HSBC คาดการณ์เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าสุดในเอเชีย ต้องรอไปอีก 12 ไตรมาส ถึงจะฟื้นตัวเท่าก่อน COVID-19
https://brandinside.asia/hsbc-forecast-thai-economy-slowest-recovery-waiting-12-quaters-12-oct-2020/
บทวิเคราะห์ล่าสุดของเศรษฐกิจไทยจาก HSBC มองว่าไทยอาจต้องรอถึง 12 ไตรมาส ถึงเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อน COVID-19 ขณะเดียวกันไทยเองก็สูญเสีย Output Gap ไปด้วยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021
HSBC คาดการณ์เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าสุดในเอเชีย ต้องรอไปอีก 12 ไตรมาส ถึงจะฟื้นตัวเท่าก่อน COVID-19
HSBC สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศในเอเชียล่าสุด และในบทวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมามองว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องใช้เวลาฟื้นตัวอย่างน้อย 12 ไตรมาส ถึงจะฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อน COVID-19 ซึ่งไทยนั้นถือว่าตัวเลขรั้งท้ายประเทศต่างๆ ในเอเชีย ขณะที่ เวียดนาม และไต้หวัน เศรษฐกิจสามารถฟื้นได้ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ อย่างไรก็ดีมีเพียงประเทศเดียวในเอเชียเท่านั้นคือจีน ที่สามารถฟื้นตัวได้ก่อนคนอื่น
ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกนั้น
• อินโดนีเซียและเกาหลีใต้คาดว่าจะใช้เวลา 6 ไตรมาส
• มาเลเซียและสิงคโปร์คาดว่าจะใช้เวลา 8 ไตรมาส
• ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์คาดว่าจะใช้เวลา 9 ไตรมาส
• ฟิลิปปินส์คาดว่าจะใช้เวลา 11 ไตรมาส
• อินเดีย คาดว่าจะใช้เวลา 12 ไตรมาส และอาจนานกว่านั้นสำหรับ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไทย
ไม่เพียงแค่นั้นในบทวิเคราะห์ของ HSBC ยังมองว่าในครึ่งปีแรกของปี 2021 ส่วนต่างของกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบัน ลบกับประสิทธิภาพที่สามารถผลิตได้จริง (Output Gap) โดย HSBC ได้คาดการณ์ว่าไทยจะมี Output Gap ถดถอยมากถึง -4% ของ GDP ไทย ซึ่งถือว่าตัวเลขนี้แย่ที่สุดในเอเชียด้วย ขณะที่รองจากไทยนั้นมีศรีลังกา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินเดีย
ในบทวิเคราะห์ของ HSBC ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะถดถอยที่ -8.2% และกลับมาฟื้นตัวได้ 3.3% ในปี 2021 และ 4.8% ในปี 2022 ขณะที่เงินเฟ้อของไทยปี 2021 และ 2022 อยู่ที่ 1.1% นอกจากนี้ HSBC ยังมองว่าไทยเองจะมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ยาวไปถึงไตรมาส 4 ของปี 2022
ผู้ใหญ่บ้านประจวบฯ ข้องใจ ตัดงบตั้งด่านกันโควิดเหลือคนละ 50 บาท/วัน เข้าเวร 24 ชม.
https://www.matichon.co.th/region/news_2391755
ผู้ใหญ่บ้านอ่าวน้อยข้องใจตัดงบป้องกันโควิดชายแดน เหลือหัวละ 50 บาทต่อวัน
วันที่ 12 ตุลาคม นาง
ลั่นทม งุ้ยไก่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้าน กม.12 ต.อ่าวน้อย อ.เมืองจ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งให้ตั้งจุดตรวจคัดกรองป้องกันโควิด19 และตรวจสอบป้องกันชาวเมียนมาแอบลักลอบข้ามแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ โดยพื้นที่อำเภอเมืองประจวบ มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.และ ชรบ.ร่วมกันตั้ง 12 จุดตรวจโดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมลาดตระเวนตามเส้นทางบริเวณชายแดน ขณะที่เจ้าหน้าที่และอาสาทุกรายจะต้องประกอบอาชีพของตนเองเพื่อสร้างรายได้ แต่ต้องทำหน้าที่เฝ้าจุดตรวจ เนื่องจากในพื้นที่มีมากกว่า 30 ช่องทางธรรมชาติ ทำให้การสอดส่องดูแลทำได้ด้วยความยากลำบาก
“ขณะนี้ความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่ที่มาเฝ้าประจำจุดตรวจมีปัญหาจากเสบียงอาหารมีไม่เพียงพอ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐให้งบหัวละ 50 บาทต่อวัน แต่เจ้าหน้าที่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง แต่โชคดีที่ชาวบ้านช่วยกับบริจาควัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหาร หากเป็นไปได้ขอให้ส่วนราชการพิจารณาหมู่บ้านตามแนวชายแดน ให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากค่าอาหารที่รัฐจัดให้ไม่เพียงพอ ที่อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้เพราะชาวบ้านให้ความช่วยเหลือ” นาง
ลั่นทม กล่าว
นาย
ชนพหล ส่งเสริม นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า เดิมอำเภอได้ทำเสนอขอเงินงบประมาณในส่วนการยับยั้งป้องกันภัยพิบัติจากผู้ว่าการจังหวัด จุดละประมาณ 15 คน เพื่อจะถัวเฉลี่ยค่าอาหาร แต่เงินงบประมาณอาจมีจำกัด จังหวัดจึงได้ปรับลดลงเหลือจุดละ 10 คน แต่เจ้าหน้าที่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง บางวัน บางมื้อ อาหารก็ไม่เพียงพอ แต่ชาวบ้านนำอาหารบางส่วนเข้ามาสนับสนุน
“ในระยะยาวหากสถานการณ์การระบาดในเมียนมายังไม่ลดลง เจ้าหน้าที่ต้องทำหน้าที่เหมือนเดิมอีก 1 หรือ 2 เดือน ก็ขอความเห็นใจจากผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นตามสมควร อาจจะเป็นอาหารหรือสิทธิอื่น สำหรับผู้ที่อยู่เวรปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง จะมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้โรคโควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศ“ นายอำเภอเมืองฯ กล่าว
JJNY : HSBC คาดศก.ไทยฟื้นช้าสุดในเอเชีย/ผญบ.ประจวบฯข้องใจตัดงบ/เยาวชนปลดแอกโคราชเตรียมเข้ากทม./“เทพไท”ติงพรบ.กระท่อม
https://brandinside.asia/hsbc-forecast-thai-economy-slowest-recovery-waiting-12-quaters-12-oct-2020/
บทวิเคราะห์ล่าสุดของเศรษฐกิจไทยจาก HSBC มองว่าไทยอาจต้องรอถึง 12 ไตรมาส ถึงเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อน COVID-19 ขณะเดียวกันไทยเองก็สูญเสีย Output Gap ไปด้วยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021
HSBC สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศในเอเชียล่าสุด และในบทวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมามองว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องใช้เวลาฟื้นตัวอย่างน้อย 12 ไตรมาส ถึงจะฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อน COVID-19 ซึ่งไทยนั้นถือว่าตัวเลขรั้งท้ายประเทศต่างๆ ในเอเชีย ขณะที่ เวียดนาม และไต้หวัน เศรษฐกิจสามารถฟื้นได้ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ อย่างไรก็ดีมีเพียงประเทศเดียวในเอเชียเท่านั้นคือจีน ที่สามารถฟื้นตัวได้ก่อนคนอื่น
ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกนั้น
• อินโดนีเซียและเกาหลีใต้คาดว่าจะใช้เวลา 6 ไตรมาส
• มาเลเซียและสิงคโปร์คาดว่าจะใช้เวลา 8 ไตรมาส
• ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์คาดว่าจะใช้เวลา 9 ไตรมาส
• ฟิลิปปินส์คาดว่าจะใช้เวลา 11 ไตรมาส
• อินเดีย คาดว่าจะใช้เวลา 12 ไตรมาส และอาจนานกว่านั้นสำหรับ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไทย
ไม่เพียงแค่นั้นในบทวิเคราะห์ของ HSBC ยังมองว่าในครึ่งปีแรกของปี 2021 ส่วนต่างของกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบัน ลบกับประสิทธิภาพที่สามารถผลิตได้จริง (Output Gap) โดย HSBC ได้คาดการณ์ว่าไทยจะมี Output Gap ถดถอยมากถึง -4% ของ GDP ไทย ซึ่งถือว่าตัวเลขนี้แย่ที่สุดในเอเชียด้วย ขณะที่รองจากไทยนั้นมีศรีลังกา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินเดีย
ในบทวิเคราะห์ของ HSBC ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะถดถอยที่ -8.2% และกลับมาฟื้นตัวได้ 3.3% ในปี 2021 และ 4.8% ในปี 2022 ขณะที่เงินเฟ้อของไทยปี 2021 และ 2022 อยู่ที่ 1.1% นอกจากนี้ HSBC ยังมองว่าไทยเองจะมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ยาวไปถึงไตรมาส 4 ของปี 2022
ผู้ใหญ่บ้านประจวบฯ ข้องใจ ตัดงบตั้งด่านกันโควิดเหลือคนละ 50 บาท/วัน เข้าเวร 24 ชม.
https://www.matichon.co.th/region/news_2391755
ผู้ใหญ่บ้านอ่าวน้อยข้องใจตัดงบป้องกันโควิดชายแดน เหลือหัวละ 50 บาทต่อวัน
วันที่ 12 ตุลาคม นางลั่นทม งุ้ยไก่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้าน กม.12 ต.อ่าวน้อย อ.เมืองจ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งให้ตั้งจุดตรวจคัดกรองป้องกันโควิด19 และตรวจสอบป้องกันชาวเมียนมาแอบลักลอบข้ามแดนผ่านช่องทางธรรมชาติ โดยพื้นที่อำเภอเมืองประจวบ มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.และ ชรบ.ร่วมกันตั้ง 12 จุดตรวจโดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมลาดตระเวนตามเส้นทางบริเวณชายแดน ขณะที่เจ้าหน้าที่และอาสาทุกรายจะต้องประกอบอาชีพของตนเองเพื่อสร้างรายได้ แต่ต้องทำหน้าที่เฝ้าจุดตรวจ เนื่องจากในพื้นที่มีมากกว่า 30 ช่องทางธรรมชาติ ทำให้การสอดส่องดูแลทำได้ด้วยความยากลำบาก
“ขณะนี้ความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่ที่มาเฝ้าประจำจุดตรวจมีปัญหาจากเสบียงอาหารมีไม่เพียงพอ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐให้งบหัวละ 50 บาทต่อวัน แต่เจ้าหน้าที่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง แต่โชคดีที่ชาวบ้านช่วยกับบริจาควัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหาร หากเป็นไปได้ขอให้ส่วนราชการพิจารณาหมู่บ้านตามแนวชายแดน ให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากค่าอาหารที่รัฐจัดให้ไม่เพียงพอ ที่อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้เพราะชาวบ้านให้ความช่วยเหลือ” นางลั่นทม กล่าว
นายชนพหล ส่งเสริม นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า เดิมอำเภอได้ทำเสนอขอเงินงบประมาณในส่วนการยับยั้งป้องกันภัยพิบัติจากผู้ว่าการจังหวัด จุดละประมาณ 15 คน เพื่อจะถัวเฉลี่ยค่าอาหาร แต่เงินงบประมาณอาจมีจำกัด จังหวัดจึงได้ปรับลดลงเหลือจุดละ 10 คน แต่เจ้าหน้าที่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง บางวัน บางมื้อ อาหารก็ไม่เพียงพอ แต่ชาวบ้านนำอาหารบางส่วนเข้ามาสนับสนุน
“ในระยะยาวหากสถานการณ์การระบาดในเมียนมายังไม่ลดลง เจ้าหน้าที่ต้องทำหน้าที่เหมือนเดิมอีก 1 หรือ 2 เดือน ก็ขอความเห็นใจจากผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นตามสมควร อาจจะเป็นอาหารหรือสิทธิอื่น สำหรับผู้ที่อยู่เวรปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง จะมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้โรคโควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศ“ นายอำเภอเมืองฯ กล่าว