071 อันตรายของสมาธิ
ปัญหา ในการเจริญสมาธิ บางครั้งเกิดนิมิตเห็นรูปแล้ว
หรือเกิดโอภาสแสงสว่างแล้ว แต่ในไม่ช้าก็หายไป
ทั้งนี้เพราะเหตุไร?
พุทธดำรัสตอบ
“.....ดูก่อนอนุรุท เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
เราย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูป
อันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ เห็นปัจจัย
ได้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้
ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป
จึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก
“.....ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า
อมนสิการ (การไม่ใส่ใจ) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน
ถีนมิทธะ (ความง่วงงุน) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความหวาดเสียว...... แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความตื่นเต้น แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา......สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความเพียรที่ปรารภเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความเพียรที่หย่อนเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ตัณหาที่คอยกระซิบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
เราจักทำให้วิจิกิจฉาอมนสิการ ถีนมิทธะความหวาดเสียว
ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป
ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.....
...............
อุปักกิเลสสูตร อุ. ม. (๔๕๒-๔๖๑)
ตบ. ๑๔ : ๓๐๑-๓๐๖ ตท. ๑๔ : ๒๖๐-๒๖๓
ตอ. MLS. III : ๒๐๒-๒๐๕
...............
ที่มา :
https://84000.org/true/071.html
อันตรายของสมาธิ
ปัญหา ในการเจริญสมาธิ บางครั้งเกิดนิมิตเห็นรูปแล้ว
หรือเกิดโอภาสแสงสว่างแล้ว แต่ในไม่ช้าก็หายไป
ทั้งนี้เพราะเหตุไร?
พุทธดำรัสตอบ
“.....ดูก่อนอนุรุท เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
เราย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูป
อันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ เห็นปัจจัย
ได้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้
ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป
จึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก
“.....ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า
อมนสิการ (การไม่ใส่ใจ) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน
ถีนมิทธะ (ความง่วงงุน) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความหวาดเสียว...... แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความตื่นเต้น แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา......สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความเพียรที่ปรารภเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความเพียรที่หย่อนเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ตัณหาที่คอยกระซิบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน......
เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
เราจักทำให้วิจิกิจฉาอมนสิการ ถีนมิทธะความหวาดเสียว
ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป
ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ
ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.....
...............
อุปักกิเลสสูตร อุ. ม. (๔๕๒-๔๖๑)
ตบ. ๑๔ : ๓๐๑-๓๐๖ ตท. ๑๔ : ๒๖๐-๒๖๓
ตอ. MLS. III : ๒๐๒-๒๐๕
...............
ที่มา : https://84000.org/true/071.html