🔴ผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ 8 พ.ย. ในไทยเพิ่ม 7 ราย ขณะที่ทั่วโลกพุ่งทะลุ 50 ล้านราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ โควิดวันนี้ (8 พ.ย. 2563) ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 7 ราย แบ่งเป็นในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ซึ่งเดินทางกลับมา
จาก สหรัฐอเมริกา 2 ราย, ออสเตรีย 1 ราย, แคนาดา 2 ราย และรัสเซีย 1 ราย ขณะที่ มีผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (เมียนมา) และส่งตัวกลับไปรักษาที่ประเทศ เมียนมา 1 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,837 ราย หายป่วยแล้ว 3,654 ราย และในวันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย
https://www.businesstoday.co/covid-19/08/11/2020/53724/
🔴 สธ.บอกอย่าตื่นตกใจ!ชาวอินเดียติดโควิดอาจแค่ซากเชื้อ อึ้ง!ไทม์ไลน์ไปหลายจว.กลุ่มเสี่ยง 290 ราย
ระบุเคสใหญ่ต้องตามสอบโรคข้ามหลายจังหวัด ไปทั้งภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ สุโขทัย กลุ่มเสี่ยงสูง 79 ราย ย้ำอย่าแตกตื่นตกใจ ยันติดเชื้อแน่แต่น่าจะติดมานานแล้ว โอกาสแพร่น้อยมาก ระบุขนาดในครอบครัวตรวจแล้วยังไม่พบ ยกคล้ายเคสดีเจ และแหม่มฝรั่งเศส โดยยังรอถอดรหัสสารพันธุกรรมหาต้นตอ
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.63 ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแถลงข่าวกรณีชาวอินเดียติดเชื้อโควิด-19 ที่จ.กระบี่ พญ.วลัยลักษณ์ ไชยฟู ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ชายคนดังกล่าวพักอยู่ที่ เกาะพีพี และได้เดินทางไปหลายจังหวัด จึงได้ติดตามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกัน ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ผลการตรวจหาเชื้อ มีตรวจ 2 ครั้ง 4 พ.ย.ที่ รพ.กรุงเทพสิริโรจน์ จ.ภูเก็ต พบเชื้อ ตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์ ตรวจพบเชื้อเช่นเดียวกัน ส่วนที่รพ.กระบี่ ได้ตรวจอีกครั้ง ผลไม่พบเชื้อ โดยหากดูค่าผลแล็บวันที่ 4 พ.ย. เชื้อจะมีน้อยมาก จากที่เคยมีเคสลักษณะนี้ก่อนหน้า เป็นไปได้ว่า ผู้ป่วยคนนี้ติดเชื้อแน่นอน แต่อาจจะติดมาก่อนหน้านี้ 1-2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น
ทั้งนี้ ด้วยผู้ป่วยเดินทางไปหลายจังหวัด จากที่ตรวจสอบกับ 4 จังหวัด ติดตามผู้สัมผัสกับผู้ป่วยแต่ละจุดที่ไป โดยไทม์ไลน์ ผู้ป่วยรายนี้เข้ามาไทยตั้งแต่ เม.ย.62 จากนั้นเดินทางไปต่างประเทศ ช่วงก.พ.63 ไปสิงคโปร์ โดยช่วงที่อยู่เมืองไทย ทำร้านอาหารกับภรรยาที่เกาะพีพี อยู่ที่นั่นตลอด วันที่ 2 พ.ย.63 มีอาการไอ จึงได้ตรวจสอบย้อนกลับไปดู 14 วันก่อนหน้าว่าไปที่ไหนมาบ้าง พบว่านับแต่ 19-27 ต.ค.อยู่บนเกาะพีพีตลอด
วันที่ 28 ต.ค.เดินทางไปภูเก็ต โดยนั่งเรือจากเกาะพีพีไปกระบี่ พักบ้านน้องชาย ซึ่งมีน้องชาย-ภรรยา-ลูก รุ่งเช้า 19 ต.ค. ขับรถไปภูเก็ต พักที่ป่าตอง พบเพื่อนชาวต่างชาติ
30 ต.ค.ไปสนามบินภูเก็ต ด้วยรถส่วนตัว เดินทางไปเชียงใหม่ กับเพื่อนชาวไทย โดยสายการบินแอร์เอเชีย จากสนามบินนั่งแท็กซี่ไป มีการไปเที่ยวสถานบันเทิงที่เชียงใหม่ จากนั้นไปสุโขทัย เช่ารถ แวะที่ปั๊ม 31 ต.ค.มีเที่ยวงานลอยกระทง แต่ในงานมีมาตรการป้องกัน ฉะนั้นคนที่ไปเที่ยวสบายใจได้ รวมทั้งขณะนั้นยังไม่มีอาการใดๆ
1 พ.ย.พักที่สุโขทัย เช้าทานอาหารที่โรงแรม กลางวันทานอาหารที่ร้านอาหารที่สุโขทัย จากนั้นไปเชียงใหม่ ไปเที่ยววัดในเมืองกับเพื่อน 2 คน เดินทางกลับภูเก็ต คืนรถเช่าที่สนามบิน กลับด้วยสายการบินแอร์เอเชีย จากนั้นขับรถส่วนตัวไปพักที่ป่าตองกับเพื่อนคนไทย รุ่งเช้า เดินทางไปห้างสรรพสินค้าที่ภูเก็ต จากนั้นขับรถไปที่กระบี่ ไปพักบ้านน้องชายเป็นคืนที่ 2
วันที่ 4 พ.ย.ไปโรงพยาบาล ตรวจพบเชื้อที่รพ.เอกชน จากนั้นนั่งรถและเรือไปเกาะพีพี และรพ.ได้แจ้งผลตรวจ จึงนั่งเรือกลับมา และเข้ารักษาตัวที่กระบี่
ทั้งนี้ จากที่ได้มีการติดตามสอบสวนโรคตั้งแต่ 14 วันก่อนเริ่มป่วย พบมีผู้เสี่ยงสัมผัส 290 ราย โดยเสี่ยงสูง 79 ราย ทั้งนี้พบส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่ำจึงไม่ได้ตรวจเชื้อให้สังเกตอาการ ถ้ามีอาการให้ไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน กลุ่มเสี่ยงสูง นัดตรวจหาเชื้อ อยู่บ้าน 14 วัน สังเกตอาการ โดยกลุ่มเสี่ยงสูง 79 คน เป็นคนในครอบครัว 4 คน ผลตรวจออกแล้ว 3 คน เหลือภรรยาที่ยังรอผลตรวจ นอกนั้นไม่พบเชื้อ ในชุมชน ติดตามมีเพื่อน 3 ราย เพื่อนที่สุโขทัย รอเก็บตัวอย่าง เพื่อนที่ภูเก็ตเป็นชาวอเมริกัน รวมทั้งที่สนามบินเชียงใหม่ กับแคชเชียร์ ผู้โดยสารบนเครื่องบินที่จะนับสองแถวหน้าและสองแถวหลังมีความเสี่ยง รวมทั้งแอร์โฮสเตส สองเที่ยวบินกลุ่มเสี่ยงสัมผัส 45 ราย เรือเฟอร์รี่ขาไป 6 ราย ขากลับ 13 ราย รอผลตรวจอยู่ รพ.เอกชนที่ช่วงแรกยังไม่ทราบติดเชื้อ มีแพทย์ พยาบาล ล่ามที่เสี่ยงสูง ติดตามตัวครบแล้วรอผลตรวจแล็บ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ว่า ด้วยว่าชายคนนี้ไปหลายจังหวัด เป็นเคสใหญ่ จึงต้องตามตัวหลายจังหวัด ซึ่งจังหวัดที่เอ่ยถึงไม่ต้องตกใจ โดยลักษณะเคสนี้จะคล้ายกับเคสดีเจ และหญิงฝรั่งเศส จึงไม่มีการปิดพื้นที่แต่อย่างใด โดยขอให้สวมหน้ากาก มีมาตรการป้องกัน ยืนยันว่าพื้นที่ที่พูดถึง ความเสี่ยงต่ำมาก ขนาดคนในครอบครัวยังไม่พบติดเชื้อ
ส่วนข้อถามที่ว่าเป็นสายพันธุ์ใดนั้น ยังต้องถอดรหัส ต้องใช้เวลา 3-5 วัน โดยเพิ่งจะได้รับเชื้อมา โดยการตรวจหาต้นตอว่าจะติดมาจากที่ใด กำลังพยายามอยู่ หากติดมาก่อนหน้านี้ จะต้องซักประวัติก่อนหน้านี้และการเดินทางไปต่างประเทศช่วงก.พ. โดยกำลังรอข้อมูล อย่างไรก็ตาม ยืนยันตรวจสองครั้ง ครั้งแรก ที่ตรวจพบเชื้อน้อย ซึ่งลักษณะนี้ระยะหลังเจอบ่อย เช่นเคสดีเจ ซึ่งเชื้อน้อยมีนัยยะ โอกาสแพร่น้อยไปด้วย ประกอบกับไม่มีอาการ ค่อนข้างสบายใจ แต่ไม่วางใจ หรือคนที่ติดเชื้อมานานๆ แล้ว ซึ่งที่ทั่วไปเข้าใจกัน คือซากเชื้อ โดยผู้ป่วยรายนี้โอกาสติดเชื้อนานแล้ว แต่ต้องดูข้อมูลประกอบกัน ต้องหาสาเหตุต่อไป และจะติดใครหรือไม่ วิธีที่จะดูคือ ตามผู้สัมผัสมาตรวจหมด
https://siamrath.co.th/n/195693
🔴คอนเฟิร์มมาตรการกักตัว 10 วันความเสี่ยง!ไม่ต่างกับ 14
สธ.ชี้ทั้งทดลองแล้วทั้งเทียบข้อมูลนานาชาติความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มักตรวจพบติดเชื้อใน 10 วัน มีน้อยรายที่พบในภายหลัง ย้ำจะค่อยเป็นค่อยไป ประเมินผลภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองติดต่อโรคทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวถึง การลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน (+4) ว่า ไทยอยู่ระหว่างพิจารณา เปรียบเทียบกับต่างชาติ ประเทศเสี่ยงต่ำกว่า หรือใกล้เคียงกับไทย ด้วยสถานการณ์ไม่เท่ากันทุกประเทศ ความเสี่ยงไทยในการต้อนรับผู้มาจากต่างประเทศ จึงขึ้นกับประเทศต้นทาง และการบริหารจัดการผู้มาจากต่างประเทศ โดยข้อมูลนี้ต่างประเทศนำมาใช้ มีการศึกษาในยุโรป กักตัว 14 วันและกักตัว 10 วัน พบว่าความเสี่ยงไม่ต่างกันมาก สอดคล้องกับข้อมูลที่ศึกษาจริงในไทย จากข้อมูลทำให้มั่นใจว่าการใช้นโยบายกักตัว 10+4 เป็นความปลอดภัยไม่แตกต่างกับ 14 วัน โดยมีผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดที่ตรวจพบใน 10 วัน มีน้อยรายที่พบติดเชื้อในภายหลัง และส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ขณะผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ โอกาสในการแพร่เชื้อจะต่ำกว่าผู้มีอาการ ซึ่งได้มีการนำเสนอในคณะกรรมการหลายคณะ ที่ประชุมเห็นสมควรเสนอต่อ ศบค.ต่อไป
ทั้งนี้ พบว่าการกักตัว 10 วันความเสี่ยงไม่ต่างกัน กับตรวจ 14 วัน โดยกำหนดให้ผู้ที่มาจากต่างประเทศต้องลงทะเบียน ต้องมีเงินประกัน มีการเข้าพักในสถานที่เฝ้าระวังเอง สั่งกักกันโรค 10 วัน จากนั้นจะติดตามตัวด้วยแอพฯจนครบ 14 วัน โดยกำหนดให้อยู่ในพื้นที่จำเพาะ กำหนดสถานที่ที่ไปได้ให้อยู่ในภายพื้นที่เดียวกับจังหวัดที่มีการกักตัว ซึ่งจะติดตามตัวด้วยระบบแทร็กกิ้งทำให้ทราบว่าไปที่ใด โดยจะใช้วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไปค่อยขยับ ทำไปเรียนรู้ประเมินผลไป ซึ่งภายใต้การบริหารการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม จะเซฟค่าใช้จ่ายได้เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์
https://siamrath.co.th/n/195703
🔴ท่องเที่ยวฯ-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11 พ.ย.นี้
กระทรวงท่องเที่ยว-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11พ.ย.นี้ ตั้งเป้าดูดนักกอล์ฟจาก 4 ชาติเอเชีย “เกาหลี-ญี่ปุ่น-จีน-ไต้หวัน” ด้าน “อนุทิน” เสนอสนามกอล์ฟ “แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ทแอนคันทรีคลับ” อ.ปากช่อง เป็น 1ใน5 สนามแรกของไทยที่ตอบรับเป็นALSQ
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯและกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ร่วมกันผลักดันให้มีการกักตัวชาวต่างชาติที่สนามกอล์ฟซึ่งมีห้องพักรองรับเป็นไปตามมาตรฐานของโรงแรมกักตัวทางเลือกทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด (ASQ/ALSQ) เนื่องจากมีดีมานด์ของนักกอล์ฟชาวต่างชาติ อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน แสดงความประสงค์ต้องการเดินทางมาไทย เช่น กลุ่มนักกอล์ฟเยาวชนจากเกาหลีใต้ต้องการเดินทางหนีหนาวมาเก็บตัวช่วงปลายปีที่สนามกอล์ฟในประเทศไทย โดยทั้ง 2 กระทรวงจะร่วมกันเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ.ในวันพุธที่ 11 พ.ย.นี้ ก่อนนำเสนอต่อ ครม.ในสัปดาห์ถัดไป
“สัปดาห์ที่แล้วทูตเกาหลีมาเข้าพบผม ทางท่านทูตฯได้เสนอว่าทำไมไม่เอาสนามกอล์ฟเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก เพราะปกติทุกปีจะมีนักกอล์ฟเยาวชนจากเกาหลีใต้กว่า 1,000 คนเดินทางมาอยู่ไทย 3 เดือนเพื่อเก็บตัวช่วงปลายปี”
โดยรูปแบบการกักตัวที่สนามกอล์ฟจะแตกต่างจากโรงแรม ASQ และ ALSQ ทั่วไป เพราะนักกอล์ฟสามารถออกจากห้องพักมาเล่นกอล์ฟได้ในพื้นที่กว้างซึ่งสามารถรักษาระยะห่าง ที่สำคัญต้องไม่ปะปนกับสมาชิกหรือผู้เล่นรายอื่นๆ ของสนามกอล์ฟ
เบื้องต้นมีสนามกอล์ฟ 5 แห่งทั่วประเทศตอบรับสนใจเข้าร่วมเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก ALSQ แล้ว ได้แก่สนามกอล์ฟแรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ทแอนคันทรีคลับ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ซึ่งทางนายอนุทินได้เสนอให้เป็นสถานที่รองรับนักกอล์ฟต่างชาติของโมเดลนี้ ส่วนสนามกอล์ฟอีก 4 แห่งตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่, จ.ลำพูน, จ.สระบุรี และ จ.กาญจนบุรี ขณะนี้ทาง สธ.เริ่มดำเนินการตรวจประเมินทั้ง 5 สนามแรกแล้ว
ทั้งนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯตั้งเป้าเพิ่มสนามกอล์ฟเข้าร่วมเป็น ALSQ ที่จำนวน 20-30 แห่งกระจายทั่วประเทศ จากจำนวนสนามกอล์ฟในไทยที่มีอยู่รวม 238 แห่ง มีจำนวนห้องพักให้บริการราว 5,000 ห้อง
สำหรับสนามกอล์ฟที่สนใจเข้าร่วมเป็น ALSQ จะต้องเจรจากับสมาชิกของสนามกอล์ฟเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการแบ่งพื้นที่สนามระหว่างสมาชิกกับนักกอล์ฟต่างชาติที่มากักตัวในสัดส่วนพื้นที่ 50:50 หรือทางผู้บริหารสนามกอล์ฟอาจต้องรับผิดชอบจัดหาสนามแห่งอื่นและค่าใช้จ่ายแก่สมาชิกแทนในช่วงที่จะใช้สนามกอล์ฟของตัวเองเป็น ALSQ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/906506
หากทำตามที่คุณหมอแนะนำ เราจะปลอดภัยค่ะ....
🔴มาลาริน/8พ.ย.ไทยพบโควิด 7 รายมาจากตปท./ชายอินเดียติดโควิดอาจเป็นซากเชื้อ/คอนเฟิร์มกักตัว 10วัน/เสนอกักตัวในสนามกอล์ฟ
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ โควิดวันนี้ (8 พ.ย. 2563) ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 7 ราย แบ่งเป็นในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ซึ่งเดินทางกลับมา
จาก สหรัฐอเมริกา 2 ราย, ออสเตรีย 1 ราย, แคนาดา 2 ราย และรัสเซีย 1 ราย ขณะที่ มีผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ (เมียนมา) และส่งตัวกลับไปรักษาที่ประเทศ เมียนมา 1 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,837 ราย หายป่วยแล้ว 3,654 ราย และในวันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 60 ราย
https://www.businesstoday.co/covid-19/08/11/2020/53724/
🔴 สธ.บอกอย่าตื่นตกใจ!ชาวอินเดียติดโควิดอาจแค่ซากเชื้อ อึ้ง!ไทม์ไลน์ไปหลายจว.กลุ่มเสี่ยง 290 ราย
ระบุเคสใหญ่ต้องตามสอบโรคข้ามหลายจังหวัด ไปทั้งภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ สุโขทัย กลุ่มเสี่ยงสูง 79 ราย ย้ำอย่าแตกตื่นตกใจ ยันติดเชื้อแน่แต่น่าจะติดมานานแล้ว โอกาสแพร่น้อยมาก ระบุขนาดในครอบครัวตรวจแล้วยังไม่พบ ยกคล้ายเคสดีเจ และแหม่มฝรั่งเศส โดยยังรอถอดรหัสสารพันธุกรรมหาต้นตอ
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.63 ที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแถลงข่าวกรณีชาวอินเดียติดเชื้อโควิด-19 ที่จ.กระบี่ พญ.วลัยลักษณ์ ไชยฟู ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ชายคนดังกล่าวพักอยู่ที่ เกาะพีพี และได้เดินทางไปหลายจังหวัด จึงได้ติดตามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกัน ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ผลการตรวจหาเชื้อ มีตรวจ 2 ครั้ง 4 พ.ย.ที่ รพ.กรุงเทพสิริโรจน์ จ.ภูเก็ต พบเชื้อ ตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์ ตรวจพบเชื้อเช่นเดียวกัน ส่วนที่รพ.กระบี่ ได้ตรวจอีกครั้ง ผลไม่พบเชื้อ โดยหากดูค่าผลแล็บวันที่ 4 พ.ย. เชื้อจะมีน้อยมาก จากที่เคยมีเคสลักษณะนี้ก่อนหน้า เป็นไปได้ว่า ผู้ป่วยคนนี้ติดเชื้อแน่นอน แต่อาจจะติดมาก่อนหน้านี้ 1-2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น
ทั้งนี้ ด้วยผู้ป่วยเดินทางไปหลายจังหวัด จากที่ตรวจสอบกับ 4 จังหวัด ติดตามผู้สัมผัสกับผู้ป่วยแต่ละจุดที่ไป โดยไทม์ไลน์ ผู้ป่วยรายนี้เข้ามาไทยตั้งแต่ เม.ย.62 จากนั้นเดินทางไปต่างประเทศ ช่วงก.พ.63 ไปสิงคโปร์ โดยช่วงที่อยู่เมืองไทย ทำร้านอาหารกับภรรยาที่เกาะพีพี อยู่ที่นั่นตลอด วันที่ 2 พ.ย.63 มีอาการไอ จึงได้ตรวจสอบย้อนกลับไปดู 14 วันก่อนหน้าว่าไปที่ไหนมาบ้าง พบว่านับแต่ 19-27 ต.ค.อยู่บนเกาะพีพีตลอด
วันที่ 28 ต.ค.เดินทางไปภูเก็ต โดยนั่งเรือจากเกาะพีพีไปกระบี่ พักบ้านน้องชาย ซึ่งมีน้องชาย-ภรรยา-ลูก รุ่งเช้า 19 ต.ค. ขับรถไปภูเก็ต พักที่ป่าตอง พบเพื่อนชาวต่างชาติ
30 ต.ค.ไปสนามบินภูเก็ต ด้วยรถส่วนตัว เดินทางไปเชียงใหม่ กับเพื่อนชาวไทย โดยสายการบินแอร์เอเชีย จากสนามบินนั่งแท็กซี่ไป มีการไปเที่ยวสถานบันเทิงที่เชียงใหม่ จากนั้นไปสุโขทัย เช่ารถ แวะที่ปั๊ม 31 ต.ค.มีเที่ยวงานลอยกระทง แต่ในงานมีมาตรการป้องกัน ฉะนั้นคนที่ไปเที่ยวสบายใจได้ รวมทั้งขณะนั้นยังไม่มีอาการใดๆ
1 พ.ย.พักที่สุโขทัย เช้าทานอาหารที่โรงแรม กลางวันทานอาหารที่ร้านอาหารที่สุโขทัย จากนั้นไปเชียงใหม่ ไปเที่ยววัดในเมืองกับเพื่อน 2 คน เดินทางกลับภูเก็ต คืนรถเช่าที่สนามบิน กลับด้วยสายการบินแอร์เอเชีย จากนั้นขับรถส่วนตัวไปพักที่ป่าตองกับเพื่อนคนไทย รุ่งเช้า เดินทางไปห้างสรรพสินค้าที่ภูเก็ต จากนั้นขับรถไปที่กระบี่ ไปพักบ้านน้องชายเป็นคืนที่ 2
วันที่ 4 พ.ย.ไปโรงพยาบาล ตรวจพบเชื้อที่รพ.เอกชน จากนั้นนั่งรถและเรือไปเกาะพีพี และรพ.ได้แจ้งผลตรวจ จึงนั่งเรือกลับมา และเข้ารักษาตัวที่กระบี่
ทั้งนี้ จากที่ได้มีการติดตามสอบสวนโรคตั้งแต่ 14 วันก่อนเริ่มป่วย พบมีผู้เสี่ยงสัมผัส 290 ราย โดยเสี่ยงสูง 79 ราย ทั้งนี้พบส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่ำจึงไม่ได้ตรวจเชื้อให้สังเกตอาการ ถ้ามีอาการให้ไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน กลุ่มเสี่ยงสูง นัดตรวจหาเชื้อ อยู่บ้าน 14 วัน สังเกตอาการ โดยกลุ่มเสี่ยงสูง 79 คน เป็นคนในครอบครัว 4 คน ผลตรวจออกแล้ว 3 คน เหลือภรรยาที่ยังรอผลตรวจ นอกนั้นไม่พบเชื้อ ในชุมชน ติดตามมีเพื่อน 3 ราย เพื่อนที่สุโขทัย รอเก็บตัวอย่าง เพื่อนที่ภูเก็ตเป็นชาวอเมริกัน รวมทั้งที่สนามบินเชียงใหม่ กับแคชเชียร์ ผู้โดยสารบนเครื่องบินที่จะนับสองแถวหน้าและสองแถวหลังมีความเสี่ยง รวมทั้งแอร์โฮสเตส สองเที่ยวบินกลุ่มเสี่ยงสัมผัส 45 ราย เรือเฟอร์รี่ขาไป 6 ราย ขากลับ 13 ราย รอผลตรวจอยู่ รพ.เอกชนที่ช่วงแรกยังไม่ทราบติดเชื้อ มีแพทย์ พยาบาล ล่ามที่เสี่ยงสูง ติดตามตัวครบแล้วรอผลตรวจแล็บ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ว่า ด้วยว่าชายคนนี้ไปหลายจังหวัด เป็นเคสใหญ่ จึงต้องตามตัวหลายจังหวัด ซึ่งจังหวัดที่เอ่ยถึงไม่ต้องตกใจ โดยลักษณะเคสนี้จะคล้ายกับเคสดีเจ และหญิงฝรั่งเศส จึงไม่มีการปิดพื้นที่แต่อย่างใด โดยขอให้สวมหน้ากาก มีมาตรการป้องกัน ยืนยันว่าพื้นที่ที่พูดถึง ความเสี่ยงต่ำมาก ขนาดคนในครอบครัวยังไม่พบติดเชื้อ
ส่วนข้อถามที่ว่าเป็นสายพันธุ์ใดนั้น ยังต้องถอดรหัส ต้องใช้เวลา 3-5 วัน โดยเพิ่งจะได้รับเชื้อมา โดยการตรวจหาต้นตอว่าจะติดมาจากที่ใด กำลังพยายามอยู่ หากติดมาก่อนหน้านี้ จะต้องซักประวัติก่อนหน้านี้และการเดินทางไปต่างประเทศช่วงก.พ. โดยกำลังรอข้อมูล อย่างไรก็ตาม ยืนยันตรวจสองครั้ง ครั้งแรก ที่ตรวจพบเชื้อน้อย ซึ่งลักษณะนี้ระยะหลังเจอบ่อย เช่นเคสดีเจ ซึ่งเชื้อน้อยมีนัยยะ โอกาสแพร่น้อยไปด้วย ประกอบกับไม่มีอาการ ค่อนข้างสบายใจ แต่ไม่วางใจ หรือคนที่ติดเชื้อมานานๆ แล้ว ซึ่งที่ทั่วไปเข้าใจกัน คือซากเชื้อ โดยผู้ป่วยรายนี้โอกาสติดเชื้อนานแล้ว แต่ต้องดูข้อมูลประกอบกัน ต้องหาสาเหตุต่อไป และจะติดใครหรือไม่ วิธีที่จะดูคือ ตามผู้สัมผัสมาตรวจหมด
https://siamrath.co.th/n/195693
🔴คอนเฟิร์มมาตรการกักตัว 10 วันความเสี่ยง!ไม่ต่างกับ 14
สธ.ชี้ทั้งทดลองแล้วทั้งเทียบข้อมูลนานาชาติความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มักตรวจพบติดเชื้อใน 10 วัน มีน้อยรายที่พบในภายหลัง ย้ำจะค่อยเป็นค่อยไป ประเมินผลภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองติดต่อโรคทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวถึง การลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน (+4) ว่า ไทยอยู่ระหว่างพิจารณา เปรียบเทียบกับต่างชาติ ประเทศเสี่ยงต่ำกว่า หรือใกล้เคียงกับไทย ด้วยสถานการณ์ไม่เท่ากันทุกประเทศ ความเสี่ยงไทยในการต้อนรับผู้มาจากต่างประเทศ จึงขึ้นกับประเทศต้นทาง และการบริหารจัดการผู้มาจากต่างประเทศ โดยข้อมูลนี้ต่างประเทศนำมาใช้ มีการศึกษาในยุโรป กักตัว 14 วันและกักตัว 10 วัน พบว่าความเสี่ยงไม่ต่างกันมาก สอดคล้องกับข้อมูลที่ศึกษาจริงในไทย จากข้อมูลทำให้มั่นใจว่าการใช้นโยบายกักตัว 10+4 เป็นความปลอดภัยไม่แตกต่างกับ 14 วัน โดยมีผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดที่ตรวจพบใน 10 วัน มีน้อยรายที่พบติดเชื้อในภายหลัง และส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ขณะผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ โอกาสในการแพร่เชื้อจะต่ำกว่าผู้มีอาการ ซึ่งได้มีการนำเสนอในคณะกรรมการหลายคณะ ที่ประชุมเห็นสมควรเสนอต่อ ศบค.ต่อไป
ทั้งนี้ พบว่าการกักตัว 10 วันความเสี่ยงไม่ต่างกัน กับตรวจ 14 วัน โดยกำหนดให้ผู้ที่มาจากต่างประเทศต้องลงทะเบียน ต้องมีเงินประกัน มีการเข้าพักในสถานที่เฝ้าระวังเอง สั่งกักกันโรค 10 วัน จากนั้นจะติดตามตัวด้วยแอพฯจนครบ 14 วัน โดยกำหนดให้อยู่ในพื้นที่จำเพาะ กำหนดสถานที่ที่ไปได้ให้อยู่ในภายพื้นที่เดียวกับจังหวัดที่มีการกักตัว ซึ่งจะติดตามตัวด้วยระบบแทร็กกิ้งทำให้ทราบว่าไปที่ใด โดยจะใช้วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไปค่อยขยับ ทำไปเรียนรู้ประเมินผลไป ซึ่งภายใต้การบริหารการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม จะเซฟค่าใช้จ่ายได้เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์
https://siamrath.co.th/n/195703
🔴ท่องเที่ยวฯ-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11 พ.ย.นี้
กระทรวงท่องเที่ยว-สธ.ลุยชง ศบศ.ดึงต่างชาติกักตัวในสนามกอล์ฟ 11พ.ย.นี้ ตั้งเป้าดูดนักกอล์ฟจาก 4 ชาติเอเชีย “เกาหลี-ญี่ปุ่น-จีน-ไต้หวัน” ด้าน “อนุทิน” เสนอสนามกอล์ฟ “แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ทแอนคันทรีคลับ” อ.ปากช่อง เป็น 1ใน5 สนามแรกของไทยที่ตอบรับเป็นALSQ
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯและกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ร่วมกันผลักดันให้มีการกักตัวชาวต่างชาติที่สนามกอล์ฟซึ่งมีห้องพักรองรับเป็นไปตามมาตรฐานของโรงแรมกักตัวทางเลือกทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด (ASQ/ALSQ) เนื่องจากมีดีมานด์ของนักกอล์ฟชาวต่างชาติ อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน แสดงความประสงค์ต้องการเดินทางมาไทย เช่น กลุ่มนักกอล์ฟเยาวชนจากเกาหลีใต้ต้องการเดินทางหนีหนาวมาเก็บตัวช่วงปลายปีที่สนามกอล์ฟในประเทศไทย โดยทั้ง 2 กระทรวงจะร่วมกันเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ.ในวันพุธที่ 11 พ.ย.นี้ ก่อนนำเสนอต่อ ครม.ในสัปดาห์ถัดไป
“สัปดาห์ที่แล้วทูตเกาหลีมาเข้าพบผม ทางท่านทูตฯได้เสนอว่าทำไมไม่เอาสนามกอล์ฟเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก เพราะปกติทุกปีจะมีนักกอล์ฟเยาวชนจากเกาหลีใต้กว่า 1,000 คนเดินทางมาอยู่ไทย 3 เดือนเพื่อเก็บตัวช่วงปลายปี”
โดยรูปแบบการกักตัวที่สนามกอล์ฟจะแตกต่างจากโรงแรม ASQ และ ALSQ ทั่วไป เพราะนักกอล์ฟสามารถออกจากห้องพักมาเล่นกอล์ฟได้ในพื้นที่กว้างซึ่งสามารถรักษาระยะห่าง ที่สำคัญต้องไม่ปะปนกับสมาชิกหรือผู้เล่นรายอื่นๆ ของสนามกอล์ฟ
เบื้องต้นมีสนามกอล์ฟ 5 แห่งทั่วประเทศตอบรับสนใจเข้าร่วมเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก ALSQ แล้ว ได้แก่สนามกอล์ฟแรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ทแอนคันทรีคลับ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ซึ่งทางนายอนุทินได้เสนอให้เป็นสถานที่รองรับนักกอล์ฟต่างชาติของโมเดลนี้ ส่วนสนามกอล์ฟอีก 4 แห่งตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่, จ.ลำพูน, จ.สระบุรี และ จ.กาญจนบุรี ขณะนี้ทาง สธ.เริ่มดำเนินการตรวจประเมินทั้ง 5 สนามแรกแล้ว
ทั้งนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯตั้งเป้าเพิ่มสนามกอล์ฟเข้าร่วมเป็น ALSQ ที่จำนวน 20-30 แห่งกระจายทั่วประเทศ จากจำนวนสนามกอล์ฟในไทยที่มีอยู่รวม 238 แห่ง มีจำนวนห้องพักให้บริการราว 5,000 ห้อง
สำหรับสนามกอล์ฟที่สนใจเข้าร่วมเป็น ALSQ จะต้องเจรจากับสมาชิกของสนามกอล์ฟเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการแบ่งพื้นที่สนามระหว่างสมาชิกกับนักกอล์ฟต่างชาติที่มากักตัวในสัดส่วนพื้นที่ 50:50 หรือทางผู้บริหารสนามกอล์ฟอาจต้องรับผิดชอบจัดหาสนามแห่งอื่นและค่าใช้จ่ายแก่สมาชิกแทนในช่วงที่จะใช้สนามกอล์ฟของตัวเองเป็น ALSQ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/906506
หากทำตามที่คุณหมอแนะนำ เราจะปลอดภัยค่ะ....