คุณคิดว่า ถ้า หลังเปลี่ยนการปกครอง 2475 ประเทศไทยเดินตามโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม แล้วปัจจุบัน จะเจริญมั้ย

ขอแสดงความคิดเห็นโดย ไม่พาดพิง สถาบัน หรือ ตัวบุคคล ครับ
http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
ขอคัดลอกมา คร่าวๆ...
สมุดปกเหลือง หรือ เค้าโครงการเศรษฐกิจ มีเนื้อหา 3 ส่วน ส่วนแรกคือ เค้าโครงการเศรษฐกิจ,
ส่วนที่สองคือ เค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร (Assurance Sociale)
และส่วนที่สามคือ เค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบเศรษฐกิจ....
หมวดที่ 5 ว่าด้วย “วิธีซึ่งรัฐบาลจะหาที่ดิน แรงงาน เงินทุน” อันได้แก่ การจัดหาที่ดิน 
โดยการซื้อ “ที่ดินที่จะใช้ประกอบการทางเศรษฐกิจ เช่น ที่นาหรือไร่ กลับคืนสู่รัฐบาล ส่วนที่บ้านอยู่อาศัยนั้นไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องซื้อคืน เว้นไว้แต่เจ้าของประสงค์จะขายแลกกับใบกู้”,
 การจัดหาการงาน โดยการรับราษฎรเป็นข้าราชการ และการจัดหาเงินทุน โดยการเก็บภาษีทางอ้อม, ออกฉลากกินแบ่ง, กู้เงิน และโดยการหาเครดิต 
ทั้งนี้ หลักการสำคัญที่รัฐบาลจะต้องควรคำนึงถึงก็คือ “รัฐบาลจะต้องดำเนินวิธีละม่อม คือ ต้องอาศัยการร่วมมือระหว่างคนมั่งมีและคนจน รัฐบาลจะต้องไม่ประหัตประหารคนมั่งมี” 

หมวดที่ 6 ว่าด้วย “การจัดทำให้รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลเข้าสู่ดุลยภาพ” และ “การจัดเศรษฐกิจของรัฐบาลต้องระวังมิให้มนุษย์กลายเป็นสัตว์” ตามคำของ ปรีดี พนมยงค์
ความจริงเท่าที่ได้กล่าวแล้ว ข้าพเจ้าได้ถือว่าราษฎรเป็นข้าราชการ มีฐานะเหมือนข้าราชการทุกวันนี้ที่ทำงานแล้วได้รับเงินเดือน และเมื่อเจ็บป่วยชราได้เบี้ยบำนาญ 
ข้าพเจ้าได้ระวังมิให้มนุษย์มีสภาพเป็นสัตว์ ข้าพเจ้าประสงค์ให้มนุษย์เป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ปราศจากการประทุษร้ายต่อกันอันเนื่องมาจากเหตุเศรษฐกิจ
 ข้าพเจ้ายังเคารพต่อครอบครัวของผู้นั้น ผู้หญิงไม่ใช่เป็นของกลาง ความเกี่ยวพันในระหว่างครอบครัว ผู้บุพการี เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา กับผู้สืบสันดาน เช่น บุตรหลาน ยังคงมีตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ยกเลิก
 ราษฎรคงมีบ้านอยู่ตามสภาพที่จะจัดให้ดีขึ้น ราษฎรยังคงมีมานะที่จะช่วยส่งเสริมความเจริญเหมือนดังข้าราชการในทุกวันนี้ ถ้าหากราษฎรหมดมานะที่จะช่วยส่งเสริมความเจริญแล้ว ข้าราชการในทุกวันนี้ก็จะมิเป็นบุคคลจำพวกที่หมดมานะที่จะช่วยส่งเสริมความเจริญหรือ 

หมวดที่ 7 ว่าด้วย “การแบ่งงานออกเป็นสหกรณ์” กล่าวคือ แม้ว่าโดยตามหลักการแล้วรัฐบาลจะเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเอง
 แต่ในประเทศที่กว้างขวาง มีพลเมืองมากกว่า 11 ล้านคน ดังเช่นประเทศไทย หากการประกอบการเศรษฐกิจขึ้นตรงต่อรัฐบาลทั้งหมด 
การควบคุมตรวจตราก็อาจจะไม่ทั่วถึง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องแบ่งการประกอบการเศรษฐกิจเป็นสหกรณ์ต่างๆ

หมวดที่ 8 ว่าด้วย “รัฐบาลจะจัดให้มีเศรษฐกิจชนิดใดบ้างในประเทศ” โดยรัฐบาลจะต้องถือหลักว่า จะต้องจัดการกสิกรรม อุตสาหกรรมทุกอย่างให้มีขึ้น
 ซึ่งในที่สุดประเทศก็จะไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันภัยอันตรายอันจะเกิดจากการปิดประตูการค้าได้ 
เมื่อเรามีสิ่งที่ต้องการภายในประเทศครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แม้จะถูกปิดประตูการค้าก็ไม่เดือดร้อน

หมวดที่ 9 ว่าด้วย “การป้องกันความยุ่งยากในปัญหาเรื่องนายจ้างกับลูกจ้าง” ที่ ปรีดี พนมยงค์ เห็นว่า 
ถ้าประเทศสยามจะดำเนินตามลัทธิที่ปล่อยให้บริษัทเอกชนเป็นเจ้าของโรงงานแล้ว ก็จะนำความระส่ำระสายและความหายนะมาสู่ประเทศ เช่นเดียวกับประเทศยุโรป ดังจะเห็นได้ว่า ในประเทศไทย แม้โรงงานจะมีเพียงเล็กน้อย แต่ปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้น เช่น การประท้วงของกรรมกรรถราง เป็นต้น
 ยิ่งถ้าหากบ้านเมืองเจริญขึ้น โรงงานก็มีมากขึ้น ความระส่ำระสายก็จะมากขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้ารัฐได้เข้าเป็นเจ้าของการประกอบการทางเศรษฐกิจทั้งหลายเสียเอง เมื่อราษฎรทั้งหลายทำงานตามกำลังและตามความสามารถเหมือนกับข้าราชการประเภทอื่นแล้ว ก็จะได้รับผลเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นความเสมอภาคตามกำลังและความสามารถ “รัฐบาลเป็นผู้แทนราษฎรก็เท่ากับราษฎรได้เป็นเจ้าของการเศรษฐกิจทั้งปวง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่