วัดดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

⭕️🐓วัดดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
🙏สวัสดีครับพบกันอีกแล้ววันนี้จะพาไปวัดอีกแห่งนึงที่ตั้งอยู่ริม"แม่น้ำท่าจีน"คือ"วัดดอนไก่ดี"ไม่ไกลจาก กทม.เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งอายุเป็นร้อยปี ชื่อวัดก็มาจากชื่อตำลบที่วัดตั้งอยู่ คือ"ตำบลดอนไก่ดี"จากที่หาข้อมูลที่มาของชื่อมีหลายตำนานครับ ผมจะยกตำนานนึงอันนี่จากเวบของตำบลเองเลยเขาว่าไว้แบบนี้
🐓ที่มาของชื่อตำบลดอนไก่ดี
ดอนไก่ดีเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกระทุ่มแบนจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าพื้นที่ในบริเวณที่เป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อีกทั้งเป็นที่ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะเลี้ยงไก่ชนเอาไว้เพื่อขาย และนำไปชนกับไก่ชนในหมู่บ้านอื่นๆ และมักจะได้รับชัยชนะเสมอ (แม้ในปัจจุบันก็ยังมีการเลี้ยงไก่ชนอยู่เหมือนเดิม) นอกจากนี้ในอดีตวัดดอนไก่ดีซึ่งเคยเป็นวัดประจำตำบลดอนไก่ดี (ปัจจุบันได้โอนไปอยู่ กับเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน)ได้มีการทำเสาและมีตัวไก่อยู่บนเสาเป็นสัญลักษณ์ด้วยและในอดีตตำบลท่าเสาเคยรวมอยู่เป็นตำบลเดียวกับตำบลดอนไก่ดีแต่ต่อมาภายหลังก็ถูกแยกออกเป็นอีกตำบลหนึ่ง😁เราไปดูเรื่องของวัดกันต่อเลย
🐓ประวัติ"วัดดอนไก่ดี" วัดนี้ตามที่ได้มีผู้บอกเล่ากันต่อๆมาว่า เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ประมาณ ๔๐๐ ปี โดยสันนิษฐานจากวัตถุก่อสร้างมีอยู่ดั้งเดิม เช่น อุโบสถเป็นรูปทรงเรือสำเภา ซึ่งสร้างโดยชาวบ้านโรงหีบ หรือบ้านโรงจักร ซึ่งตั้งชุมชนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนทางด้านหลังของวัดในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยตำแหน่งที่ตั้งในการสร้างเริ่มแรกนั้น ได้สร้างพระอุโบสถขึ้นบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน และเรียกวัดนี้ตามที่ตั้งของวัดว่า "วัดดอน" มาเจอกับตำนานไก่เก่งไก่ดีรวมกันเลยกลายเป็นเรียก"วัดดอนไก่ดี"
🐓อาคารสถานที่ที่น่าสนใจในวัด เช่น
🙏 พระอุโบสถ เป็นพระอุโบสถทรงเรือสำเภา คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางด้วยศิลปะเชิงช่างทางสถาปัตยกรรมที่มีเครื่องบนเป็นเครื่องไม้ทรงหลังคามีลักษณะแอ่นกลางเล็กน้อย หรือที่เรียกว่าตกท้องสำเภา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หลังคาไม่ซ้อนชั้น ด้านหน้าพระอุโบสถต่อเพิงหลังคาหรือจันทันหับ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาโบราณแบบเกล็ดปลา ประตูแต่เดิมมีสามช่อง ประตูซ้ายขวา ใช้เข้าออกปกติ และมีประตูกลางซึ่งอยู่สูงกว่าไม่สามารถใช้เข้าออกได้ เรียกว่าประตูเทวดา ปัจจุบันประตูเทวดาไม่มีแล้รูปแบบการก่อสร้างตามแบบโบราณ ใช้ไม้ซุงฝังนอนตามแนวกำแพงและเสา ผนังก่ออิฐถือปูนบนแนวไม้ซุงที่ฝั่งใต้ดิน ด้านในมีเสาบัวแปดเหลี่ยมสองแถวรวมหกต้นตั้งแต่ด้านหลังพระประธานถึงหน้าพระประธาน ถัดมาเป็นบริเวณที่ใช้ประกอบสังฆกรรมไม่มีเสา แต่ใช้ไม้ซุงพาดบนแนวผนังรับน้ำหนักเครื่องบนหลังคาแทนเสาเครื่องบนด้านในมีตีฝ้าเพดานเฉพาะแนวคู่เสาใต้แนวหลังคาจั่ว เขียนลายคล้ายดาวล้อมเดือน หลังคาด้านข้างปีกนกทั้งสองฝั่งไม่ตีไม้กรุฝ้า อวดฝีมือช่างไม้เข้าขือตีแป📌ด้านในมีพระประธานปางสมาธิมีชื่อเรียกขานกันมาแต่โบราณว่า 🙏หลวงพ่อโต🙏ด้านหน้าบริเวณจันทันหับมีพระพุทธรูปปางสมาธิไม่มียอดพระเกศ ทั้งสององค์เป็นที่เคารพนับถือของชาวกระทุ่มแบน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่