หลายครั้งที่ผมได้ขึ้นไปธุระเรื่องงานที่เชียงใหม่ มักจะวางแผนเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวแบบคร่าวๆ ก่อนทุกครั้งเสมอ เช่นถ้ามีประชุมวันจันทร์ก็ออกเดินทางคืนวันศุกร์หรือคืนวันเสาร์ เพื่อให้ตัวเองได้มีเวลาท่องเที่ยวและพักผ่อนส่วนตัวก่อนเริ่มงานเป็นเวลา 1-2 วัน เรื่องราวการเดินทางทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่เก็บไว้นานมากเมื่อประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ด้วยความไม่กระตือรือร้น และหมดไฟที่อยากจะถ่ายทอดเรื่องราว ได้แต่ซุ่มแอบอ่านเรื่องราวกระทู้สมาชิกและของคนอื่นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอยู่เสมอ เนื่องจากใกล้เวลาหนาวจึงนึกถึงบรรยากาศหนาวๆ เย็นๆ ที่ไหนสักแห่ง ค้นรูปเก่าๆ เจอทริปทรหด โหด มัน สนุก อาจจะเล่าพาร์ทแรกไม่หมดเพราะไปมาเยอะมากเอาเป็นว่าของตั้งชื่อทริปตามหัวเรื่องเลย "อ่างขางจนถึงฝาง" รอบนี้ 2 วัน 1 คืน
ผมขึ้นรถตู้จากสมุทรสงคราม เวลา 17.30 น. ถึงกรุงเทพ(หมอชิต) เวลา 19.00 น. โดยประมาณ และต่อรถทัวร์เป็นร่วมเอกชน(สมบัติทัวร์) เวลา 20.20 น. จองไว้ในราคาเรทกลางๆ (ราคา 6xx บาท) บริการอย่างกับนั่งเครื่องถึงเชียงใหม่ประมาณ ประมาณ 06.00 น. เดินไปอีกนิดเพื่อไปเช่ามอเตอร์ไซค์เห็นร้านสีเหลืองๆ นั่นแหล่ะใช่เลย Bikky เชียงใหม่ ราคา 250 บ. x 2 วัน + หมวกกันน็อค 50 บ. X 2 วัน รวมทั้งสิ้น 600 บาท (ไม่มีค่ามัดจำแค่ใช้สำเนาบัตรประชาชน) ค้นหาในอินเตอร์เน็ตร้านนี้คนนิยม เป้าหมายแรกที่ผมตั้งใจไปก็คือไปชมซากุระเมืองไทยที่สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง วัดท่าตอน ถ้ามีเวลาเหลือๆ ก็จะไปบ่อน้ำพุร้อนฝาง
การขับมอเตอร์ไซค์ในหน้าหนาวบอกเลยนี่แหล่ะโหดสุดๆ ดีที่มือถุงมือผ้าแบบถุงมือตัดอ้อยอยู่ในกระเป๋ากล้องพอดี พอช่วยได้บ้าง ขับไปสั่นไป แถมไม่รู้เส้นทางเปิด Google Map ตลอดแต่ก็ยังหลงบ้างกว่าจะออกจากเมืองเข้าเส้นหลักได้ อากาศจะเย็นยะเยือกเมื่อผ่านเข้าแนวร่องเขา พอเจอแดดนี่เหมือนอะไรมาโปรด
ผมเลือกขับมอเตอร์ไซค์เข้าทางชัยปราการ เพราะทางหลักขณะนั้นอยู่ระหว่างการซ่อมแซม ไม่รู้ทางหลักเป็นอย่างไรแต่ทางนี้ผมบอกว่ารักเลย ธรรมชาติสุดๆ วิวสวยๆ เยอะมาก ได้เห็นหมู่บ้านที่แปลกตาและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น หลังจากทะลุผ่านหมู่บ้านขึ้นมาไม่ไกลระดับความชันนั้นก็เริ่มไต่ระดับขึ้นไปจนถึงแนวสันเขา แล้วมองลงมาก็จะเห็นหมู่บ้านอยู่ต่ำลิบๆ ลงไป
มีเรื่องราวระหว่างทางมากมายกับความประทับใจในเส้นทาง แต่ขอบอกว่าเส้นทางนี้เส้นค่อนข้างจะอันตรายถ้าไม่คุ้นชินต้องระวัง บางช่วงสูงชัน บางช่วงเป็นเหว แต่ถ้าไปเรื่อยๆ มีแต่คุ้มกับคุ้มค่า จุดไหนสวยงามได้แต่เก็บความประทับใจเสียส่วนใหญ่หากลงแวะถ่ายภาพกลัวว่าจะเสียเวลา และเวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว บ่ายกว่าๆ ไม่บอกไม่รู้ ขับมองหาร้านนั่งมีร้านอาหารสวยๆ ระหว่างทางเป็นระยะๆ แต่ผมชอบร้านธรรมดามากกว่าเพราะอยากกระจายรายได้ให้กับคนท้องถิ่นหาเช้ากินค่ำ จึงได้มาสะดุดตามที่ร้านข้าวตามสั่งที่จุดชมวิว “ซุยถัง”ร้านธรรมดากระเพราะไข่ดาว 40 บาท น้ำขวด 10 บาท แต่วิวหลักร้อยล้าน จะนั่งทานข้าวห้อยขาก็ได้ถ้าไม่กลัวร้องเท้าตก (ตกแล้วก็คงบริจาคเลย)
ฝั่งตรงข้ามจุดชมวิวซุยถัง มีจุดกางเต็นท์ชมวิว คาดเดาว่าน่าจะเป็นของวิสาหกิจชุมชม ยามนี้ เวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศและบรรยากาศ จุดไหนก็สวยงามได้หมด
หลังจากจบมื้อเที่ยงกับอาหารที่แพงด้วยทัศนียภาพ ก็ออกเดินทางต่อไป ระหว่างทางจะมีต้นพญาเสือโคร่งขึ้นเป็นระยะขณะนั้นดอกยังเป็นแค่ตุ่มๆ ถ้าดอกบานแล้วเส้นทางนี้คงจะสวยงามมากๆ และต้นไม้ที่เห็นได้ทั่วไปอีกชนิด คือสนเมืองหนาว จุดแวะพักที่สวยงามมากอีกแห่งคือ ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง บริเวณนี้สามารถนอนกางเต็นท์เพื่อพักแรมได้ มีจุดห้องน้ำอำนวยความสะดวก มีจุดชมวิวที่มองเห็นได้ 180 ที่สวยงาม ตกแต่งบริเวณและสถานที่ด้วยแปลงดอกไม้เมืองหนาว ผมเดินสำรวจยังได้ไม่ทั่วเท่าไรนัก เพราะตั้งใจว่าเพียงจะแวะปล่อยเบา จึงเดินตรงไปที่ยังห้องน้ำ เป็นห้องน้ำที่อยู่สูงกับมีทัศนียภาพที่สวยมาก
บริเวณฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง
จุดชมวิวฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง
จุดชมวิวฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง
ขับมาได้ไม่ไกลเท่าไร ก็ถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ครั้งแรกที่ได้มาความรู้สึกเหมือนได้ของเล่นใหม่ อะไรหลายๆ มันอยู่ในความประทับใจ ถึงจะได้รู้มาอยู่คร่าวๆ ว่าที่นี่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้างก็ตาม เมื่อชำระค่าเข้าชม 50 บาท
เข้าไปข้างในความรู้สึกว่ามันว้าวมาก รู้สึกไม่ผิดหวังแม้ดอกพญาเสือโคร่งยังไม่บานเต็มร้อย คนก็น้อย บรรยากาศก็ดี ความรู้สึกว่าอุณหภูมิที่นี่จะไม่เย็นเท่าดอยอินทนนท์แต่ก็กำลังดี ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งปลูกพืชเมืองหนาว ผัก, ผลไม้, ดอกไม้เมืองหนาว สามารถเดินเที่ยวชม แปลงต้นไม้ชนิดต่างๆ ได้
ผมขับมอเตอร์ไซค์เข้าไปจอดในแต่ละจุดที่กำหนดไว้ ในแต่ละก้าวเราค่อยๆ ไปไม่อยากให้พลาดจุดใดจุดหนึ่งกับการมาเที่ยวครั้งแรก มาช้ากว่าใครๆ ที่เขาเคยมาแล้ว แต่เราก็ได้มาถึงแล้ว
ภาพ macro ดอกไม้ในแปลงเกษตร ผมมีเลนส์ประจำตัว 2 เลนส์ จะมี 10-22 มม. กับ macro 100 มม
macro 100 มม
ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวคงมาเที่ยวกันเยอะ ปัจจุบันกับอะไรที่เปลี่ยนแปลงทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยลงมาก
บรรยากาศเหงาๆ และสดชื่น
อ่างขางกลายเป็นหมู่บ้านสงบไปแล้ว สำหรับนักถ่ายภาพ และนักเซลฟี่ กับอ่างขางเป็นสถานที่ที่เหมาะสมกันมาก เวลาแทบจะไม่มีความหมายเพราะเราสามารถอยู่ได้ทั้งวัน มีหลายโซนให้เราเลือกเข้าไปเก็บความประทับใจ
macro 100 มม
ใบเมเปิ้ลเปลี่ยนสี
ใบเมเปิ้ลสีแดง
ตอนแรกคิดว่าพญาเสือโคร่งสีขาว พอออกจากแปลงจึงได้รู้ว่านี่คือ ดอกบ๊วย
งานเลี้ยงย่อมมีเลิกรา เกือบๆ 4 โมงเย็น จำเป็นต้องไปต่อ ออกมาไปเรื่อยๆ เจอป้ายสถานที่อะไรก็จะแวะชมเพราะมาคนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร ไม่ไกลจากสถานีเกษตรหลวงฯ ป้ายบอกทาง “ไร่ชา 2000 ไร่”
ไม่ต้องคิดอะไรมาก แวะเข้าไปชมสักหน่อยได้ภาพ 3-4 ก็ออกมา ภาพแรกโดยส่วนตัวชอบมาก เป็นจังหวะของรถรับจ้างเมย์แดงสัญลักษณ์เมืองเชียงใหม่ เข้ามาจอดพอดี และมีนักท่องเที่ยวที่มาเป็นคู่ลงมาถ่ายภาพ
เรือนเก็บใบชากลางไร่ชา
ลักษณะของภูมิประเทศของที่นี่จะลดหลั่นเป็นขั้นบันได มีโรงเรือนพักเก็บใบชาแทรกขึ้นมาเป็นระยะกลางไร่ชา ถึงแม้แดดออกจ้า แต่อากาศกลับเย็นสบาย ท้องฟ้าในวันนั้นก็ออกฟ้าได้สมใจ
เป้าหมายของการนอนคืนนั้นเราต้องการที่จะไปหาที่พักที่ใกล้ๆ กับวัดท่าตอน อยู่ที่แม่อาย เนื่องจากเมื่อหลายปีก่อนวัดนี้เป็นเป้าหมายในการถ่ายภาพวัดยามค่ำคืนที่สวยงามติดอันดับวัดสวยงามอันดับต้นๆ และเราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้มาด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ถ้าจะต้องขับกลับทางเดิมจะไกลมากจึงมุ่งหน้าตรงไปทางลัดที่จะต้องผ่านฐานปฏิบัติการบ้านนอแล ชายแดนไทย-พม่า
ผมไม่เคยรู้เลยว่าจุดนี้ก็เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ บังเอิญหลังจากกลับมาแล้วได้พบกับคลิปการสู้รบของรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย และทหารไทยได้มีการตรึงกำลังเพื่อไม่ให้มีการลุกล้ำเข้ามาในเขตประเทศไทย
ณ จุดนี้ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีร้านค้าชุมชนขายของที่ละลึก และของกินพื้นเมือง ก่อนละลงจากยอดดอยของบ้านนอแล จะมีจุดตรวจคัดกรองของพี่ๆ ทหาร ได้แนะนำว่าปกติจะไม่ให้นักท่องเที่ยวผ่านจุดนี้เพราะเส้นทางอันตรายเนื่องจากถนนบางช่วงมีล่วงไปในเขตพม่าเพื่อบ้าน และเส้นทางเป็นดินลูกรังสูงชันมาก จะเปิดให้ผ่านเฉพาะคนในพื้นที่ แต่พี่เขาก็ใจดีให้เราผ่าน
ขอบอกเลยว่าเส้นทางบางช่วงสูงชันและอันตรายจริงๆ หากจะหยุดพักรถจอดระหว่างลงเนินเป็นไปไม่ได้เลยอย่างแน่นอน เนื่องจากไม่สามารถประคองให้รถหยุดและตั้งตรงได้ จะต้องค่อยๆ ไหลลงอย่างช้าๆ จนพ้นระยะความชันของพื้นที่บริเวณนั้นไปก่อน
หลังจากลงจุดอันตรายมาก็จะเห็นสวนไร่ส้มของชาวบ้านตลอดเส้นทาง เห็นผลผลิตของชาวไร่ส้มแล้วน่าชื่นใจ แต่ไม่รู้ว่าราคาจะเป็นอย่างไร
อ่างขางจนถึงฝาง
หลายครั้งที่ผมได้ขึ้นไปธุระเรื่องงานที่เชียงใหม่ มักจะวางแผนเรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวแบบคร่าวๆ ก่อนทุกครั้งเสมอ เช่นถ้ามีประชุมวันจันทร์ก็ออกเดินทางคืนวันศุกร์หรือคืนวันเสาร์ เพื่อให้ตัวเองได้มีเวลาท่องเที่ยวและพักผ่อนส่วนตัวก่อนเริ่มงานเป็นเวลา 1-2 วัน เรื่องราวการเดินทางทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ที่เก็บไว้นานมากเมื่อประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ด้วยความไม่กระตือรือร้น และหมดไฟที่อยากจะถ่ายทอดเรื่องราว ได้แต่ซุ่มแอบอ่านเรื่องราวกระทู้สมาชิกและของคนอื่นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอยู่เสมอ เนื่องจากใกล้เวลาหนาวจึงนึกถึงบรรยากาศหนาวๆ เย็นๆ ที่ไหนสักแห่ง ค้นรูปเก่าๆ เจอทริปทรหด โหด มัน สนุก อาจจะเล่าพาร์ทแรกไม่หมดเพราะไปมาเยอะมากเอาเป็นว่าของตั้งชื่อทริปตามหัวเรื่องเลย "อ่างขางจนถึงฝาง" รอบนี้ 2 วัน 1 คืน
ผมขึ้นรถตู้จากสมุทรสงคราม เวลา 17.30 น. ถึงกรุงเทพ(หมอชิต) เวลา 19.00 น. โดยประมาณ และต่อรถทัวร์เป็นร่วมเอกชน(สมบัติทัวร์) เวลา 20.20 น. จองไว้ในราคาเรทกลางๆ (ราคา 6xx บาท) บริการอย่างกับนั่งเครื่องถึงเชียงใหม่ประมาณ ประมาณ 06.00 น. เดินไปอีกนิดเพื่อไปเช่ามอเตอร์ไซค์เห็นร้านสีเหลืองๆ นั่นแหล่ะใช่เลย Bikky เชียงใหม่ ราคา 250 บ. x 2 วัน + หมวกกันน็อค 50 บ. X 2 วัน รวมทั้งสิ้น 600 บาท (ไม่มีค่ามัดจำแค่ใช้สำเนาบัตรประชาชน) ค้นหาในอินเตอร์เน็ตร้านนี้คนนิยม เป้าหมายแรกที่ผมตั้งใจไปก็คือไปชมซากุระเมืองไทยที่สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง วัดท่าตอน ถ้ามีเวลาเหลือๆ ก็จะไปบ่อน้ำพุร้อนฝาง
การขับมอเตอร์ไซค์ในหน้าหนาวบอกเลยนี่แหล่ะโหดสุดๆ ดีที่มือถุงมือผ้าแบบถุงมือตัดอ้อยอยู่ในกระเป๋ากล้องพอดี พอช่วยได้บ้าง ขับไปสั่นไป แถมไม่รู้เส้นทางเปิด Google Map ตลอดแต่ก็ยังหลงบ้างกว่าจะออกจากเมืองเข้าเส้นหลักได้ อากาศจะเย็นยะเยือกเมื่อผ่านเข้าแนวร่องเขา พอเจอแดดนี่เหมือนอะไรมาโปรด
ผมเลือกขับมอเตอร์ไซค์เข้าทางชัยปราการ เพราะทางหลักขณะนั้นอยู่ระหว่างการซ่อมแซม ไม่รู้ทางหลักเป็นอย่างไรแต่ทางนี้ผมบอกว่ารักเลย ธรรมชาติสุดๆ วิวสวยๆ เยอะมาก ได้เห็นหมู่บ้านที่แปลกตาและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น หลังจากทะลุผ่านหมู่บ้านขึ้นมาไม่ไกลระดับความชันนั้นก็เริ่มไต่ระดับขึ้นไปจนถึงแนวสันเขา แล้วมองลงมาก็จะเห็นหมู่บ้านอยู่ต่ำลิบๆ ลงไป
มีเรื่องราวระหว่างทางมากมายกับความประทับใจในเส้นทาง แต่ขอบอกว่าเส้นทางนี้เส้นค่อนข้างจะอันตรายถ้าไม่คุ้นชินต้องระวัง บางช่วงสูงชัน บางช่วงเป็นเหว แต่ถ้าไปเรื่อยๆ มีแต่คุ้มกับคุ้มค่า จุดไหนสวยงามได้แต่เก็บความประทับใจเสียส่วนใหญ่หากลงแวะถ่ายภาพกลัวว่าจะเสียเวลา และเวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว บ่ายกว่าๆ ไม่บอกไม่รู้ ขับมองหาร้านนั่งมีร้านอาหารสวยๆ ระหว่างทางเป็นระยะๆ แต่ผมชอบร้านธรรมดามากกว่าเพราะอยากกระจายรายได้ให้กับคนท้องถิ่นหาเช้ากินค่ำ จึงได้มาสะดุดตามที่ร้านข้าวตามสั่งที่จุดชมวิว “ซุยถัง”ร้านธรรมดากระเพราะไข่ดาว 40 บาท น้ำขวด 10 บาท แต่วิวหลักร้อยล้าน จะนั่งทานข้าวห้อยขาก็ได้ถ้าไม่กลัวร้องเท้าตก (ตกแล้วก็คงบริจาคเลย)
ฝั่งตรงข้ามจุดชมวิวซุยถัง มีจุดกางเต็นท์ชมวิว คาดเดาว่าน่าจะเป็นของวิสาหกิจชุมชม ยามนี้ เวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศและบรรยากาศ จุดไหนก็สวยงามได้หมด
หลังจากจบมื้อเที่ยงกับอาหารที่แพงด้วยทัศนียภาพ ก็ออกเดินทางต่อไป ระหว่างทางจะมีต้นพญาเสือโคร่งขึ้นเป็นระยะขณะนั้นดอกยังเป็นแค่ตุ่มๆ ถ้าดอกบานแล้วเส้นทางนี้คงจะสวยงามมากๆ และต้นไม้ที่เห็นได้ทั่วไปอีกชนิด คือสนเมืองหนาว จุดแวะพักที่สวยงามมากอีกแห่งคือ ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง บริเวณนี้สามารถนอนกางเต็นท์เพื่อพักแรมได้ มีจุดห้องน้ำอำนวยความสะดวก มีจุดชมวิวที่มองเห็นได้ 180 ที่สวยงาม ตกแต่งบริเวณและสถานที่ด้วยแปลงดอกไม้เมืองหนาว ผมเดินสำรวจยังได้ไม่ทั่วเท่าไรนัก เพราะตั้งใจว่าเพียงจะแวะปล่อยเบา จึงเดินตรงไปที่ยังห้องน้ำ เป็นห้องน้ำที่อยู่สูงกับมีทัศนียภาพที่สวยมาก
จุดชมวิวฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง
ขับมาได้ไม่ไกลเท่าไร ก็ถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ครั้งแรกที่ได้มาความรู้สึกเหมือนได้ของเล่นใหม่ อะไรหลายๆ มันอยู่ในความประทับใจ ถึงจะได้รู้มาอยู่คร่าวๆ ว่าที่นี่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้างก็ตาม เมื่อชำระค่าเข้าชม 50 บาท
เข้าไปข้างในความรู้สึกว่ามันว้าวมาก รู้สึกไม่ผิดหวังแม้ดอกพญาเสือโคร่งยังไม่บานเต็มร้อย คนก็น้อย บรรยากาศก็ดี ความรู้สึกว่าอุณหภูมิที่นี่จะไม่เย็นเท่าดอยอินทนนท์แต่ก็กำลังดี ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งปลูกพืชเมืองหนาว ผัก, ผลไม้, ดอกไม้เมืองหนาว สามารถเดินเที่ยวชม แปลงต้นไม้ชนิดต่างๆ ได้
ผมขับมอเตอร์ไซค์เข้าไปจอดในแต่ละจุดที่กำหนดไว้ ในแต่ละก้าวเราค่อยๆ ไปไม่อยากให้พลาดจุดใดจุดหนึ่งกับการมาเที่ยวครั้งแรก มาช้ากว่าใครๆ ที่เขาเคยมาแล้ว แต่เราก็ได้มาถึงแล้ว
ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวคงมาเที่ยวกันเยอะ ปัจจุบันกับอะไรที่เปลี่ยนแปลงทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยลงมาก
อ่างขางกลายเป็นหมู่บ้านสงบไปแล้ว สำหรับนักถ่ายภาพ และนักเซลฟี่ กับอ่างขางเป็นสถานที่ที่เหมาะสมกันมาก เวลาแทบจะไม่มีความหมายเพราะเราสามารถอยู่ได้ทั้งวัน มีหลายโซนให้เราเลือกเข้าไปเก็บความประทับใจ
macro 100 มม
ตอนแรกคิดว่าพญาเสือโคร่งสีขาว พอออกจากแปลงจึงได้รู้ว่านี่คือ ดอกบ๊วย
งานเลี้ยงย่อมมีเลิกรา เกือบๆ 4 โมงเย็น จำเป็นต้องไปต่อ ออกมาไปเรื่อยๆ เจอป้ายสถานที่อะไรก็จะแวะชมเพราะมาคนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร ไม่ไกลจากสถานีเกษตรหลวงฯ ป้ายบอกทาง “ไร่ชา 2000 ไร่”
ไม่ต้องคิดอะไรมาก แวะเข้าไปชมสักหน่อยได้ภาพ 3-4 ก็ออกมา ภาพแรกโดยส่วนตัวชอบมาก เป็นจังหวะของรถรับจ้างเมย์แดงสัญลักษณ์เมืองเชียงใหม่ เข้ามาจอดพอดี และมีนักท่องเที่ยวที่มาเป็นคู่ลงมาถ่ายภาพ
ลักษณะของภูมิประเทศของที่นี่จะลดหลั่นเป็นขั้นบันได มีโรงเรือนพักเก็บใบชาแทรกขึ้นมาเป็นระยะกลางไร่ชา ถึงแม้แดดออกจ้า แต่อากาศกลับเย็นสบาย ท้องฟ้าในวันนั้นก็ออกฟ้าได้สมใจ
เป้าหมายของการนอนคืนนั้นเราต้องการที่จะไปหาที่พักที่ใกล้ๆ กับวัดท่าตอน อยู่ที่แม่อาย เนื่องจากเมื่อหลายปีก่อนวัดนี้เป็นเป้าหมายในการถ่ายภาพวัดยามค่ำคืนที่สวยงามติดอันดับวัดสวยงามอันดับต้นๆ และเราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้มาด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ถ้าจะต้องขับกลับทางเดิมจะไกลมากจึงมุ่งหน้าตรงไปทางลัดที่จะต้องผ่านฐานปฏิบัติการบ้านนอแล ชายแดนไทย-พม่า
ผมไม่เคยรู้เลยว่าจุดนี้ก็เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ บังเอิญหลังจากกลับมาแล้วได้พบกับคลิปการสู้รบของรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย และทหารไทยได้มีการตรึงกำลังเพื่อไม่ให้มีการลุกล้ำเข้ามาในเขตประเทศไทย
ณ จุดนี้ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีร้านค้าชุมชนขายของที่ละลึก และของกินพื้นเมือง ก่อนละลงจากยอดดอยของบ้านนอแล จะมีจุดตรวจคัดกรองของพี่ๆ ทหาร ได้แนะนำว่าปกติจะไม่ให้นักท่องเที่ยวผ่านจุดนี้เพราะเส้นทางอันตรายเนื่องจากถนนบางช่วงมีล่วงไปในเขตพม่าเพื่อบ้าน และเส้นทางเป็นดินลูกรังสูงชันมาก จะเปิดให้ผ่านเฉพาะคนในพื้นที่ แต่พี่เขาก็ใจดีให้เราผ่าน
ขอบอกเลยว่าเส้นทางบางช่วงสูงชันและอันตรายจริงๆ หากจะหยุดพักรถจอดระหว่างลงเนินเป็นไปไม่ได้เลยอย่างแน่นอน เนื่องจากไม่สามารถประคองให้รถหยุดและตั้งตรงได้ จะต้องค่อยๆ ไหลลงอย่างช้าๆ จนพ้นระยะความชันของพื้นที่บริเวณนั้นไปก่อน
หลังจากลงจุดอันตรายมาก็จะเห็นสวนไร่ส้มของชาวบ้านตลอดเส้นทาง เห็นผลผลิตของชาวไร่ส้มแล้วน่าชื่นใจ แต่ไม่รู้ว่าราคาจะเป็นอย่างไร