.
.
Canal Man Carves Out | 3 Km Long Canal In 30 Years | To Irrigate Parched Fields in Bihar
.
.
.
ชาวคยา (มคธ) ขุดคลองยาว 3 กิโลเมตร
เพื่อรับน้ำฝนจากเนินเขาใกล้เคียงไปยังทุ่งนา
ของหมู่บ้าน Kothilawa ในพื้นที่ Lahthua
ของคยา
Gaya ในรัฐ
พิหาร Bihar
.
.
Laungi Bhuiyan ชาวคยา รัฐพิหาร
ขุดคลองยาว 3 กิโลเมตร กว้าง 1.2 เมตร
ลึก 3 ฟุต(เกือบ 1 เมตร) โดยเฉลี่ย
โดยลำพังคนเดียว โดยใช้เวลาถึง 30 ปี
เพื่อทดน้ำเข้าทุ่งนาที่แห้งแล้ง
ในช่วงฤดูฝน น้ำที่ตกลงมา
จากภูเขาเคยไหลลงสู่แม่น้ำ
ซึ่งเคยสร้างความรำคาญ
ให้กับ Laungi Bhuiyan
เพราะน้ำฝนจากเนินเขาใกล้เคียง
ไหลทิ้งลงแม่น้ำไปแบบสูญเปล่า
ทำให้ Laungi Bhuiyan
เกิดความคิดที่จะขุดคลอง
เพื่อให้น้ำฝนไหลไปสู่ทุ่งนาที่แห้งแล้ง
" ผมใช้เวลา 30 ปีในการขุดคลองนี้
เพื่อนำน้ำไปยังสระน้ำในหมู่บ้าน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ผมจะไปที่ป่าใกล้ ๆ
เพื่อให้วัวของผมเล็มหญ้า
ในขณะเดียวกันผมก็ขุดคลอง
ไม่มีใครมาร่วมงาน/ช่วยผม
ในการขุดคลองครั้งนี้เลย
เพราะชาวบ้านต่างไปหางานทำกันในเมือง
แต่ผมตัดสินในที่จะทำงานที่บ้านเกิด "
Laungi Bhuiyan ผู้ขุดคลอง
ด้วยตัวคนเดียวใน Gaya กล่าว
หมู่บ้าน Kothilwa ใน Lahthua
พื้นที่ Gaya ในรัฐ Bihar
ล้อมรอบไปด้วยป่าทึบและภูเขา
ห่างจากที่ทำการเขต Gaya ราว 80 กิโลเมตร
หมู่บ้านนี้ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่สีแดง
เป็นแหล่งหลบซ่อนพวกผู้ก่อการร้าย
นิยมลัทธิเหมาเจ๋อตุง(ลัทธิคอมมิวนิสต์)
ซึ่งเคยก่อการร้ายในรัฐพิหารหลายครั้งแล้ว
การทำมาหากินหลักของผู้คนใน Gaya
คือ การทำนาและการเลี้ยงสัตว์
ในช่วงฤดูฝน น้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา
เคยไหลลงสู่แม่น้ำ ซึ่งสร้างความรำคาญ
ให้กับ Laungi Bhuiyan
เพราะทรัพยากรน้ำสูญเปล่าไร้ประโยชน์
หลังจากนั้น Laungi Bhuiyan
จึงคิดที่จะขุดคลองรองรับน้ำฝน
" เขาขุดคลองโดยลำพังคนเดียวมาตลอด 30 ปี
คลองนี้เป็นประโยชน์ต่อสัตว์จำนวนมาก
และเพื่อทดน้ำเข้าในทุ่งนาด้วย
เขาไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
แต่สำหรับคนพื้นที่ทั้งหมด "
Patti Manjhi ชาวท้องถิ่นกล่าว
" ผู้คนจำนวนมากจะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้
ตอนนี้ผู้คนเริ่มรู้จักเขาเพราะผลงานของเขา "
Ram Vilas Singh ครูที่อาศัยอยู่ใน Gaya
ได้กล่าวยกย่องว่า Laungi Bhuiyan ว่า
คือ ผู้ทำประโยชน์ให้ไร่นาของชาวบ้าน
.
.
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3bT78cb
https://bit.ly/35AFD62
https://bit.ly/2FhYDeV
https://bit.ly/3kdCZHf
.
.
คนในรัฐพิหาร ที่ขุดภูเขาด้วยมือใช้เวลา 22 ปี
.
.
DASHRATH MANJHI
ชายผู้ย้ายภูเขาด้วยมือ
.
.
.
หมายเหตุ
รัฐพิหารมีความสำคัญต่อชาวพุทธ
คือ พุทธคยา รัฐพิหาร (สถานที่ตรัสรู้)
1 ใน 4 สังเวชนียสถาน ซึ่งได้แก่
1.
อุทยานลุมพินี เนปาล (ที่ประสูติ)
2.
พุทธคยา รัฐพิหาร (ที่ตรัสรู้)
3.
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
(สถานที่แสดงปฐมเทศนา) เมืองสารนาถ
4.
สาลวโนทยาน (ที่ปรินิพพาน) เมืองกุสินารา
ในคยา ยังมี วัดมหาโพธิ
1 ใน 4 สังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า
นาลันทามหาวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยของพุทธศาสนานิกายมหายาน
และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของอินเดีย
ตั้งอยู่ในเมืองนาลันทา
ที่ถูกกองโจร
มุสลิมสุดโต่ง
เผาทำลายทิ้งกินเวลากว่า 3 เดือน
เพราะเชื่อว่า ถ้าไม่มีหนังสือใดดีกว่า
พระคัมภีร์อัลกูรอ่าน ให้เผาทิ้งให้หมด
ซึ่งจริง ๆ ขัดกับ
ฮาดิษเกี่ยวกับการศึกษา
ของท่านนบีโมฮะหมัด ที่กล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงไปศึกษาหาความรู้เถิด
แม้จะไกลถึงประเทศจีนก็ตาม
เมืองราชคฤห์ ที่ตั้งสถานที่สำคัญ
ทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น
พระคันธกุฎียอดเขาคิชกูฏ, วัดเวฬุวัน
(วัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา)
ถ้ำสุกรขาตา (ที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม)
ถ้ำสัตตบรรณคูหา (ที่ทำสังคายนาครั้งแรก)
©
พิหาร จากดินแดนพุทธศาสนา สู่การเป็นรัฐเศรษฐกิจเติบโตอันดับหนึ่งของอินเดีย
.
.
สำนักตักศิลา
หรือมหาวิทยาลัยแห่งแรกของชาวชมพูทวีป
หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา)
ในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเมือง
อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ
เป็นมหาวิทยาลัย/ศูนย์กลางศิลปวิชาการ
ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์
สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่
ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป
ที่มีชื่อเสียงสำเร็จการศึกษาจากที่นี่ เช่น
พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์
องคุลีมาล ฯลฯ
ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตปากีสถาน
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของกรุงอิสลามาบาด
คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ
พิพิธภัณฑ์ตักศิลา
ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับ
ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลา
ยุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ
รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม
และปฏิมากรรมแบบศิลปะคันธาระ
อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน
จนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้
เป็นโบราณสถานภายใต้
การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก
เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้น
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวง
แห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่ง
ในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป
สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน
ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมากมาย เช่น
อารยธรรมกรีกโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช
และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์
ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาประจำแคว้น/รุ่งเรืองมานับพันปี
โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุด
ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ได้สร้างตักศิลา
ให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับ
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5
ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite)
ได้ยกทัพมาตีอินเดีย และทำลายพุทธศาสนาทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น
©
ตักศิลา
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
น้ำแทง คือ
ภาษาปากของพวกทำงานรถไฟเรียกกัน
แบบเวลาน้ำท่วมใหญ่
แล้วมีรางรถไฟกั้นแบ่งสองข้างทาง
แบบเป็นสันเขื่อน ถ้าเกิดอีกข้างน้ำท่วมหนัก
อีกข้างกลับแล้งไร้น้ำท่วม
ถ้าชาวบ้านฝั่งน้ำแล้งร่วมมือกันดี
ไม่อยากให้น้ำท่วม จะต้องส่งคนคอยตรวจตรา
ระวัง/ห้ามชาวบ้านอีกฝ่าย ไม่ให้ชาวบ้านอีกฝั่ง
เอาชะแลงหรือไม้แหลม ๆ ทิ่มเข้าไป
ในดินแถวสันเขื่อน เพราะถ้าเกิดรูเล็ก ๆ
ขนาด 1 นิ้วที่สันเขื่อน ไม่นานนักน้ำจะแทง
เข้าไปในรูดังกล่าว ไม่เกินข้ามวันข้ามคืน
สันเขื่อนบนรางรถไฟมักจะพังทะลายลง
ทำให้น้ำท่วมอีกฝั่งที่เคยแล้งมาก่อน
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย
เพราะชาวบ้านฝั่งที่ถูกน้ำท่วม
มักจะออกมาบอกกันว่า กูแค้นนัก
ฝั่งกูท่วม แต่ฝั่งมันไม่ท่วม
อยู่กันบายแรง(สบายมาก)
เลยเอาให้มันท่วมเหมือน ๆ กัน
พวกมันจะได้หายเบล่อ กูได้หายแค้น
การทำคลองก็ต้องขุด
เป็นร่องให้น้ำไหลลงก่อน
พอสักพักน้ำจะะแทงทำลายแนวดินที่อ่อน
หรือกัดเซาะทำลายชั้นดินอ่อน
จนกลายเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ในภายหลังได้
ระดับน้ำจึงมีความสำคัญ
เพราะต้องอาศัยหลักแรงโน้มถ่วง
ในการชักน้ำให้ไหลลงไปในที่ต้องการ
ข้อดีของระดับน้ำ คือ
ความเที่ยง ไม่หลอกตา
เพราะการเล็งวัดระดับด้วยสายตาของคน
ไม่มีความเที่ยงตรงเหมือนวัดด้วยระดับน้ำ
ที่ระบุได้เลยว่า พื้นที่ตรงไหนลุ่ม ตรงไหนดอน
โดยเฉพาะตอนน้ำท่วมใหญ่
จะเห็นได้ชัดเจนมาก ที่ลุ่ม ที่ดอน ที่น้ำขัง
น้ำเป็นของเหลว
ที่เจ้าของอาคารเก่า ๆ กลัวกันมาก
ยิ่งดาดฟ้าที่เทปูนซีเมนต์ ถ้าเก่าแก่ แตกร้าว
น้ำจะสามารถไหลซึมลงมาในชั้นใต้ดาดฟ้าได้
พอ ๆ กับพื้นห้องน้ำที่มีการรั่วซึมลงด้านล่าง
.
.
.
.
© Syam Marathon
.
.
สถานีรถไฟศาลายา นครปฐม พ.ศ. ๒๔๖๐
ฝูงควายที่ชาวบ้านต้อนอพยพหนีน้ำท่วม
ขึ้นมายึดครองตลอดแนวรางรถไฟ
ในช่วงฤดูน้ำหลาก
ภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ชาวคยาคนเดียวใช้เวลา 30 ปีขุดคลองยาว 3 กิโลเมตร
.
Canal Man Carves Out | 3 Km Long Canal In 30 Years | To Irrigate Parched Fields in Bihar
.
.
.
ชาวคยา (มคธ) ขุดคลองยาว 3 กิโลเมตร
เพื่อรับน้ำฝนจากเนินเขาใกล้เคียงไปยังทุ่งนา
ของหมู่บ้าน Kothilawa ในพื้นที่ Lahthua
ของคยา Gaya ในรัฐ พิหาร Bihar
.
Laungi Bhuiyan ชาวคยา รัฐพิหาร
ขุดคลองยาว 3 กิโลเมตร กว้าง 1.2 เมตร
ลึก 3 ฟุต(เกือบ 1 เมตร) โดยเฉลี่ย
โดยลำพังคนเดียว โดยใช้เวลาถึง 30 ปี
เพื่อทดน้ำเข้าทุ่งนาที่แห้งแล้ง
ในช่วงฤดูฝน น้ำที่ตกลงมา
จากภูเขาเคยไหลลงสู่แม่น้ำ
ซึ่งเคยสร้างความรำคาญ
ให้กับ Laungi Bhuiyan
เพราะน้ำฝนจากเนินเขาใกล้เคียง
ไหลทิ้งลงแม่น้ำไปแบบสูญเปล่า
ทำให้ Laungi Bhuiyan
เกิดความคิดที่จะขุดคลอง
เพื่อให้น้ำฝนไหลไปสู่ทุ่งนาที่แห้งแล้ง
" ผมใช้เวลา 30 ปีในการขุดคลองนี้
เพื่อนำน้ำไปยังสระน้ำในหมู่บ้าน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ผมจะไปที่ป่าใกล้ ๆ
เพื่อให้วัวของผมเล็มหญ้า
ในขณะเดียวกันผมก็ขุดคลอง
ไม่มีใครมาร่วมงาน/ช่วยผม
ในการขุดคลองครั้งนี้เลย
เพราะชาวบ้านต่างไปหางานทำกันในเมือง
แต่ผมตัดสินในที่จะทำงานที่บ้านเกิด "
Laungi Bhuiyan ผู้ขุดคลอง
ด้วยตัวคนเดียวใน Gaya กล่าว
หมู่บ้าน Kothilwa ใน Lahthua
พื้นที่ Gaya ในรัฐ Bihar
ล้อมรอบไปด้วยป่าทึบและภูเขา
ห่างจากที่ทำการเขต Gaya ราว 80 กิโลเมตร
หมู่บ้านนี้ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่สีแดง
เป็นแหล่งหลบซ่อนพวกผู้ก่อการร้าย
นิยมลัทธิเหมาเจ๋อตุง(ลัทธิคอมมิวนิสต์)
ซึ่งเคยก่อการร้ายในรัฐพิหารหลายครั้งแล้ว
การทำมาหากินหลักของผู้คนใน Gaya
คือ การทำนาและการเลี้ยงสัตว์
ในช่วงฤดูฝน น้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา
เคยไหลลงสู่แม่น้ำ ซึ่งสร้างความรำคาญ
ให้กับ Laungi Bhuiyan
เพราะทรัพยากรน้ำสูญเปล่าไร้ประโยชน์
หลังจากนั้น Laungi Bhuiyan
จึงคิดที่จะขุดคลองรองรับน้ำฝน
" เขาขุดคลองโดยลำพังคนเดียวมาตลอด 30 ปี
คลองนี้เป็นประโยชน์ต่อสัตว์จำนวนมาก
และเพื่อทดน้ำเข้าในทุ่งนาด้วย
เขาไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
แต่สำหรับคนพื้นที่ทั้งหมด "
Patti Manjhi ชาวท้องถิ่นกล่าว
" ผู้คนจำนวนมากจะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้
ตอนนี้ผู้คนเริ่มรู้จักเขาเพราะผลงานของเขา "
Ram Vilas Singh ครูที่อาศัยอยู่ใน Gaya
ได้กล่าวยกย่องว่า Laungi Bhuiyan ว่า
คือ ผู้ทำประโยชน์ให้ไร่นาของชาวบ้าน
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3bT78cb
https://bit.ly/35AFD62
https://bit.ly/2FhYDeV
https://bit.ly/3kdCZHf
.
.
คนในรัฐพิหาร ที่ขุดภูเขาด้วยมือใช้เวลา 22 ปี
.
.
DASHRATH MANJHI
ชายผู้ย้ายภูเขาด้วยมือ
.
.
หมายเหตุ
รัฐพิหารมีความสำคัญต่อชาวพุทธ
คือ พุทธคยา รัฐพิหาร (สถานที่ตรัสรู้)
1 ใน 4 สังเวชนียสถาน ซึ่งได้แก่
1. อุทยานลุมพินี เนปาล (ที่ประสูติ)
2. พุทธคยา รัฐพิหาร (ที่ตรัสรู้)
3. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
(สถานที่แสดงปฐมเทศนา) เมืองสารนาถ
4. สาลวโนทยาน (ที่ปรินิพพาน) เมืองกุสินารา
ในคยา ยังมี วัดมหาโพธิ
1 ใน 4 สังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า
นาลันทามหาวิชชาลัย
มหาวิทยาลัยของพุทธศาสนานิกายมหายาน
และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของอินเดีย
ตั้งอยู่ในเมืองนาลันทา
ที่ถูกกองโจร มุสลิมสุดโต่ง
เผาทำลายทิ้งกินเวลากว่า 3 เดือน
เพราะเชื่อว่า ถ้าไม่มีหนังสือใดดีกว่า
พระคัมภีร์อัลกูรอ่าน ให้เผาทิ้งให้หมด
ซึ่งจริง ๆ ขัดกับฮาดิษเกี่ยวกับการศึกษา
ของท่านนบีโมฮะหมัด ที่กล่าวว่า
ท่านทั้งหลายจงไปศึกษาหาความรู้เถิด
แม้จะไกลถึงประเทศจีนก็ตาม
เมืองราชคฤห์ ที่ตั้งสถานที่สำคัญ
ทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น
พระคันธกุฎียอดเขาคิชกูฏ, วัดเวฬุวัน
(วัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา)
ถ้ำสุกรขาตา (ที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม)
ถ้ำสัตตบรรณคูหา (ที่ทำสังคายนาครั้งแรก)
© พิหาร จากดินแดนพุทธศาสนา สู่การเป็นรัฐเศรษฐกิจเติบโตอันดับหนึ่งของอินเดีย
.
.
สำนักตักศิลา
หรือมหาวิทยาลัยแห่งแรกของชาวชมพูทวีป
หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา)
ในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเมือง
อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ
เป็นมหาวิทยาลัย/ศูนย์กลางศิลปวิชาการ
ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์
สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่
ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป
ที่มีชื่อเสียงสำเร็จการศึกษาจากที่นี่ เช่น
พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์
องคุลีมาล ฯลฯ
ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตปากีสถาน
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของกรุงอิสลามาบาด
คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ
พิพิธภัณฑ์ตักศิลา
ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับ
ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลา
ยุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ
รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม
และปฏิมากรรมแบบศิลปะคันธาระ
อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน
จนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้
เป็นโบราณสถานภายใต้
การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก
เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้น
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวง
แห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่ง
ในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป
สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน
ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมากมาย เช่น
อารยธรรมกรีกโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช
และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์
ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาประจำแคว้น/รุ่งเรืองมานับพันปี
โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุด
ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ได้สร้างตักศิลา
ให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับ
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5
ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite)
ได้ยกทัพมาตีอินเดีย และทำลายพุทธศาสนาทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น
© ตักศิลา
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
น้ำแทง คือ
ภาษาปากของพวกทำงานรถไฟเรียกกัน
แบบเวลาน้ำท่วมใหญ่
แล้วมีรางรถไฟกั้นแบ่งสองข้างทาง
แบบเป็นสันเขื่อน ถ้าเกิดอีกข้างน้ำท่วมหนัก
อีกข้างกลับแล้งไร้น้ำท่วม
ถ้าชาวบ้านฝั่งน้ำแล้งร่วมมือกันดี
ไม่อยากให้น้ำท่วม จะต้องส่งคนคอยตรวจตรา
ระวัง/ห้ามชาวบ้านอีกฝ่าย ไม่ให้ชาวบ้านอีกฝั่ง
เอาชะแลงหรือไม้แหลม ๆ ทิ่มเข้าไป
ในดินแถวสันเขื่อน เพราะถ้าเกิดรูเล็ก ๆ
ขนาด 1 นิ้วที่สันเขื่อน ไม่นานนักน้ำจะแทง
เข้าไปในรูดังกล่าว ไม่เกินข้ามวันข้ามคืน
สันเขื่อนบนรางรถไฟมักจะพังทะลายลง
ทำให้น้ำท่วมอีกฝั่งที่เคยแล้งมาก่อน
เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย
เพราะชาวบ้านฝั่งที่ถูกน้ำท่วม
มักจะออกมาบอกกันว่า กูแค้นนัก
ฝั่งกูท่วม แต่ฝั่งมันไม่ท่วม
อยู่กันบายแรง(สบายมาก)
เลยเอาให้มันท่วมเหมือน ๆ กัน
พวกมันจะได้หายเบล่อ กูได้หายแค้น
การทำคลองก็ต้องขุด
เป็นร่องให้น้ำไหลลงก่อน
พอสักพักน้ำจะะแทงทำลายแนวดินที่อ่อน
หรือกัดเซาะทำลายชั้นดินอ่อน
จนกลายเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ในภายหลังได้
ระดับน้ำจึงมีความสำคัญ
เพราะต้องอาศัยหลักแรงโน้มถ่วง
ในการชักน้ำให้ไหลลงไปในที่ต้องการ
ข้อดีของระดับน้ำ คือ
ความเที่ยง ไม่หลอกตา
เพราะการเล็งวัดระดับด้วยสายตาของคน
ไม่มีความเที่ยงตรงเหมือนวัดด้วยระดับน้ำ
ที่ระบุได้เลยว่า พื้นที่ตรงไหนลุ่ม ตรงไหนดอน
โดยเฉพาะตอนน้ำท่วมใหญ่
จะเห็นได้ชัดเจนมาก ที่ลุ่ม ที่ดอน ที่น้ำขัง
น้ำเป็นของเหลว
ที่เจ้าของอาคารเก่า ๆ กลัวกันมาก
ยิ่งดาดฟ้าที่เทปูนซีเมนต์ ถ้าเก่าแก่ แตกร้าว
น้ำจะสามารถไหลซึมลงมาในชั้นใต้ดาดฟ้าได้
พอ ๆ กับพื้นห้องน้ำที่มีการรั่วซึมลงด้านล่าง
.
.
.
© Syam Marathon
.
สถานีรถไฟศาลายา นครปฐม พ.ศ. ๒๔๖๐
ฝูงควายที่ชาวบ้านต้อนอพยพหนีน้ำท่วม
ขึ้นมายึดครองตลอดแนวรางรถไฟ
ในช่วงฤดูน้ำหลาก
ภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ