ณ สำนักงาน กสทช นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz จำนวน 1,920,650,000 บาท โดยมี พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้รับมอบ และนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอที ชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ จากการประมูลจำนวน 4 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ100 เมกะเฮิรตซ์ รวม 400 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 1,920.65 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการประมูล โดยหลังจากนี้จะได้นำเข้าอุปกรณ์ได้ และนำคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวไปทดสอบทดลองหารูปแบบการใช้งาน (use case) ทั้งนี้ คลื่น ความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ เป็นย่านความถี่สูงซึ่งมีคุณสมบัติในการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมากรวมทั้งมีความหน่วงเวลาหรือความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำ ด้วยคุณสมบัตินี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูงในหลายด้านไม่ว่า จะเป็น ภาคอุตสาหกรรม ด้านสาธารณสุข ด้านโลจิสติก อาทิ การผ่าตัดทางไกล การควบคุมเครื่องจักรในโรงงานและการควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
"การลงทุนในคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ เป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนในวงกว้าง เมื่อมีลูกค้าแล้วค่อยลงทุนได้ โดยขณะนี้ มีเอกชนสนใจเข้าเจรจาเพื่อขอนำคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์หรือโรบอทแทนการใช้แรงงานคน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตมากยิ่งขึ้น"
นายมรกต กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที มีการเปิดเผยสินทรัพย์โทรคมนาคมเพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้าน 5G ร่วมกัน โดย ทีโอที มีเสาสัญญาณจำนวน 25,000 ต้น ขณะที่ แคท มี 18,000 ต้น รวม 43,000 ต้น ซึ่งจะทำให้ทั้งสององค์กรมีศักยภาพ มีโครงข่ายที่แข็งแกร่ง นำไปสู่การร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) รายอื่นๆ ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล โดย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกัณต์ รมว.ดีอีเอส ได้รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รับทราบแผนการควบรวมโดยในเบื้องต้น และ รมว.ดีอีเอส มีนโยบายที่จะแยกกิจการบริการไร้สายนำมาควบรวมก่อนโดยนำคลื่นความถี่รวมกัน จะส่งผลให้ เอ็นที ถือครองคลื่นความถี่มากเป็นอันดับ 3 ในอุตสาหกรรม ฉะนั้น จึงต้องมีการวางแผนในการลงทุนด้านโครงข่ายและการทำการตลาด ในส่วนของ ทีโอที คลื่นที่มีอยู่คือคลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) มาเปิดให้บริการ 5G โดยเน้นเจาะกลุ่มการให้บริการหน่วยงานภาครัฐ
ซึ่งที่ผ่านมา ทีโอที มีความร่วมมือกับพันธมิตรหรือหน่วยงานภายนอก ในหลายโครงการ ดังนี้
1. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ในการจัดทำบันทึกความเข้าใจ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม2563 สำหรับการให้บริการด้านการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่าย 5G ภายใต้ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งจะเปิดใช้งานภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย 5G การใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ในการพัฒนาด้านวิศวกรรม สาธารณสุข อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การเกษตร พลังงาน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนากำลังคน และการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสูงสุด
2. ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 5G ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุข มาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยรถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน มาสู่รถ Siriraj Mobile Stroke Unit ด้วยความปลอดภัย ซึ่งการบริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุขของไทย
3. ร่วมพัฒนา 5G FIBO ROBOT (Institute of Field Robotics) กับสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4. ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการใช้คลื่น 5G พัฒนาระบบสายพานลำเลียงให้กับโรงงานผลิตเครื่องดื่มในเขตพื้นที่ EEC
5. สร้างโครงข่าย ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (IoT) ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ EEC โดยมีแผนงานด้านการลงทุนด้าน Infrastructure เพื่อให้บริการ Smart Pole สำหรับบริการ 5G ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองเป็นเมืองอัจฉริยะ และมีแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งเสาSmart Poleเพื่อให้บริการกับนักท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภาคตะวันออก เป็นต้น
6. ให้บริการกับ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ mu Space ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ในการผลิตชิ้นส่วนประกอบของดาวเทียมวงโคจรต่ำ
บริการ 5G จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคข้อจำกัดและถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทั้ง Internet of Things (IoT) ที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสาร สั่งการ และแลกปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันแบบ Real Time ตลอดจนวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) และระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนต้องอาศัยความเร็วสูงและความหน่วงต่ำของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มีความแม่นยำสูงและความผิดพลาดน้อยที่สุด นอกจากนั้น ความก้าวล้ำของ 5G ยังเอื้อต่อเทคโนโลยีในโลกเสมือนจริงอย่าง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องเช่น Cloud Computing, Machine Learning, Artificial Intelligent (AI) และ Big Data เป็นต้น
ทีโอที เดินหน้าให้บริการ 5G ยกระดับบริการภาครัฐทุกมิติ ตามนโยบายของกระทรวงดิจิทัลฯ
นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอที ชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ จากการประมูลจำนวน 4 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ100 เมกะเฮิรตซ์ รวม 400 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 1,920.65 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการประมูล โดยหลังจากนี้จะได้นำเข้าอุปกรณ์ได้ และนำคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวไปทดสอบทดลองหารูปแบบการใช้งาน (use case) ทั้งนี้ คลื่น ความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ เป็นย่านความถี่สูงซึ่งมีคุณสมบัติในการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมากรวมทั้งมีความหน่วงเวลาหรือความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำ ด้วยคุณสมบัตินี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูงในหลายด้านไม่ว่า จะเป็น ภาคอุตสาหกรรม ด้านสาธารณสุข ด้านโลจิสติก อาทิ การผ่าตัดทางไกล การควบคุมเครื่องจักรในโรงงานและการควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
"การลงทุนในคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ เป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนในวงกว้าง เมื่อมีลูกค้าแล้วค่อยลงทุนได้ โดยขณะนี้ มีเอกชนสนใจเข้าเจรจาเพื่อขอนำคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์หรือโรบอทแทนการใช้แรงงานคน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตมากยิ่งขึ้น"
นายมรกต กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที มีการเปิดเผยสินทรัพย์โทรคมนาคมเพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้าน 5G ร่วมกัน โดย ทีโอที มีเสาสัญญาณจำนวน 25,000 ต้น ขณะที่ แคท มี 18,000 ต้น รวม 43,000 ต้น ซึ่งจะทำให้ทั้งสององค์กรมีศักยภาพ มีโครงข่ายที่แข็งแกร่ง นำไปสู่การร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) รายอื่นๆ ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล โดย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกัณต์ รมว.ดีอีเอส ได้รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รับทราบแผนการควบรวมโดยในเบื้องต้น และ รมว.ดีอีเอส มีนโยบายที่จะแยกกิจการบริการไร้สายนำมาควบรวมก่อนโดยนำคลื่นความถี่รวมกัน จะส่งผลให้ เอ็นที ถือครองคลื่นความถี่มากเป็นอันดับ 3 ในอุตสาหกรรม ฉะนั้น จึงต้องมีการวางแผนในการลงทุนด้านโครงข่ายและการทำการตลาด ในส่วนของ ทีโอที คลื่นที่มีอยู่คือคลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) มาเปิดให้บริการ 5G โดยเน้นเจาะกลุ่มการให้บริการหน่วยงานภาครัฐ
ซึ่งที่ผ่านมา ทีโอที มีความร่วมมือกับพันธมิตรหรือหน่วยงานภายนอก ในหลายโครงการ ดังนี้
1. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ในการจัดทำบันทึกความเข้าใจ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม2563 สำหรับการให้บริการด้านการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่าย 5G ภายใต้ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งจะเปิดใช้งานภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย 5G การใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ในการพัฒนาด้านวิศวกรรม สาธารณสุข อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การเกษตร พลังงาน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อทำงานวิจัยร่วมกันให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนากำลังคน และการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสูงสุด
2. ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 5G ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุข มาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยรถพยาบาลการแพทย์ฉุกเฉิน มาสู่รถ Siriraj Mobile Stroke Unit ด้วยความปลอดภัย ซึ่งการบริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุขของไทย
3. ร่วมพัฒนา 5G FIBO ROBOT (Institute of Field Robotics) กับสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4. ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการใช้คลื่น 5G พัฒนาระบบสายพานลำเลียงให้กับโรงงานผลิตเครื่องดื่มในเขตพื้นที่ EEC
5. สร้างโครงข่าย ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (IoT) ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ EEC โดยมีแผนงานด้านการลงทุนด้าน Infrastructure เพื่อให้บริการ Smart Pole สำหรับบริการ 5G ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองเป็นเมืองอัจฉริยะ และมีแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งเสาSmart Poleเพื่อให้บริการกับนักท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภาคตะวันออก เป็นต้น
6. ให้บริการกับ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ mu Space ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ในการผลิตชิ้นส่วนประกอบของดาวเทียมวงโคจรต่ำ
บริการ 5G จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยปลดล็อคข้อจำกัดและถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทั้ง Internet of Things (IoT) ที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสาร สั่งการ และแลกปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันแบบ Real Time ตลอดจนวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) และระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนต้องอาศัยความเร็วสูงและความหน่วงต่ำของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มีความแม่นยำสูงและความผิดพลาดน้อยที่สุด นอกจากนั้น ความก้าวล้ำของ 5G ยังเอื้อต่อเทคโนโลยีในโลกเสมือนจริงอย่าง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องเช่น Cloud Computing, Machine Learning, Artificial Intelligent (AI) และ Big Data เป็นต้น