ข้อคิดเชิงสร้างสรรค์ในสถานการณ์ทางการเมือง 2563/2020
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมีมาตลอดตั้งแต่มีการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นเมื่อปี พ.ซ. 2475 ตลอดระยะเวลามีการแย่งชิงอำนาจกันทั้งฝ่ายนายทุนและฝ่ายศักดินา ไม่มีฝ่ายใดเลยที่จริงใจในการวางรากฐานประชาธิปไตยได้อย่างสมบูรณ์และเข้มแข็ง ดังนั้นการอ้างว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยจึงไม่มีจริงในประเทศนี้. แสดงให้เห็นประจักษ์มาทุกยุคทุกสมัย แอบอ้างความเป็นประชาธิปไตยเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมากกว่าการเข้ามาสร้างรากฐานประชาธิปไตยให้เบ่งบานและมั่นคง ในฉากทัศน์เดิมนี้หากเรามองไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีพระมหากษัตริย์รวม 3 พระองค์ คือ ร.8, ร.9 และ ร.10 ทุกพระองค์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีบทบาทหรือแทรกแซงหรือบั่นทอนความเป็นระบอบประชาธิปไตยเลย หากจะมองในระยะเวลาการครองราชย์แล้วพบว่า ตลอดระยะเวลาที่ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนี่ ร.9 ถึงเป็นรัชสมัยที่อยู่กับระบอบประชาธิปไตยนานที่สุด พระองค์ทรงแสดงถือความเข้าใจในระบอบการปกครองและอาจจะถือว่าพระองค์ท่านเป็นผู้ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ อันจะเห็นได้จากการทรงงานต่างๆที่มีปรัชญาการทรงงานที่ว่า เข้าใจ. เข้าถึง พัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย คือ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ในรัชสมัยนี้ นอกจากจะทรงวางตัวเหนือรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแล้ว ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์เป็นที่รักและเทิดทูน เหนียวแน่น หยั่งรากลึกในสังคมไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้สถาบันกษัตริย์ยังช่วยแบ่งเบาและส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนได้อย่างดีเยี่ยม อย่างที่ไม่มีประเทศใดในโลกกระทำได้ เป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างมีรากฐานที่ดี แม้จะไม่ก้าวกระโดด แต่มั่นคง ยั่งยืน เป็นที่ชื่นชมและนำไปเป็นแบบอย่างของหลายประเทศ. ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาเดิมของการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่นำระบอบดังกล่าวมาจากต่างประเทศมาปรับใช้กับสังคมที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะอย่างยาวนานอย่างไทย ที่ตลอดระยะเวลา 88 ปี แสดงให้เห็นว่าอาจจะไม่เหมาะสมและสมบูรณ์เพียงพอกับสังคมไทย ความไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงของพลเมือง การนำระบอบประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงอำนาจ. การทุจริตคอร์รัปชั่น ความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากการมีสถาบันกษัตริย์ แต่เกิดจากระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย จึงควรมีการระดมความคิดร่วมกันสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบไทยและสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนต่อระบอบการปกครองแบบไทยนี่ในทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวางและค่อยเป็นค่อยไป
ข้อคิดเห็นต่อการชุมนุม
1. ปรากฏการณ์นี้แม้ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาตลอด. ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่ก็ถือว่าเป็นครั้งที่มีประเด็นการเรียกร้อง รวมทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมที่แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา ถือเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่และน่าสนใจยิ่ง กลุ่มผู้ที่สนใจในการเมืองกลุ่มใหม่ที่ไม่เคยสนใจการเมืองในอดีตมาเป็นผู้เล่นเอง
2. กลุ่มการเมืองใหม่นี้ไม่ได้เพิ่งรวมตัวกันทางความคิดอย่างรวดเร็ว แต่มีกระบวนการปลูกฝังข้อมูลแนวคิดนี้มานานอย่างน้อย 1 ปี ด้วยข้อมูลชุดใหม่ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือ
3. รัฐประเมินปรากฎการณ์ดังกล่าวผิดพลาดและไม่ทันเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและไม่ทันสถานการณ์
4. การจุดติดของคณะผู้ชุมนุม เกิดจากความจริงของความเหลื่อมล้ำและความยากจน ที่เป็นปัญหาใหญ่ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น และถือเป็นจุดด้อยของรัฐทุกยุคทุกสมัย และเป็นเหตุผลที่จุดติดเสมอในสังคมไทย นอกจากการคอร์รัปชั่น
5. การชุมนุมครั้งนี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นการชุมนุมโดยบริสุทธิ์ใจไม่มีเบื้องหลังทางการเมืองในประเทศและการแทรกแซงยุยงจากต่างประเทศ
6. การชุมนุมนี้ไม่ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนเพียงพอ และข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ก็ยังไม่สามารถจูงใจให้ประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตามได้ เพราะไม่ได้แสดงให้เห็นและไม่ได้เป็นปัญหาร่วมสาธารณะ
7. การไล่นายก การที่บอกถึงรัฐเผด็จการ และการแก้รัฐธรรมนุญ เป็นเป้าหมายที่ไกลจากปัญหาปัจเจกบุคคลที่จะสามารถรวมกันเป็นปัญหาสาธารณะ และรวมความเห็นร่วมของประชาชนโดยรวมได้ หมายถึงประชาชนส่วนใหญ่ ยังรู้สึกว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญเร่งด่วน และไกลตัวเกินไป
8. สำหรับข้อ 3 เรื่องสถาบัน ดังที่กล่าวไว้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกว่าสถาบันเป็นปัญหาในทางกลับกัน รู้สึกว่าสถาบันกษัตริย์เป็นที่เชื่อถือมากกว่าสถาบันการเมืองของไทย
9. ข้อเสนอทั้งสามข้อ. ถ้าทำได้จริง ก็ยังไม่เห็นภาพว่าจะทำให้ประเทศดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างไร ทำให้ไม่มั่นใจต่อการเปลี่ยนแปลง. ไม่มีใครรับประกันได้ว่าเปลี่ยนแล้วจะดีกว่าเดิมอย่างไร
10. การเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างที่เป็นสิ่งที่กระทำหรือดำรงอยู่อย่างช้านาน ต้องอาศัยเวลาและการทำความเข้าใจให้เห็นข้อดีของการเปลี่ยนแปลงนั้น จึงจะสำเร็จ. แต่ถ้าใช้ความใจร้อย หยาบคายและไม่ทำความเข้าใจแบะเคารพถึงสิ่งที่ดำรงอยู่เดิม ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ในวงกว้างอย่างสมบูรณ์ได้
คำถามที่กลุ่มผู้ชุมนุมควรตอบ
1. อะไรคือเป้าหมายแท้จริงของการเรียกร้อง
2. ประชาธิปไตยที่เรียกร้อง สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจนและการทุจริต ได้จริงหรือไม่ อย่างไร
3. ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ เป็นข้อเรียกร้องโดยบริสุทธิ์ใจและหวังดีเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศหรือไม่ อย่างไร
4. ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ หากสำเร็จ จะเกิดประโยชน์และความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อสังคมโดยรวมอย่างไร และดีกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่หรือไม่เพียงใด
5. หลักสำคัญที่หลายคนเชื่อมั่นคือ ส่วนใหญ่แล้วสถาบันหรือองค์กรไม่ได้แย่หรือไม่ดี แต่เป็นเพราะผู้นำหรือสมาชิกในองค์กรนั้นต่างหากที่ไม่ดี ดังนั้นการไม่พิจารณาให้รอบคอบว่าเป็นที่สถาบันหรือบุคคลนั้นๆ ที่ทำให้แย่ แล้วแก้ไขเฉพาะส่วนที่เป็นปัญหา ก็ไม่เป็นธรรมต่อสถาบันในภาพรวม หรือนี่มีเหตุปัจจัยอื่นแอบแฝง จึงตั้งธงเพียงแค่การปฏิรูปสถาบันหรือยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเท่านั้น
6. หากไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ กรณีไม่สำเร็จในข้อเรียกร้อง จะหยุดอย่างผู้แพ้ที่มีหัวใจประชาธิปไตยหรือไม่
7. กรณีที่ข้อเรียกร้องนั้นสำเร็จแต่ไม่ได้ทำให้สังคมไทยดีขึ้น จะมีผู้รับผิดชอบหรือไม่อย่างไร
5 พ.ย. 63
หาทางออกประเทศไปด้วยกัน
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมีมาตลอดตั้งแต่มีการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นเมื่อปี พ.ซ. 2475 ตลอดระยะเวลามีการแย่งชิงอำนาจกันทั้งฝ่ายนายทุนและฝ่ายศักดินา ไม่มีฝ่ายใดเลยที่จริงใจในการวางรากฐานประชาธิปไตยได้อย่างสมบูรณ์และเข้มแข็ง ดังนั้นการอ้างว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยจึงไม่มีจริงในประเทศนี้. แสดงให้เห็นประจักษ์มาทุกยุคทุกสมัย แอบอ้างความเป็นประชาธิปไตยเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมากกว่าการเข้ามาสร้างรากฐานประชาธิปไตยให้เบ่งบานและมั่นคง ในฉากทัศน์เดิมนี้หากเรามองไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีพระมหากษัตริย์รวม 3 พระองค์ คือ ร.8, ร.9 และ ร.10 ทุกพระองค์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีบทบาทหรือแทรกแซงหรือบั่นทอนความเป็นระบอบประชาธิปไตยเลย หากจะมองในระยะเวลาการครองราชย์แล้วพบว่า ตลอดระยะเวลาที่ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนี่ ร.9 ถึงเป็นรัชสมัยที่อยู่กับระบอบประชาธิปไตยนานที่สุด พระองค์ทรงแสดงถือความเข้าใจในระบอบการปกครองและอาจจะถือว่าพระองค์ท่านเป็นผู้ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ อันจะเห็นได้จากการทรงงานต่างๆที่มีปรัชญาการทรงงานที่ว่า เข้าใจ. เข้าถึง พัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย คือ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ในรัชสมัยนี้ นอกจากจะทรงวางตัวเหนือรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแล้ว ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์เป็นที่รักและเทิดทูน เหนียวแน่น หยั่งรากลึกในสังคมไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้สถาบันกษัตริย์ยังช่วยแบ่งเบาและส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนได้อย่างดีเยี่ยม อย่างที่ไม่มีประเทศใดในโลกกระทำได้ เป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างมีรากฐานที่ดี แม้จะไม่ก้าวกระโดด แต่มั่นคง ยั่งยืน เป็นที่ชื่นชมและนำไปเป็นแบบอย่างของหลายประเทศ. ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาเดิมของการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่นำระบอบดังกล่าวมาจากต่างประเทศมาปรับใช้กับสังคมที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะอย่างยาวนานอย่างไทย ที่ตลอดระยะเวลา 88 ปี แสดงให้เห็นว่าอาจจะไม่เหมาะสมและสมบูรณ์เพียงพอกับสังคมไทย ความไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงของพลเมือง การนำระบอบประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงอำนาจ. การทุจริตคอร์รัปชั่น ความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากการมีสถาบันกษัตริย์ แต่เกิดจากระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย จึงควรมีการระดมความคิดร่วมกันสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบไทยและสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนต่อระบอบการปกครองแบบไทยนี่ในทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวางและค่อยเป็นค่อยไป
ข้อคิดเห็นต่อการชุมนุม
1. ปรากฏการณ์นี้แม้ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาตลอด. ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่ก็ถือว่าเป็นครั้งที่มีประเด็นการเรียกร้อง รวมทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมที่แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา ถือเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่และน่าสนใจยิ่ง กลุ่มผู้ที่สนใจในการเมืองกลุ่มใหม่ที่ไม่เคยสนใจการเมืองในอดีตมาเป็นผู้เล่นเอง
2. กลุ่มการเมืองใหม่นี้ไม่ได้เพิ่งรวมตัวกันทางความคิดอย่างรวดเร็ว แต่มีกระบวนการปลูกฝังข้อมูลแนวคิดนี้มานานอย่างน้อย 1 ปี ด้วยข้อมูลชุดใหม่ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือ
3. รัฐประเมินปรากฎการณ์ดังกล่าวผิดพลาดและไม่ทันเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและไม่ทันสถานการณ์
4. การจุดติดของคณะผู้ชุมนุม เกิดจากความจริงของความเหลื่อมล้ำและความยากจน ที่เป็นปัญหาใหญ่ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น และถือเป็นจุดด้อยของรัฐทุกยุคทุกสมัย และเป็นเหตุผลที่จุดติดเสมอในสังคมไทย นอกจากการคอร์รัปชั่น
5. การชุมนุมครั้งนี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นการชุมนุมโดยบริสุทธิ์ใจไม่มีเบื้องหลังทางการเมืองในประเทศและการแทรกแซงยุยงจากต่างประเทศ
6. การชุมนุมนี้ไม่ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนเพียงพอ และข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ก็ยังไม่สามารถจูงใจให้ประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตามได้ เพราะไม่ได้แสดงให้เห็นและไม่ได้เป็นปัญหาร่วมสาธารณะ
7. การไล่นายก การที่บอกถึงรัฐเผด็จการ และการแก้รัฐธรรมนุญ เป็นเป้าหมายที่ไกลจากปัญหาปัจเจกบุคคลที่จะสามารถรวมกันเป็นปัญหาสาธารณะ และรวมความเห็นร่วมของประชาชนโดยรวมได้ หมายถึงประชาชนส่วนใหญ่ ยังรู้สึกว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญเร่งด่วน และไกลตัวเกินไป
8. สำหรับข้อ 3 เรื่องสถาบัน ดังที่กล่าวไว้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกว่าสถาบันเป็นปัญหาในทางกลับกัน รู้สึกว่าสถาบันกษัตริย์เป็นที่เชื่อถือมากกว่าสถาบันการเมืองของไทย
9. ข้อเสนอทั้งสามข้อ. ถ้าทำได้จริง ก็ยังไม่เห็นภาพว่าจะทำให้ประเทศดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างไร ทำให้ไม่มั่นใจต่อการเปลี่ยนแปลง. ไม่มีใครรับประกันได้ว่าเปลี่ยนแล้วจะดีกว่าเดิมอย่างไร
10. การเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างที่เป็นสิ่งที่กระทำหรือดำรงอยู่อย่างช้านาน ต้องอาศัยเวลาและการทำความเข้าใจให้เห็นข้อดีของการเปลี่ยนแปลงนั้น จึงจะสำเร็จ. แต่ถ้าใช้ความใจร้อย หยาบคายและไม่ทำความเข้าใจแบะเคารพถึงสิ่งที่ดำรงอยู่เดิม ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ในวงกว้างอย่างสมบูรณ์ได้
คำถามที่กลุ่มผู้ชุมนุมควรตอบ
1. อะไรคือเป้าหมายแท้จริงของการเรียกร้อง
2. ประชาธิปไตยที่เรียกร้อง สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจนและการทุจริต ได้จริงหรือไม่ อย่างไร
3. ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ เป็นข้อเรียกร้องโดยบริสุทธิ์ใจและหวังดีเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศหรือไม่ อย่างไร
4. ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ หากสำเร็จ จะเกิดประโยชน์และความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อสังคมโดยรวมอย่างไร และดีกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่หรือไม่เพียงใด
5. หลักสำคัญที่หลายคนเชื่อมั่นคือ ส่วนใหญ่แล้วสถาบันหรือองค์กรไม่ได้แย่หรือไม่ดี แต่เป็นเพราะผู้นำหรือสมาชิกในองค์กรนั้นต่างหากที่ไม่ดี ดังนั้นการไม่พิจารณาให้รอบคอบว่าเป็นที่สถาบันหรือบุคคลนั้นๆ ที่ทำให้แย่ แล้วแก้ไขเฉพาะส่วนที่เป็นปัญหา ก็ไม่เป็นธรรมต่อสถาบันในภาพรวม หรือนี่มีเหตุปัจจัยอื่นแอบแฝง จึงตั้งธงเพียงแค่การปฏิรูปสถาบันหรือยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเท่านั้น
6. หากไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ กรณีไม่สำเร็จในข้อเรียกร้อง จะหยุดอย่างผู้แพ้ที่มีหัวใจประชาธิปไตยหรือไม่
7. กรณีที่ข้อเรียกร้องนั้นสำเร็จแต่ไม่ได้ทำให้สังคมไทยดีขึ้น จะมีผู้รับผิดชอบหรือไม่อย่างไร
5 พ.ย. 63