1.
❀
นกกระสาคงไม่ชอบใจ
หลังจากกลืนปลาไหลงูลงไปแล้ว
ถูกปลาไหลงงูมุดออกมาจากทางเดินอาหาร
ขณะที่นกกระสากำลังบินอยู่ (© Sam Davis)
❀
❀
เหตุการณ์ผิดปกติครั้งนี้
ได้ดึงดูดความสนใจ
ในหมู่นักดูนกในท้องถิ่นอย่างแรง
Sam Davis วิศวกร รัฐ Maryland
ผู้ถ่ายภาพนี้จากบนชายฝั่ง Delaware
ให้สัมภาษณ์กับ Live Science ว่า
" นกอินทรีวัยเจริญพันธุ์
Bald Eagles
และสุนัขจิ้งจอก
Foxes หลายตัว
ต่างกำลังจับจ้องนกกระสา
Heron
หรือ ปลาไหลงู
Snake Eel
ถ้าตัวหนึ่งตัวใดพลาดท่าเสียที
ล้มเหลวในการต่อสู้ก็จะตกเป็นลาภปากทันที
ตอนที่ ผมเห็นการบิน
ที่แปลกประหลาดในครั้งแรก
ผมคิดว่างูหรือปลาไหลกัดที่คอของนกกระสา
ผมอยู่ห่างจากทั้งคู่ ประมาณ
75 หลาถึง 100 หลา (68 ถึง 91 เมตร)
แต่ผมใช้เลนส์เทเลโฟโต้
สำหรับการถ่ายภาพระยะไกล
ดังนั้น จึงถ่ายภาพขณะที่เฝ้าดู
นกกระสาบินไปมา และแม้แต่การร่อนลงในน้ำ
โดยปลาไหลงูยังติดอยู่ที่นกกระสา
แต่ดูเหมือนว่า มันจะไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม
มันอยู่ในน้ำและบินไปรอบ ๆ หนองน้ำ
ในขณะเดียวกันปลาไหลงูก็กำลังโค้งงอตัว
ผมเดาว่าปลาไหลงูยังมีชีวิตอยู่ในตอนนั้น "
จนกระทั่ง Sam Davis
กลับบ้านและเพ่งมองรูปภาพแล้ว
จึงรู้ว่าปลาไหลงูไม่ได้กัดคอนกกระสา
หลังจากขยายภาพถ่าย
" ผมเห็นตาปลาไหล
ลองดูที่ดวงตาของมัน
มันกำลังออกมาจากอีกด้านหนึ่งจริง ๆ
ทางด้านหัวนก(ตรงช่วงคอลงมา)
ข้อมูลเพิ่มเติม
ระบบย่อยอาหารของนก
❀
❀
John Pogonoski
นักมีนวิทยา Ichthyologist
จาก Australian National Fish Collection
Commonwealth Scientific
and Industrial Research Organisation (
CSIRO)
ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
" ผมคิดว่า ภาพถ่ายรูปนี้
เป็นภาพที่น่าทึ่งมาก
นี่เป็นนกชนิดหนึ่งที่หายากมาก
หรือมีจำนวนน้อยมาก
อย่างน้อยก็เท่าที่ผมรู้ "
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
Johm Pogonoski และเพื่อนร่วม
ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสาร
Memoirs of the Queensland Museum
เรื่องปลาไหลงู Snake Eel (วงศ์ Ophichthidae)
ผลการศึกษาพบว่า
ปลาไหลงูสามารถขุดออกมาจาก
ลำไส้ของปลาที่ล่าเหยื่อได้อย่างไร
แต่โดยปกติแล้ว
พวกปลาไหลงูขุดออกมาได้ไม่ไกลมากนัก
เพราะเมื่อพวกศัตรูกลืนปลาไหลงูลงไปในร่างกายแล้ว
แม้ว่าปลาไหลงูสามารถใช้หัวหรือหางที่แข็งแรง
เพื่อหนีด้วยการกัด/แทงออกจากทางเดินอาหาร
แต่พวกมันมักจะหล่นเข้าไปอยู่ในโพรงร่างกาย
จบลงที่เนื้อเยื่อ/กล้ามเนื้อ/กระเพาะนักล่าเหยื่อ
(น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
จะมีสภาพเป็นกรดอย่างรุนแรง)
เมื่อติดอยู่ในกับดักแล้ว ปลาไหลงูมักจะตาย
หรือ ถูกขังอยู่ในกระเพาะ/ลำไส้ที่ห่อหุ้มไว้
และตายในที่สุด แทนที่จะหนีรอดออกไปได้
อีกตัวอย่างหนึ่ง
ที่ผู้ร่วมเขียนบทความเคยพบในครั้งหนึ่ง
ปลาไหลงู ยังมีชีวิตอยู่ในตัวปลาที่จับขึ้นมาได้
(น่าจะถูกจับกินในช่วงเวลาไม่นานมาก)
เมื่อนักวิจัยทำความสะอาดปลาเพื่อกินในวันนั้น
John Pogonoski ตอบอีเมล์กับ Livescience
Sam Davis ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น
เกี่ยวกับภาพของนกกระสากับปลาไหลงู
ที่ถ่ายภาพใน Delaware เมื่อปี 2011
(เพราะเพิ่งจะ Upload ภาพไปที่เว็บไซต์สัตว์ป่า
ในช่วงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้)
เพราะตอนที่ท่านเดินทางออกจากพื้นที่นั้นแล้ว
นกกระสายังคงบินอยู่รอบ ๆ
โดยมีปลาไหลงูห้อยอยู่ด้านล่าง
" นกกระสาอาจรอดชีวิตได้
เพราะดูแล้วมันไม่ได้บาดเจ็บมากนัก
แต่จะขึ้นอยู่กับว่าแผลหายดีเพียงใด
และไม่ติดเชื้อในภายหลัง
ส่วนปลาไหลงูนั้น จะมีชีวิตรอดไดั
ก็ต่อเมื่อมันตกลงไปในน้ำ
หรือใกล้กับน้ำที่มีความเค็มไม่มาก
จนมันสามารถทนอยู่ได้ "
John Pogonoski ให้สัมภาษณ์กับ Livescience
❀
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3ncfTT0
❀
❀
2 -9 © Sam Davis
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
จิ้งจอกแดงพบเห็นได้ทั่วไป
และมีจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา
(© Kaido Karner | shutterstock)
11.
© Sam Davis
12.
© Don Buscher
13.
© Don Buscher
14.
Special delivery ! ( © John Lund/Getty Images)
15.
16.
17.
สีเทาพิ้นที่ที่ไม่พบนกกระสา
18.
นกกระสาสีฟ้าพันธุ์ยักษ์ Great blue heron
(
Ardea herodias)
19.
ลำคอนกสีเหลืองขยายเต็มที่
20.
นกกระสาหน้าผา Pacific มีแถบสีดำกับจาง
21.
นกกระสา Lava ปักหลัก
ที่หมู่เกาะ Galápagos
ที่มีแหล่งอาหาร
คือ พวกปลา/ปู ที่หลบซ่อน
ท่ามกลางโขดหิน
22.
นกกระสากำลังคาบกิ้งก่าเพื่อกลืนลงไป
23.
นกกระสาดำหลุบปีกคล้ายร่ม เตรียมล่าเหยื่อ
24.
นกกระสา Tricoloured เตรียมล่าปลา
25.
นกกระสา American เพศเมีย
อยู่ตามลำพังเพื่อรอหาคู่
ตัวผู้จะส่งเสียงดัง
เพื่อเรียกความสนใจ
26.
นกกระสาหน้าขาว (
Egretta novaehollandiae)
ลำคอพองป่อง เพื่อเตรียมต่อสู้
27.
Bare-throated tiger heron
(
Tigrisoma mexicanum)
28.
Great bittern (
Botaurus stellaris)
29.
Eastern great egret (
Ardea modesta)
30.
The Wounded Heron
by George Frederic Watts, 1837
(Watts Gallery)
31.
Squacco Heron from Egypt
32.
33.
34.
35.
36.
❀
❀
เรื่องเล่าไร้สาระ
จขกท. เคยเห็นนักล่าปลาไหลท้องนา/หนองน้ำ
ใช้กระบอกไม้ไผ่ตันตรงปลา
/ยุคหลังใช้ท่อ PVC อุดปลาย หรือเรียกว่า ลัน
แล้วใช้หอยที่หาได้ตามบริเวณนั้นทุบให้แตก
หย่อนลันให้ปริ่มน้ำ วางไว้ใกล้ชายตลิ่ง
/ขอบบึง/ขอบหนองน้ำ ล่อปลาไหลเข้าไปในลัน
เพื่อกินหอยจะพลิกตัวกลับหัว/ดันออกมาไม่ได้
ลันบางอันมีคนเจอว่ามีปลาไหลติดถึง 2 ตัว
ส่วนที่ท้องทุ่ง(สนามหญ้า)
โรงเรียนศรีนคร(สอนภาษาจีน)
ถูกปิดโรงเรียนไปสมัย
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในปี 2496
ก่อนกลับมาเปิดใหม่ในภายหลังในปี 2510
เดิมอาคารหัองเรียนร้างมีคนจน/คนขอทาน/
พวกปั้ดไถ่กอ(คนโรคเรื้อน)เข้าไปแอบพักอาศัย
ส่วนสนามหญ้าก็ทิ้งร้างมีน้ำขัง
พวกกก/แหนขึ้นเต็มไปหมด
และยังมีปลากัด/ปลาลูกหม้อที่นี่ด้วย
ในอดีตช่วงหน้าฝน ทึ่บ้านทุ่งหาดใหญ่
น้ำจะหลากทุกปี แบบมาเร็วไปเร็ว
พอช่วงหน้าแล้ง มักจะมีคนไปวิดน้ำ
หาปลาที่ทัองทุ่งแห่งนี้
มักจะได้ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลาไหล
จขกท. ก็เคยไปมุงดูตามประสาเด็ก ๆ/ไทยมุง
ต่อมา ไม่นานมีข่าวว่า
มีคนไปแอบขุดหาปลาไหล
ที่กุโบร์หาดใหญ่ใน (มี 2 แห่ง)
ใกล้คลองอู่ตะเภา แม่น้ำสั้นที่สุดของไทย
กุโบร์ คือ ป่าช้าคนนับถือศาสนาอิสลาม
แต่มีน้ำหลากทุกปีในยุคนั้น
เพราะปิดกันให้แซดว่า
ตอนที่คนขุดหลุมฝังศพที่กุโบร์
เจอปลาไหลตัวใหญ่อวบอ้วน
มีสีดำ เขี้ยวยาว มีใบหู จำศีลในดิน
กำลังจะกลายร่างเป็นพังพอนตามความเชื่อเดิม
ของชาวบ้านในยุค Analog/ไว้หลอกเด็ก
ปลาไหลบางตัวผ่าทัองออกมาแล้วเจอเล็บคน
ที่คลองอู่ตะเภามีศพลอยน้ำมาบ่อยมาก
ปลาไหลเป็นปลาไม่มีเกล็ดเป็นฮะรอม/ห้ามกิน
แต่ขาย/ให้คนต่างศาสนาไปทำเป็นอาหารได้
แต่บางสำนักคิด/มัซฮับ บอกกินได้
ปลาไหลเป็นฮะลาล
ในสมัยก่อนในกุโบร์ทั้งสองแห่งยังมีฝูงแลน
(สายพันธุ์ร่วมตัวเงินตัวทอง)ลักหยบ
(แอบซ่อนตัว) กับขุดโพรงอยู่
ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น
จึงมีการลัอมรั้วบอกเขตกุโบร์
ป้องกันคนไม่กลัวผีบุกรุกที่ป่าช้า
เข้าไปลักขุดหาข้าวของคนตาย
รวมทั้งมีคนเข้าไปล่าแลน
ไปทำอาหารป่าขายจนสูญพันธุ์
แลนเป็นฮะรอม/ห้ามกิน
แขกมลายูชอบยิงหมูป่าให้ตาย
(มาเลย์ปืนมึทะเบียนพกพาได้ แต่ให้ยากมาก)
และดักจับตัวนิ่ม/ลิ่น แลน ตะกวด งู มาขายได้
ผลของข่าวนี้คือ
ฮั่งเช้ง(ภาวะเศรษฐกิจ)
ราคาปลาไหลตกวูบเลย
ยิ่งปลาไหลตัวเติบเติบ(ใหญ่มาก)
หาคนซื้อไปกินน้อยมาก
ส่วนปลาไหลตัวเอียด(เล็ก)
ยังมีคนซื้อไปกิน
กับไปปล่อยสะเดาะเคราะห์
เรื่องราวปลาไหลที่ขุดได้ในกุโบร์
เป็นข่าวดังข้ามปีในตอนนั้น
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนกับสายน้ำ
ปลาไหลงูมุดออกจากลำตัวนกกระสา
❀
นกกระสาคงไม่ชอบใจ
หลังจากกลืนปลาไหลงูลงไปแล้ว
ถูกปลาไหลงงูมุดออกมาจากทางเดินอาหาร
ขณะที่นกกระสากำลังบินอยู่ (© Sam Davis)
❀
❀
เหตุการณ์ผิดปกติครั้งนี้
ได้ดึงดูดความสนใจ
ในหมู่นักดูนกในท้องถิ่นอย่างแรง
Sam Davis วิศวกร รัฐ Maryland
ผู้ถ่ายภาพนี้จากบนชายฝั่ง Delaware
ให้สัมภาษณ์กับ Live Science ว่า
" นกอินทรีวัยเจริญพันธุ์ Bald Eagles
และสุนัขจิ้งจอก Foxes หลายตัว
ต่างกำลังจับจ้องนกกระสา Heron
หรือ ปลาไหลงู Snake Eel
ถ้าตัวหนึ่งตัวใดพลาดท่าเสียที
ล้มเหลวในการต่อสู้ก็จะตกเป็นลาภปากทันที
ตอนที่ ผมเห็นการบิน
ที่แปลกประหลาดในครั้งแรก
ผมคิดว่างูหรือปลาไหลกัดที่คอของนกกระสา
ผมอยู่ห่างจากทั้งคู่ ประมาณ
75 หลาถึง 100 หลา (68 ถึง 91 เมตร)
แต่ผมใช้เลนส์เทเลโฟโต้
สำหรับการถ่ายภาพระยะไกล
ดังนั้น จึงถ่ายภาพขณะที่เฝ้าดู
นกกระสาบินไปมา และแม้แต่การร่อนลงในน้ำ
โดยปลาไหลงูยังติดอยู่ที่นกกระสา
แต่ดูเหมือนว่า มันจะไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม
มันอยู่ในน้ำและบินไปรอบ ๆ หนองน้ำ
ในขณะเดียวกันปลาไหลงูก็กำลังโค้งงอตัว
ผมเดาว่าปลาไหลงูยังมีชีวิตอยู่ในตอนนั้น "
จนกระทั่ง Sam Davis
กลับบ้านและเพ่งมองรูปภาพแล้ว
จึงรู้ว่าปลาไหลงูไม่ได้กัดคอนกกระสา
หลังจากขยายภาพถ่าย
" ผมเห็นตาปลาไหล
ลองดูที่ดวงตาของมัน
มันกำลังออกมาจากอีกด้านหนึ่งจริง ๆ
ทางด้านหัวนก(ตรงช่วงคอลงมา)
ข้อมูลเพิ่มเติม
ระบบย่อยอาหารของนก
❀
❀
John Pogonoski นักมีนวิทยา Ichthyologist
จาก Australian National Fish Collection
Commonwealth Scientific
and Industrial Research Organisation (CSIRO)
ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
" ผมคิดว่า ภาพถ่ายรูปนี้
เป็นภาพที่น่าทึ่งมาก
นี่เป็นนกชนิดหนึ่งที่หายากมาก
หรือมีจำนวนน้อยมาก
อย่างน้อยก็เท่าที่ผมรู้ "
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
Johm Pogonoski และเพื่อนร่วม
ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสาร
Memoirs of the Queensland Museum
เรื่องปลาไหลงู Snake Eel (วงศ์ Ophichthidae)
ผลการศึกษาพบว่า
ปลาไหลงูสามารถขุดออกมาจาก
ลำไส้ของปลาที่ล่าเหยื่อได้อย่างไร
แต่โดยปกติแล้ว
พวกปลาไหลงูขุดออกมาได้ไม่ไกลมากนัก
เพราะเมื่อพวกศัตรูกลืนปลาไหลงูลงไปในร่างกายแล้ว
แม้ว่าปลาไหลงูสามารถใช้หัวหรือหางที่แข็งแรง
เพื่อหนีด้วยการกัด/แทงออกจากทางเดินอาหาร
แต่พวกมันมักจะหล่นเข้าไปอยู่ในโพรงร่างกาย
จบลงที่เนื้อเยื่อ/กล้ามเนื้อ/กระเพาะนักล่าเหยื่อ
(น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
จะมีสภาพเป็นกรดอย่างรุนแรง)
เมื่อติดอยู่ในกับดักแล้ว ปลาไหลงูมักจะตาย
หรือ ถูกขังอยู่ในกระเพาะ/ลำไส้ที่ห่อหุ้มไว้
และตายในที่สุด แทนที่จะหนีรอดออกไปได้
อีกตัวอย่างหนึ่ง
ที่ผู้ร่วมเขียนบทความเคยพบในครั้งหนึ่ง
ปลาไหลงู ยังมีชีวิตอยู่ในตัวปลาที่จับขึ้นมาได้
(น่าจะถูกจับกินในช่วงเวลาไม่นานมาก)
เมื่อนักวิจัยทำความสะอาดปลาเพื่อกินในวันนั้น
John Pogonoski ตอบอีเมล์กับ Livescience
Sam Davis ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น
เกี่ยวกับภาพของนกกระสากับปลาไหลงู
ที่ถ่ายภาพใน Delaware เมื่อปี 2011
(เพราะเพิ่งจะ Upload ภาพไปที่เว็บไซต์สัตว์ป่า
ในช่วงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้)
เพราะตอนที่ท่านเดินทางออกจากพื้นที่นั้นแล้ว
นกกระสายังคงบินอยู่รอบ ๆ
โดยมีปลาไหลงูห้อยอยู่ด้านล่าง
" นกกระสาอาจรอดชีวิตได้
เพราะดูแล้วมันไม่ได้บาดเจ็บมากนัก
แต่จะขึ้นอยู่กับว่าแผลหายดีเพียงใด
และไม่ติดเชื้อในภายหลัง
ส่วนปลาไหลงูนั้น จะมีชีวิตรอดไดั
ก็ต่อเมื่อมันตกลงไปในน้ำ
หรือใกล้กับน้ำที่มีความเค็มไม่มาก
จนมันสามารถทนอยู่ได้ "
John Pogonoski ให้สัมภาษณ์กับ Livescience
❀
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3ncfTT0
❀
❀
2 -9 © Sam Davis
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
จิ้งจอกแดงพบเห็นได้ทั่วไป
และมีจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา
(© Kaido Karner | shutterstock)
11.
© Sam Davis
12.
© Don Buscher
13.
© Don Buscher
14.
Special delivery ! ( © John Lund/Getty Images)
15.
16.
17.
สีเทาพิ้นที่ที่ไม่พบนกกระสา
18.
นกกระสาสีฟ้าพันธุ์ยักษ์ Great blue heron
(Ardea herodias)
19.
ลำคอนกสีเหลืองขยายเต็มที่
20.
นกกระสาหน้าผา Pacific มีแถบสีดำกับจาง
21.
นกกระสา Lava ปักหลัก
ที่หมู่เกาะ Galápagos
ที่มีแหล่งอาหาร
คือ พวกปลา/ปู ที่หลบซ่อน
ท่ามกลางโขดหิน
22.
นกกระสากำลังคาบกิ้งก่าเพื่อกลืนลงไป
23.
นกกระสาดำหลุบปีกคล้ายร่ม เตรียมล่าเหยื่อ
24.
นกกระสา Tricoloured เตรียมล่าปลา
25.
นกกระสา American เพศเมีย
อยู่ตามลำพังเพื่อรอหาคู่
ตัวผู้จะส่งเสียงดัง
เพื่อเรียกความสนใจ
26.
นกกระสาหน้าขาว (Egretta novaehollandiae)
ลำคอพองป่อง เพื่อเตรียมต่อสู้
27.
Bare-throated tiger heron
(Tigrisoma mexicanum)
28.
Great bittern (Botaurus stellaris)
29.
Eastern great egret (Ardea modesta)
30.
The Wounded Heron
by George Frederic Watts, 1837
(Watts Gallery)
31.
Squacco Heron from Egypt
32.
33.
34.
35.
36.
❀
❀
เรื่องเล่าไร้สาระ
จขกท. เคยเห็นนักล่าปลาไหลท้องนา/หนองน้ำ
ใช้กระบอกไม้ไผ่ตันตรงปลา
/ยุคหลังใช้ท่อ PVC อุดปลาย หรือเรียกว่า ลัน
แล้วใช้หอยที่หาได้ตามบริเวณนั้นทุบให้แตก
หย่อนลันให้ปริ่มน้ำ วางไว้ใกล้ชายตลิ่ง
/ขอบบึง/ขอบหนองน้ำ ล่อปลาไหลเข้าไปในลัน
เพื่อกินหอยจะพลิกตัวกลับหัว/ดันออกมาไม่ได้
ลันบางอันมีคนเจอว่ามีปลาไหลติดถึง 2 ตัว
ส่วนที่ท้องทุ่ง(สนามหญ้า)
โรงเรียนศรีนคร(สอนภาษาจีน)
ถูกปิดโรงเรียนไปสมัย
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในปี 2496
ก่อนกลับมาเปิดใหม่ในภายหลังในปี 2510
เดิมอาคารหัองเรียนร้างมีคนจน/คนขอทาน/
พวกปั้ดไถ่กอ(คนโรคเรื้อน)เข้าไปแอบพักอาศัย
ส่วนสนามหญ้าก็ทิ้งร้างมีน้ำขัง
พวกกก/แหนขึ้นเต็มไปหมด
และยังมีปลากัด/ปลาลูกหม้อที่นี่ด้วย
ในอดีตช่วงหน้าฝน ทึ่บ้านทุ่งหาดใหญ่
น้ำจะหลากทุกปี แบบมาเร็วไปเร็ว
พอช่วงหน้าแล้ง มักจะมีคนไปวิดน้ำ
หาปลาที่ทัองทุ่งแห่งนี้
มักจะได้ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลาไหล
จขกท. ก็เคยไปมุงดูตามประสาเด็ก ๆ/ไทยมุง
ต่อมา ไม่นานมีข่าวว่า
มีคนไปแอบขุดหาปลาไหล
ที่กุโบร์หาดใหญ่ใน (มี 2 แห่ง)
ใกล้คลองอู่ตะเภา แม่น้ำสั้นที่สุดของไทย
กุโบร์ คือ ป่าช้าคนนับถือศาสนาอิสลาม
แต่มีน้ำหลากทุกปีในยุคนั้น
เพราะปิดกันให้แซดว่า
ตอนที่คนขุดหลุมฝังศพที่กุโบร์
เจอปลาไหลตัวใหญ่อวบอ้วน
มีสีดำ เขี้ยวยาว มีใบหู จำศีลในดิน
กำลังจะกลายร่างเป็นพังพอนตามความเชื่อเดิม
ของชาวบ้านในยุค Analog/ไว้หลอกเด็ก
ปลาไหลบางตัวผ่าทัองออกมาแล้วเจอเล็บคน
ที่คลองอู่ตะเภามีศพลอยน้ำมาบ่อยมาก
ปลาไหลเป็นปลาไม่มีเกล็ดเป็นฮะรอม/ห้ามกิน
แต่ขาย/ให้คนต่างศาสนาไปทำเป็นอาหารได้
แต่บางสำนักคิด/มัซฮับ บอกกินได้
ปลาไหลเป็นฮะลาล
ในสมัยก่อนในกุโบร์ทั้งสองแห่งยังมีฝูงแลน
(สายพันธุ์ร่วมตัวเงินตัวทอง)ลักหยบ
(แอบซ่อนตัว) กับขุดโพรงอยู่
ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น
จึงมีการลัอมรั้วบอกเขตกุโบร์
ป้องกันคนไม่กลัวผีบุกรุกที่ป่าช้า
เข้าไปลักขุดหาข้าวของคนตาย
รวมทั้งมีคนเข้าไปล่าแลน
ไปทำอาหารป่าขายจนสูญพันธุ์
แลนเป็นฮะรอม/ห้ามกิน
แขกมลายูชอบยิงหมูป่าให้ตาย
(มาเลย์ปืนมึทะเบียนพกพาได้ แต่ให้ยากมาก)
และดักจับตัวนิ่ม/ลิ่น แลน ตะกวด งู มาขายได้
ผลของข่าวนี้คือ
ฮั่งเช้ง(ภาวะเศรษฐกิจ)
ราคาปลาไหลตกวูบเลย
ยิ่งปลาไหลตัวเติบเติบ(ใหญ่มาก)
หาคนซื้อไปกินน้อยมาก
ส่วนปลาไหลตัวเอียด(เล็ก)
ยังมีคนซื้อไปกิน
กับไปปล่อยสะเดาะเคราะห์
เรื่องราวปลาไหลที่ขุดได้ในกุโบร์
เป็นข่าวดังข้ามปีในตอนนั้น
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนกับสายน้ำ
❀
วิธีทำบั้งลันดักจับปลาไหล
❀
❀
❀
ขุดแลน
❀
❀
ปลาสะแงะ/ปลาไหลมีหู/ปลาตูหนา
❀
❀
❀
ปลาตูหนาอาหารโปรดพระยารัษฏานุประดิษฐ์
❀
❀
❀
ปลาไหลนา/ปลาไหลบึง
❀
❀
❀