่ในเขตแมนจูเรียเป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพโซเวียต จักรวรรดิญี่ปุ่น มองโกเลีย และ ดินแดนของจีนภายใต้การยึดครองของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประวัติของโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดนสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคดังนี้
1. ยุคของจาง จั้วหลิน โรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ใช้ชื่อว่า Mukden Arsenal
Mukden Arsenal เริ่มต้นจากการเป็นโรงงานผลิตปืนขนาดเล็กที่เปิดกิจการขึ้นในปี ค.ศ. 1897 หลังการปฏิวัติซินไฮ่สาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1912 โดยมีด็อกเตอร์ซุนยัดเซ็นเป็นประธานาธิบดีรักษาการแต่ตามข้อตกลงทางการเมืองระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐกับหยวนซื่อข่ายซึ่งในขณะนั้นเป็นขุนนางใหญ่ในราชวงศ์ชิงและเป็นผู้นำของกองทัพเป่ย์หยางกองกำลังทางทหารที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้นว่าหากเขาสามารถเกลี้ยกล่อมให้มีการสละราชสมบัติของราชวงศ์ชิงได้เขาจะได้ตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีนซึ่งมันก็เป็นไปตามนั้นเขาทำได้จริงๆและเขาก็ได้ตำแหน่งนี้ไปจริงๆอีกด้วยแต่ดูเหมือนว่าแค่ตำแหน่งประธานาธิบดีมันจะยังไม่เพียงพอสำหรับคนที่กระหายอำนาจไม่มีสิ้นสุดอย่าง หยวนซื่อข่าย ในปี ค.ศ. 1916 หยวนซื่อข่าย ประกาศตัวเป็นจักรพรรดิหงเซี่ยน รื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ในนามจักรวรรดิจีนแต่ถูกต่อต้านจากทั่วทั้งแผ่นดินจนเกิดสงครามคุ้มชาติ ในท้ายที่สุดภายใต้แรงกดดันอย่างมหาศาลจากทั่วทั้งประเทศ หยวนซื่อข่าย ต้องจำใจประกาศสละราชบัลลังก์ เขาจึงกลับไปดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีตามเดิมและเสียชีวิตไม่กี่เดือนต่อมา หลังการเสียชีวิตของ หยวนซื่อข่าย เกิดสุญญากาศทางอำนาจในหมู่อดีตขุนศึกของกองทัพเป่ยหยางและก๊กอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งได้กระจัดกระจายไปทั่วแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เสฉวน ชานซี ชิงไห่ หนิงเซี่ย กวางตุ้ง กวางไซ กานซู่ ยูนนาน แมนจูเรีย และ ซินเจียง ต่างฝ่ายต่างตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตปกครองของตนเป็นเหตุให้เรียกยุคนี้ว่า สมัยขุนศึก
จาง จั๋วหลิน สมญานาม "จอมพลเฒ่า" ( Old Marshal ) "จอมพลพิรุณ" ( Rain Marshal ) และ "พยัคฆ์มุกเดน" ( Mukden Tiger )
เมื่อ จาง จั๋วหลิน ได้ขึ้นเป็นขุนศึกผู้ปกครองแมนจูเรียอำนาจบริหารทุกอย่างอยู่ในมือเขารวมถึงการเข้ามาเป็นเจ้าของโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดนด้วยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเขาก็ได้โอกาสในการขยายกำลังการผลิตของโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้จากการที่หนึ่งในร้อยโทของเขาเป็นเพื่อนกับตัวแทนจำหน่ายภาคตะวันออกไกลของบริษัท Böhler ผู้ผลิตอาวุธสัญชาติออสเตรีย-ฮังการี ที่กำลังประสบปัญหาด้านรายได้อย่างหนักจากการที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ล่มสลายจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 บริษัท Böhler จึงได้ขายเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตกระสุน (Geschosspresse) และ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตปืนไรเฟิลให้แก่ จาง จั๋วหลิน ต่อมามาในปี ค.ศ. 1920 ก็ได้ซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรเพิ่มเติมจากบริษัท Nielsen & Winther สัญชาติเดนมาร์กในขณะเดียวกัน จาง จั๋วหลิน ได้ซื้อหนังสือทางเทคนิคที่สรุปแนวความคิดของนายทหารนักออกแบบอาวุธชาวญี่ปุ่นนายพล คิจิโระ นัมบู มาเป็นแนวทางในการออกเเบบ-สร้างอาวุธให้กองทัพของจาง จั๋วหลิน ในแผนกเทคนิคของโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้มีชาวต่างชาติทำงานอยู่ถึง 1,516 คนโดยเป็นชาวออสเตรีย อังกฤษ ญี่ปุ่น อเมริกัน และ ชาวรัสเซียที่หลบหนีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจากสหภาพโซเวียต เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้สามารถผลิตปืนไรเฟิลได้มากถึง 8,000 กระบอกต่อเดือน กระสุนของปืนไรเฟิล ปืนพก และ ปืนใหญ่ ชนิดต่างๆ 400,000 นัดต่อปีจากนั้นก็เปิดสายการผลิตปืนพก ปืนใหญ่ขนาดเบา และ เครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็ก นับว่าโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้เป็นหนึ่งในโรงงานผลิตอาวุธที่มีความพร้อมทั้งทางด้านกำลังการผลิตมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในเอเชีย.
ประตูจางทางเข้าสู่โรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดน
ปืนที่ผลิตจาก Mukden Arsenal
Liao-13 "มุกเดนเมาเซอร์"
Liao-13 คือปืนไรเฟิลที่ใช้กระสุนขนาด 7.92×57 mm. Mauser ที่มีต้นแบบมาจากปืน Gewehr m/1917 ของออสเตรีย-ฮังการีที่ไม่ได้มีการผลิตจำนวนมาก Liao-13 เป็นลูกผสมของปืนไรเฟิลเมาเซอร์ยุโรปกับ Arisaka Type 38 ของญี่ปุ่นมันใช้ระบบลูกเลื่อนและคันห้ามไกของเมาเซอร์แต่มีพอร์ตระบายแก๊สสองรู และ มีฝาครอบกันสิ่งสกปรกที่ลูกเลื่อนเหมือนกับ Type 38 ปืนไรเฟิล Liao-13 เป็นอาวุธมาตรฐานของทหารในกองทัพของจาง จั๋วหลิน (แต่ Liao-13 กระบอกในภาพไม่มีฝาครอบลูกเลื่อนติดตั้งมาด้วย)
ระบบลูกเลื่อนและคันห้ามไกของมุกเดนเมาเซอร์
พอร์ตระบายแก๊สสองรู (ประทับตราของ Mukden Arsenal)
พอร์ตระบายแก๊สสองรูของ Arisaka Type 38
มุกเดนเมาเซอร์สามารถบรรจุกระสุนได้ 5 นัดศูนย์หลังของมันสามารถปรับระยะการเล็งได้ไกลถึง 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) มันได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนว่าเป็นปืนที่มีคุณภาพดีมีการผลิตที่มีมาตรฐานสูงทำให้มันเป็นหนึ่งในของสะสมที่ผู้นิยมปืนไรเฟิลเมาเซอร์ต่างต้องการที่จะได้มาไว้ในคอลเลกชันของตัวเองมุกเดนเมาเซอร์มีการผลิตออกมาทั้งสิ้นจำนวน 140,000 กระบอกโดยผลิตจากปี ค.ศ. 1924-1938
ข้อมูลจำเพาะ
ขนาดกระสุน 7.92×57mm Mauser
น้ำหนัก 9.4 ปอนด์ (4.3 กก.)
ความยาว 48.82 นิ้ว (124.0 ซม.)
ความยาวลำกล้อง 29.13 นิ้ว (740 มม.)
ศูนย์หลังสามารถปรับระยะการเล็งได้ 2,000 เมตร (6,600 ฟุต)
Mukden Broomhandles
Mukden broomhandles ของ Mukden Arsenal
เช่นเดียวกับโรงงานสรรพาวุธอื่น ๆ ที่มีอยู่หลายแห่งในจีนสมัยนั้น Mukden Arsenal ผลิตปืนเลียนแบบปืนพกเมาเซอร์ ซี96 (ปืนพกเมาเซอร์มีชื่อเล่นว่า Broomhandles เพราคันยิงของมันมีรูปร่างที่เหมือนด้ามไม้กวาด) โดยปืนของ Mukden Arsenal เป็นการเลียนแบบเมาเซอร์ ซี96 รุ่น Bolo (จีนกับสเปนคือสองประเทศที่ผลิตปืนเลียนแบบปืนพกเมาเซอร์ ซี96 มากที่สุดในโลก)
Mauser C96 Bolo
จุดจบแห่งยุคสมัยของจาง จั๋วหลิน
เมื่อถึงปี ค.ศ. 1924 จากการที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นจาง จั๋วหลิน ได้นำกองทัพของเขาเข้าทำสงครามกับขุนศึกในเขตอื่นๆและได้รับชัยชนะจนในที่สุดแล้วก็รุกเข้าสู่กรุงปักกิ่งเพื่อยึดอำนาจรัฐบาลที่นั่นแต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะในปี ค.ศ. 1927 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนของฝ่ายก๊กมินตั๋งซึ่งในขณะนั้นกำลังมีปฏิบัติการกรีธาทัพขึ้นเหนือเพื่อปราบปรามขุนศึกที่ปกครองพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศจีนและรวมจีนให้เป็นหนึ่งภายใต้รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้เข้ามาต่อสู้กับกองทัพของจาง จั๋วหลิน และได้รับชัยชนะจาง จั๋วหลิน ต้องถอยทัพกลับไปตั้งหลักในแมนจูเรียดังเดิมจากความล้มเหลวในการทำสงครามกับฝ่ายก๊กมินตั๋งครั้งนี้เองทำให้กองทัพคันโตเลิกให้การสนับสนุนและลอบสังหารเขาด้วยการวางระเบิดในวันที่ 4 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1928 จาง เซียะเหลียง บุตรชายของ จาง จั๋วหลินขึ้นเป็นผู้นำกองทัพแทนหลังจากผ่านการเจรจาครึ่งปีในที่สุดแล้วกองทัพของเขาก็เข้าร่วมกับกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจากนั้นไม่นานก็เกิดกรณีมุกเดนในปี ค.ศ. 1931 ส่วนหนึ่งของรางรถไฟแมนจูเลียสายใต้ซึ่งกองทัพคันโตยึดครองอยู่ในขณะนั้นเกิดการระเบิดขึ้นกองทัพคันโตใช้ข้ออ้างที่ว่าทหารจีนเป็นผู้วางระเบิดรางรถไฟเคลื่อนพลเข้ายึดพื้นที่ในแมนจูเรียทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น (เกิดการเข้าปะทะกันระหว่างทหารจีนและญี่ปุ่นแต่ไม่ทราบจำนวนความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายแต่มีรายงานว่าปืนมุกเดนเมาเซอร์ของทหารในกองทัพของจาง เซียะเหลียง จำนวน 72,679 กระบอกถูกกองทัพคันโตยึดไป)
ก่อตั้งประเทศแมนจูกัว
เมื่อกองทัพคันโตสามารถยึดครองพื้นที่แมนจูเลียทั้งหมดได้แล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ทำเหมือนกับที่ชาติล่าอาณานิคมอื่นๆทำกันนั่นคือการ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" โดยการประกาศให้ดินแดนแมนจูเรียเป็นประเทศแมนจูกัวและเชิญอดีตจักรพรรดิปูยีแห่งราชวงศ์ชิงมาเป็นผู้สำเร็จราชการของประเทศแมนจูกัวก่อนจะสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว (ภายหลังการปฏิวัติซินไฮ่ราชวงศ์ชิงไม่ได้ถูกขับไล่ออกจากวังต้องห้ามในปักกิ่งแต่อย่างใดแต่แล้วในปี ค.ศ. 1924 อดีตจักรพรรดิปูยีก็ถูกก๊กมินตั๋งขับไล่ออกจากวังต้องห้ามจนได้) ประเทศแมนจูกัวได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศโดยส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการยอมรับจากพันธมิตรฝ่ายอักษะของญี่ปุ่นอย่างเยอรมันและอิตาลีเป็นต้นย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะมีการตั้งประเทศแมนจูกัวเมื่อโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดนตกมาอยู่ในการครอบครองของกองทัพคันโตก็ได้มีการนำเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตปืนจากญี่ปุ่นเข้ามาเสริมยังโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ทำให้มันสามารถผลิตปืนที่มีใช้ในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำให้เป็นมันกลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธและกระสุนให้แก่กองทัพคันโตและกองทหารญี่ปุ่นอื่นๆในจีนตลอดช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ไปจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศแมนจูกัวถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Mukden Army, Inc. ถือหุ้นโดยรัฐบาลแมนจูกัว 50% ร่วมกับบริษัทมิตซุยและโอกุระของญี่ปุ่นโดยทั้ง 2 บริษัทนี้ถือหุ้น 25% โดยทำการผลิตทั้งอาวุธและกระสุนแบบเดียวกับสมัยของจาง จั๋วหลิน และผลิตตามแบบของญี่ปุ่นแน่นอนว่าถึงแม้แมนจูกัวจะเป็นเพียงรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นแต่มันก็มีกองทัพเป็นของตนเองเช่นกันโดยกองทัพแมนจูกัวใช้ทั้งปืนจากสมัยของจาง จั๋วหลิน และของญี่ปุ่นผสมกันไปต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้าถือหุ้น 100% ของ Mukden Army, Inc ในปี ค.ศ. 1938 และเปลี่ยนชื่อเป็น Hoten Arsenal แต่ในเอกสารภาษาอังกฤษชื่อมุกเดนยังคงถูกใช้อยู่ (โฮเท็นเป็นชื่อของเมืองมุกเดนของชาวญี่ปุ่น)
สารานุกรมปืนตอนที่ 430 ประวัติของโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดน
แมนจูเรียอยู่ที่ไหน ?
มุกเดนอยู่ตรงส่วนไหนของแมนจูเรีย ?
แผนที่ของอดีตจักรวรรดิแมนจูกัวโดยมีเมืองมุกเดน (Mukden) เป็นหนึ่งในสามเมืองใหญ่ของประเทศนี้แผนที่นี้มาจากสมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นเขตแดนของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ยังคงมีเกาหลีเป็นดินแดนของตนอยู่ทำให้ประเทศแมนจูกัวซึ่งตั้งอยู่ในเขตแมนจูเรียเป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพโซเวียต จักรวรรดิญี่ปุ่น มองโกเลีย และ ดินแดนของจีนภายใต้การยึดครองของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประวัติของโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดนสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคดังนี้
1. ยุคของจาง จั้วหลิน โรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ใช้ชื่อว่า Mukden Arsenal
Mukden Arsenal เริ่มต้นจากการเป็นโรงงานผลิตปืนขนาดเล็กที่เปิดกิจการขึ้นในปี ค.ศ. 1897 หลังการปฏิวัติซินไฮ่สาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1912 โดยมีด็อกเตอร์ซุนยัดเซ็นเป็นประธานาธิบดีรักษาการแต่ตามข้อตกลงทางการเมืองระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐกับหยวนซื่อข่ายซึ่งในขณะนั้นเป็นขุนนางใหญ่ในราชวงศ์ชิงและเป็นผู้นำของกองทัพเป่ย์หยางกองกำลังทางทหารที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้นว่าหากเขาสามารถเกลี้ยกล่อมให้มีการสละราชสมบัติของราชวงศ์ชิงได้เขาจะได้ตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีนซึ่งมันก็เป็นไปตามนั้นเขาทำได้จริงๆและเขาก็ได้ตำแหน่งนี้ไปจริงๆอีกด้วยแต่ดูเหมือนว่าแค่ตำแหน่งประธานาธิบดีมันจะยังไม่เพียงพอสำหรับคนที่กระหายอำนาจไม่มีสิ้นสุดอย่าง หยวนซื่อข่าย ในปี ค.ศ. 1916 หยวนซื่อข่าย ประกาศตัวเป็นจักรพรรดิหงเซี่ยน รื้อฟื้นระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ในนามจักรวรรดิจีนแต่ถูกต่อต้านจากทั่วทั้งแผ่นดินจนเกิดสงครามคุ้มชาติ ในท้ายที่สุดภายใต้แรงกดดันอย่างมหาศาลจากทั่วทั้งประเทศ หยวนซื่อข่าย ต้องจำใจประกาศสละราชบัลลังก์ เขาจึงกลับไปดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีตามเดิมและเสียชีวิตไม่กี่เดือนต่อมา หลังการเสียชีวิตของ หยวนซื่อข่าย เกิดสุญญากาศทางอำนาจในหมู่อดีตขุนศึกของกองทัพเป่ยหยางและก๊กอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งได้กระจัดกระจายไปทั่วแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เสฉวน ชานซี ชิงไห่ หนิงเซี่ย กวางตุ้ง กวางไซ กานซู่ ยูนนาน แมนจูเรีย และ ซินเจียง ต่างฝ่ายต่างตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตปกครองของตนเป็นเหตุให้เรียกยุคนี้ว่า สมัยขุนศึก
จาง จั๋วหลิน สมญานาม "จอมพลเฒ่า" ( Old Marshal ) "จอมพลพิรุณ" ( Rain Marshal ) และ "พยัคฆ์มุกเดน" ( Mukden Tiger )
เมื่อ จาง จั๋วหลิน ได้ขึ้นเป็นขุนศึกผู้ปกครองแมนจูเรียอำนาจบริหารทุกอย่างอยู่ในมือเขารวมถึงการเข้ามาเป็นเจ้าของโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดนด้วยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเขาก็ได้โอกาสในการขยายกำลังการผลิตของโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้จากการที่หนึ่งในร้อยโทของเขาเป็นเพื่อนกับตัวแทนจำหน่ายภาคตะวันออกไกลของบริษัท Böhler ผู้ผลิตอาวุธสัญชาติออสเตรีย-ฮังการี ที่กำลังประสบปัญหาด้านรายได้อย่างหนักจากการที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ล่มสลายจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 บริษัท Böhler จึงได้ขายเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตกระสุน (Geschosspresse) และ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตปืนไรเฟิลให้แก่ จาง จั๋วหลิน ต่อมามาในปี ค.ศ. 1920 ก็ได้ซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรเพิ่มเติมจากบริษัท Nielsen & Winther สัญชาติเดนมาร์กในขณะเดียวกัน จาง จั๋วหลิน ได้ซื้อหนังสือทางเทคนิคที่สรุปแนวความคิดของนายทหารนักออกแบบอาวุธชาวญี่ปุ่นนายพล คิจิโระ นัมบู มาเป็นแนวทางในการออกเเบบ-สร้างอาวุธให้กองทัพของจาง จั๋วหลิน ในแผนกเทคนิคของโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้มีชาวต่างชาติทำงานอยู่ถึง 1,516 คนโดยเป็นชาวออสเตรีย อังกฤษ ญี่ปุ่น อเมริกัน และ ชาวรัสเซียที่หลบหนีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจากสหภาพโซเวียต เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้สามารถผลิตปืนไรเฟิลได้มากถึง 8,000 กระบอกต่อเดือน กระสุนของปืนไรเฟิล ปืนพก และ ปืนใหญ่ ชนิดต่างๆ 400,000 นัดต่อปีจากนั้นก็เปิดสายการผลิตปืนพก ปืนใหญ่ขนาดเบา และ เครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็ก นับว่าโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้เป็นหนึ่งในโรงงานผลิตอาวุธที่มีความพร้อมทั้งทางด้านกำลังการผลิตมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในเอเชีย.
ประตูจางทางเข้าสู่โรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดน
ปืนที่ผลิตจาก Mukden Arsenal
Liao-13 "มุกเดนเมาเซอร์"
Liao-13 คือปืนไรเฟิลที่ใช้กระสุนขนาด 7.92×57 mm. Mauser ที่มีต้นแบบมาจากปืน Gewehr m/1917 ของออสเตรีย-ฮังการีที่ไม่ได้มีการผลิตจำนวนมาก Liao-13 เป็นลูกผสมของปืนไรเฟิลเมาเซอร์ยุโรปกับ Arisaka Type 38 ของญี่ปุ่นมันใช้ระบบลูกเลื่อนและคันห้ามไกของเมาเซอร์แต่มีพอร์ตระบายแก๊สสองรู และ มีฝาครอบกันสิ่งสกปรกที่ลูกเลื่อนเหมือนกับ Type 38 ปืนไรเฟิล Liao-13 เป็นอาวุธมาตรฐานของทหารในกองทัพของจาง จั๋วหลิน (แต่ Liao-13 กระบอกในภาพไม่มีฝาครอบลูกเลื่อนติดตั้งมาด้วย)
ระบบลูกเลื่อนและคันห้ามไกของมุกเดนเมาเซอร์
พอร์ตระบายแก๊สสองรู (ประทับตราของ Mukden Arsenal)
พอร์ตระบายแก๊สสองรูของ Arisaka Type 38
มุกเดนเมาเซอร์สามารถบรรจุกระสุนได้ 5 นัดศูนย์หลังของมันสามารถปรับระยะการเล็งได้ไกลถึง 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) มันได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนว่าเป็นปืนที่มีคุณภาพดีมีการผลิตที่มีมาตรฐานสูงทำให้มันเป็นหนึ่งในของสะสมที่ผู้นิยมปืนไรเฟิลเมาเซอร์ต่างต้องการที่จะได้มาไว้ในคอลเลกชันของตัวเองมุกเดนเมาเซอร์มีการผลิตออกมาทั้งสิ้นจำนวน 140,000 กระบอกโดยผลิตจากปี ค.ศ. 1924-1938
ข้อมูลจำเพาะ
ขนาดกระสุน 7.92×57mm Mauser
น้ำหนัก 9.4 ปอนด์ (4.3 กก.)
ความยาว 48.82 นิ้ว (124.0 ซม.)
ความยาวลำกล้อง 29.13 นิ้ว (740 มม.)
ศูนย์หลังสามารถปรับระยะการเล็งได้ 2,000 เมตร (6,600 ฟุต)
Mukden Broomhandles
Mukden broomhandles ของ Mukden Arsenal
เช่นเดียวกับโรงงานสรรพาวุธอื่น ๆ ที่มีอยู่หลายแห่งในจีนสมัยนั้น Mukden Arsenal ผลิตปืนเลียนแบบปืนพกเมาเซอร์ ซี96 (ปืนพกเมาเซอร์มีชื่อเล่นว่า Broomhandles เพราคันยิงของมันมีรูปร่างที่เหมือนด้ามไม้กวาด) โดยปืนของ Mukden Arsenal เป็นการเลียนแบบเมาเซอร์ ซี96 รุ่น Bolo (จีนกับสเปนคือสองประเทศที่ผลิตปืนเลียนแบบปืนพกเมาเซอร์ ซี96 มากที่สุดในโลก)
Mauser C96 Bolo
จุดจบแห่งยุคสมัยของจาง จั๋วหลิน
เมื่อถึงปี ค.ศ. 1924 จากการที่ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นจาง จั๋วหลิน ได้นำกองทัพของเขาเข้าทำสงครามกับขุนศึกในเขตอื่นๆและได้รับชัยชนะจนในที่สุดแล้วก็รุกเข้าสู่กรุงปักกิ่งเพื่อยึดอำนาจรัฐบาลที่นั่นแต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะในปี ค.ศ. 1927 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนของฝ่ายก๊กมินตั๋งซึ่งในขณะนั้นกำลังมีปฏิบัติการกรีธาทัพขึ้นเหนือเพื่อปราบปรามขุนศึกที่ปกครองพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศจีนและรวมจีนให้เป็นหนึ่งภายใต้รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้เข้ามาต่อสู้กับกองทัพของจาง จั๋วหลิน และได้รับชัยชนะจาง จั๋วหลิน ต้องถอยทัพกลับไปตั้งหลักในแมนจูเรียดังเดิมจากความล้มเหลวในการทำสงครามกับฝ่ายก๊กมินตั๋งครั้งนี้เองทำให้กองทัพคันโตเลิกให้การสนับสนุนและลอบสังหารเขาด้วยการวางระเบิดในวันที่ 4 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1928 จาง เซียะเหลียง บุตรชายของ จาง จั๋วหลินขึ้นเป็นผู้นำกองทัพแทนหลังจากผ่านการเจรจาครึ่งปีในที่สุดแล้วกองทัพของเขาก็เข้าร่วมกับกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจากนั้นไม่นานก็เกิดกรณีมุกเดนในปี ค.ศ. 1931 ส่วนหนึ่งของรางรถไฟแมนจูเลียสายใต้ซึ่งกองทัพคันโตยึดครองอยู่ในขณะนั้นเกิดการระเบิดขึ้นกองทัพคันโตใช้ข้ออ้างที่ว่าทหารจีนเป็นผู้วางระเบิดรางรถไฟเคลื่อนพลเข้ายึดพื้นที่ในแมนจูเรียทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น (เกิดการเข้าปะทะกันระหว่างทหารจีนและญี่ปุ่นแต่ไม่ทราบจำนวนความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายแต่มีรายงานว่าปืนมุกเดนเมาเซอร์ของทหารในกองทัพของจาง เซียะเหลียง จำนวน 72,679 กระบอกถูกกองทัพคันโตยึดไป)
ก่อตั้งประเทศแมนจูกัว
เมื่อกองทัพคันโตสามารถยึดครองพื้นที่แมนจูเลียทั้งหมดได้แล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ทำเหมือนกับที่ชาติล่าอาณานิคมอื่นๆทำกันนั่นคือการ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" โดยการประกาศให้ดินแดนแมนจูเรียเป็นประเทศแมนจูกัวและเชิญอดีตจักรพรรดิปูยีแห่งราชวงศ์ชิงมาเป็นผู้สำเร็จราชการของประเทศแมนจูกัวก่อนจะสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว (ภายหลังการปฏิวัติซินไฮ่ราชวงศ์ชิงไม่ได้ถูกขับไล่ออกจากวังต้องห้ามในปักกิ่งแต่อย่างใดแต่แล้วในปี ค.ศ. 1924 อดีตจักรพรรดิปูยีก็ถูกก๊กมินตั๋งขับไล่ออกจากวังต้องห้ามจนได้) ประเทศแมนจูกัวได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศโดยส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการยอมรับจากพันธมิตรฝ่ายอักษะของญี่ปุ่นอย่างเยอรมันและอิตาลีเป็นต้นย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะมีการตั้งประเทศแมนจูกัวเมื่อโรงงานสรรพาวุธแห่งมุกเดนตกมาอยู่ในการครอบครองของกองทัพคันโตก็ได้มีการนำเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตปืนจากญี่ปุ่นเข้ามาเสริมยังโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ทำให้มันสามารถผลิตปืนที่มีใช้ในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำให้เป็นมันกลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธและกระสุนให้แก่กองทัพคันโตและกองทหารญี่ปุ่นอื่นๆในจีนตลอดช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ไปจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศแมนจูกัวถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโรงงานสรรพาวุธแห่งนี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Mukden Army, Inc. ถือหุ้นโดยรัฐบาลแมนจูกัว 50% ร่วมกับบริษัทมิตซุยและโอกุระของญี่ปุ่นโดยทั้ง 2 บริษัทนี้ถือหุ้น 25% โดยทำการผลิตทั้งอาวุธและกระสุนแบบเดียวกับสมัยของจาง จั๋วหลิน และผลิตตามแบบของญี่ปุ่นแน่นอนว่าถึงแม้แมนจูกัวจะเป็นเพียงรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นแต่มันก็มีกองทัพเป็นของตนเองเช่นกันโดยกองทัพแมนจูกัวใช้ทั้งปืนจากสมัยของจาง จั๋วหลิน และของญี่ปุ่นผสมกันไปต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้าถือหุ้น 100% ของ Mukden Army, Inc ในปี ค.ศ. 1938 และเปลี่ยนชื่อเป็น Hoten Arsenal แต่ในเอกสารภาษาอังกฤษชื่อมุกเดนยังคงถูกใช้อยู่ (โฮเท็นเป็นชื่อของเมืองมุกเดนของชาวญี่ปุ่น)