5 เคล็ดลับลดพลาสติกที่ใครๆก็ทำได้


รู้หรือไม่ว่า ชีวิตสุดแสนสะดวกสบาย การชอปปิ้งสินค้าและอาหารจากห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านอาหาร
ทำให้เราทุกคนเพิ่มปริมาณขยะจำนวนมากโดยไม่รู้ตัว ทั้งขวดน้ำ แก้วกาแฟ หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องอาหาร รวมถึงช้อนส้อม
การเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่ายๆ
โดยเฉพาะเมื่อเรามีชีวิตอยู่ในสังคมที่เร่งรีบและต้องพึ่งพาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกตลอดเวลา
 


ปัจจุบันประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีขยะในทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 6 จาก 192 ประเทศทั่วโลก[1] 
เพราะมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณปีละ 2 ล้านตันและมีการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เพียงปีละ 0.5 ล้านตันเท่านั้น 
ที่เหลืออีก 1.5 ล้านตัน ส่วนมากเป็นเศษขยะพลาสติกที่ปนเปื้อน ย่อยสลายได้ยาก และต้องใช้ระยะเวลานานนับร้อยปีในการย่อยสลาย 



ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเท่าไหร่นัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพูดถึงและเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็นการลดการใช้พลาสติกค่อนข้างน้อย ทำให้สังคมไทยมีความอ่อนไหวต่อการใช้พลาสติกในระดับที่ต่ำตามไปด้วย
 

ในวันนี้ปัญหาขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากขึ้น 
ไลฟ์สไตล์รักษ์โลก ลดปริมาณขยะพลาสติก จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป 

จากการที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นเรื่องขยะพลาสติกเป็นประเด็นหลักในการรณรงค์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2561 “Beat Plastic Pollution : If you can’t reuse it, refuse it” หรือโครงการ “รักษ์โลก เลิกพลาสติก” 
เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มมองหาวิธีการเป็นส่วนหนึ่งในพลัง ช่วยกันผลักดันแก้ไขปัญหานี้ให้หมดไป
 


การปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์เพื่อลดปริมาณขยะสามารถทำได้ง่ายๆ 
เพียงแค่เริ่มจากการมีทัศนคติที่ดี มีความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนความเคยชินอย่างค่อยเป็นค่อยไป  
โดยเริ่มจากสิ่งเล็กๆเหล่านี้ 


 
1.      เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถหมุนเวียนมาใช้อีกได้ ทำจากวัสดุรีไซเคิล หรือสามารถรีไซเคิลได้
เช่น ถ่านแบบชาร์จไฟได้ หรือขวดแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษห่อ กล่องซีเรียล
ซึ่งหากไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำก็สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สะดวกในการจัดเก็บและนำไปจัดการต่อไปได้
เพียงแค่ล้างให้สะอาดก่อนนำไปทิ้ง เพื่อช่วยให้ขยะเหล่านี้ไม่ถูกจัดเป็นขยะปนเปื้อน
เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถนำไปแยกประเภทและส่งเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ทันที


2.      บริจาคหรือขายสิ่งของที่เราไม่ต้องการ ให้กับหน่วยงานหรือคนที่ต้องการ แทนการนำไปทิ้ง 
สิ่งของทุกชิ้นจะได้มีการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยในการลดภาษี หรือได้เงินกลับมาอีกด้วย


3.      เลือกผลิตภัณฑ์หรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้นาน 
จะได้ไม่ต้องทิ้งและซื้อใหม่บ่อยๆ เป็นการประหยัดเงินและช่วยลดขยะให้กับโลกไปพร้อมๆกัน 


4.      พยายามลดปริมาณขยะให้ได้มากที่สุด 
เช่น ซื้อสินค้าที่เป็นชนิดเติม (Refill) และซื้อผลิตภัณฑ์ที่เรามักใช้ประจำในปริมาณมาก 
จะช่วยลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้าได้ และยังทำให้เราได้สินค้าในราคาที่ถูกลงอีกด้วย 

การโหลดเอกสารเก็บเป็นไฟล์ในคอมพิวเตอร์แทนการปริ้นท์ 
การนำถุงผ้ามาใช้แทนการรับถุงพลาสติกเวลาจับจ่ายซื้อของ 
หรือนำกล่องข้าวและช้อนส้อมส่วนตัวมาใช้เมื่อต้องการห่ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้าน 
ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ช่วยลดปริมาณขยะได้ปริมาณมหาศาล


5.      ไม่รับบรรจุภัณฑ์หรืออุปกรณ์อุปโภคบริโภคพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง 
เช่น ไม่รับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของน้อยชิ้น มีขนาดเล็กถือง่ายหรือใส่กระเป๋าได้ 
ไม่รับแก้วกาแฟหรือแก้วน้ำ รวมถึงหลอดดูดน้ำพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง และนำแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้แทน 
โดยจะดื่มจากภาชนะที่สะอาดโดยตรงหรือใช้หลอดที่ทำจากสเตนเลสหรือแก้วซึ่งสามารถนำมาล้างแล้วใช้ใหม่ก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวก 

เลิกซื้อน้ำบรรจุขวดพลาสติกและนำกระติกน้ำส่วนตัวมากดน้ำที่ตู้บริการ
หรือติดตั้งเครื่องกรองน้ำไว้ก็เป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด
เพราะนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังคุ้มค่าในระยะยาวอีกด้วย


การติดตั้งเครื่องกรองน้ำมีคุณประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ด้านสุขภาพไปถึงสามารถช่วยประหยัดและลดค่าใช้จ่าย 
แต่จะดีแค่ไหนถ้าเครื่องกรองน้ำนี้ได้มาตรฐาน ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพน่าไว้วางใจ โดยมีดีไซน์หรูหราดูดีด้วย
 
การติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง มีความทนทาน เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด
ทั้งยังตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน
เพราะการลดปริมาณขยะย่อมง่ายและดีกว่าที่จะนั่งคิดวิธีจัดการกับขยะที่เกิดขึ้นในภายหลัง
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะทำให้เกิดผลประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อส่วนรวม เพื่ออนาคตที่สดใส ไร้ขยะของพวกเราทุกคน 
 

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสตีเบล เอลทรอน 
ได้ที่ www.facebook.com/stiebeleltronasia หรือ http://www.stiebeleltronasia.com



[1] ข้อมูลจากรมควบคุมมลพิษและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2561
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่