รัฐบาล ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ไปจนถึง 31 ต.ค. 2563
รัฐบาล ออกข้อกำหนดตาม พรก.ฉุกเฉิน ข้อที่ 5 ไว้ดังนี้
.
ดังนั้น จึงน่าคิดว่า การชุมนุมใด ๆ ตั้งแต่มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน
การชุมนุมต้องขึ้นกับกฎหมายใด ขึ้นกับ พรบ.ชุมนุมสาธารณะ หรือขึ้นกับ พรก.ฉุกเฉิน ???
.
การชุมนุมเมื่อวานนี้ ที่เกิดเหตุจับกุมผู้ร่วมชุมนุมไป 21 คน และตั้งข้อหาหลายข้อ
ก็น่าสงสัยว่า เจ้าพนักงานอิงกฎหมายฉบับใด ?
อิง พรบ.ชุมนุมสาธารณะ เป็นการถูกต้องหรือไม่ ? หรือต้องอิงข้อกำหนดตาม พรก.ฉุกเฉิน ?
การเข้าสลาย ควบคุม จับกุม เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่า พรบ.ชุมนุมสาธารณะ หรือ พรก.ฉุกเฉินหรือไม่ ?
หากอิง พรบ.ชุมนุมสาธารณะ เจ้าพนักงานก็น่าจะปฏิบัติขัดกับกฎหมาย
เพราะ พรบ.ชุมนุมสาธารณะ บัญญัติไว้ว่า
.
หากอิง พรก.ฉุกเฉิน ก็น่าคิดอีกว่า เจ้าพนักงานปฏิบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของ พรก.ฉุกเฉินหรือไม่
เพราะเท่าที่ทราบ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขตามสถานการณ์ฉุกเฉิน กำหนดไว้ว่าห้ามชุมนุมในระยะ 50 เมตร และ 150 เมตรเท่านั้น
การสลายการชุมนุมเมื่อวานนี้ เข้าข่ายตามข้อกำหนดหรือไม่ ?
.
เมื่อใช้กฎหมาย กฎหมายก็ต้องมีหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรมอันเที่ยงธรรม ถูกต้อง
แต่หากมีการบิดกฎหมาย เอาผิด หรือ ละเว้น ความขัดแย้งก็ไม่มีทางระงับ มีแต่จะขัดแย้งรุนแรงแตกแยกฝังลึกลงไปอีก
.
โยนิโสมนสิการเถิดทุกท่าน
น่าคิดนะครับ กับคำว่า นิติสงคราม ............................................. โดย ตระกองขวัญ
รัฐบาล ออกข้อกำหนดตาม พรก.ฉุกเฉิน ข้อที่ 5 ไว้ดังนี้