(ภูเขาทางตะวันตกของมองโกเลีย Cr.ภาพ Bernd Thaller / Flickr)
การตายของเจงกีสข่านถูกปกปิดไว้เป็นความลับ ไม่มีใครรู้ลักษณะการตายของเขา ข่านผู้ยิ่งใหญ่เสียชีวิตในช่วงฤดูร้อนปี 1227 ระหว่างการรณรงค์ต่อต้าน Tanguts (ทิเบตกลุ่มหนึ่ง) บริเวณตอนบนของแม่น้ำฮวงโหในยินฉวน เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่จะเชื่อว่าเขาเสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บระหว่างการรบ
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าบาดแผลเหล่านั้นไม่ได้มาจากลูกธนูของศัตรูตามที่ Marco Polo กล่าวอ้าง แต่มาจากการตกจากหลังม้าระหว่างการล่าสัตว์ ตามที่เขียนไว้ใน The Secret History of the Mongols (ประวัติศาสตร์ลับของชาวมองโกล) เป็นลำดับวงศ์ตระกูลกึ่งตำนานของเจงกีสข่านถูกเขียนขึ้นหลังจากเขาเสียชีวิต
มีเรื่องที่ไม่น่าที่จะเชื่อที่ว่าเจงกีสข่านเสียชีวิตเพราะเลือดออก เป็นเพราะเจ้าหญิงเจ้าเล่ห์แห่ง Western Xia ซึ่งชาวมองโกลถือว่าเป็นเชลยที่ยึดมา ได้สอดสิ่งประดิษฐ์พิเศษเข้าไปในช่องคลอดของเธอเพื่อที่เมื่อเจงกีสข่านมานอนกับเธอมันจะฉีกอวัยวะของเขา เรื่องนี้นักวิชาการชาวมองโกลบางคนเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นโดยศัตรูของข่านเพื่อให้ร้ายเขา
ความลับที่อยู่รอบ ๆ การตายของเจงกีสข่านล้วนมาการคาดเดา ซึ่งต่อมาทำให้เกิดแรงบันดาลใจเป็นเรื่องราวที่ไร้สาระมากมายจนแยกความจริงออกจากนิยายได้ยาก นานมาแล้วก่อนการตายของเขามีการกล่าวกันว่า เจงกีสข่านปรารถนาที่จะถูกฝังในหลุมศพที่ไม่มีเครื่องหมายบนภูเขา Burkhan Khaldun (ตามที่บอกไว้ใน The Secret History of the Mongols) โดยเมื่อตอนที่เจงกีสข่านกำลังล่าสัตว์ใกล้กับภูเขา Burkhan Khaldun ในเทือกเขา Khentii ที่เป็นบ้านเกิด เขานั่งลงเพื่อพักผ่อนใต้ต้นไม้และถูกครอบงำจากความงดงามของภูมิทัศน์เบื้องหน้า เขาจึงขอว่าให้ฝังเขาในภูเขาที่นี่
Burkhan Khaldun ถือเป็นอีกหนึ่งความสำคัญในชีวิตของเจงกีสข่าน ครั้งหนึ่งในขณะต่อสู้กับชนเผ่า Merkit เจงกีสข่านรอดตายอย่างหวุดหวิดและหนีไปยังเขตศักดิ์สิทธิ์ของภูเขา Burkhan Khaldun ที่นั่นทีหญิงชราคนหนึ่งให้ที่พักพิงแก่เขา ในเวลานั้นเขาให้คำมั่นว่าจะให้เกียรติภูเขาด้วยการเคารพบูชาและอธิษฐานทุกเช้านับจากนั้นเป็นต้นมา
ภาพวาดของหัวหน้าเผ่ามองโกเลียเจงกีสข่านซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติของไต้หวัน
(AP Photo / พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติ)
หลังจากที่เขาเสียชีวิต ศพของเจงกีสข่านถูกทหารพากลับไปยังบ้านเกิดของเขาและฝังเขาไว้ตามความปรารถนา เป็นหลุมฝังศพที่ไม่มีเครื่องหมายที่ไหนสักแห่งในใจกลางภูเขา Burkhan Khaldun ไม่มีเครื่องหมายของสถานที่ ไม่มีฮวงซุ้ย ไม่มีวิหาร ไม่มีหลุมฝังศพ และไม่มีใครรู้ว่าเจงกีสข่านอยู่ที่ไหน
มันถูกบอกเล่าซ้ำๆถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า ทหารของเจงกีสข่านฆ่าคนและสัตว์ทุกตัวที่พวกเขาพบระหว่างการเดินทางจาก Yinchuan อย่างไร นั่นคือหลังจากที่ฝังศพที่เป็นความลับแล้ว พวกเขาก็สังหารผู้ที่มาร่วมงานศพทั้งหมดเพื่อให้สถานที่นั้นเป็นความลับ ในเวลาเดียวกันพวกเขาก็ถูกสังหารโดยทหารอีกชุดหนึ่งซึ่งทหารชุดนั้นก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน หลังการฝังศพม้าพันตัวก็ทำการเหยียบย่ำพื้นที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อบดบังตำแหน่งของหลุมศพ ในเรื่องเล่าอื่นจะมีว่าแม่น้ำถูกเบี่ยงเบนไปเหนือหลุมศพของเขาทำให้ไม่สามารถหาสถานที่นั้นได้
ความรู้เกี่ยวกับที่ตั้งของหลุมศพไม่ใช่สิ่งที่ลืมไปตลอดหลายศตวรรษ เมื่อ Marco Polo เดินทางไปยังภูมิภาคนี้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 และถามหาหลุมฝังศพแต่ไม่มีชาวมองโกลคนไหนที่สามารถบอกเขาได้ว่าข่านที่ยิ่งใหญ่ถูกฝังอยู่ที่ใด
ไม่นานหลังจากการตายและการฝังศพของเจงกีสข่าน ทหารได้ปิดผนึกพื้นที่ทั้งหมดกว่า 240 ตารางไมล์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กลายเป็น Ikh Khorigหรือ Great Taboo ภูมิภาคนี้ยากต่อการเข้าถึงโดยเทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยป่าทึบได้รับการประกาศว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ต้องห้าม ทุกคนยกเว้นสมาชิกในครอบครัวและ Darkhad กลุ่มนักรบชั้นยอดและครอบครัว ซึ่งได้รับภารกิจดูแลสถานที่ไม่ให้มีใครเข้ามา โทษของการละเมิดคือความตาย
หลังจากอาณาจักรมองโกลล่มสลาย Darkhad และลูกหลานของพวกเขาดำเนินการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาอย่างยาวนาน เมื่อกองทัพต่างชาติบุกเข้ามาในบางส่วนของมองโกเลีย ชาวมองโกลก็ยังป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาในเขตศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษของตน
เมื่อสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นในปี1924 ผู้ปกครองโซเวียตยังคงให้เกียรติประเพณีดังกล่าวโดยกลัวว่าหากไม่ทำเช่นนั้นจะก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมของชาวมองโกเลีย ต่อมาโซเวียตได้ประกาศให้ดินแดนนี้เป็น “Highly Restricted Area” และปิดล้อมพื้นที่โดยรอบ 10,400 ตารางกม. ในช่วง 20 หรือ 30 ปีที่ผ่านมาการรักษาความปลอดภัยของที่นี่ได้ผ่อนคลายลงทำให้นักโบราณคดีจากต่างประเทศหลายคนเริ่มปฏิบัติการล่าหาสุสานที่หายไปของเจงกีสข่าน
ในปี 1990 การเดินทางของคณะ ญี่ปุ่น - มองโกเลีย เรียกว่า Gurvan Gol (หมายถึง Three Rivers) ได้เปิดตัวในการหาหลุมฝังศพข่านที่ยิ่งใหญ่
ทีมงานได้ใช้อัลตราโซนิกส์เพื่อค้นหาสถานที่ฝังศพได้มากถึง 1,380 แห่ง แต่การวิจัยเพิ่มเติมถูกหยุดลงโดยการประท้วงของประชาชน ชาวมองโกเลียหลายคนเชื่อว่าสถานที่พักผ่อนสุดท้ายของผู้นำไม่ควรถูกรบกวน และตอนนี้ภูเขา Burkhan Khaldun ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกจึงกลายเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้นในการดำเนินการตามหลักโบราณคดี
เนื่องจากตอนนี้ที่ตั้งส่วนใหญ่เป็นสิ่งต้องห้ามนักวิจัยบางคนจึงหันไปใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในปี 2010 ทีมงานนำโดย Albert Yu-Min Lin นักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในซานดิเอโก ได้เชิญอาสาสมัครออนไลน์ให้เข้าร่วม โดยปล่อยภาพถ่ายความละเอียดสูงของมองโกเลียจำนวนหลายพันภาพที่ถ่ายโดยดาวเทียมเพื่อดูร่องรอยหลุมศพ ปัญหาคือนักวิจัยไม่รู้ว่าจะต้องค้นหาอะไรจึงขอให้อาสาสมัครเหล่านั้นระบุสิ่งที่ผิดปกติ
“ นี่คือเข็มในกองหญ้าที่มีปัญหาซึ่งไม่ทราบลักษณะของเข็ม” Lin กล่าว
ในเวลาแค่หกเดือน นักสำรวจบนเก้าอี้มากกว่าหมื่นคนติดแท็กมากกว่า 2 ล้านที่ตั้งทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก ซึ่งนักวิจัยได้คัดแยกรายชื่อไปยังสถานที่ตั้งหนึ่งร้อยแห่ง ทีมงานภาคสนามได้สำรวจสถานที่เหล่านี้และระบุสถานที่ห้าสิบห้าแห่งในเชิงบวกว่ามีความสำคัญทางโบราณคดีและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามไม่มีในสิ่งเหล่านี้ที่ระบุว่าเป็นสุสานของข่านที่ยิ่งใหญ่
หลุมฝังศพที่เข้าถึงยากยังคงดึงดูดนักโบราณคดี บางคนเริ่มใช้โดรนเพื่อดูภูมิทัศน์อย่างใกล้ชิดโดยไม่ต้องเหยียบย่ำในอาณาเขตศักดิ์สิทธิ์
ความหลงใหลในหลุมศพของเจงกีสข่านเป็นสิ่งที่ชาวมองโกเลียไม่ได้แบ่งปันกับชาวต่างชาติ สำหรับพวกเขาเจงกีสข่านเป็นบุคคลที่ต้องให้ความเคารพอย่างสูง และหากท่านข่านผู้ยิ่งใหญ่ไม่ต้องการให้ใครพบ ความปรารถนาในที่ตายของเขาก็ควรได้รับเกียรติเช่นกัน
(เผ่า Darkhad ชนเผ่าในมองโกเลีย ผู้รับหน้าที่ดูแลสุสานและวิญญาณของเจงกิสข่าน)
คำว่า Darkhad ในภาษามองโกเลียแปลว่า " ผู้ที่ไม่สามารถจับต้องได้ และผู้ถูกปกป้อง " ดังนั้นชนเผ่านี้จะปลีกตัวออกจากสังคม และนอกจากจะปกป้องพื้นที่ที่เป็นสุสานของเจงกิสข่านแล้ว คนเหล่านี้ยังรับหน้าที่ดูแลรักษาวัตถุโบราณที่สืบทอดกันมาแต่อดีตด้วย หน้าที่เหล่านี้เองทำให้เผ่านี้ยังคงใช้ชีวิตหลักจารีตประเพณีดั้งเดิมอยู่ พวกเขาอาศัยใน “Gers” ที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายกระโจม และยังคงใช้ชีวิตด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์
ในอดีตวัตถุโบราณของเจงกิสข่าน จะถูกเก็บไว้ในกระโจม 8 แห่งของชนเผ่า โดยหนึ่งในสิ่งของเหล่านี้คือ “Suledu” อาวุธรูปร่างคล้ายสามง่าม ที่ถูกเชื่อโดยคนในเผ่าว่าถูกประทานมาให้เจงกิสข่าน จากทวยเทพ โดยแลกกับการบูชายัญม้า 1,000 ตัว และ แกะอีก 10,000 ตัว ต่อมาวัตถุโบราณเหล่านี้ถูกนำไปเก็บไว้ในสุสานจำลองที่เมือง Ordos ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในจีน
ในปี 2008 ทางการมองโกเลีย ได้สร้าง อนุสาวรีย์ เจงกีสข่าน (Genghis Khan Equestrian Statue) เพื่อรำลึกถึงความเกรียงไกรในอดีตชนชาติมองโกล ไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำTull ซึ่งห่างจากกรุงอูลานบาตอร์ ไปทางทิศตะวันออกราว 54 กิโลเมตร ในพื้นที่ที่เชื่อว่ามีการพบตำนานแส้ทองของอดีตข่านผู้ยิ่งใหญ่ นับเป็นอนุสาวรีย์รูปปั้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในมองโกเลีย รูปปั้นมีความสูงประมาณ 40 เมตร น้ำหนักกว่า 250 ตัน ซึ่งตัวรูปปั้นสร้างมาจากสแตนเลสที่สะท้อนแสงเพริศพรายยามต้องแสงจากดวงอาทิตย์
เรื่องราวของเจงกิสข่านผู้ยิ่งใหญ่ถูกแทรกอยู่ในซีรีย์และถูกนำมาสร้างภาพยนตร์ในหลายเวอร์ชั่นเช่น
- MONGOL 2007 : THE RISE OF GENGHIS KHAN
- By the Will of Chingis Khan 2009 เจงกิสข่านมหาสงครามจักรพรรดิล้างแผ่นดิน
- Genghis Khan: To the Ends of the Earth and Sea (2007)
- ซีรีส์ “มังกรหยก 2017”
- Genghis Khan (2018) เจงกิสข่าน
ที่มา ancient-origins
Cr.ภาพ Mikhaylov Ilya / Shutterstock.com
Cr.
https://www.amusingplanet.com/2019/05/the-lost-tomb-of-genghis-khan.html / By KAUSHIK PATOWARY
Cr.
https://www.catdumb.com/darkhad-378/By เหมียวศรัทธา
Cr.
https://travel.mthai.com/world-travel/66675.html
Cr.
https://news.thaipbs.or.th/content/267909
Cr.
http://mongolschinaandthesilkroad.blogspot.com/2015/06/the-search-for-genghis-khans-hidden-tomb.html
Cr.
https://www.sanook.com/movie/18760/
สุสานที่สาปสูญของเจงกีสข่านผู้ยิ่งใหญ่
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าบาดแผลเหล่านั้นไม่ได้มาจากลูกธนูของศัตรูตามที่ Marco Polo กล่าวอ้าง แต่มาจากการตกจากหลังม้าระหว่างการล่าสัตว์ ตามที่เขียนไว้ใน The Secret History of the Mongols (ประวัติศาสตร์ลับของชาวมองโกล) เป็นลำดับวงศ์ตระกูลกึ่งตำนานของเจงกีสข่านถูกเขียนขึ้นหลังจากเขาเสียชีวิต
มีเรื่องที่ไม่น่าที่จะเชื่อที่ว่าเจงกีสข่านเสียชีวิตเพราะเลือดออก เป็นเพราะเจ้าหญิงเจ้าเล่ห์แห่ง Western Xia ซึ่งชาวมองโกลถือว่าเป็นเชลยที่ยึดมา ได้สอดสิ่งประดิษฐ์พิเศษเข้าไปในช่องคลอดของเธอเพื่อที่เมื่อเจงกีสข่านมานอนกับเธอมันจะฉีกอวัยวะของเขา เรื่องนี้นักวิชาการชาวมองโกลบางคนเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นโดยศัตรูของข่านเพื่อให้ร้ายเขา
ความลับที่อยู่รอบ ๆ การตายของเจงกีสข่านล้วนมาการคาดเดา ซึ่งต่อมาทำให้เกิดแรงบันดาลใจเป็นเรื่องราวที่ไร้สาระมากมายจนแยกความจริงออกจากนิยายได้ยาก นานมาแล้วก่อนการตายของเขามีการกล่าวกันว่า เจงกีสข่านปรารถนาที่จะถูกฝังในหลุมศพที่ไม่มีเครื่องหมายบนภูเขา Burkhan Khaldun (ตามที่บอกไว้ใน The Secret History of the Mongols) โดยเมื่อตอนที่เจงกีสข่านกำลังล่าสัตว์ใกล้กับภูเขา Burkhan Khaldun ในเทือกเขา Khentii ที่เป็นบ้านเกิด เขานั่งลงเพื่อพักผ่อนใต้ต้นไม้และถูกครอบงำจากความงดงามของภูมิทัศน์เบื้องหน้า เขาจึงขอว่าให้ฝังเขาในภูเขาที่นี่
Burkhan Khaldun ถือเป็นอีกหนึ่งความสำคัญในชีวิตของเจงกีสข่าน ครั้งหนึ่งในขณะต่อสู้กับชนเผ่า Merkit เจงกีสข่านรอดตายอย่างหวุดหวิดและหนีไปยังเขตศักดิ์สิทธิ์ของภูเขา Burkhan Khaldun ที่นั่นทีหญิงชราคนหนึ่งให้ที่พักพิงแก่เขา ในเวลานั้นเขาให้คำมั่นว่าจะให้เกียรติภูเขาด้วยการเคารพบูชาและอธิษฐานทุกเช้านับจากนั้นเป็นต้นมา
มันถูกบอกเล่าซ้ำๆถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า ทหารของเจงกีสข่านฆ่าคนและสัตว์ทุกตัวที่พวกเขาพบระหว่างการเดินทางจาก Yinchuan อย่างไร นั่นคือหลังจากที่ฝังศพที่เป็นความลับแล้ว พวกเขาก็สังหารผู้ที่มาร่วมงานศพทั้งหมดเพื่อให้สถานที่นั้นเป็นความลับ ในเวลาเดียวกันพวกเขาก็ถูกสังหารโดยทหารอีกชุดหนึ่งซึ่งทหารชุดนั้นก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน หลังการฝังศพม้าพันตัวก็ทำการเหยียบย่ำพื้นที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อบดบังตำแหน่งของหลุมศพ ในเรื่องเล่าอื่นจะมีว่าแม่น้ำถูกเบี่ยงเบนไปเหนือหลุมศพของเขาทำให้ไม่สามารถหาสถานที่นั้นได้
ความรู้เกี่ยวกับที่ตั้งของหลุมศพไม่ใช่สิ่งที่ลืมไปตลอดหลายศตวรรษ เมื่อ Marco Polo เดินทางไปยังภูมิภาคนี้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 และถามหาหลุมฝังศพแต่ไม่มีชาวมองโกลคนไหนที่สามารถบอกเขาได้ว่าข่านที่ยิ่งใหญ่ถูกฝังอยู่ที่ใด
ไม่นานหลังจากการตายและการฝังศพของเจงกีสข่าน ทหารได้ปิดผนึกพื้นที่ทั้งหมดกว่า 240 ตารางไมล์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กลายเป็น Ikh Khorigหรือ Great Taboo ภูมิภาคนี้ยากต่อการเข้าถึงโดยเทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยป่าทึบได้รับการประกาศว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ต้องห้าม ทุกคนยกเว้นสมาชิกในครอบครัวและ Darkhad กลุ่มนักรบชั้นยอดและครอบครัว ซึ่งได้รับภารกิจดูแลสถานที่ไม่ให้มีใครเข้ามา โทษของการละเมิดคือความตาย
หลังจากอาณาจักรมองโกลล่มสลาย Darkhad และลูกหลานของพวกเขาดำเนินการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาอย่างยาวนาน เมื่อกองทัพต่างชาติบุกเข้ามาในบางส่วนของมองโกเลีย ชาวมองโกลก็ยังป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาในเขตศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษของตน
เมื่อสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก่อตั้งขึ้นในปี1924 ผู้ปกครองโซเวียตยังคงให้เกียรติประเพณีดังกล่าวโดยกลัวว่าหากไม่ทำเช่นนั้นจะก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมของชาวมองโกเลีย ต่อมาโซเวียตได้ประกาศให้ดินแดนนี้เป็น “Highly Restricted Area” และปิดล้อมพื้นที่โดยรอบ 10,400 ตารางกม. ในช่วง 20 หรือ 30 ปีที่ผ่านมาการรักษาความปลอดภัยของที่นี่ได้ผ่อนคลายลงทำให้นักโบราณคดีจากต่างประเทศหลายคนเริ่มปฏิบัติการล่าหาสุสานที่หายไปของเจงกีสข่าน
ในปี 1990 การเดินทางของคณะ ญี่ปุ่น - มองโกเลีย เรียกว่า Gurvan Gol (หมายถึง Three Rivers) ได้เปิดตัวในการหาหลุมฝังศพข่านที่ยิ่งใหญ่
ทีมงานได้ใช้อัลตราโซนิกส์เพื่อค้นหาสถานที่ฝังศพได้มากถึง 1,380 แห่ง แต่การวิจัยเพิ่มเติมถูกหยุดลงโดยการประท้วงของประชาชน ชาวมองโกเลียหลายคนเชื่อว่าสถานที่พักผ่อนสุดท้ายของผู้นำไม่ควรถูกรบกวน และตอนนี้ภูเขา Burkhan Khaldun ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกจึงกลายเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้นในการดำเนินการตามหลักโบราณคดี
เนื่องจากตอนนี้ที่ตั้งส่วนใหญ่เป็นสิ่งต้องห้ามนักวิจัยบางคนจึงหันไปใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในปี 2010 ทีมงานนำโดย Albert Yu-Min Lin นักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในซานดิเอโก ได้เชิญอาสาสมัครออนไลน์ให้เข้าร่วม โดยปล่อยภาพถ่ายความละเอียดสูงของมองโกเลียจำนวนหลายพันภาพที่ถ่ายโดยดาวเทียมเพื่อดูร่องรอยหลุมศพ ปัญหาคือนักวิจัยไม่รู้ว่าจะต้องค้นหาอะไรจึงขอให้อาสาสมัครเหล่านั้นระบุสิ่งที่ผิดปกติ
“ นี่คือเข็มในกองหญ้าที่มีปัญหาซึ่งไม่ทราบลักษณะของเข็ม” Lin กล่าว
ในเวลาแค่หกเดือน นักสำรวจบนเก้าอี้มากกว่าหมื่นคนติดแท็กมากกว่า 2 ล้านที่ตั้งทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก ซึ่งนักวิจัยได้คัดแยกรายชื่อไปยังสถานที่ตั้งหนึ่งร้อยแห่ง ทีมงานภาคสนามได้สำรวจสถานที่เหล่านี้และระบุสถานที่ห้าสิบห้าแห่งในเชิงบวกว่ามีความสำคัญทางโบราณคดีและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามไม่มีในสิ่งเหล่านี้ที่ระบุว่าเป็นสุสานของข่านที่ยิ่งใหญ่
หลุมฝังศพที่เข้าถึงยากยังคงดึงดูดนักโบราณคดี บางคนเริ่มใช้โดรนเพื่อดูภูมิทัศน์อย่างใกล้ชิดโดยไม่ต้องเหยียบย่ำในอาณาเขตศักดิ์สิทธิ์
ความหลงใหลในหลุมศพของเจงกีสข่านเป็นสิ่งที่ชาวมองโกเลียไม่ได้แบ่งปันกับชาวต่างชาติ สำหรับพวกเขาเจงกีสข่านเป็นบุคคลที่ต้องให้ความเคารพอย่างสูง และหากท่านข่านผู้ยิ่งใหญ่ไม่ต้องการให้ใครพบ ความปรารถนาในที่ตายของเขาก็ควรได้รับเกียรติเช่นกัน
ในอดีตวัตถุโบราณของเจงกิสข่าน จะถูกเก็บไว้ในกระโจม 8 แห่งของชนเผ่า โดยหนึ่งในสิ่งของเหล่านี้คือ “Suledu” อาวุธรูปร่างคล้ายสามง่าม ที่ถูกเชื่อโดยคนในเผ่าว่าถูกประทานมาให้เจงกิสข่าน จากทวยเทพ โดยแลกกับการบูชายัญม้า 1,000 ตัว และ แกะอีก 10,000 ตัว ต่อมาวัตถุโบราณเหล่านี้ถูกนำไปเก็บไว้ในสุสานจำลองที่เมือง Ordos ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในจีน
- MONGOL 2007 : THE RISE OF GENGHIS KHAN
- By the Will of Chingis Khan 2009 เจงกิสข่านมหาสงครามจักรพรรดิล้างแผ่นดิน
- Genghis Khan: To the Ends of the Earth and Sea (2007)
- ซีรีส์ “มังกรหยก 2017”
- Genghis Khan (2018) เจงกิสข่าน
Cr.ภาพ Mikhaylov Ilya / Shutterstock.com
Cr.https://www.amusingplanet.com/2019/05/the-lost-tomb-of-genghis-khan.html / By KAUSHIK PATOWARY
Cr.https://www.catdumb.com/darkhad-378/By เหมียวศรัทธา
Cr.https://travel.mthai.com/world-travel/66675.html
Cr.https://news.thaipbs.or.th/content/267909
Cr.http://mongolschinaandthesilkroad.blogspot.com/2015/06/the-search-for-genghis-khans-hidden-tomb.html
Cr.https://www.sanook.com/movie/18760/