ดเดเด้

กระทู้คำถาม
นักเรียนถามครูตอบ
สวัสดีค่ะ ดิฉันอยากจะมารีวิวเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไทย เพราะมองเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ต่อการร่วมเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย และปัจจุบันกำลังเป็นกระแสดุเดือดที่นักเรียน(เด็กโต)จากหลากหลายโรงเรียนได้แสดงออกการต่อต้านกฎ วัฒนธรรมและประเพณีในโรงเรียนบางกิจกรรม และแม้แต่การไปเดินกระบวนร่วมก่อม๊อบเพื่อแสดงถึงความอัดอั้นต่อพฤติกรรมของครูเลวที่นักเรียนได้เคยประสบ
เมื่อไม่กี่วันนี้ ดิฉันมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการหนึ่ง สมมุติชือ ABC เป็นโครงการเกี่ยวกับการสอบถามและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเรียนและครู  จะมีStaff เป็นผู้ประสานนำประเด็นปัญหาต่างๆที่นักเรียนบันทึกไว้ในABC มาให้ครูตอบ โดยที่ครูและนักเรียนไม่ต้องมาเผชิญหน้ากัน ต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักกัน นักเรียนอาจจะมาจากหลากหลายโรงเรียนและระดับชั้น แต่ส่วนใหญ่เป็นเด็กโต  ดิฉันจะรีวิวบทสนทนาที่คุยกันระหว่างStaffและครูทีละshotนะคะ
 
หมายเหตุ : Staff     คือ   เจ้าหน้าที่ของ ABC 
                  T          คือ   ตัวย่อของ Teacher = ครูคนที่ 1, 2, 3, 4, ....

Staff :       หลักๆคือจะเป็นการสอบถามความคิดเห็นจากคุณครูค่ะ โดยนำประเด็นจากนักเรียนที่เราได้พูดคุยกันไปก่อนหน้านี้มานำเสนอต่อคุณครู ซึ่งจะให้คุณครูทุกท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่นักเรียนได้เสนอมา รวมถึงอธิบายเหตุผลต่างๆของประเด็นนั้นๆในด้านของคุณครูเอง ซึ่งสิ่งที่เราเล็งเห็นถึงปัญหา คือการที่เราเจอปัญหาแต่ปัญหานั้นไม่ได้ถูกแก้ไข ซึ่งอาจจะเกิดจากความคิดเห็นของฝั่งคุณครูและฝั่งนักเรียนที่ไม่ตรงกัน พื้นที่ตรงนี้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างความคิดเห็นของคุณครูและนักเรียนต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจเหตุผลของแต่ละฝั่งและหาทางร่วมกันแก้ไขได้ค่ะ

Staf :       โดยเราจะเริ่มจากระเบียบวาระที่ 1 เรื่องการเข้าใจระหว่างศักยภาพและเกรดของนักเรียน
               มีหัวข้อย่อยดังนี้ 
               - การไม่กดดันนักเรียนหรือทำให้นักเรียนรู้สึกเครียดกับเกรดของตน
               - การที่นักเรียนบางคนสามารถเข้าถึงการเรียนพิเศษได้มากกว่า ซึ่งสามารถทำให้เพิ่มเกรดและคะแนนได้ แต่นั่นไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่านักเรียนคนนั้นจะ เก่งมากกว่าหรือน้อยกว่าคนอื่น
               - มาตรฐานการให้เกรดในแต่ละโรงเรียนและคุณครูแต่ละท่านย่อมต่างกัน
               - เกรดไม่สามารถวัดหรือประเมินเด็กได้หมดทุกด้าน เกรดเป็นเครื่องมือและตัวคัดกรองที่สะดวกต่อการประเมินในระบบการศึกษาเท่านั้น

T 1 :       ไม่จริงทั้งหมดครับ เพราะการเรียนในปัจจุบัน ยังขาดการนำข้อมูลมาใช้ หรือมองความคิดเก่าๆ

Staff :      เนื้อหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางทีมงานเราได้ meeting กับนักเรียนและได้สรุปเนื้อหาและสาระสำคัญมานะคะ  รบกวนอาจารย์ช่วยขยายความหรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นได้ไหมคะ

T 1 :        เราถูกการศึกษาแบบเก่า มองการว่าคนเก่งคือคนที่มีคะแนนสูง และมองการศึกษาว่าการสอบติด โดยเน้นไปที่ ความรู้มากกว่า ทักษะ ทั้งๆ ที่โลกเปลี่ยนไป

Staff :      นอกจากนี้คุณครูได้เล็งเห็นปัญหาการศึกษาในด้านใดบ้างคะ

T 1 :        ขาดทักษะการเรียนรู้เนื่องจาก เน้นการจำไปสอบ แต่ทำอะไรไม่เป็น ทำให้ทักษะด้าน hard soft skill  ทั้งๆๆ ที่ปัจจุบันเราเรียนที่ไหนก็ได้

Staff :      ค่ะ แล้วคุณครูมีวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไรบ้าง

T 1 :        โรงเรียนยังอยู่ในกรอบเดิม ครูเป็นศูนย์กลาง 

T 2 :        อาจจะเพราะความรู้ขั้นสูงกว่ารู้จำ อาจจะสอนยาก นอกจากครูจะต้องเชี่ยวชาญในเนื้อหาแล้ว เด็กนักเรียนต้องใส่ใจด้วย จึงจะเรียนรู้ถึงขั้นเข้าใจ นำไปใช้ได้

T 1:         อาจนำวิธีแบบวิพากษ์มาใช้าบ้าง หรือให้มีการแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้นหรือ desing thinking  มาจัดการเรียนการสอบเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน

Staff :      คุณครูเคยมีปัญหากับตัวนักเรียน หรือสิ่งที่ไม่เข้าใจนักเรียนบ้างไหมคะ

T 2 :        ปัญหาผมเจอ เด็กอาชีวะ ไม่ค่อยสนใจ ใส่ในเรื่องเกรดในแต่ละวิชาเท่าไหร่นักครับ ไม่กลัวการโดนหักคะแนน แต่กลัวการถูกลงโทษมากกว่า (ซึ่งผมก็ไม่เคยลงโทษหรอก) 

T 1 :        มีครับ แต่แก้ปัญหาโดยฟังเด็กๆ ให้มากที่สุด

Staff :      คุณครูท่านอื่นสามารถแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้นะคะ  คุณครูคิดว่าเรื่องเกรดเฉลี่ยนั้นสามารถวัดอะไรจากนักเรียนได้บ้างคะ

T 1 :        ความรับผิดชอบ รู้มากน้อย IQ

T 3 :       1.ครูต้องเป็นมิตรไม่ใช่เป็นศัตรู 
              2.สร้างความเชื่อใจมั่นใจแก่นรว่าครูมีความรู้จริงและแม่นยำในการสอน มิใช่ยึดตามตำราที่เฉลยผิด (น่าเศร้าคือครูยังไม่รู้ว่าผิด)
              3.ครูต้องมีความแมตตาหากเด็กทำผิดกฎ มิใช่สักแต่ลงโทษ หรือเคร่งกฎเกณฑ์รร หรือกระทรวง
              4.ครูต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนบ่อยๆ อย่าสอนวิธีเดิมทุกสัปดาห์จนเด็กเบื่อหน่าย 
              5.ครูต้องติดตามความประพฤติเด็ก สอดส่องดูแล ใส่ใจ เสมือนเป็นลูกตัวเอง
              6.หากเด็กในที่ปรึกษามีปัญหา ครูต้องไวและร่วมมือกับผปค แก้ปัญหาได้ทัน
              7.สอนแต่ละครั้ง ต้องวัดผลว่าเด็กเข้าใจมั้ย หากยากไป ครูต้องปรับให้เหมาะกับสภาพจริงของเด็ก มิใช่สักแต่สอนวิธีเดียวกันในทุกๆห้อง 
              8.หากเด็กไม่ส่งงานที่มอบหมาย ครูต้องเรียกมาคุยและสอนเสริมจุดที่เด็กทำไม่ได้ หรือปรับงานที่มอบให้ทำให้เบาลง แต่ไม่หลุดสมรรถนะที่ต้องการวัด
             9.สื่อการสอนนำสมัย เหมาะสมกับวัยที่สอน มิใช่ร้องเพลงช้างๆในห้องมัธยม หรืออาชีวะ 
            10.ครูควรมอบบางงานให้เด็กทำ ที่เด็กได้แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์เองได้ ได้ฝึกทักษะ โดยครูต้องไม่ตั้งเกณ์ถูกผิด (บางวิชาอาจทำเรื่องนี้ยาก) 
             ครูยุคนี้ต้องปรับเปลี่ยนมาก เพราะความรู้หาได้ในอินเตอร์เน็ตที่เด็กเข้าถึงได้ไม่ยาก โดยไม่ต้องง้อครูแล้ว ความรู้ในตำราจึงล้าหลัง เด็กบางคนจึงไม่ไหว้ครู 
             อยากให้เด็กไหว้ครูเพราะจริงใจ มิใช่ไหว้เพราะกฎหรือวัฒธรรมประเพณี ครูจึงต้องมีความรู้ที่แน่ทันยุคทันสมัย อย่ายึดแต่ตำราอันน่าเบื่อที่หลักสูตรปรับเปลี่ยนไม่ทัน (ครูหลายคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีความรู้ล้าหลัง ไม่ทันยุค สอนน่าเบื่อ ก็ให้ดูที่ปฏิกิริยของเด็ก ถ้าเด็กไม่สนใจ นั่งหาว คุยกัน ครูก็อย่าโทษเด็กเลย หันมาเปลี่ยนตัวเองเถอะ)

T 2 :        ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอนสร้างเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพได้เพียงใดครับ
               ปกติการวัดผลก็จะวัด 
                -พุทธิพิสัย
                -จิตพิสัย 
                -ทักษะพิสัย 

               ถ้าเครื่องมือดีมีคุณภาพ ผลที่ได้นั้นจะมีประโยชน์มากกับหลาย ๆ อย่างทั้งการแนะแนว การพัฒนาผู้เรียน พัฒนาหลักสูตร วิจัยต่าง ๆ 

Staff :      คุณครูท่านอื่นๆอยากเสนออะไรเพิ่มเกี่ยวกับวาระที่1 ไหมคะ เสนอพูดคุยกันได้เรื่อยๆเลยนะคะ

T 3 :        เด็กมี 2กลุ่มใหญ่ๆ คือเด็กเก่งวิชการ กับ เด็กไม่เก่งวิชาการ(ยังไม่แตกย่อยให้ย่งยาก ) 

              1.กลุ่มเด็กเก่งวิชาการ
              เรื่องเกรดมีผลสำคัญต่อการแย่งที่นั่งในการศึกษาต่อมหาลัยและคณะดัง แล้วยังต้องรวมกับคะแนนเก็ทเพ็ท โอเน็ต และอีกจิปาถะ (แค่เรื่องนี้น่า  จะจบการถกเรื่องเกรดได้ว่ามันวัดอะไีร) 

              2.กลุ่มเด็กไม่เก่งวิชาการ
              เรื่องเกรดไม่ต้องพูดถึง จะเบาลงหน่อย อาจเยอะเลย เด็กเก่งทักษะและปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ 

              แต่เกรดจะมีผลตอนไปสมัครงานเพื่อใช้คัดเลือกคนน้ำดีเข้าทำงาน และสายตาของผู้คัดคนจะซีเรียสกันมากจนบางองค์กรต้องประกาศว่าไม่รับเด็กที่จบจากมหาลัยบางที่เลย 
              เพราะเกณฑ์วัดเกรดของมหาลัยแต่ละที่จะต่างกัน เด็กบางคนมีผลเกรดจบออกมาสูง แต่กลับทำงานไม่เป็น ตรงข้ามบางคนเกรดต่ำกว่าแต่กลับทำงานได้ดีกว่า จึงเป็นที่มาของการคัดคนเข้าทำงานดูที่เกรดและชื่อสถาบันด้วย นี่ก็แสดงว่าเกรดจากเด็กกลุ่มนี้จะไม่สามารถวัดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเด็กจะมีความเก่งหรือช่ำชองในทักษะงานนั้นได้จริง จึงอาจมีการดูชื่อสถาบันและทดสอบวัดความสามารถด้วย 

              สรุปว่าเกรดใช้ได้ดีกับกลุ่มเด็กเก่ง ซึ่งจำนวนมีน้อย แต่ใช้ได้ไม่ดีกับกลุ่มเด็กไม่เก่งที่มีจำนวนมากกว่า

              ถ้ากระทรวงปรับใหม่ได้ ควรปรับเพื่อแก้ปัญหากลุ่มเด็กไม่เก่ง  เพราะต้องเข้าม เอกชน หรือ ม เปิด และมีแต่คณะวิชาที่เปิดเหมือนๆกันแทบทุกมหาลัย สุดท้ายกลุ่มเด็กไม่เก่งจบออกมาเยอะเกินไปจนล้นตลาดแรงงาน จึงพากันตกงานเป็นปัญหาสังคม 
              การจบเอกที่มีล้นตลาดแรงงานและรายได้ต่ำบางทีไม่ถึง15,000และยังถูกกดเงินเดือนให้ต่ำกว่าเกณฑ์อีก

              วิธีแก้ปัญหา ตามความคิดเห็นส่วนตัว

              1.แยกการวัดผลเกรดเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มเด็กเก่งวิชาการ กับ กลุ่มเด็กไม่เก่งวิขาการ

              2.การวัดผลเด็กเก่งวิชาการใช้แบบเดิมก็ดี เช่นการคัดไปเรียนหมอก็ต้องเคร่งครัด ส่วนของเด็กไม่เก่ง ก็ต้องเป็นวิธีการวัดที่ไม่เคร่งนัก เนื้อหาเบากว่า 

              3.การวัดผลของเด็ก 2 กลุ่ม ควรครอบคลุมวิธีการที่คล้ายๆกัน 

              4.ยุคสมัยเปลี่ยนไป การวัดผลแบบใหม่ไม่ควรออกข้อสอบแบบกากากบาททั้งหมด ควรเน้นการเขียนตอบแบบสั้นหรือแบบยาวหรือแบบอธิบายตามความเข้าใจของเด็ก เพื่อวัดความเข้าใจ ความเข้าใจจะสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้มาก

              5.การวัดผลควรเน้นการวัดทักษะ ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์จากการปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ตามหัวข้อเรื่องหรือตามสถานการณ์จริง (แต่บางวิชาอาจทำไม่ได้ ต้องใช้การบูรณาการเข้าช่วย) 

               อย่าให้เป็นแค่ข้อถกที่มีจัดหลายองค์กร แต่กลับไม่ลงมือแก้ไข ถกไปก็เปล่าประโยชน์

Staff :      มีคุณครูหรืออาจารย์ท่านไหนอยากเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมไหมคะ  วาระถัดไปในเริ่มในเร็วๆนี้ค่ะ

Staff :       ต่อจากนี้จะเป็นระเบียบวาระที่2 เรื่องการปรับตัวเข้าหานักเรียนนะคะ
                 มีหัวข้อย่อยดังนี้
                1.มีวิธีการเข้าใจนักเรียนในรูปแบบใดบ้าง
                2.การเชื่อว่าครูมียศ มีการงานหน้าที่ที่ดีกว่าจึงไม่อยากลดตัวไปคุยกับนักเรียนดีหรือไม่ อย่างไร
                3.ความเชื่อที่ว่าเด็กต้องขอโทษครูไม่ว่าถูกหรือผิด คิดเห็นอย่างไรบ้าง
                4.คิดเห็นอย่างไรกับคุณครูที่ยึดติดกับความเชื่อตัวเองโดยไม่รับฟังนักเรียน

***************************************************ขอนอนก่อนค่ะ ไว้จะมาต่อ**********************************************************
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่