สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
รพ มอ หาดใหญ่ไม่ได้อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข สถานะที่แท้จริงของของ รพ มอ คือโรงเรียนแพทย์ค่ะ เท่าที่ทราบ รพ มอ สามารถปฎิเสธคนไข้ได้นะคะเคยมีกระทู้ต่อว่า รพ มอ ไม่รับรักษาญาติของตัวเอง ข้อสรุปคือโรงพยาบาลไม่ได้มีหน้าที่หลักในการรักษาคนไข้แต่หน้าที่หลักของเขาคือการผลิตแพทย์ออกมา รายละเอียดต่างๆเลยอาจจะผิดจาก รพ ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ห้ามปฎิเสธคนไข้ ขนาดข้อหลักใหญ่ยังไม่เหมือนกันข้อปลีกย่อยต่างๆก็อาจจะต่างกันค่ะ
ถ้าคุณอยากใช้บัตรทองทำไมไม่ไป รพ หาดใหญ่ล่ะคะ น่าจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ค่ะ
ส่วนพรีเมียมคลีนิคเปิดเพื่อเอารายได้ตรงนั้นมาจุนเจือฝั่ง รพ ปกติค่ะ น่าจะเริ่มเอาแบบจาก รพ ศิริราช ค่ะ โมเดลนี้เริ่มใช้กันใน รพ ใหญ่ๆของรัฐเพราะรายได้จากรัฐไม่พอกับค่าใช้จ่ายนะคะ ยิ่ง รพใหญ่เท่าไหร่ต้องรับคนไข้อาการหนักๆมากเท่านั้น รักษาแต่ละทีค่าใช้จ่ายสูงแต่เก็บจาก30บาทยังไงก็ขาดทุนยับเยินค่ะ จากที่มีประสบการณ์นะคะพ่อเราเคยศัลยกรรมเส้นเลือดที่ มอ ค่ารักษาจริงรวมทั้งหมด2 แสนกว่าแต่เวลาจ่ายจริงก็แค่จาก30บาทรักษาทุกโรคไม่ได้จ่ายเพิ่มอะไรมากมาย เห็นข้อเท็จจริงตรงนี้มั้ยคะ 2 แสนกว่าที่ภาครัฐแบกรับ รัฐให้งบมาไม่พอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาจริงหรอกค่ะ เคสหนักกว่าพ่อเรามีอีกเยอะ ค่ารักษาก็มากกว่าเยอะ แล้วยิ่งศิริราชที่เป็น รพ ที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายของการรักษาในประเทศจะยิ่งเจอเคสหนักๆมากกว่า รพ มหาวิทยาลัยของแต่ละภาคเสียอีก รพ จึงจำเป็นที่จะต้องหารายได้จากทางอื่นอย่างพรีเมียมคลีนิคมาจุนเจือ รพ หลัก
ถ้าคุณบอกว่ารพ ผลาญภาษีของประชาชนด้วยการเปิดพรีเมียมคลีนิค เราว่าอันดับแรกคือคุณควรหาข้อมูลก่อนจะกล่าวหา รพ ก่อนจะดีกว่านะคะ
เพิ่มเติมจากที่พ่อแม่เคยใช้บริการจากทั้งส่วนปกติและพรีเมียมคลีนิคนะคะ จริงๆไม่จำเป็นต้องพรีเมียมคลีนิคหมอก็โทรจองห้องพิเศษได้ค่ะ ตึก ฉบ จะมีอยู่ชั้นนึงเป็นชั้นของคลีนิคนอกเวลาที่กันไว้ต่างหากโดยเฉพาะ คนปกติจะไม่สามารถจองห้องในชั้นนั้นได้มีเพียงแค่หมอเท่านั้นที่สามารถจองได้ ห้องนั้นจะแพงกว่าห้องพิเศษปกตินิดหน่อยแต่ไม่แพงเท่า ฉบ 12 ที่เป็นห้องชุด ที่พ่อแม่เราเคยใช้บริการห้องในชั้นนั้นเพราะใช้บริการคลีนิคนอกเวลาและหมอนัดผ่าตัดนอกเวลาค่ะเลยรู้ว่ามีชั้นนึงที่เค้าล็อคไว้
ถ้าคุณอยากใช้บัตรทองทำไมไม่ไป รพ หาดใหญ่ล่ะคะ น่าจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ค่ะ
ส่วนพรีเมียมคลีนิคเปิดเพื่อเอารายได้ตรงนั้นมาจุนเจือฝั่ง รพ ปกติค่ะ น่าจะเริ่มเอาแบบจาก รพ ศิริราช ค่ะ โมเดลนี้เริ่มใช้กันใน รพ ใหญ่ๆของรัฐเพราะรายได้จากรัฐไม่พอกับค่าใช้จ่ายนะคะ ยิ่ง รพใหญ่เท่าไหร่ต้องรับคนไข้อาการหนักๆมากเท่านั้น รักษาแต่ละทีค่าใช้จ่ายสูงแต่เก็บจาก30บาทยังไงก็ขาดทุนยับเยินค่ะ จากที่มีประสบการณ์นะคะพ่อเราเคยศัลยกรรมเส้นเลือดที่ มอ ค่ารักษาจริงรวมทั้งหมด2 แสนกว่าแต่เวลาจ่ายจริงก็แค่จาก30บาทรักษาทุกโรคไม่ได้จ่ายเพิ่มอะไรมากมาย เห็นข้อเท็จจริงตรงนี้มั้ยคะ 2 แสนกว่าที่ภาครัฐแบกรับ รัฐให้งบมาไม่พอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาจริงหรอกค่ะ เคสหนักกว่าพ่อเรามีอีกเยอะ ค่ารักษาก็มากกว่าเยอะ แล้วยิ่งศิริราชที่เป็น รพ ที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายของการรักษาในประเทศจะยิ่งเจอเคสหนักๆมากกว่า รพ มหาวิทยาลัยของแต่ละภาคเสียอีก รพ จึงจำเป็นที่จะต้องหารายได้จากทางอื่นอย่างพรีเมียมคลีนิคมาจุนเจือ รพ หลัก
ถ้าคุณบอกว่ารพ ผลาญภาษีของประชาชนด้วยการเปิดพรีเมียมคลีนิค เราว่าอันดับแรกคือคุณควรหาข้อมูลก่อนจะกล่าวหา รพ ก่อนจะดีกว่านะคะ
เพิ่มเติมจากที่พ่อแม่เคยใช้บริการจากทั้งส่วนปกติและพรีเมียมคลีนิคนะคะ จริงๆไม่จำเป็นต้องพรีเมียมคลีนิคหมอก็โทรจองห้องพิเศษได้ค่ะ ตึก ฉบ จะมีอยู่ชั้นนึงเป็นชั้นของคลีนิคนอกเวลาที่กันไว้ต่างหากโดยเฉพาะ คนปกติจะไม่สามารถจองห้องในชั้นนั้นได้มีเพียงแค่หมอเท่านั้นที่สามารถจองได้ ห้องนั้นจะแพงกว่าห้องพิเศษปกตินิดหน่อยแต่ไม่แพงเท่า ฉบ 12 ที่เป็นห้องชุด ที่พ่อแม่เราเคยใช้บริการห้องในชั้นนั้นเพราะใช้บริการคลีนิคนอกเวลาและหมอนัดผ่าตัดนอกเวลาค่ะเลยรู้ว่ามีชั้นนึงที่เค้าล็อคไว้
แสดงความคิดเห็น
โรงพยาบาล มอ.หาดใหญ่ ไม่ให้ผู้ใช้สิทธิ์ 30 บาท ใช้บริการห้องพิเศษ แม้จะยอมจ่ายค่าสมทบเอง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
1.ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า การที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีห้องพิเศษที่สร้างโดยงบประมาณของรัฐบาล จากภาษีของประชาชน แต่กีดกันไม่ให้ประชาชนใช้ ถ้าต้องการใช้ต้องจ่ายเงินเหมือนโรงพยาบาลเอกชน อันนี้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สามารถทำได้หรือไม่ และใช้ระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายข้อใดในการออกนโยบายนี้ และนโยบายนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2.และจากการสืบทราบข้อมูลจากการอยู่ในโรงพยาบาลพบว่า ขณะนี้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แบ่งโรงพยาบาลออกเป็น 2 ระดับชั้น คือฝั่งโรงพยาบาลที่บริการประชาชนทั่วไป กลับฝั่งโรงพยาบาลที่บริการประชาชนแบบพรีเมี่ยม โดยนำงบประมาณจากรัฐบาลซึ่งเป็นภาษีของประชาชน มาพัฒนาโรงพยาบาลให้คล้ายกับโรงพยาบาลเอกชน บริการอย่างรวดเร็วทันสมัย และได้รับการรักษาโดยตรงจากอาจารย์แพทย์ และมีสิทธิ์ใช้ห้องพิเศษได้ทันที แต่ต้องจ่ายเงินสดหรือใช้สิทธิ์อื่นๆตามนโยบาย ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนด แต่ในฝั่งของที่ต้องบริการประชาชนทั่วไป กลับมีแพทย์ระดับปฏิบัติการ มาบริการประชาชนโดยส่วนใหญ่ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆก็ไม่เพียงพอ เช่นที่นั่ง พัดลมระหว่างพักคอยและที่อยู่ของญาติ เป็นต้น การนำเอาภาษีของประชาชน เพื่อมาแสวงหารายได้เข้าโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และแยกการบริการออกเป็น 2 แบบนี้ สามารถทำได้หรือไม่ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และใช้อำนาจระเบียบข้อบังคับใดในการสั่งการ
จึงขอสอบถามผู้รู้ทุกคน เพื่ออธิบายให้ผมเข้าใจ
ปล.ตอนนี้ 1.ได้ประสานไปยังสปสช. โดยประสานไปยังสายด่วน และสปสช.เขต 17 สงขลา เพื่อขอคำชี้แจง แต่ไม่มีข้อมูลชี้แจงประการใด จากสปสช. แต่ให้ทางผมทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเรียกร้องเรื่องนี้ต่อ สปสช. เขต 17 สงขลาแทน โดยที่ สปสช.เขต 17 สงขลา ไม่ได้ช่วยประสานโดยเร่งด่วนให้สามารถจองห้องพิเศษได้แต่อย่างไร
2.และได้ประสานฝ่ายสิทธิประโยชน์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อขอดูระเบียบคำสั่งข้อบังคับหรือนโยบายที่ออกมา ว่าใช้อำนาจหน้าที่ตามข้อไหน และออกมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอนนี้ยังไม่ได้ติดต่อกลับมาครับ
ผมไม่ได้หวังว่าภรรยาของผมจะได้ห้องพิเศษภายในวันนี้ หรือในขณะที่กำลังรักษาตัวอยู่ณขณะนี้ แต่ผมขอถามนะที่นี่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขและทวงสิทธิ์ของประชาชนที่ถูกละเมิดมากกว่า 10 ปี โดยที่ไม่มีใครเรียกร้องมาก่อน และหากผมไม่ออกมาเรียกร้อง อีก 20 ปีข้างหน้า ก็ยังอาจเป็นระบบนี้อยู่ ที่ประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ถูกกีดกันจากการบริการของรัฐ โดยเฉพาะประชาชนของ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้ บริการจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์