เกษตรทฤษฎีใหม่กับเศรษฐกิจพอเพียง
(1) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ พ.ศ.2517
(2) พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่เมื่อ พ.ศ. 2537 และได้ทรงพระราชทานแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เมื่อ พ.ศ. 2540
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพเกษตรกร และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยก็เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกร ดังนั้นหากนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตของตนเองได้ ดังนี้
(1) นำไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัว-ญาติพี่น้องของนักศึกษาที่เป็นเกษตรกร
(2) นำไปเผยแพร่ให้กับชุมชนของนักศึกษาและเกษตรกรทั่วไป
(3) นำไปใช้ชีวิตของตนเอง
ความเป็นมาของเกษตรทฤษฎีใหม่
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบันและการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้นํ้าฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับตํ่าไม่เพียงต่อการบริโภค
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านกุดตอแก่น ตำบลกุดสินค้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธ์ุ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ได้ทรงเห็นสภาพความยากลำบากของราษฎรในการทำการเกษตรในพื้นที่อาศัยนํ้าฝน (ปลูกข้าวได้ประมาณ 1 ถัง ต่อ 1 ไร่) เพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น มีความเสี่ยงในการเสียหายจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง ซึ่งสภาพดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศแม้ว่าจะมีการขุดบ่อนํ้าเก็บนํ้าไว้บ้าง ก็มีขนาดไม่แน่นอน นํ้าใช้ยังไม่เพียงพอรวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้ศึกษารวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และได้พระราชทานแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540 เพื่อไห้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติการขาดแคลนนํ้าได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนักพระราชดำรินี้ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและนํ้าเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กไห้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยทรงทดลองเป็นแห่งแรกที่ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
ประโยชน์และความสำตัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
"เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทยมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจะทำไห้ระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวมมีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไปเนื่องจากการเกษตรกรมีอาหารใว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุข ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพเช่นนี้แล้ว ก็จะทำไห้ประเทศชาติมั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่สรุปได้ดังนี้
(1) เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
(2) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(3) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ
(4) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำใหเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
(5) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี
(6) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง
(7) เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้
(8) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
(9) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
(1) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการทรัพยากรนํ้า
จากการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ทำให้ทรงตระหนักว่าภัยแล้งและนํ้าเพื่อการเกษตรและบริโภค อุปโภคเป็นปัญหาที่รุนแรงและสำคัญที่สุดการจัดการทรัพยากรนํ้าและการพัฒนาแหล่งนํ้าเพื่อการเพาะและบริโภค อุปโภคนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี
(2) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการที่ดิน
ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและได้รายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมดและเกษตรกรพยายามหาพื้นที่ใหม่โดยการอพยพโยกย้ายกระจักกระจายเข้าไปอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพราะมีการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาซึ่งทำให้คุณภาพดินเสื่อมโทรมทั้งด้านเคมีและกายภาพ
(3)พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการทรัพยากรประมง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตระหนักดีว่าประชาชนในชนบทยังขาดสารอาหารโปรตีนซึ่งต่อเจริญเติบโตของร่างกายและสัตว์นํ้าจำพวกปลานํ้าจืดแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีนประกอบกับสามารถหาได้ในท้องทิ่งชนบททั่วประเทศจึงทำให้ปลาประกอบกับแหล่งนํ้าธรรมชาติมีความเสื่อมโทรมทำให้ปริมาณการผลิตปลาจากแหล่งนํ้าเหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการโดยเฉพาะสำหรับประชาที่ยากจนในชนบท
แนวทางพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมงมีดังต่อไปนี้
(1) โครงการสวนพระองค์สวนจิตรลดา
มีบ่อเฉพาะเลี้ยงปลานิลและมีพันธ์ปลาพระราชทานมีบ่อเพาะพันธ์ุ 6 บ่อ สามารถผลิตลูกปลานิลพระราชทานในปี พ.ศ.2538 จำนวน 42,500 ตัว ได้พระราชทานพันธ์ุไปทั่วประเทศบ่อยครั้งทรงปล่อยปลาลงตามแหล่งนํ้าต่างๆด้วยพระองค์เองเพื่อให้มีทรัพยากรสัตว์นํ้าเพิ่มมากขึ้น
(2) งานศึกษาวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรประมงนํ้าจืด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองค้นคว้าวิจัยทางด้านประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่งโดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง
(3) งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชมหฤทัยในด้านการจัดการทรัพยากรประมงโดยทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาแหล่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคุมอย่างกว้างขวางทั่วประเทศเช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดง จังหวัดระยอง-ชลบูรี ด้วยการสงวนพันธุ์เช่น ปลาบึก ซึ่งเป็นปลาตระกูลปลาหนัง (Catfish) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีอยู่ในแม่นํ้าโขงเท่านั้นพระองค์ทรงห่วงใยทรงให้ทำการค้นหาวิธีการจะอนุรักษ์พันธุ์ชนิดนี้ไว้ให้ได้พร้อมทั้งทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้าตลอดเวลาจนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ
(4) การจัดการทรัพยากรประมงที่เกี่ยวกับการพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าชายฝั่ง
ได้ทรงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยตามแนวพระราชดำริเพื่อหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืนรวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งแบบอเนกประสงค์และเกื้อกูลกัน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยได้มีการพัฒนาพื้นที่อ่าวชายเลนทดแทนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฎิบัติทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆโดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆโดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร ความอดทน สติ ปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฎิบัตของทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฎิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้นเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฎิบัติที่เป็นรูปเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
เกษตรทฤษฎีใหม่
(1) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ พ.ศ.2517
(2) พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุยเดชมีพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่เมื่อ พ.ศ. 2537 และได้ทรงพระราชทานแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่เมื่อ พ.ศ. 2540
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพเกษตรกร และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยก็เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกร ดังนั้นหากนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตของตนเองได้ ดังนี้
(1) นำไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัว-ญาติพี่น้องของนักศึกษาที่เป็นเกษตรกร
(2) นำไปเผยแพร่ให้กับชุมชนของนักศึกษาและเกษตรกรทั่วไป
(3) นำไปใช้ชีวิตของตนเอง
ความเป็นมาของเกษตรทฤษฎีใหม่
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบันและการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้นํ้าฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับตํ่าไม่เพียงต่อการบริโภค
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านกุดตอแก่น ตำบลกุดสินค้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัด กาฬสินธ์ุ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ได้ทรงเห็นสภาพความยากลำบากของราษฎรในการทำการเกษตรในพื้นที่อาศัยนํ้าฝน (ปลูกข้าวได้ประมาณ 1 ถัง ต่อ 1 ไร่) เพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น มีความเสี่ยงในการเสียหายจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง ซึ่งสภาพดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศแม้ว่าจะมีการขุดบ่อนํ้าเก็บนํ้าไว้บ้าง ก็มีขนาดไม่แน่นอน นํ้าใช้ยังไม่เพียงพอรวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้ศึกษารวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และได้พระราชทานแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540 เพื่อไห้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติการขาดแคลนนํ้าได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนักพระราชดำรินี้ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางการจัดการที่ดินและนํ้าเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กไห้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยทรงทดลองเป็นแห่งแรกที่ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
ประโยชน์และความสำตัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
"เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทยมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจะทำไห้ระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวมมีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไปเนื่องจากการเกษตรกรมีอาหารใว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุข ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพเช่นนี้แล้ว ก็จะทำไห้ประเทศชาติมั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่สรุปได้ดังนี้
(1) เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
(2) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(3) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ
(4) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำใหเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
(5) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี
(6) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง
(7) เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้
(8) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
(9) เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
(1) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการทรัพยากรนํ้า
จากการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ทำให้ทรงตระหนักว่าภัยแล้งและนํ้าเพื่อการเกษตรและบริโภค อุปโภคเป็นปัญหาที่รุนแรงและสำคัญที่สุดการจัดการทรัพยากรนํ้าและการพัฒนาแหล่งนํ้าเพื่อการเพาะและบริโภค อุปโภคนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี
(2) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการที่ดิน
ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและได้รายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมดและเกษตรกรพยายามหาพื้นที่ใหม่โดยการอพยพโยกย้ายกระจักกระจายเข้าไปอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพราะมีการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาซึ่งทำให้คุณภาพดินเสื่อมโทรมทั้งด้านเคมีและกายภาพ
(3)พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการทรัพยากรประมง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตระหนักดีว่าประชาชนในชนบทยังขาดสารอาหารโปรตีนซึ่งต่อเจริญเติบโตของร่างกายและสัตว์นํ้าจำพวกปลานํ้าจืดแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีนประกอบกับสามารถหาได้ในท้องทิ่งชนบททั่วประเทศจึงทำให้ปลาประกอบกับแหล่งนํ้าธรรมชาติมีความเสื่อมโทรมทำให้ปริมาณการผลิตปลาจากแหล่งนํ้าเหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการโดยเฉพาะสำหรับประชาที่ยากจนในชนบท
แนวทางพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมงมีดังต่อไปนี้
(1) โครงการสวนพระองค์สวนจิตรลดา
มีบ่อเฉพาะเลี้ยงปลานิลและมีพันธ์ปลาพระราชทานมีบ่อเพาะพันธ์ุ 6 บ่อ สามารถผลิตลูกปลานิลพระราชทานในปี พ.ศ.2538 จำนวน 42,500 ตัว ได้พระราชทานพันธ์ุไปทั่วประเทศบ่อยครั้งทรงปล่อยปลาลงตามแหล่งนํ้าต่างๆด้วยพระองค์เองเพื่อให้มีทรัพยากรสัตว์นํ้าเพิ่มมากขึ้น
(2) งานศึกษาวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรประมงนํ้าจืด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองค้นคว้าวิจัยทางด้านประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่งโดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง
(3) งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชมหฤทัยในด้านการจัดการทรัพยากรประมงโดยทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาแหล่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคุมอย่างกว้างขวางทั่วประเทศเช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดง จังหวัดระยอง-ชลบูรี ด้วยการสงวนพันธุ์เช่น ปลาบึก ซึ่งเป็นปลาตระกูลปลาหนัง (Catfish) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีอยู่ในแม่นํ้าโขงเท่านั้นพระองค์ทรงห่วงใยทรงให้ทำการค้นหาวิธีการจะอนุรักษ์พันธุ์ชนิดนี้ไว้ให้ได้พร้อมทั้งทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้นคว้าตลอดเวลาจนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ
(4) การจัดการทรัพยากรประมงที่เกี่ยวกับการพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าชายฝั่ง
ได้ทรงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยตามแนวพระราชดำริเพื่อหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืนรวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งแบบอเนกประสงค์และเกื้อกูลกัน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยได้มีการพัฒนาพื้นที่อ่าวชายเลนทดแทนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฎิบัติทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆโดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆโดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร ความอดทน สติ ปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฎิบัตของทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฎิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้นเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฎิบัติที่เป็นรูปเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม