สามีชาวญี่ปุ่นมาอยู่(และทำงาน)ในประเทศไทยครบปีไปช่วงกลางปีที่ผ่านมา ช่วงแรกที่อยู่ไทยลักไก่(ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ควรทำตาม เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ขณะเป็นผู้ขับขี่ ประกันรถยนต์จะไม่ครอบคลุมค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุนั้นๆ)ใช้ใบขับขี่สากล ซึ่งจริงๆแล้วใบขับขี่สากลสามารถใช้กรณีนักท่องเที่ยวเท่านั้น ไม่รวมกรณีอื่นๆ เช่น วีซ่าติดตามคู่สมรส วีซ่าทำงาน ดังนั้น หากอยากขับขี่ให้สบายใจ ผ่านคุณตำรวจแบบไม่สะบัดร้อนสะบัดหนาวก็พาชาวต่างชาติข้างๆคุณไปทำใบขับขี่ไทยเถอะค่ะ
สำหรับที่จะรีวิววันนี้ เป็นขั้นตอน
การเทียบใบขับขี่ต่างประเทศเป็นใบขับขี่ประเทศไทย ซึ่งเงื่อนไขคือ ชาวต่างชาติผู้ที่ต้องการเทียบจะต้องมี
ใบขับขี่จากประเทศตนที่ยังไม่หมดอายุ
ข้อดีของการเทียบใบขับขี่คือ จะยกเว้นการสอบข้อเขียนและการสอบปฏิบัติ จะมีเพียงการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและการอบรมวินัยจราจร 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งสามารถแล้วเสร็จได้ภายในวันเดียว(ครึ่งวันโดยประมาณ)
เนื่องจากพยายามหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับการทำใบขับขี่ประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ แต่หาไม่ค่อยมี และที่มีก็ไม่อัพเดต สอบถามทางเว็ปไซต์ขนส่งไปก็ไม่ได้รับคำตอบ ช่วงนี้มีสถานการณ์โควิดด้วย เลยคิดว่าขั้นตอนไม่น่าจะเหมือนกับปีที่ผ่านๆมา บ้านจขกท.อยู่ฝั่งธนฯ จริงๆสะดวกจะไปที่สำนักงานขนส่งตลิ่งชันมากกว่า แต่โทรศัพท์ไปสอบถามไม่ติดเลยสักครั้ง จึงตัดสินใจไปสอบถามเองที่สำนักงานขนส่งตลิ่งชัน
ขั้นตอนที่ 1 สอบถามเอกสารที่ต้องใช้และข้อมูลเบื้องต้น
ที่สำนักงานขนส่งตลิ่งชัน ทางเจ้าหน้าที่ตอบคำถามและบริการดีมาก แนะนำว่า หากเป็นชาวต่างชาติที่ฟังภาษาไทยหรืออ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้ ไม่แนะนำให้ทำการเทียบใบขับขี่ที่นี่ เพราะการอบรมเป็นภาษาไทยล้วน นอกจากนี้ต้องมาตรวจเอกสารก่อนหนึ่งวัน แล้วจนท.จะนัดมาอบรมวันอื่นซึ่งจะต้องเสียเวลาลางานหลายวัน จนท.แนะนำให้ไปทำที่สำนักงานขนส่งจตุจักร เพราะว่ามีแยกแผนกทำใบขับขี่สำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะและมีการอบรมภาคภาษาอังกฤษ สามารถแล้วเสร็จได้ภายในวันเดียว และแนะนำให้เตรียมเอกสาร ดังนี้
1.) Passport with Visa (Original and Photocopy) : พาสปอร์ตและวีซ่า พร้อมสำเนา
2.) Original present resident address in Thailand certify from Embassy/Immigration Bureau (Valid for 1 year) : เอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทย ซึ่งสามารถขอได้จากสถานทูตประเทศของตนหรือจะขอจากตม.ไทยก็ได้ ซึ่งต้องออกไม่เกิน 1 ปี
Or Work permit (Original and Photocopy) : ใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา
3.) Original Medical Certificate (5 diseases form) from clinic of hospital (Valid for 1 month) : ใบรับรองแพทย์ 5 โรค ซึ่งต้องออกไม่เกิน 1 เดือน***
***ใบรับรองแพทย์นี้ต้องเป็นแบบฟอร์มเฉพาะ แบบ 2 ท่อน ที่มีส่วนให้ผู้ขอทำใบขับขี่กรอกและเซ็นต์ชื่อ และส่วนที่แพทย์ตรวจวินิจฉัย (ตัวอย่างจากแพทยสภา)
https://tmc.or.th/pdf/MedCertificate/Medical_Certificate_TH.pdf
เรื่องเอกสาร เราอยากได้ความชัวร์จริงๆว่ามันมีอะไรบ้าง เพราะช่วงโควิดนี้ กรณีคนไทยสามารถจองคิวและอบรมออนไลน์มาก่อนได้ แล้วค่อยมาตามคิวที่จอง แต่สำหรับชาวต่างชาติไม่สามารถจองคิวออนไลน์ได้ ต้องมาที่สำนักงานขนส่งฯโดยตรง เพื่อเช็คเอกสาร และหากมีคิววันนั้นจึงจะสามารถทำได้ แต่หากไม่มีคิว จนท.จะนัดให้มาวันหลัง เราเลยติดต่อ call center กรมการขนส่งทางบก (เผอิญว่าสำนักงานขนส่งจตุจักรก็คือที่นี่พอดี) หมายเลข 0-2271-8888 รอสายค่อนข้างนาน(ประมาณมากกว่า 5 นาที)อย่าเพิ่งถอดใจ เดี๋ยวมีจนท.รับสายค่ะ
สอบถามการเตรียมตัวกรณีขอเทียบใบขับขี่ต่างประเทศเป็นใบขับขี่ไทย สรุปเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1.) Passport ตัวจริงพร้อมสำเนา
2.) เอกสารรับรองใบขับขี่จากสถานทูตของตน พร้อมใบขับขี่ประเทศนั้นๆตัวจริงและสำเนา
3.) เอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทย
4.) ใบรับรองแพทย์ 5 โรคที่ออกไม่เกิน 1 เดือน
จนท.แนะนำว่าให้ติดต่อที่บริเวณชั้น 1 อาคาร 4 สำนักงานขนส่งจตุจักร โดยให้มาก่อน 08.00 น.จะได้มีโอกาสยื่นเอกสาร ทดสอบสมรรถภาพร่างกายและอบรมภายในวันนั้นหากคิวไม่มาก ซึ่งถ้าผ่านก็จะได้ใบขับขี่ภายในวันนั้น
ขั้นตอนที่ 2 ขอเอกสารรับรองจากสถานทูต
กรณีเราสามีเป็นชาวญี่ปุ่น จึงต้องยื่นเรื่องที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อขอเอกสาร อ้างอิงจาก
https://www.th.emb-japan.go.jp/th/consular/shoumeit.htm
1.) เอกสารรับรองใบขับขี่ (ข้อ 9) เอกสารที่ต้องเตรียมมี
- ใบคำร้อง
- ใบขับขี่ญี่ปุ่น ตัวจริงพร้อมสำเนา
- หนังสือเดินทางญี่ปุ่น ตัวจริงพร้อมสำเนา
- กรณีมีคนยื่นแทน ให้มีหนังสือมอบอำนาจตามแบบฟอร์มสถานทูตฯ : กรณีเราไปยื่นแทนสามี เลยได้รับเอกสารในวันถัดมา ซึ่งหากเจ้าตัวมายื่นเองจะได้รับเอกสารภายในวันนั้นเลย
- ค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร (ชำระวันที่รับเอกสาร 600 บาท/1 ฉบับ)
2.) เอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทย (ข้อ 11) : เจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปลงทะเบียนออนไลน์ใน
https://www.mofa.go.jp/mofaj/toko/todoke/zairyu/index.html ก่อน ถึงจะมาขอเอกสารนี้ได้ มิฉะนั้นเจ้าตัวต้องมาเขียนลงทะเบียนเองที่สถานทูต แล้วต้องรอให้ลงในระบบก่อนค่อยมาขอเอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทยได้ทีหลัง(ประมาณ 3 วันทำการ) ซึ่งกรณีเรา สามีลงทะเบียนออนไลน์เรียบร้อยแล้วจึงสามารถมอบอำนาจให้มาขอเอกสารฉบับนี้ได้ เอกสารที่ต้องเตรียมมี
- ใบคำร้อง
- หนังสือเดินทางญี่ปุ่น ตัวจริงพร้อมสำเนา
- หน้าประทับวีซ่าพำนักในประเทศไทย พร้อมสำเนา
- ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย พร้อมสำเนา
- กรณีมีคนยื่นแทนต้องมีใบมอบอำนาจ ตามแบบฟอร์มสถานทูตฯ : เผอิญเราเตรียมเอกสารตั้งแต่ช่วงปลายกรกฎาคม 2563 แต่พาสปอร์ตสามีจะหมดอายุเดือนธันวาคม 2563 ที่ขอไปครั้งแรกออกเป็นหมายเลขพาสปอร์ตเก่า พอต้องเปลี่ยนพาสปอร์ตใหม่สามีต้องไปทำเองอยู่แล้ว เลยให้ขอเอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศเทศไทยฉบับใหม่ที่เป็นหมายเลขพาสปอร์ตใหม่ในวันที่มารับพาสปอร์ตเลย ซึ่งถ้าเจ้าตัวไปทำเอง เอกสารนี้จะออกภายในวันนั้น
- ค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร (ชำระตอนที่ได้รับเอกสาร 600 บาท/1 ฉบับ)
ขั้นตอนที่ 3 ไปเทียบใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่งเขตจตุจักร
เนื่องจากเป็นสำนักงานใหญ่ เราเกรงว่าคนจะเยอะและไม่มีที่จอดรถ เลยตัดสินใจไปตั้งแต่เช้าตรู่ ถึงอาคาร 4 สำนักงานขนส่งเขตจตุจักรตั้งแต่ยังไม่ 7 โมงเช้า ปรากฏว่ามีคนมารอก่อนเราไปอีก ช่วงนี้เป็น new normal ทางขนส่งจัดเก้าอี้รอในเต้นท์หน้าอาคาร มีแถบสีเขียว สีชมพู และสีฟ้า แต่ละแถบจะมีเลขกำกับ ซึ่งเราสอบถามจนท.ว่ามันต่างกันอย่างไร จนท.ก็บอกนั่งๆไปเถอะค่ะ ไม่ต่างกัน เราพาสามีไปนั่งสีชมพูเพราะด้านหลังมันมีเขียนว่า Foreigner
พอใกล้ๆ 07.30 น. จะมีจนท.กลุ่มหนึ่งมา แจ้งว่า สีฟ้า(ซ้ายสุด)สำหรับคนที่ลงทะเบียนจองคิวออนไลน์มาแล้ว สีชมพู(กลาง)ก็สำหรับชาวต่างชาติที่มาทำใบขับขี่(ทั้งต่ออายุใบขับขี่และทำใบขับขี่ใหม่) ส่วนสีเขียว(ขวาสุด)สำหรับคนที่ไม่ได้จองคิวออนไลน์มาและอื่นๆ เช่น ใบขับขี่หาย ป้ายด้านหน้าแจ้งว่าเริ่มตรวจเอกสาร 07.45 แต่เอาเข้าจริงๆเรียกตรวจเอกสาร 08.00 น. แถมประกาศเป็นภาษาไทย ชาวต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาไทยหรือไม่ได้พาคนไทยมาด้วยนี่ลำบากเลยค่ะ เราพาสามีไปยื่นตรวจเอกสาร(ตรงนี้เราอยากบอกว่าเราเตรียมเอกสารไปเผื่อเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ Call center แนะนำมา เอกสารที่เราเตรียมเพิ่มและจนท.ตรวจเอกสารเก็บรวมไว้ด้วยกันได้แก่
- สำเนาหน้าวีซ่า ทั้งหน้าวีซ่าแรกเข้า และต่ออายุวีซ่า
- สำเนาหน้าประทับตราตม.ขาเข้าล่าสุด
- สำเนาใบตม. 6 ที่เย็บติดในพาสปอร์ต)
เมื่อตรวจผ่านเจ้าหน้าที่จะให้บัตรคิวลำดับมา นั่งรอสักครู่ก็ได้เรียกขึ้นไปชั้น 2 เพื่อให้จนท.ลงประวัติ ตอนนี้เราเริ่มหนาวๆร้อนๆละเพราะป้ายตรงเคาน์เตอร์จนท.ลงประวัติเขียนการแต่งกายที่อนุญาตเช่น สวมกางเกงขายาว รองเท้ารัดส้น เสื้อมีแขน ฯลฯ (strict มาก เราจำได้ว่าสำนักงานขนส่งตลิ่งชันไม่ได้เป็นแบบนี้ แต่นานมาแล้ว ซึ่งตอนนี้อาจจะเปลี่ยนแล้วเราไม่ได้อัพเดตเอง) วันนี้สามีเราใส่กางเกงขาสามส่วนมา ดีที่สวมรองเท้าผ้าใบ จนท.ลงประวัติไม่ได้ว่าอะไร เสร็จก็ให้ไปชั้น 3 เพื่อขอบัตรคิวทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรงนี้แหละที่ไม่ผ่านค่ะ จนท.ไม่ให้คิวเราแต่เก็บเอกสารไว้ บอกให้ไปหากางเกงขายาวให้สามีเปลี่ยน ไม่งั้นไม่ได้สอบ ให้เวลาจนถึง 14.00 น. ตายละ เช้าแบบนี้ห้างที่ไหนจะเปิด ไม่ต้องพูดถึงกลับบ้านไปเอากางเกง มันเป็น mission impossible ชัดๆ เราเลยไปเลียบๆเคียงๆถามจนท.ว่าจะสามารถไปหาได้ที่ไหน เค้าบอกให้ไปดูตลาดนัดที่อาคาร 2 อาจจะมี เราเลยรีบพาสามีจ้ำไปหากางเกงขายาว สรุปได้กางเกงวอร์มขายาวจากร้านน้ำหน้าอาคาร 2 ช่วยชีวิต (แอบสงสารคนที่ใส่รองเท้าแตะมา เห็นหลายคนเลยทั้งคนไทยและต่างชาติ เพราะน่าจะหาซื้อรองเท้ายากกว่ากางเกง สาวต่างชาติบางคนใส่จัมพ์สูทสายเดี่ยวมาก็ต้องกลับ จริงๆเรื่องข้อบังคับและเอกสารที่ต้องเตรียม ทางกรมการขนส่งควรประกาศเป็น official ให้คนสามารถเข้าถึงและหาข้อมูลได้เลยไหมคะ?) ดังนั้น ท่านๆที่จะไปติดต่อธุระที่กรมการขนส่ง
ให้แต่งกายสุภาพ หญิงกระโปรงคลุมเข่า/กางเกงขายาว เสื้อมีแขน รองเท้าหุ้มส้น ชายกางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น นะคะ จะได้ไม่เสียเวลาแบบเรา
พอเปลี่ยนกางเกงแล้วก็กลับมาเอาบัตรคิว แล้วไปยืนดูวีดีทัศน์การสอบสมรรถภาพร่างกาย มันจะมีทั้งคำบรรยายภาษาอังกฤษและซับอังกฤษ รอเรียกคิว(เป็นภาษาไทยอีกแล้ว)ให้เข้าไปสอบ (ไม่อนุญาตให้ญาติเข้าได้ แม้ว่าผู้สอบจะพูดไทยไม่ได้ก็ตาม) ถ้าสอบผ่านจนท.จะติ๊กว่าผ่านลงในเอกสาร แล้วให้ขึ้นไปชั้น 4 เพื่อเข้าฟังอบรม 1 ชม.
เมื่ออบรมเสร็จสิ้น ให้ถือเอกสารลงมาชั้นที่ 2 เดินทางเข้าขวาสุดรับบัตรคิวไปถ่ายรูปทำใบขับขี่ ซึ่งคิวผ่านไวมากๆ กำเงิน 205 บาทชำระค่าใบขับขี่ใหม่ที่โต๊ะถ่ายรูปเลยค่ะ ก็เสร็จสิ้นสำหรับการขอเทียบใบขับขี่จากต่างประเทศเป็นใบขับขี่ประเทศไทย (ของเราขนาดเสียเวลาตามหากางเกงขายาว ยังเสร็จก่อน 11.00 น.เลยค่ะ เพราะฉะนั้นแนะนำให้เตรียมพร้อมมาดีๆและไปเช้าๆ)
หมายเหตุ : 1.) ที่สำนักงานขนส่งจตุจักรก็ไม่ได้แยกสอบสมรรถภาพร่างกายหรือการอบรมสำหรับชาวต่างชาตินะคะ แต่เพียงแค่มี subtitle/คำบรรยายภาษาอังกฤษเท่านั้น การเรียกคิวใดๆหรือการแนะนำของจนท.จะเป็นภาษาไทยทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้าสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ให้หนีบคู่สมรสไทยหรือเพื่อนคนไทยไปด้วยนะคะ
2.) จนท.หลายท่านน่ารักมากๆ เต็มใจบริการ ตอบคำถามด้วยความสุภาพนุ่มนวล แต่หลายๆท่านพูดจาไม่น่ารักเลย มีจิกกัดเป็นภาษาไทยเพราะคิดว่าชาวต่างชาติบางคนฟังไม่ออกด้วย จริงๆถ้าให้ข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ต้น(ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชาวต่างชาติที่จะมาใช้บริการก็จะเตรียมตัวมาได้ดีขึ้น ลดความล่าช้าและการสื่อสารที่ไม่จำเป็นได้ค่ะ
3.) ถ้าใบขับขี่เช่น ของญี่ปุ่น 1 ใบจะมีระบุว่า อนุญาตขับจักรยานยนต์ และรถยนต์ แต่หากจะมาเทียบเป็นใบขับขี่ประเทศไทย ต้องแยกเอกสารเป็น 2 ชุด สำหรับรถยนต์ 1 ชุด สำหรับรถจักรยานยนต์ 1 ชุด ไม่สามารถขอพร้อมๆกันด้วยเอกสารชุดเดียวกันได้นะคะ
4.) ใบขับขี่ประเทศไทยที่ได้จะเป็นใบขับขี่ชั่วคราว อายุ 2 ปี ไว้อีก 2 ปีข้างหน้าเราพาสามีไปต่อใบขับขี่จะมาตั้งกระทู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ
[CR] การขอเทียบใบขับขี่ต่างประเทศเป็นใบขับขี่ประเทศไทย (กันยายน 2563)
สำหรับที่จะรีวิววันนี้ เป็นขั้นตอนการเทียบใบขับขี่ต่างประเทศเป็นใบขับขี่ประเทศไทย ซึ่งเงื่อนไขคือ ชาวต่างชาติผู้ที่ต้องการเทียบจะต้องมีใบขับขี่จากประเทศตนที่ยังไม่หมดอายุ
ข้อดีของการเทียบใบขับขี่คือ จะยกเว้นการสอบข้อเขียนและการสอบปฏิบัติ จะมีเพียงการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและการอบรมวินัยจราจร 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งสามารถแล้วเสร็จได้ภายในวันเดียว(ครึ่งวันโดยประมาณ)
เนื่องจากพยายามหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับการทำใบขับขี่ประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ แต่หาไม่ค่อยมี และที่มีก็ไม่อัพเดต สอบถามทางเว็ปไซต์ขนส่งไปก็ไม่ได้รับคำตอบ ช่วงนี้มีสถานการณ์โควิดด้วย เลยคิดว่าขั้นตอนไม่น่าจะเหมือนกับปีที่ผ่านๆมา บ้านจขกท.อยู่ฝั่งธนฯ จริงๆสะดวกจะไปที่สำนักงานขนส่งตลิ่งชันมากกว่า แต่โทรศัพท์ไปสอบถามไม่ติดเลยสักครั้ง จึงตัดสินใจไปสอบถามเองที่สำนักงานขนส่งตลิ่งชัน
ขั้นตอนที่ 1 สอบถามเอกสารที่ต้องใช้และข้อมูลเบื้องต้น
ที่สำนักงานขนส่งตลิ่งชัน ทางเจ้าหน้าที่ตอบคำถามและบริการดีมาก แนะนำว่า หากเป็นชาวต่างชาติที่ฟังภาษาไทยหรืออ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้ ไม่แนะนำให้ทำการเทียบใบขับขี่ที่นี่ เพราะการอบรมเป็นภาษาไทยล้วน นอกจากนี้ต้องมาตรวจเอกสารก่อนหนึ่งวัน แล้วจนท.จะนัดมาอบรมวันอื่นซึ่งจะต้องเสียเวลาลางานหลายวัน จนท.แนะนำให้ไปทำที่สำนักงานขนส่งจตุจักร เพราะว่ามีแยกแผนกทำใบขับขี่สำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะและมีการอบรมภาคภาษาอังกฤษ สามารถแล้วเสร็จได้ภายในวันเดียว และแนะนำให้เตรียมเอกสาร ดังนี้
1.) Passport with Visa (Original and Photocopy) : พาสปอร์ตและวีซ่า พร้อมสำเนา
2.) Original present resident address in Thailand certify from Embassy/Immigration Bureau (Valid for 1 year) : เอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทย ซึ่งสามารถขอได้จากสถานทูตประเทศของตนหรือจะขอจากตม.ไทยก็ได้ ซึ่งต้องออกไม่เกิน 1 ปี
Or Work permit (Original and Photocopy) : ใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา
3.) Original Medical Certificate (5 diseases form) from clinic of hospital (Valid for 1 month) : ใบรับรองแพทย์ 5 โรค ซึ่งต้องออกไม่เกิน 1 เดือน***
***ใบรับรองแพทย์นี้ต้องเป็นแบบฟอร์มเฉพาะ แบบ 2 ท่อน ที่มีส่วนให้ผู้ขอทำใบขับขี่กรอกและเซ็นต์ชื่อ และส่วนที่แพทย์ตรวจวินิจฉัย (ตัวอย่างจากแพทยสภา)
https://tmc.or.th/pdf/MedCertificate/Medical_Certificate_TH.pdf
เรื่องเอกสาร เราอยากได้ความชัวร์จริงๆว่ามันมีอะไรบ้าง เพราะช่วงโควิดนี้ กรณีคนไทยสามารถจองคิวและอบรมออนไลน์มาก่อนได้ แล้วค่อยมาตามคิวที่จอง แต่สำหรับชาวต่างชาติไม่สามารถจองคิวออนไลน์ได้ ต้องมาที่สำนักงานขนส่งฯโดยตรง เพื่อเช็คเอกสาร และหากมีคิววันนั้นจึงจะสามารถทำได้ แต่หากไม่มีคิว จนท.จะนัดให้มาวันหลัง เราเลยติดต่อ call center กรมการขนส่งทางบก (เผอิญว่าสำนักงานขนส่งจตุจักรก็คือที่นี่พอดี) หมายเลข 0-2271-8888 รอสายค่อนข้างนาน(ประมาณมากกว่า 5 นาที)อย่าเพิ่งถอดใจ เดี๋ยวมีจนท.รับสายค่ะ
สอบถามการเตรียมตัวกรณีขอเทียบใบขับขี่ต่างประเทศเป็นใบขับขี่ไทย สรุปเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1.) Passport ตัวจริงพร้อมสำเนา
2.) เอกสารรับรองใบขับขี่จากสถานทูตของตน พร้อมใบขับขี่ประเทศนั้นๆตัวจริงและสำเนา
3.) เอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทย
4.) ใบรับรองแพทย์ 5 โรคที่ออกไม่เกิน 1 เดือน
จนท.แนะนำว่าให้ติดต่อที่บริเวณชั้น 1 อาคาร 4 สำนักงานขนส่งจตุจักร โดยให้มาก่อน 08.00 น.จะได้มีโอกาสยื่นเอกสาร ทดสอบสมรรถภาพร่างกายและอบรมภายในวันนั้นหากคิวไม่มาก ซึ่งถ้าผ่านก็จะได้ใบขับขี่ภายในวันนั้น
ขั้นตอนที่ 2 ขอเอกสารรับรองจากสถานทูต
กรณีเราสามีเป็นชาวญี่ปุ่น จึงต้องยื่นเรื่องที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อขอเอกสาร อ้างอิงจาก https://www.th.emb-japan.go.jp/th/consular/shoumeit.htm
1.) เอกสารรับรองใบขับขี่ (ข้อ 9) เอกสารที่ต้องเตรียมมี
- ใบคำร้อง
- ใบขับขี่ญี่ปุ่น ตัวจริงพร้อมสำเนา
- หนังสือเดินทางญี่ปุ่น ตัวจริงพร้อมสำเนา
- กรณีมีคนยื่นแทน ให้มีหนังสือมอบอำนาจตามแบบฟอร์มสถานทูตฯ : กรณีเราไปยื่นแทนสามี เลยได้รับเอกสารในวันถัดมา ซึ่งหากเจ้าตัวมายื่นเองจะได้รับเอกสารภายในวันนั้นเลย
- ค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร (ชำระวันที่รับเอกสาร 600 บาท/1 ฉบับ)
2.) เอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทย (ข้อ 11) : เจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปลงทะเบียนออนไลน์ใน https://www.mofa.go.jp/mofaj/toko/todoke/zairyu/index.html ก่อน ถึงจะมาขอเอกสารนี้ได้ มิฉะนั้นเจ้าตัวต้องมาเขียนลงทะเบียนเองที่สถานทูต แล้วต้องรอให้ลงในระบบก่อนค่อยมาขอเอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศไทยได้ทีหลัง(ประมาณ 3 วันทำการ) ซึ่งกรณีเรา สามีลงทะเบียนออนไลน์เรียบร้อยแล้วจึงสามารถมอบอำนาจให้มาขอเอกสารฉบับนี้ได้ เอกสารที่ต้องเตรียมมี
- ใบคำร้อง
- หนังสือเดินทางญี่ปุ่น ตัวจริงพร้อมสำเนา
- หน้าประทับวีซ่าพำนักในประเทศไทย พร้อมสำเนา
- ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย พร้อมสำเนา
- กรณีมีคนยื่นแทนต้องมีใบมอบอำนาจ ตามแบบฟอร์มสถานทูตฯ : เผอิญเราเตรียมเอกสารตั้งแต่ช่วงปลายกรกฎาคม 2563 แต่พาสปอร์ตสามีจะหมดอายุเดือนธันวาคม 2563 ที่ขอไปครั้งแรกออกเป็นหมายเลขพาสปอร์ตเก่า พอต้องเปลี่ยนพาสปอร์ตใหม่สามีต้องไปทำเองอยู่แล้ว เลยให้ขอเอกสารรับรองสถานที่พำนักในประเทศเทศไทยฉบับใหม่ที่เป็นหมายเลขพาสปอร์ตใหม่ในวันที่มารับพาสปอร์ตเลย ซึ่งถ้าเจ้าตัวไปทำเอง เอกสารนี้จะออกภายในวันนั้น
- ค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร (ชำระตอนที่ได้รับเอกสาร 600 บาท/1 ฉบับ)
ขั้นตอนที่ 3 ไปเทียบใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่งเขตจตุจักร
เนื่องจากเป็นสำนักงานใหญ่ เราเกรงว่าคนจะเยอะและไม่มีที่จอดรถ เลยตัดสินใจไปตั้งแต่เช้าตรู่ ถึงอาคาร 4 สำนักงานขนส่งเขตจตุจักรตั้งแต่ยังไม่ 7 โมงเช้า ปรากฏว่ามีคนมารอก่อนเราไปอีก ช่วงนี้เป็น new normal ทางขนส่งจัดเก้าอี้รอในเต้นท์หน้าอาคาร มีแถบสีเขียว สีชมพู และสีฟ้า แต่ละแถบจะมีเลขกำกับ ซึ่งเราสอบถามจนท.ว่ามันต่างกันอย่างไร จนท.ก็บอกนั่งๆไปเถอะค่ะ ไม่ต่างกัน เราพาสามีไปนั่งสีชมพูเพราะด้านหลังมันมีเขียนว่า Foreigner พอใกล้ๆ 07.30 น. จะมีจนท.กลุ่มหนึ่งมา แจ้งว่า สีฟ้า(ซ้ายสุด)สำหรับคนที่ลงทะเบียนจองคิวออนไลน์มาแล้ว สีชมพู(กลาง)ก็สำหรับชาวต่างชาติที่มาทำใบขับขี่(ทั้งต่ออายุใบขับขี่และทำใบขับขี่ใหม่) ส่วนสีเขียว(ขวาสุด)สำหรับคนที่ไม่ได้จองคิวออนไลน์มาและอื่นๆ เช่น ใบขับขี่หาย ป้ายด้านหน้าแจ้งว่าเริ่มตรวจเอกสาร 07.45 แต่เอาเข้าจริงๆเรียกตรวจเอกสาร 08.00 น. แถมประกาศเป็นภาษาไทย ชาวต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาไทยหรือไม่ได้พาคนไทยมาด้วยนี่ลำบากเลยค่ะ เราพาสามีไปยื่นตรวจเอกสาร(ตรงนี้เราอยากบอกว่าเราเตรียมเอกสารไปเผื่อเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ Call center แนะนำมา เอกสารที่เราเตรียมเพิ่มและจนท.ตรวจเอกสารเก็บรวมไว้ด้วยกันได้แก่
- สำเนาหน้าวีซ่า ทั้งหน้าวีซ่าแรกเข้า และต่ออายุวีซ่า
- สำเนาหน้าประทับตราตม.ขาเข้าล่าสุด
- สำเนาใบตม. 6 ที่เย็บติดในพาสปอร์ต)
เมื่อตรวจผ่านเจ้าหน้าที่จะให้บัตรคิวลำดับมา นั่งรอสักครู่ก็ได้เรียกขึ้นไปชั้น 2 เพื่อให้จนท.ลงประวัติ ตอนนี้เราเริ่มหนาวๆร้อนๆละเพราะป้ายตรงเคาน์เตอร์จนท.ลงประวัติเขียนการแต่งกายที่อนุญาตเช่น สวมกางเกงขายาว รองเท้ารัดส้น เสื้อมีแขน ฯลฯ (strict มาก เราจำได้ว่าสำนักงานขนส่งตลิ่งชันไม่ได้เป็นแบบนี้ แต่นานมาแล้ว ซึ่งตอนนี้อาจจะเปลี่ยนแล้วเราไม่ได้อัพเดตเอง) วันนี้สามีเราใส่กางเกงขาสามส่วนมา ดีที่สวมรองเท้าผ้าใบ จนท.ลงประวัติไม่ได้ว่าอะไร เสร็จก็ให้ไปชั้น 3 เพื่อขอบัตรคิวทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรงนี้แหละที่ไม่ผ่านค่ะ จนท.ไม่ให้คิวเราแต่เก็บเอกสารไว้ บอกให้ไปหากางเกงขายาวให้สามีเปลี่ยน ไม่งั้นไม่ได้สอบ ให้เวลาจนถึง 14.00 น. ตายละ เช้าแบบนี้ห้างที่ไหนจะเปิด ไม่ต้องพูดถึงกลับบ้านไปเอากางเกง มันเป็น mission impossible ชัดๆ เราเลยไปเลียบๆเคียงๆถามจนท.ว่าจะสามารถไปหาได้ที่ไหน เค้าบอกให้ไปดูตลาดนัดที่อาคาร 2 อาจจะมี เราเลยรีบพาสามีจ้ำไปหากางเกงขายาว สรุปได้กางเกงวอร์มขายาวจากร้านน้ำหน้าอาคาร 2 ช่วยชีวิต (แอบสงสารคนที่ใส่รองเท้าแตะมา เห็นหลายคนเลยทั้งคนไทยและต่างชาติ เพราะน่าจะหาซื้อรองเท้ายากกว่ากางเกง สาวต่างชาติบางคนใส่จัมพ์สูทสายเดี่ยวมาก็ต้องกลับ จริงๆเรื่องข้อบังคับและเอกสารที่ต้องเตรียม ทางกรมการขนส่งควรประกาศเป็น official ให้คนสามารถเข้าถึงและหาข้อมูลได้เลยไหมคะ?) ดังนั้น ท่านๆที่จะไปติดต่อธุระที่กรมการขนส่ง ให้แต่งกายสุภาพ หญิงกระโปรงคลุมเข่า/กางเกงขายาว เสื้อมีแขน รองเท้าหุ้มส้น ชายกางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น นะคะ จะได้ไม่เสียเวลาแบบเรา
พอเปลี่ยนกางเกงแล้วก็กลับมาเอาบัตรคิว แล้วไปยืนดูวีดีทัศน์การสอบสมรรถภาพร่างกาย มันจะมีทั้งคำบรรยายภาษาอังกฤษและซับอังกฤษ รอเรียกคิว(เป็นภาษาไทยอีกแล้ว)ให้เข้าไปสอบ (ไม่อนุญาตให้ญาติเข้าได้ แม้ว่าผู้สอบจะพูดไทยไม่ได้ก็ตาม) ถ้าสอบผ่านจนท.จะติ๊กว่าผ่านลงในเอกสาร แล้วให้ขึ้นไปชั้น 4 เพื่อเข้าฟังอบรม 1 ชม.
เมื่ออบรมเสร็จสิ้น ให้ถือเอกสารลงมาชั้นที่ 2 เดินทางเข้าขวาสุดรับบัตรคิวไปถ่ายรูปทำใบขับขี่ ซึ่งคิวผ่านไวมากๆ กำเงิน 205 บาทชำระค่าใบขับขี่ใหม่ที่โต๊ะถ่ายรูปเลยค่ะ ก็เสร็จสิ้นสำหรับการขอเทียบใบขับขี่จากต่างประเทศเป็นใบขับขี่ประเทศไทย (ของเราขนาดเสียเวลาตามหากางเกงขายาว ยังเสร็จก่อน 11.00 น.เลยค่ะ เพราะฉะนั้นแนะนำให้เตรียมพร้อมมาดีๆและไปเช้าๆ)
หมายเหตุ : 1.) ที่สำนักงานขนส่งจตุจักรก็ไม่ได้แยกสอบสมรรถภาพร่างกายหรือการอบรมสำหรับชาวต่างชาตินะคะ แต่เพียงแค่มี subtitle/คำบรรยายภาษาอังกฤษเท่านั้น การเรียกคิวใดๆหรือการแนะนำของจนท.จะเป็นภาษาไทยทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้าสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ให้หนีบคู่สมรสไทยหรือเพื่อนคนไทยไปด้วยนะคะ
2.) จนท.หลายท่านน่ารักมากๆ เต็มใจบริการ ตอบคำถามด้วยความสุภาพนุ่มนวล แต่หลายๆท่านพูดจาไม่น่ารักเลย มีจิกกัดเป็นภาษาไทยเพราะคิดว่าชาวต่างชาติบางคนฟังไม่ออกด้วย จริงๆถ้าให้ข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ต้น(ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชาวต่างชาติที่จะมาใช้บริการก็จะเตรียมตัวมาได้ดีขึ้น ลดความล่าช้าและการสื่อสารที่ไม่จำเป็นได้ค่ะ
3.) ถ้าใบขับขี่เช่น ของญี่ปุ่น 1 ใบจะมีระบุว่า อนุญาตขับจักรยานยนต์ และรถยนต์ แต่หากจะมาเทียบเป็นใบขับขี่ประเทศไทย ต้องแยกเอกสารเป็น 2 ชุด สำหรับรถยนต์ 1 ชุด สำหรับรถจักรยานยนต์ 1 ชุด ไม่สามารถขอพร้อมๆกันด้วยเอกสารชุดเดียวกันได้นะคะ
4.) ใบขับขี่ประเทศไทยที่ได้จะเป็นใบขับขี่ชั่วคราว อายุ 2 ปี ไว้อีก 2 ปีข้างหน้าเราพาสามีไปต่อใบขับขี่จะมาตั้งกระทู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้