พระร่วงหลังรางปืน คราบกรุเกาะแน่น

ถ้ากล่าวถึงพระกรุเก่าที่เป็นยอดนิยมของจังหวัดและสร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ ต้องยกให้ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งแตกกรุเมื่อประมาณปีพ.ศ.2493 บริเวณพระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดพระปรางค์" โบราณสถานที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้นคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
พระร่วงหลังรางปืนมีพุทธศิลปะสมัยลพบุรี แบบเขมรยุคบายน ในราวปีค.ศ.13 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมเรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่ "ขอม" เป็นผู้สร้างและบรรจุไว้ในพระปรางค์ องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 8 ซ.ม. และกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม.
องค์พระประธานประทับยืน ปางประทานพร สวมหมวกออกศึกแบบโบราณที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" ภายในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นแบบ "ซุ้มกระจังเรือนแก้ว" ด้านหลังมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ "มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์พระ
ต่อมาปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดจากภยันตรายในเรื่องของปืน อีกทั้งร่องกาบหมากนั้นมีลักษณะคล้าย "ร่องปืนแก๊ป" จึงขนานนามใหม่ว่า "พระร่วงหลังรางปืน" มาถึงปัจจุบัน ลักษณะร่องรางยังแบ่งได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่องรางกว้าง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่