หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเกิดจากระบบไฟฟ้าของหัวใจเอง และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ เป็นต้น ถึงแม้โรคนี้จะป้องการได้ยาก แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจทั้ง EST และ Echo
หัวใจเต้นเร็ว เต้นช้า เต้นผิดจังหวะคืออะไร เกิดจากอะไร
ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่หัวใจของเรามีอัตราการเต้นผิดไปจากเดิม คือ จะเต้นเร็วไป หรือจะเต้นช้าเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายได้ไม่ว่าจะเป็นการสูบฉีดเลือด หรือความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต และภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น โดยการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะมีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งจากการทำงานของหัวใจเอง และพฤติกรรมประจำวันบางอย่าง สรุปได้ดังนี้
- ระบบไฟฟ้าในหัวใจ มักเกิดกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหัวใจทำงานมาเป็นเวลานานจนเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจช้าลงกว่าปกติ นอกจากนี้ปัญหาของไฟฟ้าหัวใจยังสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด เพราะมาจากกรรมพันธุ์ได้ด้วยนั่นเอง
- โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ เช่น โรคไขมันในเส้นเลือด โรคความดันโลหิตสูง แม้กระทั่งภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ตัวอย่างโรคเหล่านี้จะส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจทั้งทางตรง และทางอ้อมได้ด้วย
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มชา ดื่มกาแฟมากเกินไป การสูบบุหรี่ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะความเครียดที่มากจนเกินไป และมีระยะเวลายาวนาน เป็นต้น
อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่แสดงออกมา
ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้หลายคนจะไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากอาจคิดว่าอาการเล็กน้อย มักเกิดจากความเครียดเป็นหลัก พอทานยาช่วยบรรเทาอาการกลับไม่ดีขึ้น นั่นหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยปกติแล้วภาวะนี้จะพบเจอได้ง่ายขึ้นจากการตรวจร่างกาย หรือตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยอาการที่มักจะแสดงออกมามีดังนี้
- หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
- หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และอาจหมดสติ
- หัวใจเต้นเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที ส่งผลให้เจ็บหน้าอก หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติวินิจฉัยได้อย่างไร
โดยปกติแล้วการวินิจฉัยสมรรถภาพการทำงานของหัวใจจะวัดจากกระแสไฟฟ้าของหัวใจ หรือการบีบตัวของหัวใจ เนื่องจากทุกครั้งที่หัวใจบีบตัวจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากหัวใจเองนั่นแหละ โดยไฟฟ้าจะถูกปล่อยออกมาเป็นจังหวะ ตามการบีบตัวของหัวใจอย่างสัมพันธ์กัน โดยการตรวจไฟฟ้าของหัวใจสามารถตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)
- ตรวจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echo)
- การบันทึกไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา 24 ชั่วโมง
ต้องทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เนื่องจากภาวะนี้เป็นภาวะที่ยากจะควบคุม เพราะจากที่กล่าวไปแล้วว่าเกิดได้ทั้งจากอายุที่มากขึ้น และกรรมพันธุ์ เราจึงทำได้แค่ลดความเสี่ยงในจุดที่ทำได้เท่านั้น คือการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ และการหลีกเลื่ยงความเครียด งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง
การรักษาภาวะนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และสำคัญ เนื่องจากหากละเลย และปล่อยไว้ผลที่ตามมาจะรุนแรงเป็นอย่างมาก เช่น การเกิดอัมพาต เพราะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดสมอง จนถึงขั้นเสียชีวิตจากหัวใจอ่อนกำลัง
การป้องกัน หรือการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ และควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยการรักษาโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ การใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ และการฝังเครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
หลายโรคหลายภาวะที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย เราอาจไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่แน่นอนว่าการตรวจสุขภาพจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรารู้ถึงจุดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับ “หัวใจ” ของเรา และรักษาอย่างทันท่วงทีได้
หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ บอกอะไรได้บ้าง ?
หัวใจเต้นเร็ว เต้นช้า เต้นผิดจังหวะคืออะไร เกิดจากอะไร
ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่หัวใจของเรามีอัตราการเต้นผิดไปจากเดิม คือ จะเต้นเร็วไป หรือจะเต้นช้าเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายได้ไม่ว่าจะเป็นการสูบฉีดเลือด หรือความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต และภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น โดยการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะมีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งจากการทำงานของหัวใจเอง และพฤติกรรมประจำวันบางอย่าง สรุปได้ดังนี้
- ระบบไฟฟ้าในหัวใจ มักเกิดกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหัวใจทำงานมาเป็นเวลานานจนเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจช้าลงกว่าปกติ นอกจากนี้ปัญหาของไฟฟ้าหัวใจยังสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด เพราะมาจากกรรมพันธุ์ได้ด้วยนั่นเอง
- โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ เช่น โรคไขมันในเส้นเลือด โรคความดันโลหิตสูง แม้กระทั่งภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ตัวอย่างโรคเหล่านี้จะส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจทั้งทางตรง และทางอ้อมได้ด้วย
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มชา ดื่มกาแฟมากเกินไป การสูบบุหรี่ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะความเครียดที่มากจนเกินไป และมีระยะเวลายาวนาน เป็นต้น
อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่แสดงออกมา
ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้หลายคนจะไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากอาจคิดว่าอาการเล็กน้อย มักเกิดจากความเครียดเป็นหลัก พอทานยาช่วยบรรเทาอาการกลับไม่ดีขึ้น นั่นหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยปกติแล้วภาวะนี้จะพบเจอได้ง่ายขึ้นจากการตรวจร่างกาย หรือตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยอาการที่มักจะแสดงออกมามีดังนี้
- หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
- หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และอาจหมดสติ
- หัวใจเต้นเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที ส่งผลให้เจ็บหน้าอก หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติวินิจฉัยได้อย่างไร
โดยปกติแล้วการวินิจฉัยสมรรถภาพการทำงานของหัวใจจะวัดจากกระแสไฟฟ้าของหัวใจ หรือการบีบตัวของหัวใจ เนื่องจากทุกครั้งที่หัวใจบีบตัวจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากหัวใจเองนั่นแหละ โดยไฟฟ้าจะถูกปล่อยออกมาเป็นจังหวะ ตามการบีบตัวของหัวใจอย่างสัมพันธ์กัน โดยการตรวจไฟฟ้าของหัวใจสามารถตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)
- ตรวจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echo)
- การบันทึกไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา 24 ชั่วโมง
ต้องทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เนื่องจากภาวะนี้เป็นภาวะที่ยากจะควบคุม เพราะจากที่กล่าวไปแล้วว่าเกิดได้ทั้งจากอายุที่มากขึ้น และกรรมพันธุ์ เราจึงทำได้แค่ลดความเสี่ยงในจุดที่ทำได้เท่านั้น คือการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ และการหลีกเลื่ยงความเครียด งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง
การรักษาภาวะนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และสำคัญ เนื่องจากหากละเลย และปล่อยไว้ผลที่ตามมาจะรุนแรงเป็นอย่างมาก เช่น การเกิดอัมพาต เพราะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดสมอง จนถึงขั้นเสียชีวิตจากหัวใจอ่อนกำลัง
การป้องกัน หรือการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ และควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยการรักษาโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ การใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ และการฝังเครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
หลายโรคหลายภาวะที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย เราอาจไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่แน่นอนว่าการตรวจสุขภาพจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรารู้ถึงจุดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับ “หัวใจ” ของเรา และรักษาอย่างทันท่วงทีได้