สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
คุณพ่อเจ้าของกระทู้โทรมาหาผมแล้วครับ ได้ข้อเท็จจริงว่า
- คุณพ่อ จขกท. ทำธุรกิจรับซื้อฝากที่ดิน ในช่วงปี 2560, 2561 และ 2562
- มีที่ดินหลายแปลงที่หลุดไถ่ (คือผู้ขายฝากไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด) ทำให้คุณพ่อ จขกท. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก
- คุณพ่อ จขกท. ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของปี 2560, 2561 และ 2562 จากรายได้จากการขายอาหารสัตว์ โดยไม่ได้นำรายได้จากการที่ที่ดินหลุดไถ่ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ในแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของแต่ละปี
- ตอนนี้ เจ้าพนักงานยังไม่ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบตามกฎหมาย และยังไม่ได้ออกหนังสือแจ้งประเมิน แค่เข้ามาคุย หรือเชิญไปพบที่สรรพากรพื้นที่ และแจ้งบลาๆ ว่าจะต้องเสียภาษีเท่านั้นเท่านี้ เบี้ยปรับอีก 2 เท่า เงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5% ต่อเดือน
- เจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า เงินได้จากการที่ที่ดินขายฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 20% (ซึ่งไม่ถูกต้อง เดี๋ยวจะพูดต่อข้างล่าง)
คำแนะนำเบื้องต้น
- การที่คุณพ่อ จขกท. ได้กรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาดในที่ดินที่ขายฝากหลุดไถ่ภายในกำหนด ตรงนี้ กฎหมายถือว่า เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ของคุณพ่อ จขกท. ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณและแสดงเป็นเงินได้พึงประเมินในแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของปีภาษีนั้นๆ ด้วย (ตรงนี้อย่าไปสับสนกับภาษีที่เจ้าพนักงานที่ดินคิดจากค่าธรรมเนียมโอน ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายตอนขายฝาก และอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี ที่ทางผู้ขายฝากได้เสียไว้แล้วตอนจดทะเบียนขายฝาก)
- เงินได้จากการที่ที่ดินที่ขายฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตรา 60% โดยไม่ต้องพิสูจน์รายจ่าย หรือถ้าคุณพ่อ จขกท. มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนมากกว่า 60% ก็สามารถขอหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและสมควรได้ แต่กรณีขอหักตามจริงนี้จะต้องมีเอกสารหลักฐานพิสูจน์รายจ่าย
- กรณีนี้ เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจเรียกเก็บเบี้ยปรับในอัตรา 2 เท่าตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากรได้ เพราะการจะเรียกเก็บเบี้ยปรับ 2 เท่าได้ จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีเงินได้ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่ในกรณีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คุณพ่อ จขกท. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของปีภาษี 2560, 2561 และ 2562 แล้ว
- ดังนั้น หากเจ้าพนักงานจะเรียกเก็บเบี้ยปรับ จะสามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียง 1 เท่าตามมาตรา 22 แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น ไม่ใช่ 2 เท่า แต่การจะเรียกเก็บเบี้ยปรับ 1 เท่าได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีตามมาตรา 19 และได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริง เจ้าพนักงานยังมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบตามมาตรา 19 และก็ยังมิได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 20 หรือ 21 เลย ดังนั้น เจ้าพนักงานจึงยังไม่มีสิทธิเรียกเก็บเบี้ยปรับในอัตรา 1 เท่าได้
- กรณีนี้ ขอแนะนำให้คุณพ่อ จขกท. ไปทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ฉบับยื่นแก้ไขเพิ่มเติม ของปีภาษี 2560, 2561 และ 2562 เพื่อปรับปรุงแบบแสดงรายการภาษี โดยนำเงินได้จากการที่ที่ดินซื้อฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด มาแสดงเป็นเงินได้พึงประเมิน และใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย โดยจะหักในอัตราเหมา 60% หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงซึ่งอาจจะสูงกว่า 60% ก็ได้ แต่กรณีจะขอหักตามจริง จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่ายเตรียมไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร
- โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แก้ไขเพิ่มเติม คุณพ่อ จขกท. จะต้องเสียภาษีเงินได้ที่ชำระขาด พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ชำระขาด โดยไม่ต้องชำระเบี้ยปรับ 2 เท่าแต่อย่างใด
ผมช่วยได้เท่านี้ล่ะครับ (ปล. เดี๋ยวพรุ่งนี้จะโทรไปหาคุณพ่อ จขกท. ตอนกลางวัน หรือบ่ายๆ อีกทีนะครับ)
- คุณพ่อ จขกท. ทำธุรกิจรับซื้อฝากที่ดิน ในช่วงปี 2560, 2561 และ 2562
- มีที่ดินหลายแปลงที่หลุดไถ่ (คือผู้ขายฝากไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด) ทำให้คุณพ่อ จขกท. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก
- คุณพ่อ จขกท. ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของปี 2560, 2561 และ 2562 จากรายได้จากการขายอาหารสัตว์ โดยไม่ได้นำรายได้จากการที่ที่ดินหลุดไถ่ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ในแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของแต่ละปี
- ตอนนี้ เจ้าพนักงานยังไม่ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบตามกฎหมาย และยังไม่ได้ออกหนังสือแจ้งประเมิน แค่เข้ามาคุย หรือเชิญไปพบที่สรรพากรพื้นที่ และแจ้งบลาๆ ว่าจะต้องเสียภาษีเท่านั้นเท่านี้ เบี้ยปรับอีก 2 เท่า เงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5% ต่อเดือน
- เจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า เงินได้จากการที่ที่ดินขายฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 20% (ซึ่งไม่ถูกต้อง เดี๋ยวจะพูดต่อข้างล่าง)
คำแนะนำเบื้องต้น
- การที่คุณพ่อ จขกท. ได้กรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาดในที่ดินที่ขายฝากหลุดไถ่ภายในกำหนด ตรงนี้ กฎหมายถือว่า เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ของคุณพ่อ จขกท. ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณและแสดงเป็นเงินได้พึงประเมินในแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของปีภาษีนั้นๆ ด้วย (ตรงนี้อย่าไปสับสนกับภาษีที่เจ้าพนักงานที่ดินคิดจากค่าธรรมเนียมโอน ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายตอนขายฝาก และอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี ที่ทางผู้ขายฝากได้เสียไว้แล้วตอนจดทะเบียนขายฝาก)
- เงินได้จากการที่ที่ดินที่ขายฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตรา 60% โดยไม่ต้องพิสูจน์รายจ่าย หรือถ้าคุณพ่อ จขกท. มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนมากกว่า 60% ก็สามารถขอหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและสมควรได้ แต่กรณีขอหักตามจริงนี้จะต้องมีเอกสารหลักฐานพิสูจน์รายจ่าย
- กรณีนี้ เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจเรียกเก็บเบี้ยปรับในอัตรา 2 เท่าตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากรได้ เพราะการจะเรียกเก็บเบี้ยปรับ 2 เท่าได้ จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีเงินได้ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่ในกรณีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คุณพ่อ จขกท. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 94 ของปีภาษี 2560, 2561 และ 2562 แล้ว
- ดังนั้น หากเจ้าพนักงานจะเรียกเก็บเบี้ยปรับ จะสามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้เพียง 1 เท่าตามมาตรา 22 แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น ไม่ใช่ 2 เท่า แต่การจะเรียกเก็บเบี้ยปรับ 1 เท่าได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีตามมาตรา 19 และได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริง เจ้าพนักงานยังมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบตามมาตรา 19 และก็ยังมิได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 20 หรือ 21 เลย ดังนั้น เจ้าพนักงานจึงยังไม่มีสิทธิเรียกเก็บเบี้ยปรับในอัตรา 1 เท่าได้
- กรณีนี้ ขอแนะนำให้คุณพ่อ จขกท. ไปทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ฉบับยื่นแก้ไขเพิ่มเติม ของปีภาษี 2560, 2561 และ 2562 เพื่อปรับปรุงแบบแสดงรายการภาษี โดยนำเงินได้จากการที่ที่ดินซื้อฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด มาแสดงเป็นเงินได้พึงประเมิน และใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย โดยจะหักในอัตราเหมา 60% หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงซึ่งอาจจะสูงกว่า 60% ก็ได้ แต่กรณีจะขอหักตามจริง จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่ายเตรียมไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร
- โดยในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แก้ไขเพิ่มเติม คุณพ่อ จขกท. จะต้องเสียภาษีเงินได้ที่ชำระขาด พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ชำระขาด โดยไม่ต้องชำระเบี้ยปรับ 2 เท่าแต่อย่างใด
ผมช่วยได้เท่านี้ล่ะครับ (ปล. เดี๋ยวพรุ่งนี้จะโทรไปหาคุณพ่อ จขกท. ตอนกลางวัน หรือบ่ายๆ อีกทีนะครับ)
แสดงความคิดเห็น
ใครพอทราบว่าถ้าไม่มีเงินไปจ่ายภาษีย้อนหลังให้สรรพากรจะโดนอะไรบ้าง?