สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 83
ภาวะปัสสาวะรดที่นอน
หมายถึง ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ช่วงกลางคืน ทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดรดกางเกงหรือที่นอนโดยไม่รู้สึกตัวตื่น ซึ่งอาจจะมีอาการปัสสาวะผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น อาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ได้ตอนกลางวัน ปัสสาวะลำบากต้องเบ่ง เป็นต้น ภาวะนี้พบได้บ่อยมากในเด็กครับ โดยปกติพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยในเด็กที่อายุ 5 ปี พบภาวะนี้สูงถึง 15% แต่เมื่อเด็กโตขึ้นจะพบภาวะนี้น้อยลง โดยเด็กอายุ 15 ปี จะพบเพียง 1-2% ครับ ส่วนในผู้ใหญ่ก็เจอได้แต่น้อยมาก ๆ ครับ
โดยภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบบปฐมภูมิ (Primary Enuresis) คือมีปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่เล็ก และไม่เคยมีช่วงที่ไม่มีอาการเลย
2. ภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบบทุติยภูมิ (Secondary Enuresis) คือ ผู้ป่วยกลับมามีภาวะปัสสาวะรดที่นอนใหม่หลังจากที่เคยหายไปแล้วติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่ในผู้ใหญ่คือแบบนี้ครับ
โดยสาเหตุหลัก ๆ เราสามารถแบ่งง่าย ๆ ได้ 3 อันครับคือ
1) กระเพาะปัสสาวะที่ทำงานบีบตัวมากเกินกว่าปกติ รวมถึงการควบคุมการขับถ่ายที่ยังไม่ดี กลั้นไม่ได้นั่นแหละครับ
2) การผลิตน้ำปัสสาวะของไตที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติในช่วงเวลากลางคืน มักจะเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่ควบคุมปริมาณการสร้างน้ำปัสสาวะผิดปกติไป อันนี้ก็ตรงไปตรงมา เก็บไว้มันก็ล้น ไม่บอกมันยิ่งล้นครับ ซึ่งผู้ใหญ่หลายคนที่ดื่มน้ำเยอะ หรือดื่มแอลกอฮอล์เสมอ ๆ บ่อย ๆ มักเป็นข้อนี้ครับ
3) ความผิดปกติของการนอนหลับ ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะหลับลึกมากกว่าปกติ ทำให้ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะหรือไม่รู้สึกตัวตื่นเมื่อปัสสาวะรดจนกางเกงเปียกมักร่วมกับคนที่ดื่มเยอะดื่มหนักนี่แหละครับ
ส่วนการรักษา จริง ๆ ภาวะนี้ถ้าเป็นเด็กสามารถหายได้เองโดยที่อาจจะไม่ต้องให้การรักษาอะไรเพิ่มเติมครับ เพียงแต่รอให้ระบบประสาทและระบบปัสสาวะทำงานอย่างสมบูรณ์ซึ่งโดยทั่วไปก็ประมาณ 5-6 ขวบขึ้น ดังนั้นการรักษาจึงแนะนำว่าควรเริ่มรักษาหลังเด็กอายุ 6 ปี หรือถ้าเกิดในผู้ใหญ่ โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเช่นลดน้ำก่อนนอน ปลุกมาฉี่ ชมเมื่อทำได้อะไรแบบนี้ครับ แต่ถ้าฝึกทุกอย่างแล้วยังไม่ค่อยดีขึ้นก็ค่อยพิจารณาใช้ยาครับโดยยาที่ใช้ส่วนใหญ่คือยาพวกลดการผลิตปัสสาวะในช่วงกลางคืน หรือพวกยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้นครับ
ก็เป็นสาระที่เอามาฝากกันนะครับ
หลัง ๆ หมอทำเพจวิชาการด้วยนะครับ sarikahappymen ลองไปติดตามได้นะครับ
ภาวะปัสสาวะรดที่นอน
หมายถึง ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ช่วงกลางคืน ทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดรดกางเกงหรือที่นอนโดยไม่รู้สึกตัวตื่น ซึ่งอาจจะมีอาการปัสสาวะผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น อาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ได้ตอนกลางวัน ปัสสาวะลำบากต้องเบ่ง เป็นต้น ภาวะนี้พบได้บ่อยมากในเด็กครับ โดยปกติพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยในเด็กที่อายุ 5 ปี พบภาวะนี้สูงถึง 15% แต่เมื่อเด็กโตขึ้นจะพบภาวะนี้น้อยลง โดยเด็กอายุ 15 ปี จะพบเพียง 1-2% ครับ ส่วนในผู้ใหญ่ก็เจอได้แต่น้อยมาก ๆ ครับ
โดยภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบบปฐมภูมิ (Primary Enuresis) คือมีปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่เล็ก และไม่เคยมีช่วงที่ไม่มีอาการเลย
2. ภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบบทุติยภูมิ (Secondary Enuresis) คือ ผู้ป่วยกลับมามีภาวะปัสสาวะรดที่นอนใหม่หลังจากที่เคยหายไปแล้วติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่ในผู้ใหญ่คือแบบนี้ครับ
โดยสาเหตุหลัก ๆ เราสามารถแบ่งง่าย ๆ ได้ 3 อันครับคือ
1) กระเพาะปัสสาวะที่ทำงานบีบตัวมากเกินกว่าปกติ รวมถึงการควบคุมการขับถ่ายที่ยังไม่ดี กลั้นไม่ได้นั่นแหละครับ
2) การผลิตน้ำปัสสาวะของไตที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติในช่วงเวลากลางคืน มักจะเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่ควบคุมปริมาณการสร้างน้ำปัสสาวะผิดปกติไป อันนี้ก็ตรงไปตรงมา เก็บไว้มันก็ล้น ไม่บอกมันยิ่งล้นครับ ซึ่งผู้ใหญ่หลายคนที่ดื่มน้ำเยอะ หรือดื่มแอลกอฮอล์เสมอ ๆ บ่อย ๆ มักเป็นข้อนี้ครับ
3) ความผิดปกติของการนอนหลับ ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะหลับลึกมากกว่าปกติ ทำให้ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะหรือไม่รู้สึกตัวตื่นเมื่อปัสสาวะรดจนกางเกงเปียกมักร่วมกับคนที่ดื่มเยอะดื่มหนักนี่แหละครับ
ส่วนการรักษา จริง ๆ ภาวะนี้ถ้าเป็นเด็กสามารถหายได้เองโดยที่อาจจะไม่ต้องให้การรักษาอะไรเพิ่มเติมครับ เพียงแต่รอให้ระบบประสาทและระบบปัสสาวะทำงานอย่างสมบูรณ์ซึ่งโดยทั่วไปก็ประมาณ 5-6 ขวบขึ้น ดังนั้นการรักษาจึงแนะนำว่าควรเริ่มรักษาหลังเด็กอายุ 6 ปี หรือถ้าเกิดในผู้ใหญ่ โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเช่นลดน้ำก่อนนอน ปลุกมาฉี่ ชมเมื่อทำได้อะไรแบบนี้ครับ แต่ถ้าฝึกทุกอย่างแล้วยังไม่ค่อยดีขึ้นก็ค่อยพิจารณาใช้ยาครับโดยยาที่ใช้ส่วนใหญ่คือยาพวกลดการผลิตปัสสาวะในช่วงกลางคืน หรือพวกยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้นครับ
ก็เป็นสาระที่เอามาฝากกันนะครับ
หลัง ๆ หมอทำเพจวิชาการด้วยนะครับ sarikahappymen ลองไปติดตามได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
สามีชอบฉี่รดที่นอนเราจะพูดกับเขายังไงดีคะ