คอลัมน์ Music Talk by ท้องฟ้าสีเทา
หลายปีมานี้แผ่นเสียงไวนิลที่เคยเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วยุคหนึ่งกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้รับความนิยมอีกครั้ง มีตัวเลขการันตีว่ายอดขายเติบโตขึ้นทุกปี และมีบางช่วงบางปีที่ขายดีแซงหน้าการขายแบบดิจิตัลดาวน์โหลดด้วย
แผ่นเสียงนั้นมีเสน่ห์ในตัวเอง เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาศิลปินและคนที่มีกำลังซื้ออยู่แล้ว และเมื่อตัวเลขทางการค้าเป็นไปในทิศทางที่ดี ค่ายเพลงและศิลปินจึงให้ความสำคัญกับตลาดนี้ด้วยการทำอัลบั้มในรูปแบบแผ่นเสียงไวนิลออกขายกันคึกคัก
แต่ที่มากกว่าเรื่องแผ่นเสียงไวนิลกลับมาเป็นที่นิยม ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจพ่วงตามกันมาก็คือแผ่นเสียงไวนิลได้พาอีกหนึ่งฟอร์แมทที่เคยหายไปแล้วกลับมาด้วย นั่นก็คือเทปคาสเซ็ท
มีข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด Nielsen เปิดเผยว่า ปี 2016 ในสหรัฐอเมริกามียอดขายเทปคาสเซ็ทจำนวน 129,000 ตลับ ยอดขายจำนวนนี้เติบโตขึ้น 74% จากปี 2015 ที่มียอดขาย 74,000 ตลับ
เว็บไซต์ Billboard รายงานขยายประเด็นจากข้อมูลนี้ว่า ยอดขายเทปคาสเซ็ทที่เติบโตขึ้นในปี 2016 มีส่วนสำคัญมาจากการที่ศิลปินดังบางรายที่ออกอัลบั้มในปีนั้น ได้ทำอัลบั้มออกมาขายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทด้วย อย่างอัลบั้ม Purpose ของ Justin Bieber อัลบั้ม Beauty Behind the Madness ของ The Weeknd ที่ทำยอดขายได้อัลบั้มละประมาณ 1,000 ตลับ และอัลบั้ม I Like It When You Sleep, For You Are So Beautiful Yet So Unaware of It ของ The 1975 หนึ่งอัลบั้มที่ผลตอบรับดีมากในปี 2016
นอกจากอัลบั้มใหม่แล้วยังมีศิลปินดังที่นำอัลบั้มคลาสสิคของตัวเองมารีอิสชูขายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท อย่าง Eminem อัลบั้ม The Slim Shady LP ที่ทำยอดขายได้มากถึง 3,000 ตลับ อัลบั้ม Purple Rain ของ Prince ที่ร่วมงานกับ The Revolution ทำยอดขาย 2,000 ตลับ
ในปี 2016 มีผลงานเพลง 25 อัลบั้มที่ทำยอดขายเทปคาสเซ็ทได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ตลับ ตัวเลขเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากปี 2015 ที่มีเพียง 8 อัลบั้มเท่านั้นที่ขายเทปคาสเซ็ทได้ถึง 1,000 ตลับ
สำหรับเทปคาสเซ็ทที่ยอดขายสูงสุดทั้งในปี 2015 และ 2016 คืออัลบั้ม Guardians of the Galaxy: Awesome Mix Vol. 1 soundtrack ที่ทำยอดขายได้ปีละ 4,000 ตลับ นับจากที่เริ่มวางขายในปี 2014 อัลบั้มนี้ทำยอดขายรวม 11,000 ตลับ
ส่วนตัวเลขภาพรวม ในปี 2016 ยอดขายอัลบั้มเพลงภาพรวมทั้งหมดทุกฟอร์แมท ในปี 2016 อยู่ที่ 200.8 ล้านก๊อปปี้ ลดลง 17% จากปี 2015 ขณะที่แผ่นเสียงไวนิลทำยอดขายมากถึง 13.1 ล้านแผ่น เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2015
เรื่องช่องทางการขาย ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากสเกลยังเล็กและถือเป็นสินค้าระดับนิชก็ว่าได้ ถ้าทำเทปออกมาขายจะรู้ได้อย่างไรว่าขายช่องทางไหนถึงจะเหมาะ
Billboard รายงานสัดส่วนช่องทางการขายว่า เทปคาสเซ็ทถูกขายเองทางอินเทอร์เน็ต โดยค่าย/ผู้จัดจำหน่าย ส่งตรงถึงลูกค้า 43% ขายผ่านร้านค้าปลีกอิสระ 33% ขายผ่านมิวสิคสโตร์รูปแบบใหม่ (อย่างเช่น Urban Outfitters ซึ่งมีเทปคาสเซ็ทจำนวนหนึ่งถูกผลิตพิเศษเพื่อวางขายในเว็บไซต์ Urban Outfitters โดยเฉพาะ) 21% และขายผ่านเชนสโตร์ 3%
ถ้ามองการเติบโตหนึ่งปีที่มากถึง 74% เป็นตัวเลขที่ชวนตื่นเต้นมาก ๆ แต่หากดูจำนวนยอดขาย หลักแสนกว่า เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลและจำนวนประชากรผู้บริโภคเพลงในสหรัฐอเมริกาที่มีจำนวนมหาศาล ก็ต้องบอกว่ายังเป็นจำนวนที่น้อยอยู่ ยังไม่มีนัยสำคัญ (ณ ตอนนี้) และหากนำไปเทียบกับยอดขายแผ่นเสียงก็ยังห่างไกล
ความเห็นต่อปรากฏการณ์การกลับมาของเทปคาสเซ็ทในรอบนี้ คิดว่าคนที่ซื้อคงไม่ได้ซื้อไปเพื่อเปิดฟัง เพราะเทปคาสเซ็ทไม่ได้งานตอบโจทย์การฟังเพลงจริง ๆ ในยุคปัจจุบันแล้ว บางคนอาจจะไม่มีเครื่องเล่นเทปด้วยซ้ำ เพียงแต่ซื้อเป็นของสะสมสำหรับคนคิดถึงอดีต หรือเป็นของสะสมที่แปลกใหม่ของคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ทด้วย ...ไม่ได้เป็นความเห็นที่แตกต่างจากสื่อสำนักอื่นแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการฟื้นคืนชีพที่น่าจับตามองต่อไป เพราะในวันที่แผ่นเสียงไวนิลถูกปลุกขึ้นมา มันก็ถูกตั้งคำถามประมาณนี้เหมือนกัน แต่ความนิยมและยอดขายที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็พิสูจน์ตัวมันเองแล้วว่า ไม่ได้มาเล่น ๆ ไม่ใช่แค่กระแสโหยหาอดีตอย่างที่คิด
บทความจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1486176701
ยอดขายเทปคาสเซ็ทโต 74% ...คืนชีพจริงหรือแค่กระแส nostalgia?
คอลัมน์ Music Talk by ท้องฟ้าสีเทา
หลายปีมานี้แผ่นเสียงไวนิลที่เคยเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วยุคหนึ่งกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้รับความนิยมอีกครั้ง มีตัวเลขการันตีว่ายอดขายเติบโตขึ้นทุกปี และมีบางช่วงบางปีที่ขายดีแซงหน้าการขายแบบดิจิตัลดาวน์โหลดด้วย
แผ่นเสียงนั้นมีเสน่ห์ในตัวเอง เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาศิลปินและคนที่มีกำลังซื้ออยู่แล้ว และเมื่อตัวเลขทางการค้าเป็นไปในทิศทางที่ดี ค่ายเพลงและศิลปินจึงให้ความสำคัญกับตลาดนี้ด้วยการทำอัลบั้มในรูปแบบแผ่นเสียงไวนิลออกขายกันคึกคัก
แต่ที่มากกว่าเรื่องแผ่นเสียงไวนิลกลับมาเป็นที่นิยม ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจพ่วงตามกันมาก็คือแผ่นเสียงไวนิลได้พาอีกหนึ่งฟอร์แมทที่เคยหายไปแล้วกลับมาด้วย นั่นก็คือเทปคาสเซ็ท
มีข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด Nielsen เปิดเผยว่า ปี 2016 ในสหรัฐอเมริกามียอดขายเทปคาสเซ็ทจำนวน 129,000 ตลับ ยอดขายจำนวนนี้เติบโตขึ้น 74% จากปี 2015 ที่มียอดขาย 74,000 ตลับ
เว็บไซต์ Billboard รายงานขยายประเด็นจากข้อมูลนี้ว่า ยอดขายเทปคาสเซ็ทที่เติบโตขึ้นในปี 2016 มีส่วนสำคัญมาจากการที่ศิลปินดังบางรายที่ออกอัลบั้มในปีนั้น ได้ทำอัลบั้มออกมาขายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทด้วย อย่างอัลบั้ม Purpose ของ Justin Bieber อัลบั้ม Beauty Behind the Madness ของ The Weeknd ที่ทำยอดขายได้อัลบั้มละประมาณ 1,000 ตลับ และอัลบั้ม I Like It When You Sleep, For You Are So Beautiful Yet So Unaware of It ของ The 1975 หนึ่งอัลบั้มที่ผลตอบรับดีมากในปี 2016
นอกจากอัลบั้มใหม่แล้วยังมีศิลปินดังที่นำอัลบั้มคลาสสิคของตัวเองมารีอิสชูขายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท อย่าง Eminem อัลบั้ม The Slim Shady LP ที่ทำยอดขายได้มากถึง 3,000 ตลับ อัลบั้ม Purple Rain ของ Prince ที่ร่วมงานกับ The Revolution ทำยอดขาย 2,000 ตลับ
ในปี 2016 มีผลงานเพลง 25 อัลบั้มที่ทำยอดขายเทปคาสเซ็ทได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ตลับ ตัวเลขเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากปี 2015 ที่มีเพียง 8 อัลบั้มเท่านั้นที่ขายเทปคาสเซ็ทได้ถึง 1,000 ตลับ
สำหรับเทปคาสเซ็ทที่ยอดขายสูงสุดทั้งในปี 2015 และ 2016 คืออัลบั้ม Guardians of the Galaxy: Awesome Mix Vol. 1 soundtrack ที่ทำยอดขายได้ปีละ 4,000 ตลับ นับจากที่เริ่มวางขายในปี 2014 อัลบั้มนี้ทำยอดขายรวม 11,000 ตลับ
ส่วนตัวเลขภาพรวม ในปี 2016 ยอดขายอัลบั้มเพลงภาพรวมทั้งหมดทุกฟอร์แมท ในปี 2016 อยู่ที่ 200.8 ล้านก๊อปปี้ ลดลง 17% จากปี 2015 ขณะที่แผ่นเสียงไวนิลทำยอดขายมากถึง 13.1 ล้านแผ่น เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2015
เรื่องช่องทางการขาย ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากสเกลยังเล็กและถือเป็นสินค้าระดับนิชก็ว่าได้ ถ้าทำเทปออกมาขายจะรู้ได้อย่างไรว่าขายช่องทางไหนถึงจะเหมาะ
Billboard รายงานสัดส่วนช่องทางการขายว่า เทปคาสเซ็ทถูกขายเองทางอินเทอร์เน็ต โดยค่าย/ผู้จัดจำหน่าย ส่งตรงถึงลูกค้า 43% ขายผ่านร้านค้าปลีกอิสระ 33% ขายผ่านมิวสิคสโตร์รูปแบบใหม่ (อย่างเช่น Urban Outfitters ซึ่งมีเทปคาสเซ็ทจำนวนหนึ่งถูกผลิตพิเศษเพื่อวางขายในเว็บไซต์ Urban Outfitters โดยเฉพาะ) 21% และขายผ่านเชนสโตร์ 3%
ถ้ามองการเติบโตหนึ่งปีที่มากถึง 74% เป็นตัวเลขที่ชวนตื่นเต้นมาก ๆ แต่หากดูจำนวนยอดขาย หลักแสนกว่า เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลและจำนวนประชากรผู้บริโภคเพลงในสหรัฐอเมริกาที่มีจำนวนมหาศาล ก็ต้องบอกว่ายังเป็นจำนวนที่น้อยอยู่ ยังไม่มีนัยสำคัญ (ณ ตอนนี้) และหากนำไปเทียบกับยอดขายแผ่นเสียงก็ยังห่างไกล
ความเห็นต่อปรากฏการณ์การกลับมาของเทปคาสเซ็ทในรอบนี้ คิดว่าคนที่ซื้อคงไม่ได้ซื้อไปเพื่อเปิดฟัง เพราะเทปคาสเซ็ทไม่ได้งานตอบโจทย์การฟังเพลงจริง ๆ ในยุคปัจจุบันแล้ว บางคนอาจจะไม่มีเครื่องเล่นเทปด้วยซ้ำ เพียงแต่ซื้อเป็นของสะสมสำหรับคนคิดถึงอดีต หรือเป็นของสะสมที่แปลกใหม่ของคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ทด้วย ...ไม่ได้เป็นความเห็นที่แตกต่างจากสื่อสำนักอื่นแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการฟื้นคืนชีพที่น่าจับตามองต่อไป เพราะในวันที่แผ่นเสียงไวนิลถูกปลุกขึ้นมา มันก็ถูกตั้งคำถามประมาณนี้เหมือนกัน แต่ความนิยมและยอดขายที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็พิสูจน์ตัวมันเองแล้วว่า ไม่ได้มาเล่น ๆ ไม่ใช่แค่กระแสโหยหาอดีตอย่างที่คิด
บทความจาก : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1486176701