แรงกรรมไม่มีกาลเวลา หมายความว่า มีเหตุต้องมีผล
อโหสิกรรม แปลว่า เหตุนั้นได้เคลียร์แล้ว บุคคลที่เป็นแรงแห่งเหตุนั้นได้เคลียร์แล้วหมายความว่า "เคยตีเขาแล้ว" แล้วบอกว่าตรงนี้ "ไม่ได้ตีเขาแล้ว" อย่างนี้ไม่ใช่ เพียงแต่ "การตี" ยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าเขาไม่เอาเรื่อง
เราจะไม่ใช้คำว่า แรงกรรม"ไม่มีกาลเวลา" เปลี่ยนมาใช้เป็น "แรงกรรมไม่ขึ้นตรงต่อกาลเวลา" อย่างนี้ได้ไหม?
อย่างนี้ไม่ได้ เพราะคนทั่วไปอาจจะงง ถ้าหากว่าไม่ขึ้นต่อกาลเวลา แสดงว่า "กรรมเหนือกาลเวลา" นะสิ?
แรงกรรมนี้ไม่ได้เหนือกาลเวลา แต่เป็นเหตุต่อเนื่อง "เหตุ" นั้นยังอยู่ แสดงว่า "ผล" นั้นยังอยู่
ถ้าใช้คำว่า แรงกรรม "ไม่จำกัดกาลเวลา" อย่างนี้จะได้ไหม?
ก็ไม่ได้ ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย
คำว่า "ไม่มีกาลเวลา" หมายถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต มารวมกันหมด มีเหตุ ก็ต้องมีผล
อดีตเราสร้างเหตุอย่างนี้ จะต้องส่งผลปัจจุบัน ปัจจุบันผลตรงนี้ก็จะส่งผลต่ออนาคตใช่ไหม? กลายเป็นเหตุของอนาคต
ยกตัวอย่าง
ผู้หญิงตีผู้ชาย ผู้ชายก็เจ็บ และกลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่มีเหตุส่งผลปัจจุบันเราเจ็บ ปัจจุบันเราเจ็บจะส่งผลถึงอนาคตที่ว่าเรา "แค้นอาฆาต"เขา ถ้ามีโอกาสก็จะเอาคืน นี่แหละ มีเหตุ ก็จะมีผล ฉะนั้น เราจะต้องเคลียร์ที่เหตุ สมมติว่า เราเคลียร์ที่เหตุแล้ว ก็จะไม่จองกันแล้ว ผู้ชายอโหสิกรรมให้กับผู้หญิงแล้ว คือ ไม่เอาเรื่องกับผู้หญิง เหตุนั้นก็ได้รับการเคลียร์แก้ไขแล้ว พอได้รับการเคลียร์ ผลนั้นก็เปลี่ยน
ถ้าหากว่าอโหสิกรรมแล้ว แต่ยังโกรธแค้นเขาอยู่ จองเวรเขาอยู่ล่ะ?
แล้วอย่างนั้นจะเรียกว่าอโหสิกรรมได้ยังไง!!! อย่างนั้นอโหสิกรรมปลอม เป็นการหลอกตัวเอง ฉะนั้นเราอย่าหลอกตัวเองดีกว่า
อโหสิกรรม แปลว่า ไม่ถือสาต่อกัน ยกเลิกต่อกัน
คำว่า "ให้อภัย" ยังแปลความหมายอ่อนกว่า เพราะว่า อภัยนี้แปลว่า เขาผิด เราให้อภัยแก่เขา ยกตัวอย่าง เขาขโมยเงินเรา เราให้อภัยแก่เขา เป็นต้น แต่อโหสิกรรม คือ ไม่ถือสา เปรียบเสมือนเหตุการณ์ตรงนั้นไม่เกิดขึ้นเลย จะถอยไปที่สุดท้าย ไม่เกิดขึ้นเลย
แล้วเราจะคิดยังไงไม่ถือสาต่อกัน?
ก็คือ เราไม่จองเวร ก็ไม่ถือสาต่อกัน ถ้าเราจองเขา แล้วคนอื่นเขาจะจองเราไหมล่ะ? หรือว่าเราทำคนเดียว เราก็ต้องคิดว่าเราเคยไปทำคนอื่น เขาก็จะจองเวรเราเหมือนกัน
แรงกรรม ไม่มีกาลเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุและผล
อโหสิกรรม แปลว่า เหตุนั้นได้เคลียร์แล้ว บุคคลที่เป็นแรงแห่งเหตุนั้นได้เคลียร์แล้วหมายความว่า "เคยตีเขาแล้ว" แล้วบอกว่าตรงนี้ "ไม่ได้ตีเขาแล้ว" อย่างนี้ไม่ใช่ เพียงแต่ "การตี" ยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าเขาไม่เอาเรื่อง
เราจะไม่ใช้คำว่า แรงกรรม"ไม่มีกาลเวลา" เปลี่ยนมาใช้เป็น "แรงกรรมไม่ขึ้นตรงต่อกาลเวลา" อย่างนี้ได้ไหม?
อย่างนี้ไม่ได้ เพราะคนทั่วไปอาจจะงง ถ้าหากว่าไม่ขึ้นต่อกาลเวลา แสดงว่า "กรรมเหนือกาลเวลา" นะสิ?
แรงกรรมนี้ไม่ได้เหนือกาลเวลา แต่เป็นเหตุต่อเนื่อง "เหตุ" นั้นยังอยู่ แสดงว่า "ผล" นั้นยังอยู่
ถ้าใช้คำว่า แรงกรรม "ไม่จำกัดกาลเวลา" อย่างนี้จะได้ไหม?
ก็ไม่ได้ ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย
คำว่า "ไม่มีกาลเวลา" หมายถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต มารวมกันหมด มีเหตุ ก็ต้องมีผล
อดีตเราสร้างเหตุอย่างนี้ จะต้องส่งผลปัจจุบัน ปัจจุบันผลตรงนี้ก็จะส่งผลต่ออนาคตใช่ไหม? กลายเป็นเหตุของอนาคต
ยกตัวอย่าง
ผู้หญิงตีผู้ชาย ผู้ชายก็เจ็บ และกลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่มีเหตุส่งผลปัจจุบันเราเจ็บ ปัจจุบันเราเจ็บจะส่งผลถึงอนาคตที่ว่าเรา "แค้นอาฆาต"เขา ถ้ามีโอกาสก็จะเอาคืน นี่แหละ มีเหตุ ก็จะมีผล ฉะนั้น เราจะต้องเคลียร์ที่เหตุ สมมติว่า เราเคลียร์ที่เหตุแล้ว ก็จะไม่จองกันแล้ว ผู้ชายอโหสิกรรมให้กับผู้หญิงแล้ว คือ ไม่เอาเรื่องกับผู้หญิง เหตุนั้นก็ได้รับการเคลียร์แก้ไขแล้ว พอได้รับการเคลียร์ ผลนั้นก็เปลี่ยน
ถ้าหากว่าอโหสิกรรมแล้ว แต่ยังโกรธแค้นเขาอยู่ จองเวรเขาอยู่ล่ะ?
แล้วอย่างนั้นจะเรียกว่าอโหสิกรรมได้ยังไง!!! อย่างนั้นอโหสิกรรมปลอม เป็นการหลอกตัวเอง ฉะนั้นเราอย่าหลอกตัวเองดีกว่า
อโหสิกรรม แปลว่า ไม่ถือสาต่อกัน ยกเลิกต่อกัน
คำว่า "ให้อภัย" ยังแปลความหมายอ่อนกว่า เพราะว่า อภัยนี้แปลว่า เขาผิด เราให้อภัยแก่เขา ยกตัวอย่าง เขาขโมยเงินเรา เราให้อภัยแก่เขา เป็นต้น แต่อโหสิกรรม คือ ไม่ถือสา เปรียบเสมือนเหตุการณ์ตรงนั้นไม่เกิดขึ้นเลย จะถอยไปที่สุดท้าย ไม่เกิดขึ้นเลย
แล้วเราจะคิดยังไงไม่ถือสาต่อกัน?
ก็คือ เราไม่จองเวร ก็ไม่ถือสาต่อกัน ถ้าเราจองเขา แล้วคนอื่นเขาจะจองเราไหมล่ะ? หรือว่าเราทำคนเดียว เราก็ต้องคิดว่าเราเคยไปทำคนอื่น เขาก็จะจองเวรเราเหมือนกัน