คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,454 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 7 ราย)
- เป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 7 ราย
เสียชีวิตรวม 58 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 3,310 ราย (95.83%) (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 24 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 86 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 7 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้า State quarantine โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย 5 ราย เข้า State quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร
- มาจากประเทศอินเดีย 2 ราย เข้า State quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่จังหวัดชลบุรี
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก มากกว่า 28 ล้านรายแล้ว โดยรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 286,548 รายจากทั่วโลก ในขณะที่ยอดผู้รักษาหายทั่วโลกกว่า 20 ล้านราย คิดเป็นประมาณร้อยละ 72 ของยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก
- เปรู ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 7 แสนรายแล้ว โดยรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ล่าสุดอยู่ที่ 6,586 ราย อยู่อันดับที่ 5 ของโลก
- อินเดีย ยังคงทำสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นอันดับ 1 ของโลกและสูงที่สุดจากที่เคยรายงานที่ 95,529 ราย ทำให้ยอดสะสมขยับขึ้นใกล้ 4.5 ล้านรายแล้ว
- อาร์เจนตินา สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงทำสถิติสูงสุดของการรายงานที่ 12,259 ราย
- สเปน รายงานผู้ติดเชื้อสูงอยู่ในหลัก 8,000 รายติดต่อกันเป็นวันที่สองแล้ว
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง โดยรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในหลัก 3,000 รายต่อวัน และยอดสะสมมากกว่า 2 แสนราย ในขณะที่ยอดสะสมผู้เสียชีวิตในอินโดนีเซียมากกว่าฟิลิปปินส์เกือบ 2 เท่า
- พม่า สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 180 ราย และมีรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 2 รายติดต่อกันเป็นวันที่สองแล้ว
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/3119533791505505
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/180278860257113
ความคืบหน้าการสอบสวนโรคกรณีผู้ต้องขังติดโควิด-19
การค้นหาผู้สัมผัสรวม 1,004 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 120 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 884 คน ส่งตรวจ 570 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก : https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=14650&deptcode=
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106142991004034/180329840252015/
คุมเข้มแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
#ไทยคู่ฟ้า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศเพื่อนบ้านทางด้านตะวันตกของประเทศไทย และอาจมีการแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศ โดยผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมิได้ผ่านมาตรการคัดกรองโรคตามที่ประเทศไทยกำหนด ดังนั้น เพื่อป้องกันและสกัดกั้นมิให้เกิดการกระทำลักษณะดังกล่าว
รัฐบาล ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับมือเฝ้าระวัง ติดตาม ค้นหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังนี้
1) ให้จังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเมียนมา เพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระมัดระวังไม่ให้มีการลักลอบเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายและไม่ผ่านกระบวนการคัดกรองโรค
2) ให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนซึ่งมีเส้นทางคมนาคมทั้งสายหลัก สายรอง ต่อเนื่องกัน จัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ตรวจตรา เฝ้าระวัง และสกัดกั้นผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หากพบ ให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายและมาตรการทางด้านสาธารณสุข
3) ให้ทุกจังหวัดบูรณาการส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ติดตามค้นหาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบกลับเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ทั้งในสถานประกอบการและสถานที่ทำงานที่มีการใช้แรงงานต่างด้าว หากพบให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายและมาตรการทางด้านสาธารณสุข
นอกจากนี้ เร่งประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่อง หากพบหรือมีบุคคลต้องสงสัยว่าเป็นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบกลับเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ให้แจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด หรือสายด่วน 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/photos/a.210271022772045/1003043936828079/
ประเทศต่างๆในโลกเจอโควิด-19 ระบาดในลักษณะไหน?
1. ระบาดทั่วไปในชุมชน 47%
2. ระบาดแบบติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน 35%
3. ระบาดแบบประปราย 12%
4. อื่นๆ 6%
ส่วนใหญ่ประเทศที่มีสาเหตุการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก จะเป็นการระบาดในลักษณะแบบ 1 และ 2
ในประเทศที่มีการติดเชื้อเป็นอันดับต้นๆของโลก
สหรัฐ - ระบาดในชุมชน
อินเดีย- ระบาดเป็นกลุ่มก้อน
บราซิล - ระบาดในชุมชน
รัสเซีย - ระบาดเป็นกลุ่มก้อน
เปรู - ระบาดในชุมชน
ส่วนประเทศไทย จะเป็นลักษณะการระบาดแบบกลุ่มก้อน
แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการระบาดแบบไหน แต่ละประเทศก็กำลังพยายามเอาชนะโควิด-19 อย่างเต็มที่
มนุษยชาติสามารถผ่านโรคระบาดมาได้ตลอด อีกทั้ง วิทยาการทางการแพทย์ก็พัฒนาขึ้นกว่าเมื่อก่อน ดังนั้น เราจึงไม่ควรหมดหวังกับการเอาชนะโควิด-19 เพราะ แท้จริงแล้วความรุนแรงของโควิด-19 ก็น้อยกว่าบางโรคระบาดที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเสียชีวิตก็ค่อนข้างต่ำ ประกอบด้วยหลายๆ ประเทศก็มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นเพื่อป้องกันและหยุดการแพร่ระบาดของโรคอย่างจริงจัง ดังนั้น เราทุกคนควรยืนหยัดให้ร่วมมือกับภาครัฐ รับผิดชอบต่อตัวเองและต่อสังคม รักษาระหว่างห่างทางสังคม สุขภาพ และสุขอนามัยที่ดีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเราจะได้ผ่านวิกฤตโควิด-19ไปได้อย่างเร็ว
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/photos/a.717595134932676/5007062392652574/
องค์การอนามัยโลก ชมไทย สาธารณสุขเข้มแข็ง ยกเป็นแนวหน้าของโลก มั่นคงด้านสุขภาพ
(10 ก.ย.)ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Committee (RC)) ครั้งที่ 73 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบออนไลน์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2563 โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูงจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุม ภายใต้หัวข้อ “COVID-19”
นายอนุทิน กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดประชุมฯ ว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ทำให้ผู้ป่วยโควิด 19 เข้าถึงการบริการสุขภาพที่จำเป็น และพร้อมสนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการเข้าถึงเครื่องมือในการตอบโต้กับโรคโควิด 19 (Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator) ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาวัคซีนยารักษาโรคและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการสร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเครื่องมือดังกล่าว อย่างไรก็ตามต้องดำเนินงานพร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติ
ด้าน Dr. Poonam Khetrapal Singh ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กล่าวชื่นชมระบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยที่มีความเข้มแข็งและสามารถตอบสนอง ต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศแนวหน้าของโลกและภูมิภาคในด้านความมั่นคงด้านสุขภาพ ด้วยศักยภาพดังกล่าวทำให้ไทยสามารถจัดการกับโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับรองปฏิญญาของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยเรื่องการตอบโต้โรคโควิด19 (South-East Asia Region Member States’ Declaration on “Collective response to COVID-19) โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งของการป้องกันและควบคุมโรคตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005 (International Health Regulations, 2005)
สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นประจำทุกปี โดยมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน เมียนมา เนปาล อินเดีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และผู้บริหารระดับสูงจาก เกาหลีเหนือ ติมอร์-เลสเต และมัลดีฟส์ เวียนกันเป็นเจ้าภาพตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ ผ่านระบบทางไกลเป็นครั้งแรก
ข้อมูลจาก : กลุ่มภารกิจด้านข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/ttraisuree/photos/a.107534160625374/353207116058076/
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,454 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 7 ราย)
- เป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่กลับจากต่างประเทศใน State quarantine เพิ่มขึ้น 7 ราย
เสียชีวิตรวม 58 ราย (ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 3,310 ราย (95.83%) (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 24 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 86 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 7 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้า State quarantine โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย 5 ราย เข้า State quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร
- มาจากประเทศอินเดีย 2 ราย เข้า State quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่จังหวัดชลบุรี
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก มากกว่า 28 ล้านรายแล้ว โดยรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 286,548 รายจากทั่วโลก ในขณะที่ยอดผู้รักษาหายทั่วโลกกว่า 20 ล้านราย คิดเป็นประมาณร้อยละ 72 ของยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก
- เปรู ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 7 แสนรายแล้ว โดยรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ล่าสุดอยู่ที่ 6,586 ราย อยู่อันดับที่ 5 ของโลก
- อินเดีย ยังคงทำสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นอันดับ 1 ของโลกและสูงที่สุดจากที่เคยรายงานที่ 95,529 ราย ทำให้ยอดสะสมขยับขึ้นใกล้ 4.5 ล้านรายแล้ว
- อาร์เจนตินา สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงทำสถิติสูงสุดของการรายงานที่ 12,259 ราย
- สเปน รายงานผู้ติดเชื้อสูงอยู่ในหลัก 8,000 รายติดต่อกันเป็นวันที่สองแล้ว
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง โดยรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในหลัก 3,000 รายต่อวัน และยอดสะสมมากกว่า 2 แสนราย ในขณะที่ยอดสะสมผู้เสียชีวิตในอินโดนีเซียมากกว่าฟิลิปปินส์เกือบ 2 เท่า
- พม่า สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 180 ราย และมีรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 2 รายติดต่อกันเป็นวันที่สองแล้ว
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/3119533791505505
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2563
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/180278860257113
ความคืบหน้าการสอบสวนโรคกรณีผู้ต้องขังติดโควิด-19
การค้นหาผู้สัมผัสรวม 1,004 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 120 คน ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 884 คน ส่งตรวจ 570 คน ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก : https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=14650&deptcode=
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106142991004034/180329840252015/
คุมเข้มแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
#ไทยคู่ฟ้า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศเพื่อนบ้านทางด้านตะวันตกของประเทศไทย และอาจมีการแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศ โดยผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมิได้ผ่านมาตรการคัดกรองโรคตามที่ประเทศไทยกำหนด ดังนั้น เพื่อป้องกันและสกัดกั้นมิให้เกิดการกระทำลักษณะดังกล่าว
รัฐบาล ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับมือเฝ้าระวัง ติดตาม ค้นหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังนี้
1) ให้จังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเมียนมา เพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระมัดระวังไม่ให้มีการลักลอบเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายและไม่ผ่านกระบวนการคัดกรองโรค
2) ให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนซึ่งมีเส้นทางคมนาคมทั้งสายหลัก สายรอง ต่อเนื่องกัน จัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ตรวจตรา เฝ้าระวัง และสกัดกั้นผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หากพบ ให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายและมาตรการทางด้านสาธารณสุข
3) ให้ทุกจังหวัดบูรณาการส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ติดตามค้นหาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบกลับเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ทั้งในสถานประกอบการและสถานที่ทำงานที่มีการใช้แรงงานต่างด้าว หากพบให้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายและมาตรการทางด้านสาธารณสุข
นอกจากนี้ เร่งประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่อง หากพบหรือมีบุคคลต้องสงสัยว่าเป็นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบกลับเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ให้แจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด หรือสายด่วน 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/photos/a.210271022772045/1003043936828079/
ประเทศต่างๆในโลกเจอโควิด-19 ระบาดในลักษณะไหน?
1. ระบาดทั่วไปในชุมชน 47%
2. ระบาดแบบติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน 35%
3. ระบาดแบบประปราย 12%
4. อื่นๆ 6%
ส่วนใหญ่ประเทศที่มีสาเหตุการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก จะเป็นการระบาดในลักษณะแบบ 1 และ 2
ในประเทศที่มีการติดเชื้อเป็นอันดับต้นๆของโลก
สหรัฐ - ระบาดในชุมชน
อินเดีย- ระบาดเป็นกลุ่มก้อน
บราซิล - ระบาดในชุมชน
รัสเซีย - ระบาดเป็นกลุ่มก้อน
เปรู - ระบาดในชุมชน
ส่วนประเทศไทย จะเป็นลักษณะการระบาดแบบกลุ่มก้อน
แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการระบาดแบบไหน แต่ละประเทศก็กำลังพยายามเอาชนะโควิด-19 อย่างเต็มที่
มนุษยชาติสามารถผ่านโรคระบาดมาได้ตลอด อีกทั้ง วิทยาการทางการแพทย์ก็พัฒนาขึ้นกว่าเมื่อก่อน ดังนั้น เราจึงไม่ควรหมดหวังกับการเอาชนะโควิด-19 เพราะ แท้จริงแล้วความรุนแรงของโควิด-19 ก็น้อยกว่าบางโรคระบาดที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเสียชีวิตก็ค่อนข้างต่ำ ประกอบด้วยหลายๆ ประเทศก็มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นเพื่อป้องกันและหยุดการแพร่ระบาดของโรคอย่างจริงจัง ดังนั้น เราทุกคนควรยืนหยัดให้ร่วมมือกับภาครัฐ รับผิดชอบต่อตัวเองและต่อสังคม รักษาระหว่างห่างทางสังคม สุขภาพ และสุขอนามัยที่ดีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเราจะได้ผ่านวิกฤตโควิด-19ไปได้อย่างเร็ว
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/photos/a.717595134932676/5007062392652574/
องค์การอนามัยโลก ชมไทย สาธารณสุขเข้มแข็ง ยกเป็นแนวหน้าของโลก มั่นคงด้านสุขภาพ
(10 ก.ย.)ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Committee (RC)) ครั้งที่ 73 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบออนไลน์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2563 โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูงจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุม ภายใต้หัวข้อ “COVID-19”
นายอนุทิน กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดประชุมฯ ว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ทำให้ผู้ป่วยโควิด 19 เข้าถึงการบริการสุขภาพที่จำเป็น และพร้อมสนับสนุนข้อริเริ่มขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการเข้าถึงเครื่องมือในการตอบโต้กับโรคโควิด 19 (Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator) ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาวัคซีนยารักษาโรคและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการสร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเครื่องมือดังกล่าว อย่างไรก็ตามต้องดำเนินงานพร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติ
ด้าน Dr. Poonam Khetrapal Singh ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กล่าวชื่นชมระบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยที่มีความเข้มแข็งและสามารถตอบสนอง ต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศแนวหน้าของโลกและภูมิภาคในด้านความมั่นคงด้านสุขภาพ ด้วยศักยภาพดังกล่าวทำให้ไทยสามารถจัดการกับโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับรองปฏิญญาของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยเรื่องการตอบโต้โรคโควิด19 (South-East Asia Region Member States’ Declaration on “Collective response to COVID-19) โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งของการป้องกันและควบคุมโรคตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005 (International Health Regulations, 2005)
สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นประจำทุกปี โดยมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน เมียนมา เนปาล อินเดีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และผู้บริหารระดับสูงจาก เกาหลีเหนือ ติมอร์-เลสเต และมัลดีฟส์ เวียนกันเป็นเจ้าภาพตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ ผ่านระบบทางไกลเป็นครั้งแรก
ข้อมูลจาก : กลุ่มภารกิจด้านข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/ttraisuree/photos/a.107534160625374/353207116058076/
แสดงความคิดเห็น
🔴มาลาริน/10ก.ย.ไทยพบโควิด 7 ราย มาจากตปท. โพลเชื่อไทยรับมือได้หากมีรอบ 2 ปิดพรมแดนรับมือ โควิด-19 ห้าม'การ์ดตก'
วันนี้ (10 ก.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า......🌂
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ (10 ก.ย.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 7 ราย เดินทางมาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย 5 ราย อินเดีย 2 ราย และเข้า State Quarantine
ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,454 ราย หายป่วยเพิ่ม 24 ราย รวมหายแล้ว 3,310 ราย โดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 86 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 58 ราย
สำหรับรายละเอียดของผู้ป่วยรายใหม่ทั้ง 7 ราย มีดังนี้
ซาอุดิอาระเบีย 5 ราย
อินเดีย 2 ราย และเข้า State Quarantine
ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,454 ราย หายป่วยเพิ่ม 24 ราย รวมหายแล้ว 3,310 ราย โดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 86 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 58 ราย
https://www.sanook.com/news/8249162/
'นิด้าโพล' เผยประชาชนส่วนใหญ่เชื่อประเทศไทย 'รับมือได้' หากโรคโควิด-19 ระบาดรอบสอง
10 ก.ย.63 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณ ประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนยังกลัวโควิด-19 อยู่หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลต่อการติดเชื้อโรคระบาดโควิด-19 พบว่า ร้อยละ 23.04 ระบุว่า กังวลมาก ร้อยละ 36.81 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล ร้อยละ 16.81 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล และร้อยละ 23.34 ระบุว่า ไม่กังวลเลย
ด้านเหตุผลสำคัญที่ประชาชนเลือกสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.98 ระบุว่า กลัวตาย รองลงมา ร้อยละ 9.28 ระบุว่า กลัวสังคมรังเกียจ ร้อยละ 7.45 ระบุว่า เป็นคำสั่งรัฐบาล ร้อยละ 7.22 ระบุว่า กลัวทำให้คนอื่นตาย และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นต่อการรับมือของประเทศไทย หากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.24 ระบุว่า สามารถรับมือได้ รองลงมา ร้อยละ 10.95 ระบุว่า ไม่สามารถรับมือได้ และร้อยละ 9.81 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อความเพียงพอของระบบการแพทย์และสาธารณสุข หากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.14 ระบุว่า มีเพียงพอ รองลงมา ร้อยละ 22.13 ระบุว่า ไม่เพียงพอ และร้อยละ 9.73 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
http://www.thaipost.net/main/detail/77002
เปิดตำราสู้ ปิดพรมแดนรับมือ โควิด-19 'การ์ดตก' ไทยเจ๊ง!
การกลับมาแพร่ระบาด โควิด-19 รอบ 2 เวลานี้มาเร็วกว่าที่คิด ทำให้หลายๆ ชาติ เริ่มกังวล เพราะการรักษาในห้วงแรกยังไม่แล้วเสร็จ ระลอกใหม่ตามมากระหน่ำ และดูจะรุนแรงกว่าที่คิด โดยทั่วโลกตัวเลข ณ วันนี้ (10 ก.ย.)เป็นแล้ว 27,972,401 คน เมื่อโฟกัสในภูมิภาคเอเชีย ที่ดูน่ากลัว เพราะหลายๆ ประเทศไม่สามารถรับมือได้ และยังไม่มีความพร้อมในเรื่องสาธารณสุข
ขณะที่สถานการณ์ใน "เมียนมา" ยังมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มเกือบ 2 ร้อยรายต่อวัน ตายเพิ่ม 2 ตายแล้ว 12 ป่วยใหม่ 180 รวม 1,889 ราย
หวั่น อินเดีย พม่า ทะลักเข้าไทย ผ่านช่องทางธรรมชาติ
หากมองภาพภูมิศาสตร์ ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีแนวเขตแดนทั้ง 4 ด้าน มีความยาว ประมาณ 5,656 กิโลเมตร โดยติดต่อกับด้านกัมพูชา 798 กิโลเมตร ด้านลาว 1,810 กิโลเมตร ด้านพม่า 2,401 กิโลเมตร และด้านมาเลเซีย 647 กิโลเมตร
หลังสัญญาณเตือนจากพม่า โควิดระบาดระลอก 2
หลังพม่าพบการติดเชื้อภายในท้องถิ่นครั้งแรกในรอบ 1 เดือน เมื่อช่วงกลางเดือน ส.ค. ที่รัฐยะไข่ นับจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ที่ 1,059 คน และมีผู้เสียชีวิตรวม 6 ศพ จากนั้นยอดคนติดเชื้อก็พุ่งสูงขึ้น และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในรัฐยะไข่ ตามมาด้วยการติดเชื้อระลอกล่าสุดเกิดขึ้นเมืองสิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ กระทั่งเจ้าหน้าที่ต้องออกคำสั่งให้ประชาชนอยู่กับบ้านและประกาศใช้เคอร์ฟิว
คนพม่าแตกฮือหนีเข้าไทย มหาดไทย สั่ง จังหวัดตั้งการ์ดรับมือ
แม้หน่วยงานความมั่นคงจะวางกำลังทั้งทหาร ตำรวจ สาธารณสุข ตชด. ตม. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง แต่กระนั้น คนพม่า บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย ก็ยังทะลักหวังข้ามชายแดนไทยให้ได้ กระทั่ง นายฉัตรชัย พรหมเลิศปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้สั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด เน้นย้ำนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ของพื้นที่ที่ติดต่อกับชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีช่องทางผ่านแดนที่เป็นช่องทางธรรมชาติ ให้ระมัดระวัง ป้องกัน การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย หลังข้อมูลพบผู้ติดเชื้อในพม่า จากการระบาดระลอกที่ 2 ในรัฐยะไข่ จำนวนมาก
ล่าสุดได้สั่งการทั้ง 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลกาญจนบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง และราชบุรี ให้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินการ การเดินทางเข้ามาในประเทศผ่านช่องทางการเข้าออก ด่าน จุดผ่านแดน หรือจุดผ่อนปรนในพื้นที่รับผิดชอบ ให้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติของการป้องกันโรคสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรฯ ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด
"บิ๊กแป๊ะ" สั่งการ ตม. ตชด. ตำรวจภูธรจังหวัด เตรียมมาตรการรับมือ
ขณะที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ลงนามกำชับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับชายแดนติดกับพม่าทั้ง 10 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง และราชบุรี ประสานร่วมกับ ทหาร ปกครอง กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติของการป้องกันโรคตามคำสั่ง ศบค.อย่างเคร่งครัด โดยเน้นย้ำด่านชายแดนไทย-พม่า ที่สามารถดำเนินการเข้า-ออก ผ่านจุดข้าออกประเทศใน 20 จุดได้ ให้ดูแลตั้งด่าน ตรวจตรา ป้องกัน อย่างแน่นหนา โดยมีจุดผ่านแดนถาวร จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย จ.เชียงราย 2 จุด, จ.ตาก 1จุด, จ.กาญจนบุรี 1 จุด และ จ.ระนอง 1 จุด จุดผ่านแดนชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง อยู่ใน จ.กาญจนบุรี จุดผ่อนปรน จำนวน 14 แห่ง ประกอบด้วย จ.เชียงราย 5 จุด, เชียงใหม่ 2 จุด, แม่ฮ่องสอน 4 จุด, กาญจนบุรี 1 จุด และประจวบคีรีขันธ์ สำหรับ 20 จุดผ่านแดนนี้ คือ ช่องทางเข้าออกที่ถูกกฎหมาย แต่สิ่งที่หลายฝ่ายกำลังกังวลอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ คือ การลักลอบเข้าประเทศไทย ตามช่องทางธรรมชาติตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า ตามเส้นแบ่งเขตแดน ที่มีความยาวกว่า 2,041 กิโลเมตร
ฝ่ายความมั่นคง กังวลโควิด-19 ชายแดนรอบบ้าน เร่งเน้นย้ำผู้ปฏิบัติงาน
ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ได้ย้ำข้อสั่งการทั้งฝ่ายปกครอง กระทรวงแรงงาน ตำรวจ ทหารกำชับ ประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิดในทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดนประเทศเมียนมา
ที่สำคัญขอให้กองกำลังป้องกันชายแดนของทหาร เพิ่มความเข้มข้นมาตรการป้องกันและความถี่การลาดตระเวนเฝ้าตรวจชายแดนทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่องทางผ่านแดนทางธรรมชาติตามแนวชายแดน ทั้งนี้หากพบการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ให้ดำเนินตามมาตรการทางกฎหมายและการควบคุมโรคที่กำหนดอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม
"บิ๊กแดง" ลุยเองลงพื้นที่ดูทุกจุด ตรวจทุกช่องทาง เพื่ออุดรอยรั่ว
ช่องทางธรรมชาติเป็นจุดอ่อนที่น่ากลัว พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ซึ่งมองว่า กองทัพบก เป็นหน่วยหลักที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่แนวชายแดนระหว่างไทย-พม่า กว่า 2.4 กันกิโลเมตร ตั้งแต่แนวเขตแดนภาคเหนือจรดภาคใต้ ได้ลงพื้นที่ต่อเนื่องตั้งแต่ อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย พร้อมเน้นย้ำ กองกำลังผาเมือง กองกำลังนเรศวร เพิ่มมาตรการในการสกัดกั้นด้านแรงานต่างด้าวผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างเข้มงวด ติดตั้งไฟส่องสว่างแผงโซลาร์เซลล์, กล้อง CCTV และวางรั้วลวดหนามเพิ่มเติม พร้อมสั่งให้มีการประสานส่วนราชการในพื้นที่ดำเนินการ การจัดทำแผนก่อสร้างกำแพง ตามแนวลำน้ำสาย น้ำรวก เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย วางกำลังคุมเข้มช่องทางธรรมชาติ ตลอดแนวชายแดนไทย-เมียนมา รวมถึงเพิ่มกำลังสนับสนุนหน่วยที่ปฏิบัติงานอยู่ตลอดแนวชายแดนทั้งชายแดนไทย-เมียนมา และชายแดนไทย-สปป.ลาว ตลอดแนวแม่น้ำโขง พร้อมประเมินสถานการณ์ จากกรณีเกิดการระบาดของโรคไวรัสติดเชื้อโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศเมียนมา
สำหรับชายแดนระนองยังน่ากังวล เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีแรงงานประมงชาวพม่า จำนวนมากที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมีอีกหลายรายพยายามลักลอบข้ามมาฝั่งไทยโดยทางทะเล จนฝ่ายทหารต้องสั่งตรึงกำลังชายแดน ลักลอบเข้าเมือง พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ต้องกำชับและบินด่วนลงพื้นที่ ยังที่ค่ายรัตนรังสรรค์ และลงไปดูจุดชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งเป็นจุดพื้นที่เสี่ยงการลักลอบเข้าเมือง ที่บ้านหินช้าง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เพื่อตรวจเยี่ยมติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเมียนมา โดยเน้นย้ำกับ กองกำลังเทพสตรี ศรชล.จังหวัดระนอง ศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย-เมียนมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง นายอำเภอเมืองระนอง ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ต้องร่วมไม้ร่วมมือป้องกันสกัดกั้นไม่ให้ระบาดเข้ามายังฝั่งไทย
จากนี้คนไทยทุกคน ถึงเวลาต้องร่วมมือร่วมใจ ช่วยกันคนละไม้ละมือ สิ่งสำคัญห้ามการ์ดตก ออกจากบ้านควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงในสถานที่มีผู้คนจำนวนมาก เพราะขณะนี้ประเทศไทย กำลังเผชิญกับความเสี่ยง ถึงแม้ว่าพื้นที่การระบาดจะอยู่ห่างไกลจากชายแดนไทย แต่มีการคาดการณ์ว่าประมาณ 2 สัปดาห์ การระบาดจะขยายพื้นที่มาถึงพื้นที่แถบชายแดนไทย
ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งบุคลากรการแพทย์ ต่างเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นตามแนวชายแดน เพื่อให้คนไทยทุกคนอยู่อย่างปราศจากโควิด เพื่อให้ประเทศชาติรุกหน้าต่อไป ดังนั้นพวกเราเอง "การ์ดห้ามตก"
ผู้เขียน : คชสีห์ 88
https://www.thairath.co.th/news/local/1926669