สามารถฟังเป็นคลิปเสียงได้ตามลิงก์ข้างล่างได้เลยครับ
https://youtu.be/VU9sOjPBZpQ
การฟังเพลงในโลกยุคปัจจุบัน คนเราสามารถเลือกฟังกันได้หลากหลายช่องทาง เพียงแค่ หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมา
ก็สามารถเลือกฟังเพลงออนไลน์ หรือเพลงที่เราดาวน์โหลดเก็บเอาไว้ภายในเครื่องแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส
แล้วคุณผู้ชมรู้หรือไม่ ครับว่า ก่อนที่เราจะมาฟังเพลงกันในรูปแบบดิจิตอลนั้น การฟังเพลงในสมัยอดีต
เขาต้องให้เครื่องเล่น เพลงกันแบบไหนและมีหน้า เป็นมาอย่างไรกันบ้าง
สวัสดีครับ มีเรื่องไรเล่า ใน ตอนนี้ ผมก็จะมาเล่าถึง แต่ละยุคสมัย ในอดีต ว่ามนุษย์เราผ่านการใช้งาน
อุปกรณ์การฟังเพลงอะไรกันมาแล้วบ้าง จาก กระบอกบันทึกเสียง มาสู่ระบบ ดิจิทัล
ย้อนกลับไปตั้งแต่อดีตที่มนุษย์เริ่มมีอารยธรรม เสียงดนตรีนั้น
ก็เริ่มต้นเกิดขวบคู่กันขึ้นมา การสร้างเสียงดนตรีของคนเราก็เริ่มจากง่ายๆ ก่อนเลยก็ผิวปาก เอาเศษไม้มาตีกระทบกัน
และจากนั้นก็ค่อยๆ มีการเริ่มสร้างเครื่องดนตรีเกิดขึ้นมา พอมีเครื่องดนตรี ก็เริ่มมีการสร้างท่วงทำนอง
เริ่ม มีรูปแบบในการเล่นเครื่องดนตรีมีการสร้างตัวโน๊ตทางดนตรีต่างๆ เกิดขึ้นมา สุนทรีย์ทางดนตรีก็มีแล้ว
ผู้ฟังเสียงดนตรีเหล่านี้ละ เขาจะหาฟังเพลงกันได้จากที่ไหน
การฟัง เพลงกันสำหรับในยุคเริ่มแรก ต้องเรียกได้ว่าหาฟังเอาได้จากการเล่น ดนตรีสดๆ เท่านั้น
ที่ไหนมีงาน ที่นั่นก็ย่อมจะมีเสียงดนตรี นั้นก็เป็นเพราะว่าในยุคสมัยนั้นยังไม่มีการบันทึกเสียง
และเครื่องเล่นเสียงเพลงแต่อย่างใด วันเวลาก็ได้ผ่านไป
มนุษย์ของเราก็เริ่มมีแนวความคิดที่จะทำการบันทึกเสียงต่างๆ ที่เราได้ยินได้ฟังกันเกิดขึ้นมา
จนกระทั่งในปี 1857 รีออน สก๊อต ก็สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถบันทึกเสียงได้
เรียกว่า "Phonautograph"
เจ้าเครื่อง Phonautograph มันจะสามารถบันทึกเสียงของเราผ่านกระบอกทรงกรวย โดยที่ถ้าเราพูดอะไรออกไป
คลื่นเสียงของเราก็จะถูกส่งผ่านไปที่เข็มปลายกรวย แล้วมันก็จะกรีดลงบนกระบอกอัดเสียง ที่ทำมาจากกระดาษรมควัน
ก็จะรับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง จนเกิดเป็นร่องเสียงที่ถูกบันทึกเอาไว้ยังกระบอกนี้
โดยที่ในขั้นตอนการบันทึกเสียงนั้นเราก็จะต้องเป็นคนเอามือหมุนไอ้เจ้ากระบอกเสียงที่เรากำลังบันทึกไปด้วย
เรียกได้ว่าเป็นเครื่องแมนนวล สุดๆ ในยุคเริ่มต้น แต่ว่าไอ้เจ้าเครื่อง Phonautograph นี้ มันบันทึกได้แต่เสียง
แต่มันไม่สามารถ นำเจ้ากระบอกเสียงที่เราบันทึกเอากลับมาฟังได้
ต่อมา อีก20ปี ในปี1877ก็มีนักประดิษฐ์ คนหนึ่งที่ใช้หลักการของเจ้าเครื่อง Phonautograph
มาพัฒนาต่อยอดในการบันทึกเสียงแล้วยังสามารถ นำเสียงที่เราบันทึกไปแล้วนั้น กลับมาฟังได้อีกครั้ง
เจ้าเครื่องนี้ถือว่าเป็นอุปกรณ์การพังเสียงที่เราบันทึก ได้เป็นเครื่องแรกๆ เลยก็ว่าได้
และมันก็ยังจะไปเป็นต้นแบบ ให้อุปกรณ์อื่นๆ ในยุคต่อไป อีกด้วย
มันคือเครื่อง "Phonograph"
โดยที่หลักการทำงานก็จะคลายกันกับเจ้าเครื่องของ Phonotograph ของคุณสก๊อต แต่ว่าจะตัวเครื่อง
Phonograph มีความพิเศษกว่าก็คือ มันจะมีลานใช้หมุนเวลาที่เราจะฟังหรือบันทึกเสียง ส่วนตัวเจ้ากระบอกเสียงที่ถูกบันทึกนั้น
ไม่ได้ใช้เป็นกระดาษรมควันอย่างเก่าแล้วแต่ถูกพัฒนามาใช้เป็นขี้ผึ้งเคลือบผิวของกระบอกเสียงเอาไว้
แต่ไอ้เจ้ากระบอกเสียงที่ทำจากขี้ผึ้งนี้ก็มีข้อเสียเป็นคือมันไม่สามารถนำกลับมาเล่นซ้ำได้บ่อยๆ คือเล่นกันไปไม่กี่ครั้ง
ร่องเสียงก็ชำรุดก็จะเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงทำให้เจ้าเครื่องนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแต่อย่างใด ส่วนนักประดิษฐ์ไอ้เจ้าเครื่อง
Phonograph ที่ว่านี้ก็คือ โทมัส อันวาเอดิสัน
จะเห็นได้ว่าตลอดเวลา มนุษย์เราก็ได้ พยายามคิดค้นและหาวิธี ในการบันทึกเสียงเพื่อนำกลับมาฟังใหม่กันให้ได้
แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์อะไร ที่จะทำให้เราสามารถ ฟังเพลงกันได้เลย ในตอนนั้นจะมีก็ยังคงมีต้องไปฟัง
การเล่นดนตรีกันสดๆ อย่างเดียวเท่านั้น
แต่วิธีการและอุปกรณ์การบันทึกเสียงนั้นก็ยังคงถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 1887 Emile Berliner
นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ก็ได้นำหลักการของไอ้เจ้าเครื่อง Phonograph ของโทมัสอันวา เอดิสันนำมา ต่อยอด
จากเดิมที่เคยใช้เป็นรูปทรงกระบอก เขาได้เปลี่ยน วิธีการมาใช้เป็นแบบแผ่นในแนวราบ
โดยนำเอาแผ่นสังกะสีตัดออกมาให้เป็นทรงกลมเเล้วก็เอาขี้ผึ้งมาผสมกับน้ำมันเคลือบไปที่แผ่นสังกะสี
และก็ใช้ไอ้เจ้าแผ่นนี้แหละครับในการบันทึกเสียง ต่อมาในปี 1891 คุณ emil Berliner ก็ได้พัฒนาเจ้าแผ่นสังกะสีเคลือบขี้ผึ้ง
ผสมน้ำมัน มาเป็น ยางที่ย้อมสีดำกับน้ำมันแชล็คผสมขี้ครั่ง จึงได้ใช้ไอ้เจ้าแผ่นทรงกลม ที่มีความแข็งแรงมา
เอาไว้ใช้ในการบันทึกเสียง และนอกจากนี้คุณ emile berliner ก็ยังได้พัฒนาอุปกรณ์จะเอาไว้ฟังไอ้เจ้าแผ่นทรงกลมนี้
ออกมาด้วย มันก็คือเครื่อง "Gramophone"
โดยที่กลไกการทำงานของมันก็คือ เมื่อเราจะฟังเพลง ก็จะต้องไปไขลาน ที่ตัวเครื่อง จากนั้นเครื่องมันก็จะหมุนแล้วเรา
ก็เอาเข็มที่ตัวเครื่อง จี้ลงไปที่แผ่นเสียงทรงกลมๆสีดำ ไปตามร่องเสียงเสียงเพลงที่ถูกบันทึก เคลื่อนเสียงมันก็จะถูกขยายให้ดัง
ออกมาจากลำโพง ที่มีลักษณะคล้ายกับแตร เสียมันก็จะอยู่ในโทนทุ้มต่ำอู้ๆ อี้ๆ หน่อยนะครับ แต่ในยุคนั้น การฟังดนตรีผ่านไอ้เจ้า
เครื่องGramophone ได้นี้ ก็ถือว่าสุดจัดแล้วครับในยุคนั้น หลังจากนั้นไอ้เจ้าเครื่อง Gramophone จึงได้รับความนิยมไปทั่ว
เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติในการฟังดนตรีในยุคนั้นได้เลยก็ว่า ได้เพราะไอ้เจ้า Gramophone นี้มันได้ถูกผลิต
มาใช้งานคู่กับแผ่นเสียงสีดำๆ ออกขายกันไปทั่วโลก
การฟังดนตรีในรูปแบบส่วนบุคคล ในยุคนั้นก็เรียกได้ว่า ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะถ้าบ้านใครมีไอ้เจ้า
Gramophone ก็จะสามารถเปิดฟังดนตรีจากแผ่นเสียงตอนไหนก็ได้ ถือได้ว่านี้คือจุดเริ่มต้นของการฟังดนตรีในรูปแบบส่วนบุคคล
เลยก็ว่าได้ ไอ้เจ้าเครื่อง Gramophone ก็ได้รับความนิยมในประเทศไทยอยู่เหมือนกันนะครับ โดยเข้ามาในประเทศไทยประมาณ
ปลายรัชกาลที่4 โดยในสมัยนั้น เราจะยังไม่ได้เรียกว่าแผ่นเสียงนะครับคนไทยสมัยนั้นจะเรียกว่า จานเสียงนั้นก็เป็นเพราะด้วยขนาด
ของแผ่นที่ใหญ่ 10-12 นิ้วมีความหนา3-4 มิลและมีน้ำหนักมาก แตกได้ง่ายคล้ายๆ กับกระเบื้องเซรามิก ในสมัยนั้นเราก็จะนำมาใช้
ในการบันทึกเสียงวงปี่พาทย์ฟังกัน
ต่อจากในยุคของเจ้า Gramophone นั้นก็ได้ถูกพัฒนาวิธีการบันทึกเสียง และในส่วนของเจ้าแผ่นเสียงก็ได้ถูกพัฒนาควบคู่ไปด้วย
เช่นกัน เพื่อให้ได้อรรถรสในการรับฟังเสียงที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ปี 1948 แผ่นเสียงก็ได้ถูกพัฒนาในยุคต่อมาให้มีส่วนผสมของพลายสติกเข้าไปด้วยเพื่อความยืดหยุ่นและความคงทนแข็งแรงและ
ยังทำให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งนี้ตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียงเองก็ได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วรอบในการหมุนแผ่นได้
เร็วขึ้น เข็มที่ใช้ในการจี้ลงไปที่แผ่นก็มีคุณภาพในการแปลงคลื่นเสียงได้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก จากที่ต้องมาใช้มือหมุนลานกับเครื่อง
Gramophone ในตอนนี้เราก็ไม่ต้องใช้มือหมุนแล้วครับ เปลี่ยนมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าแทน มันจึงเกิดเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงใหม่
ที่เรียกกันว่า "Turntable"
และก่อนที่เราเปลี่ยนผ่านวิธีการรับฟังดนตรีกันในยุคต่อไป ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี1930 เป็นต้นมา
มนุษย์เรานอกจากจะฟังดนตรีผ่านไอ้เจ้าแผ่นเสียงกันแล้วเราก็ยังมีอีกหนึ่งช่องทางในการรับฟังดนตรีได้ นะครับ คือวิธีอะไร
ลองเดาเล่นๆ กันดูไหมครับ ...................ทายถูกกันไหมเอ่ย
คนยุคนั้นเริ่มฟังดนตรีผ่านทางวิทยุกันครับ เพราะในปี 1885 มีนักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมันที่มีชื่อว่า ไฮน์ริช เฮิรตซ์
สามารถ ประดิษฐ์เครื่องมือที่นำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศ มาแปลงเป็นสัญญาณในการสื่อสารได้สำเร็จ จากนั้นในเวลาต่อๆ
มา ผลงานของเขาก็ได้ถูกพัฒนาในทางการทหารเป็นวิทยุสื่อสาร จนกระทั่ง ก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นวิทยุกระจายเสียงที่ใช้ในการ
รายงานข่าว และก็ถูกพัฒนามาเป็นสถานีวิทยุในปี1930 เป็นต้นมา
และชื่อของเฮิทร์จึงได้รับยกย่องให้เป็นหน่วยความถี่ของสัญญาณวิทยุ นั้นเองครับ
มาต่อกันที่เจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียงTurntable ในปี 1957 ก็ได้มีการถูกพัฒนาให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลง
ได้เท่ากับขนาดกระเป๋าหิ้วความกว้างประมาณ10นิ้ว เพื่อที่จะสามารถพกพาไปไหนมาไหนก็ได้
จนมาถึงในช่วงที่พีคที่สุดของเจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียก็อยู่ในปี1970 ยุค70ช่วงเวลาของดนตรีแห่งเสรีภาพ ของเหล่าบุปผาชน
ในช่วงเวลานั้นน่าจะเรียกได้ว่าแทบทุกบ้าน ยังไงก็ต้องมีไอ้เจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันแน่ๆ
แต่ก็ด้วยข้อจำกัดของเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีขนาดที่ใหญ่ จะพกพาไปไหนก็ลำบาก บวกกับเทคโนโลยีการบันทึกเสียง
ในยุคนั้นก็ได้ถูกพัฒนาไปมากยิ่งขึ้น จึงได้มีอุปกรณ์ ชนิดใหม่ที่ใช้ในการรับฟังเพลง
มันคือเเทรกเทปหรือ เทป8 แทรก เจ้าแทรกเทปถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี1968 แล้วครับ
ก็ได้รับความนิยมแต่ไม่มาก ไอ้เจ้า แทรกเทป มันก็ยังไม่สามารถมาทดแทน แผ่นเสียงได้ในเวลานั้น เนื่องด้วย เจ้าตัวเครื่องเล่น
แทรกเทป มันจะมีก็เฉพาะติดอยู่ในรถยนต์ เป็นเสียเป็นส่วนใหญ่ เเละด้วยเจ้าลักษณะของเจ้าเเทรกเทป มันมีขนาดเท่าๆ
กับม้วนวิดีโอ แต่มีขนาดที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ก็ยังถือว่าใหญ่อยู่ดีในสมัยนั้น
เด็กๆ สมัยนี้อาจจะนึกไม่ออกว่าม้วนวิดีโอ หน้าตาเป็นอย่างไร ก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันดูนะครับ
และต่อมาเจ้าแทรกเทปก็ได้ถูกมาพัฒนามาเป็น เทปคาสเซ็ทในปี1980 เริ่มเข้าสู่ยุค อนาล็อก
เทปคาสเซ็ทนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของการฟังเพลงเลยก็ว่าได้ครับ เพราะ ไอ้เจ้าตัวเทปคาสเซ็ทนี้มีขนาดที่เล็ก ลงไปมาก
สามารถพกพาไปไหนก็ได้สะดวก จึงทำให้ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว
อีกทั้งอุตสาหกรรมทางด้านดนตรีก็กำลังพีคสุดๆ อยู่เหมือนกัน จึงทำให้แทบทุกบ้านจากเดิมที่เคยมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง
ก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทกัน
ในยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านในการฟังดนตรีอย่างแท้จริง เพราะไอ้เจ้าเทปคาสเซ็ทนี้ละครับ
และด้วยที่เทปคาสเซ็ทมันมีขนาดเล็ก พกพาง่าย จึงทำให้เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท เล็กลงตามไปด้วย
ในตอนนั้นการรับฟังดนตรีก็มีหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้นไปด้วยไม่ว่า จะทาง เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท เครื่องเล่นแผ่นเสียง
เปิดวิทยุ หรือแม้แต่เปิดดูเป็นภาพจากในทีวี ก็ยังได้
แต่สำหรับผมที่มันพีคที่สุดในยุคนั้นในการฟังเพลง ผมเชื่อเหลือเกินว่า เด็กยุค90 ทุกคนต้องเคยใช้มันในการฟังเพลง
[img]
https://f.ptcdn.info/256/071/000/qi6
มันคือ "Sound About" หรือถ้าเรียกกันแบบไทยๆ ว่าซาวเบ้าโดยที่เจ้าเครื่อง Sound About
นั้นการทำงานของมันก็แค่เราเอาเทปคลาสเซ็ทใส่เข้าไปที่ตัวเครื่องใส่ถ่าน 2ก้อน เสียบหูฟัง
เพียงเท่านี้เราก็สามารถฟังเพลงโปรดของเราได้แล้ว ด้วยตัวเครื่อง Sound About มีขนาดใหญ่กว่าเทปคาสเซ็ทไม่มาก
และมีน้ำหนักเบา มันจึงทำให้ Sound Aboutเป็นเครื่องเล่นแบบพกพาเป็นที่นิยมที่สุดๆ ในยุคนั้น
แต่ในเวลาเดียวกัน ในปี1982 ก็ได้มีการ คิดค้นการใช้แผ่นซีดี เกิดมาแล้วอีกด้วย แต่ว่าพวกเครื่องเล่นแผ่นซีดี ก็ยังไม่ค่อยได้
รับความนิยมมากนัก เนื่องด้วย ต้นทุนในการผลิต อีกทั้งเครื่องและแผ่นซีดี มีราคาแพงผู้คนจึงยังเข้าถึงกันได้ยาก
ความนิยมมาใช้แผ่นซีดี ก็จะมาพีคในช่วง ปลายยุค90-ปี2000 ในยุคนั้นเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของแผ่นซีดี
พัฒนาการของอุปกรณ์ ฟังเพลง จาก กระบอกบันทึกเสียง มาสู่ ระบบดิจิทัล
สามารถฟังเป็นคลิปเสียงได้ตามลิงก์ข้างล่างได้เลยครับ
https://youtu.be/VU9sOjPBZpQ
การฟังเพลงในโลกยุคปัจจุบัน คนเราสามารถเลือกฟังกันได้หลากหลายช่องทาง เพียงแค่ หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมา
ก็สามารถเลือกฟังเพลงออนไลน์ หรือเพลงที่เราดาวน์โหลดเก็บเอาไว้ภายในเครื่องแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส
แล้วคุณผู้ชมรู้หรือไม่ ครับว่า ก่อนที่เราจะมาฟังเพลงกันในรูปแบบดิจิตอลนั้น การฟังเพลงในสมัยอดีต
เขาต้องให้เครื่องเล่น เพลงกันแบบไหนและมีหน้า เป็นมาอย่างไรกันบ้าง
สวัสดีครับ มีเรื่องไรเล่า ใน ตอนนี้ ผมก็จะมาเล่าถึง แต่ละยุคสมัย ในอดีต ว่ามนุษย์เราผ่านการใช้งาน
อุปกรณ์การฟังเพลงอะไรกันมาแล้วบ้าง จาก กระบอกบันทึกเสียง มาสู่ระบบ ดิจิทัล
ย้อนกลับไปตั้งแต่อดีตที่มนุษย์เริ่มมีอารยธรรม เสียงดนตรีนั้น
ก็เริ่มต้นเกิดขวบคู่กันขึ้นมา การสร้างเสียงดนตรีของคนเราก็เริ่มจากง่ายๆ ก่อนเลยก็ผิวปาก เอาเศษไม้มาตีกระทบกัน
และจากนั้นก็ค่อยๆ มีการเริ่มสร้างเครื่องดนตรีเกิดขึ้นมา พอมีเครื่องดนตรี ก็เริ่มมีการสร้างท่วงทำนอง
เริ่ม มีรูปแบบในการเล่นเครื่องดนตรีมีการสร้างตัวโน๊ตทางดนตรีต่างๆ เกิดขึ้นมา สุนทรีย์ทางดนตรีก็มีแล้ว
ผู้ฟังเสียงดนตรีเหล่านี้ละ เขาจะหาฟังเพลงกันได้จากที่ไหน
การฟัง เพลงกันสำหรับในยุคเริ่มแรก ต้องเรียกได้ว่าหาฟังเอาได้จากการเล่น ดนตรีสดๆ เท่านั้น
ที่ไหนมีงาน ที่นั่นก็ย่อมจะมีเสียงดนตรี นั้นก็เป็นเพราะว่าในยุคสมัยนั้นยังไม่มีการบันทึกเสียง
และเครื่องเล่นเสียงเพลงแต่อย่างใด วันเวลาก็ได้ผ่านไป
มนุษย์ของเราก็เริ่มมีแนวความคิดที่จะทำการบันทึกเสียงต่างๆ ที่เราได้ยินได้ฟังกันเกิดขึ้นมา
จนกระทั่งในปี 1857 รีออน สก๊อต ก็สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถบันทึกเสียงได้
เรียกว่า "Phonautograph"
เจ้าเครื่อง Phonautograph มันจะสามารถบันทึกเสียงของเราผ่านกระบอกทรงกรวย โดยที่ถ้าเราพูดอะไรออกไป
คลื่นเสียงของเราก็จะถูกส่งผ่านไปที่เข็มปลายกรวย แล้วมันก็จะกรีดลงบนกระบอกอัดเสียง ที่ทำมาจากกระดาษรมควัน
ก็จะรับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง จนเกิดเป็นร่องเสียงที่ถูกบันทึกเอาไว้ยังกระบอกนี้
โดยที่ในขั้นตอนการบันทึกเสียงนั้นเราก็จะต้องเป็นคนเอามือหมุนไอ้เจ้ากระบอกเสียงที่เรากำลังบันทึกไปด้วย
เรียกได้ว่าเป็นเครื่องแมนนวล สุดๆ ในยุคเริ่มต้น แต่ว่าไอ้เจ้าเครื่อง Phonautograph นี้ มันบันทึกได้แต่เสียง
แต่มันไม่สามารถ นำเจ้ากระบอกเสียงที่เราบันทึกเอากลับมาฟังได้
ต่อมา อีก20ปี ในปี1877ก็มีนักประดิษฐ์ คนหนึ่งที่ใช้หลักการของเจ้าเครื่อง Phonautograph
มาพัฒนาต่อยอดในการบันทึกเสียงแล้วยังสามารถ นำเสียงที่เราบันทึกไปแล้วนั้น กลับมาฟังได้อีกครั้ง
เจ้าเครื่องนี้ถือว่าเป็นอุปกรณ์การพังเสียงที่เราบันทึก ได้เป็นเครื่องแรกๆ เลยก็ว่าได้
และมันก็ยังจะไปเป็นต้นแบบ ให้อุปกรณ์อื่นๆ ในยุคต่อไป อีกด้วย
มันคือเครื่อง "Phonograph"
โดยที่หลักการทำงานก็จะคลายกันกับเจ้าเครื่องของ Phonotograph ของคุณสก๊อต แต่ว่าจะตัวเครื่อง
Phonograph มีความพิเศษกว่าก็คือ มันจะมีลานใช้หมุนเวลาที่เราจะฟังหรือบันทึกเสียง ส่วนตัวเจ้ากระบอกเสียงที่ถูกบันทึกนั้น
ไม่ได้ใช้เป็นกระดาษรมควันอย่างเก่าแล้วแต่ถูกพัฒนามาใช้เป็นขี้ผึ้งเคลือบผิวของกระบอกเสียงเอาไว้
แต่ไอ้เจ้ากระบอกเสียงที่ทำจากขี้ผึ้งนี้ก็มีข้อเสียเป็นคือมันไม่สามารถนำกลับมาเล่นซ้ำได้บ่อยๆ คือเล่นกันไปไม่กี่ครั้ง
ร่องเสียงก็ชำรุดก็จะเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงทำให้เจ้าเครื่องนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแต่อย่างใด ส่วนนักประดิษฐ์ไอ้เจ้าเครื่อง
Phonograph ที่ว่านี้ก็คือ โทมัส อันวาเอดิสัน
จะเห็นได้ว่าตลอดเวลา มนุษย์เราก็ได้ พยายามคิดค้นและหาวิธี ในการบันทึกเสียงเพื่อนำกลับมาฟังใหม่กันให้ได้
แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์อะไร ที่จะทำให้เราสามารถ ฟังเพลงกันได้เลย ในตอนนั้นจะมีก็ยังคงมีต้องไปฟัง
การเล่นดนตรีกันสดๆ อย่างเดียวเท่านั้น
แต่วิธีการและอุปกรณ์การบันทึกเสียงนั้นก็ยังคงถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 1887 Emile Berliner
นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ก็ได้นำหลักการของไอ้เจ้าเครื่อง Phonograph ของโทมัสอันวา เอดิสันนำมา ต่อยอด
จากเดิมที่เคยใช้เป็นรูปทรงกระบอก เขาได้เปลี่ยน วิธีการมาใช้เป็นแบบแผ่นในแนวราบ
โดยนำเอาแผ่นสังกะสีตัดออกมาให้เป็นทรงกลมเเล้วก็เอาขี้ผึ้งมาผสมกับน้ำมันเคลือบไปที่แผ่นสังกะสี
และก็ใช้ไอ้เจ้าแผ่นนี้แหละครับในการบันทึกเสียง ต่อมาในปี 1891 คุณ emil Berliner ก็ได้พัฒนาเจ้าแผ่นสังกะสีเคลือบขี้ผึ้ง
ผสมน้ำมัน มาเป็น ยางที่ย้อมสีดำกับน้ำมันแชล็คผสมขี้ครั่ง จึงได้ใช้ไอ้เจ้าแผ่นทรงกลม ที่มีความแข็งแรงมา
เอาไว้ใช้ในการบันทึกเสียง และนอกจากนี้คุณ emile berliner ก็ยังได้พัฒนาอุปกรณ์จะเอาไว้ฟังไอ้เจ้าแผ่นทรงกลมนี้
ออกมาด้วย มันก็คือเครื่อง "Gramophone"
โดยที่กลไกการทำงานของมันก็คือ เมื่อเราจะฟังเพลง ก็จะต้องไปไขลาน ที่ตัวเครื่อง จากนั้นเครื่องมันก็จะหมุนแล้วเรา
ก็เอาเข็มที่ตัวเครื่อง จี้ลงไปที่แผ่นเสียงทรงกลมๆสีดำ ไปตามร่องเสียงเสียงเพลงที่ถูกบันทึก เคลื่อนเสียงมันก็จะถูกขยายให้ดัง
ออกมาจากลำโพง ที่มีลักษณะคล้ายกับแตร เสียมันก็จะอยู่ในโทนทุ้มต่ำอู้ๆ อี้ๆ หน่อยนะครับ แต่ในยุคนั้น การฟังดนตรีผ่านไอ้เจ้า
เครื่องGramophone ได้นี้ ก็ถือว่าสุดจัดแล้วครับในยุคนั้น หลังจากนั้นไอ้เจ้าเครื่อง Gramophone จึงได้รับความนิยมไปทั่ว
เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติในการฟังดนตรีในยุคนั้นได้เลยก็ว่า ได้เพราะไอ้เจ้า Gramophone นี้มันได้ถูกผลิต
มาใช้งานคู่กับแผ่นเสียงสีดำๆ ออกขายกันไปทั่วโลก
การฟังดนตรีในรูปแบบส่วนบุคคล ในยุคนั้นก็เรียกได้ว่า ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะถ้าบ้านใครมีไอ้เจ้า
Gramophone ก็จะสามารถเปิดฟังดนตรีจากแผ่นเสียงตอนไหนก็ได้ ถือได้ว่านี้คือจุดเริ่มต้นของการฟังดนตรีในรูปแบบส่วนบุคคล
เลยก็ว่าได้ ไอ้เจ้าเครื่อง Gramophone ก็ได้รับความนิยมในประเทศไทยอยู่เหมือนกันนะครับ โดยเข้ามาในประเทศไทยประมาณ
ปลายรัชกาลที่4 โดยในสมัยนั้น เราจะยังไม่ได้เรียกว่าแผ่นเสียงนะครับคนไทยสมัยนั้นจะเรียกว่า จานเสียงนั้นก็เป็นเพราะด้วยขนาด
ของแผ่นที่ใหญ่ 10-12 นิ้วมีความหนา3-4 มิลและมีน้ำหนักมาก แตกได้ง่ายคล้ายๆ กับกระเบื้องเซรามิก ในสมัยนั้นเราก็จะนำมาใช้
ในการบันทึกเสียงวงปี่พาทย์ฟังกัน
ต่อจากในยุคของเจ้า Gramophone นั้นก็ได้ถูกพัฒนาวิธีการบันทึกเสียง และในส่วนของเจ้าแผ่นเสียงก็ได้ถูกพัฒนาควบคู่ไปด้วย
เช่นกัน เพื่อให้ได้อรรถรสในการรับฟังเสียงที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ปี 1948 แผ่นเสียงก็ได้ถูกพัฒนาในยุคต่อมาให้มีส่วนผสมของพลายสติกเข้าไปด้วยเพื่อความยืดหยุ่นและความคงทนแข็งแรงและ
ยังทำให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งนี้ตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียงเองก็ได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วรอบในการหมุนแผ่นได้
เร็วขึ้น เข็มที่ใช้ในการจี้ลงไปที่แผ่นก็มีคุณภาพในการแปลงคลื่นเสียงได้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก จากที่ต้องมาใช้มือหมุนลานกับเครื่อง
Gramophone ในตอนนี้เราก็ไม่ต้องใช้มือหมุนแล้วครับ เปลี่ยนมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าแทน มันจึงเกิดเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงใหม่
ที่เรียกกันว่า "Turntable"
และก่อนที่เราเปลี่ยนผ่านวิธีการรับฟังดนตรีกันในยุคต่อไป ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี1930 เป็นต้นมา
มนุษย์เรานอกจากจะฟังดนตรีผ่านไอ้เจ้าแผ่นเสียงกันแล้วเราก็ยังมีอีกหนึ่งช่องทางในการรับฟังดนตรีได้ นะครับ คือวิธีอะไร
ลองเดาเล่นๆ กันดูไหมครับ ...................ทายถูกกันไหมเอ่ย
คนยุคนั้นเริ่มฟังดนตรีผ่านทางวิทยุกันครับ เพราะในปี 1885 มีนักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมันที่มีชื่อว่า ไฮน์ริช เฮิรตซ์
สามารถ ประดิษฐ์เครื่องมือที่นำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศ มาแปลงเป็นสัญญาณในการสื่อสารได้สำเร็จ จากนั้นในเวลาต่อๆ
มา ผลงานของเขาก็ได้ถูกพัฒนาในทางการทหารเป็นวิทยุสื่อสาร จนกระทั่ง ก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นวิทยุกระจายเสียงที่ใช้ในการ
รายงานข่าว และก็ถูกพัฒนามาเป็นสถานีวิทยุในปี1930 เป็นต้นมา
และชื่อของเฮิทร์จึงได้รับยกย่องให้เป็นหน่วยความถี่ของสัญญาณวิทยุ นั้นเองครับ
มาต่อกันที่เจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียงTurntable ในปี 1957 ก็ได้มีการถูกพัฒนาให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลง
ได้เท่ากับขนาดกระเป๋าหิ้วความกว้างประมาณ10นิ้ว เพื่อที่จะสามารถพกพาไปไหนมาไหนก็ได้
จนมาถึงในช่วงที่พีคที่สุดของเจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียก็อยู่ในปี1970 ยุค70ช่วงเวลาของดนตรีแห่งเสรีภาพ ของเหล่าบุปผาชน
ในช่วงเวลานั้นน่าจะเรียกได้ว่าแทบทุกบ้าน ยังไงก็ต้องมีไอ้เจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียงกันแน่ๆ
แต่ก็ด้วยข้อจำกัดของเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีขนาดที่ใหญ่ จะพกพาไปไหนก็ลำบาก บวกกับเทคโนโลยีการบันทึกเสียง
ในยุคนั้นก็ได้ถูกพัฒนาไปมากยิ่งขึ้น จึงได้มีอุปกรณ์ ชนิดใหม่ที่ใช้ในการรับฟังเพลง
มันคือเเทรกเทปหรือ เทป8 แทรก เจ้าแทรกเทปถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี1968 แล้วครับ
ก็ได้รับความนิยมแต่ไม่มาก ไอ้เจ้า แทรกเทป มันก็ยังไม่สามารถมาทดแทน แผ่นเสียงได้ในเวลานั้น เนื่องด้วย เจ้าตัวเครื่องเล่น
แทรกเทป มันจะมีก็เฉพาะติดอยู่ในรถยนต์ เป็นเสียเป็นส่วนใหญ่ เเละด้วยเจ้าลักษณะของเจ้าเเทรกเทป มันมีขนาดเท่าๆ
กับม้วนวิดีโอ แต่มีขนาดที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ก็ยังถือว่าใหญ่อยู่ดีในสมัยนั้น
เด็กๆ สมัยนี้อาจจะนึกไม่ออกว่าม้วนวิดีโอ หน้าตาเป็นอย่างไร ก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันดูนะครับ
และต่อมาเจ้าแทรกเทปก็ได้ถูกมาพัฒนามาเป็น เทปคาสเซ็ทในปี1980 เริ่มเข้าสู่ยุค อนาล็อก
เทปคาสเซ็ทนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของการฟังเพลงเลยก็ว่าได้ครับ เพราะ ไอ้เจ้าตัวเทปคาสเซ็ทนี้มีขนาดที่เล็ก ลงไปมาก
สามารถพกพาไปไหนก็ได้สะดวก จึงทำให้ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว
อีกทั้งอุตสาหกรรมทางด้านดนตรีก็กำลังพีคสุดๆ อยู่เหมือนกัน จึงทำให้แทบทุกบ้านจากเดิมที่เคยมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง
ก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทกัน
ในยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านในการฟังดนตรีอย่างแท้จริง เพราะไอ้เจ้าเทปคาสเซ็ทนี้ละครับ
และด้วยที่เทปคาสเซ็ทมันมีขนาดเล็ก พกพาง่าย จึงทำให้เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท เล็กลงตามไปด้วย
ในตอนนั้นการรับฟังดนตรีก็มีหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้นไปด้วยไม่ว่า จะทาง เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท เครื่องเล่นแผ่นเสียง
เปิดวิทยุ หรือแม้แต่เปิดดูเป็นภาพจากในทีวี ก็ยังได้
แต่สำหรับผมที่มันพีคที่สุดในยุคนั้นในการฟังเพลง ผมเชื่อเหลือเกินว่า เด็กยุค90 ทุกคนต้องเคยใช้มันในการฟังเพลง
[img]https://f.ptcdn.info/256/071/000/qi6
มันคือ "Sound About" หรือถ้าเรียกกันแบบไทยๆ ว่าซาวเบ้าโดยที่เจ้าเครื่อง Sound About
นั้นการทำงานของมันก็แค่เราเอาเทปคลาสเซ็ทใส่เข้าไปที่ตัวเครื่องใส่ถ่าน 2ก้อน เสียบหูฟัง
เพียงเท่านี้เราก็สามารถฟังเพลงโปรดของเราได้แล้ว ด้วยตัวเครื่อง Sound About มีขนาดใหญ่กว่าเทปคาสเซ็ทไม่มาก
และมีน้ำหนักเบา มันจึงทำให้ Sound Aboutเป็นเครื่องเล่นแบบพกพาเป็นที่นิยมที่สุดๆ ในยุคนั้น
แต่ในเวลาเดียวกัน ในปี1982 ก็ได้มีการ คิดค้นการใช้แผ่นซีดี เกิดมาแล้วอีกด้วย แต่ว่าพวกเครื่องเล่นแผ่นซีดี ก็ยังไม่ค่อยได้
รับความนิยมมากนัก เนื่องด้วย ต้นทุนในการผลิต อีกทั้งเครื่องและแผ่นซีดี มีราคาแพงผู้คนจึงยังเข้าถึงกันได้ยาก
ความนิยมมาใช้แผ่นซีดี ก็จะมาพีคในช่วง ปลายยุค90-ปี2000 ในยุคนั้นเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของแผ่นซีดี