การบินไทยลดคน เปิด “เออร์ลี่รีไทร์” 15 ต.ค.นี้ จ่ายสูงสุด 15.33 เดือน
https://www.prachachat.net/tourism/news-536010
การบินไทยเปิดโครงการ “ร่วมใจจากองค์กร” ให้พนักงานสมัครใจลาออกจ่ายสูงสุด 15.33 เดือน โดยบริษัททยอยจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อรักษาสภาพคล่อง พร้อมเปิดโครงการให้พนักงานหยุดยาว 6 เดือนไม่รับค่าจ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา นาย
ชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมระหว่างฝ่ายบริหารและพนักงาน เพื่อให้ข้อมูลพนักงานและสร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ
ได้แก่ กระบวนการฟื้นฟูกิจการ สถานะเงินสด กระบวนการเจรจากับเจ้าหนี้ ความคืบหน้าโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อการบินไทย และการหารายได้ในระหว่างหยุดทำการบิน พร้อมเปิดให้สหภาพฯเข้าหารือประเด็นต่างๆ และในที่ประชุมได้มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดโครงการ “ร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร” 2 โครงการ
เปิดเออร์ลี่จ่ายสูงสุด 15.33 เดือน
รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้มีการพิจารณาโครงการ “ร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร” 2 โครงการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายพนักงาน เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท โดยเตรียมที่จะประกาศในวันที่ 15 ต.ค.นี้ ประกอบด้วย แพ็กเกจ A เป็นโครงการ “ร่วมใจจากองค์กร” (Mutual Separation Plan : MSP A) กำหนดรับสมัครวันที่ 15-31 ต.ค. 2563 ประกาศผล 20 พ.ย. 2563 มีผลบังคับ 1 ธ.ค. 2563
เงื่อนไข คือ พนักงานทุกคนมีสิทธิสมัคร แต่การอนุมัติต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์กลางและหลักเกณฑ์ของหน่วยงานเพื่อรักษา key person ไว้ รวมถึงอายุและผลประเมินการปฏิบัติการ ภาษีที่บริษัทต้องรับผิดชอบให้พนักงาน ส่วนสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ เป็นไปตามกำหนดของบริษัท, กองทุนประกันสังคม และเงินทดแทนการว่างงาน
สำหรับเงินตอบแทนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2-14.33 เดือนตามกฎหมาย บวก 1 เดือน โดยบริษัทจะผ่อนจ่ายเป็นรายเดือนเริ่ม ม.ค. 2564
ข้อดีของแพ็กเกจ A คือ สามารถคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและประหยัดค่าใช้จ่ายบุคลากรในระยะยาว วางแผนการเงินได้ ส่วนพนักงานได้รับผลตอบแทนตามกฎหมาย ได้รับเงินรายเดือน ส่วนข้อเสียมีประเด็นเดียว คือ บริษัทฯ ยังคงมีค่าใช้จ่ายรายเดือนไปอีกระยะหนึ่ง
ลาหยุดไม่รับค่าจ้าง 6 เดือน
แพ็กเกจ B ประกอบด้วยโครงการ
“หยุดงานไม่รับค่าจ้าง” (Leave with out pay ระยะยาว) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2563-30 เม.ย. 2564 โดยเปิดรับสมัคร 15-31 ต.ค. 2563 เป็นการขยายเงื่อนไข Together WeCan นับอายุงานต่อเนื่อง โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 20% ของเงินเดือนปัจจุบัน ทุกเดือน (ไม่รวมค่าตอบแทนอื่นๆ) ส่วนสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ เป็นไปตามที่บริษัทฯ และกองทุนประกันสังคมกำหนด
โครงการนี้ข้อดีคือทำให้บริษัทประหยัดเงินได้ทันที ส่วนพนักงานก็สามารถช่วยบริษัทได้ และมีโอกาสตัดสินใจเข้าโครงการ
“ร่วมใจจากองค์กร”
( Mutual Separation Plan : MSP B)
สำหรับโครงการ
“ร่วมใจจากองค์กร” MSP B รอบพิเศษเปิดรับสมัคร 1-15 มี.ค. 2564 ประกาศผล 20 เม.ย. 2564 มีผลวันที่ 1 พ.ค. 2564 เงื่อนไขสำหรับพนักงานที่เข้าโครงการ Leave with out pay ระยะยาวจนสิ้นสุดโครงการแล้วเท่านั้น
โดยการอนุมัติ ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์กลางและหลักเกณฑ์ของหน่วยงานเพื่อรักษา key person ไว้ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการเป็นไปตามที่บริษัทฯ และกองทุนประกันสังคมกำหนด ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับเงิน
“เงินตอบแทนโครงการ” 2-14.33 เดือน ตามกฎหมาย บวก 4 เดือน (จ่ายทุกเดือนเริ่ม มิ.ย. 2564)
ส่วนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จ (จ่าย พ.ค. 2564) เงินอื่นๆ (เริ่มจ่าย มิ.ย. 2564 เป็นงวดๆ) ข้อดีบริษัทฯ จะเคยชินกับแผนการทำงานใหม่ และวางแผนจัดการด้านเงินได้ ส่วนพนักงานได้ผลตอบแทนมากกว่ากฎหมาย โดยได้รับเงินรายเดือน ส่วนข้อเสีย คือบริษัทฯ ยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนไปอีกระยะหนึ่ง
ทั้งนี้พนักงานในกลุ่มนักบิน บริษัทฯ จะทำการ Recurrent เพื่อให้สามารถรักษาสถานภาพใบอนุญาตการบิน
สรรพสามิตลดเป้าเก็บภาษีศก.ยังไม่ฟื้น
https://www.innnews.co.th/economy/news_793704/
กรมสรรพสามิต ปรับลดเป้าเก็บภาษีปีนี้ลงเหลือ 5.3 แสนล้านบาท จากเดิม 6.3 แสนล้านบาท เหตุ เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ดังนั้นกรมสรรพสามิต จึงปรับลดเป้าการจัดเก็บภาษีปีนี้ลงเหลือ 530,000ล้านบาท จากเดิม 630,000 ล้านบาท
ส่วนประเด็นการจะขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบิน (เจ็ท A1) ที่ผู้ประกอบการสายการบินเสนอให้ยืดระยะเวลาออกไปนั้นต้องรอพิจารณาอย่างละเอียด ทั้งการฟื้นตัวของธุรกิจการบิน และมาตรการซอฟท์โลนต่างๆ ว่าจะออกมาหรือไม่เช่นเดียวกับ การขึ้นภาษีประเภทใหม่ๆ เช่น ภาษีเบียร์ และภาษีบุหรี่ที่ค้างอยู่ ยังไม่สามารถทำได้ในเวลานี้ เนื่องจากจะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
JJNY : การบินไทยเปิด“เออร์ลี่รีไทร์”/สรรพสามิตลดเป้าเก็บภาษีศก.ยังไม่ฟื้น/กกต.เคาะเลือกตั้งท้องถิ่น/วิษณุไม่ห่วงม็อบ
https://www.prachachat.net/tourism/news-536010
การบินไทยเปิดโครงการ “ร่วมใจจากองค์กร” ให้พนักงานสมัครใจลาออกจ่ายสูงสุด 15.33 เดือน โดยบริษัททยอยจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อรักษาสภาพคล่อง พร้อมเปิดโครงการให้พนักงานหยุดยาว 6 เดือนไม่รับค่าจ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมระหว่างฝ่ายบริหารและพนักงาน เพื่อให้ข้อมูลพนักงานและสร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ
ได้แก่ กระบวนการฟื้นฟูกิจการ สถานะเงินสด กระบวนการเจรจากับเจ้าหนี้ ความคืบหน้าโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อการบินไทย และการหารายได้ในระหว่างหยุดทำการบิน พร้อมเปิดให้สหภาพฯเข้าหารือประเด็นต่างๆ และในที่ประชุมได้มีการเปิดเผยถึงรายละเอียดโครงการ “ร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร” 2 โครงการ
เปิดเออร์ลี่จ่ายสูงสุด 15.33 เดือน
รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้มีการพิจารณาโครงการ “ร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร” 2 โครงการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายพนักงาน เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท โดยเตรียมที่จะประกาศในวันที่ 15 ต.ค.นี้ ประกอบด้วย แพ็กเกจ A เป็นโครงการ “ร่วมใจจากองค์กร” (Mutual Separation Plan : MSP A) กำหนดรับสมัครวันที่ 15-31 ต.ค. 2563 ประกาศผล 20 พ.ย. 2563 มีผลบังคับ 1 ธ.ค. 2563
เงื่อนไข คือ พนักงานทุกคนมีสิทธิสมัคร แต่การอนุมัติต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์กลางและหลักเกณฑ์ของหน่วยงานเพื่อรักษา key person ไว้ รวมถึงอายุและผลประเมินการปฏิบัติการ ภาษีที่บริษัทต้องรับผิดชอบให้พนักงาน ส่วนสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ เป็นไปตามกำหนดของบริษัท, กองทุนประกันสังคม และเงินทดแทนการว่างงาน
สำหรับเงินตอบแทนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2-14.33 เดือนตามกฎหมาย บวก 1 เดือน โดยบริษัทจะผ่อนจ่ายเป็นรายเดือนเริ่ม ม.ค. 2564
ข้อดีของแพ็กเกจ A คือ สามารถคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและประหยัดค่าใช้จ่ายบุคลากรในระยะยาว วางแผนการเงินได้ ส่วนพนักงานได้รับผลตอบแทนตามกฎหมาย ได้รับเงินรายเดือน ส่วนข้อเสียมีประเด็นเดียว คือ บริษัทฯ ยังคงมีค่าใช้จ่ายรายเดือนไปอีกระยะหนึ่ง
ลาหยุดไม่รับค่าจ้าง 6 เดือน
แพ็กเกจ B ประกอบด้วยโครงการ “หยุดงานไม่รับค่าจ้าง” (Leave with out pay ระยะยาว) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2563-30 เม.ย. 2564 โดยเปิดรับสมัคร 15-31 ต.ค. 2563 เป็นการขยายเงื่อนไข Together WeCan นับอายุงานต่อเนื่อง โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 20% ของเงินเดือนปัจจุบัน ทุกเดือน (ไม่รวมค่าตอบแทนอื่นๆ) ส่วนสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ เป็นไปตามที่บริษัทฯ และกองทุนประกันสังคมกำหนด
โครงการนี้ข้อดีคือทำให้บริษัทประหยัดเงินได้ทันที ส่วนพนักงานก็สามารถช่วยบริษัทได้ และมีโอกาสตัดสินใจเข้าโครงการ “ร่วมใจจากองค์กร”
( Mutual Separation Plan : MSP B)
สำหรับโครงการ “ร่วมใจจากองค์กร” MSP B รอบพิเศษเปิดรับสมัคร 1-15 มี.ค. 2564 ประกาศผล 20 เม.ย. 2564 มีผลวันที่ 1 พ.ค. 2564 เงื่อนไขสำหรับพนักงานที่เข้าโครงการ Leave with out pay ระยะยาวจนสิ้นสุดโครงการแล้วเท่านั้น
โดยการอนุมัติ ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์กลางและหลักเกณฑ์ของหน่วยงานเพื่อรักษา key person ไว้ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการเป็นไปตามที่บริษัทฯ และกองทุนประกันสังคมกำหนด ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับเงิน “เงินตอบแทนโครงการ” 2-14.33 เดือน ตามกฎหมาย บวก 4 เดือน (จ่ายทุกเดือนเริ่ม มิ.ย. 2564)
ส่วนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จ (จ่าย พ.ค. 2564) เงินอื่นๆ (เริ่มจ่าย มิ.ย. 2564 เป็นงวดๆ) ข้อดีบริษัทฯ จะเคยชินกับแผนการทำงานใหม่ และวางแผนจัดการด้านเงินได้ ส่วนพนักงานได้ผลตอบแทนมากกว่ากฎหมาย โดยได้รับเงินรายเดือน ส่วนข้อเสีย คือบริษัทฯ ยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนไปอีกระยะหนึ่ง
ทั้งนี้พนักงานในกลุ่มนักบิน บริษัทฯ จะทำการ Recurrent เพื่อให้สามารถรักษาสถานภาพใบอนุญาตการบิน
สรรพสามิตลดเป้าเก็บภาษีศก.ยังไม่ฟื้น
https://www.innnews.co.th/economy/news_793704/
กรมสรรพสามิต ปรับลดเป้าเก็บภาษีปีนี้ลงเหลือ 5.3 แสนล้านบาท จากเดิม 6.3 แสนล้านบาท เหตุ เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ดังนั้นกรมสรรพสามิต จึงปรับลดเป้าการจัดเก็บภาษีปีนี้ลงเหลือ 530,000ล้านบาท จากเดิม 630,000 ล้านบาท
ส่วนประเด็นการจะขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบิน (เจ็ท A1) ที่ผู้ประกอบการสายการบินเสนอให้ยืดระยะเวลาออกไปนั้นต้องรอพิจารณาอย่างละเอียด ทั้งการฟื้นตัวของธุรกิจการบิน และมาตรการซอฟท์โลนต่างๆ ว่าจะออกมาหรือไม่เช่นเดียวกับ การขึ้นภาษีประเภทใหม่ๆ เช่น ภาษีเบียร์ และภาษีบุหรี่ที่ค้างอยู่ ยังไม่สามารถทำได้ในเวลานี้ เนื่องจากจะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ