ทำไมคนชอบบอกว่า ต่างจังหวัดจ่ายภาษีเลี้ยงกรุงเทพ แต่ไม่มีอะไรพัฒนา

กระทู้คำถาม
ทั้งที่ความจริง ตรงกันข้ามเลย มีแต่กรุงเทพกับภาคตะวันออกที่ต้องเจียดเงินงบประมาณไปเลี้ยงจังหวัดยากจนเหล่านี้ ที่แทบไม่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆ โดยเฉพาะแถบภาคอีสานกับเหนือ สูบงบประมาณมหาศาลมาก แต่แทบไม่เสียอะไร แล้วก็ไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นด้วย และก็ชอบอ้างว่า ไม่กระจายความเจริญ ทั้งๆที่ ดูดงบเค้าราวกับปลิงมาแล้ว อำนาจส่วนท้องถิ่นก็มีในระดับที่พอตัดสินใจเองได้ แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สรุปคือ รัฐบาลท้องถิ่นห่วยแตกเอง วิสัยทัศน์ไม่มี แถมคนท้องถิ่นก็เอาแต่ย้ายเข้ามา  แล้วจะกระจายความเจริญยังไง ในเมื่อทุกอย่างมันสวนทางกัน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
มีข้อมูลของปี 2553 อาจจะเก่าหน่อยแต่ก็พอเทียบเคียงได้    



1. ภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บจากจังหวัดต่างๆ และการจัดสรรงบประมาณลงสู่จังหวัด

หากไม่นับรวมกรุงเทพมหานครแล้ว จังหวัดส่วนใหญ่สามารถระดมทรัพยากรในรูปของภาษีอากรให้แก่รัฐ ได้ประมาณ 1.14 หมื่นล้านบาทในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรลงไปในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2.05 หมื่นล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครนั้น ประชาชน (รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ ที่ตั้งในพื้นที่ กทม.) ต้องแบกรับภาระภาษีมากกว่างบประมาณที่รัฐจัดสรรกลับคืนมาให้สูงกว่า 5 เท่าตัว





2. จังหวัดใดที่ “ครองแชมป์” และ “ครองบ๊วย” ในการเก็บภาษีอากร?

จังหวัดใดที่จ่ายภาษีอากรให้แก่รัฐเป็นจำนวนเงินสูงที่สุดและต่ำที่สุด? ข้อมูลในตารางที่ 2 ต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพมหานครสามารถสร้างรายได้ภาษีอากรให้แก่รัฐเป็นจำนวนเงินสูงที่สุดในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งสามารถจัดเก็บภาษีอากรได้ประมาณ 9.14 แสนล้านบาท ตามด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ และปทุมธานี ซึ่งจังหวัดเหล่านี้ต่างเป็นฐานที่ตั้งของธุรกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ จึงสามารถสร้างรายได้ให้แก่รัฐได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

ในทางตรงกันข้าม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระนอง และสตูล จัดเก็บภาษีอากรได้ต่ำที่สุด ซึ่งมีจำนวนระหว่าง 543.8 ถึง 710.8 ล้านบาทในปีเดียวกัน จึงเห็นได้ว่ามีขนาดที่แตกต่างกับรายได้ภาษีอากรของกรุงเทพมหานครราว 1,682 เท่าตัว





3. จังหวัดใด “ได้รับงบประมาณ” มากกว่า “จ่ายภาษีอากร” ให้แก่รัฐ?

จังหวัดใดได้รับงบประมาณมากกว่าจานวนเงินภาษีอากรที่จ่ายให้แก่รัฐ? ข้อมูลในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าจังหวัดอำนาจเจริญได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐราว 9.7 พันล้านบาทในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าภาษีอากรที่จัดเก็บได้ในจังหวัดราว 13 เท่าตัว ในทำนองเดียวกัน จังหวัดนราธิวาส นครพนม และแม่ฮ่องสอนได้รับงบประมาณในสัดส่วนที่สูงกว่าเงินภาษีอากรที่นำส่งให้แก่รัฐราว 12 เท่าตัว





4. จังหวัดใด “จ่ายภาษีอากร” มากกว่า “ได้รับงบประมาณ” จากรัฐ?

หากตั้งคำถามว่าการกระจายภาระภาษีระหว่างจังหวัดต่างๆ มีความ “เป็นธรรม” ตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ เราอาจพิจารณาได้จากจำนวนภาษีอากรที่จังหวัดหนึ่งๆ ได้จ่ายให้แก่รัฐเปรียบเทียบกับขนาดของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้ ข้อมูลในตารางที่ 4 ชี้ให้เห็นว่าจังหวัดที่เป็นฐานที่ตั้งหลักในทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะระยอง กรุงเทพมหานคร และชลบุรี จะต้องแบกรับภาระภาษีอากรประเภทหลัก ในสัดส่วนที่สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยที่จังหวัดเหล่านี้มีสัดส่วนของการนำส่งรายได้ให้แก่รัฐสูงกว่าจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับในปี 2553 ราว 3 ถึง 7 เท่าตัว





5. ภาระภาษีอากรต่อระดับรายได้ของประชากร

จังหวัดที่รวยและจนแบกรับภาระภาษีอากรในสัดส่วนที่แตกต่างกันหรือไม่? ตารางที่ 6 แสดงสัดส่วนภาระภาษีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด (Gross Provincial Products: GPP) ซึ่งทั้งประเทศมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 8.2 ของ GPP ในกรณีของกรุงเทพมหานครจังหวัดเดียวนั้นแบกรับภาระภาษีในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 47.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของกรุงเทพมหานคร

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่