ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 3
มีการวิเคราะห์ว่าภาษาไท-ลาวได้เข้ามามีอิทธิพลในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุทธยานานแล้ว เห็นได้จาก "โองการแช่งน้ำ" ซึ่งพิจารณาจากภาษาแล้วสันนิษฐานว่าเก่าแก่กว่าสมัยกรุงศรีอยุทธยา เพราะคำที่ใช้เป็นคำในตระกูลไท-ลาวโบราณจำนวนมาก โดยแทบไม่มีอิทธิพลของคำเขมรมาเจือปนเลย เมื่อเทียบกับภาษาในกฎหมายสมัยพระเจ้ารามาธิบดีคือ "โองการพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง" ที่แต่งในสมัยนั้นก็พบว่ามีอิทธิพลของเขมรเข้าไปเจือปนอยู่มากแล้ว และฉันทลักษณ์ก็เป็นโคลงห้าที่ใช้กันในแถบสองฝั่งโขง อย่างที่พบในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง จึงเป็นไปได้ว่าโองการแช่งเป็นวรรณกรรมที่มีการสืบทอดมาจากตระกูลไท-ลาวทางเหนือตั้งแต่โบราณ โดยที่อยุทธยารับมาปรับใช้ในราชสำนักสมัยหลังครับ
อิทธิพลไท-ลาว ยังปรากฏในกฏหมายที่มีศักราชก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาจนถึงสมัยพระเจ้ารามาธิบดี มีการนำตำแหน่ง “ขุน” หรือ “หลวง” อย่างไท-ลาว มาใช้ แต่ถูกลดชั้นลงมาเป็นเพียงขุนนางไม่ได้มีความหมายเป็นผู้ปกครองอย่างในอดีต เช่น ในกฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๘๘๖ มีตำแหน่ง “ขุนกระเสตราธิบดี” กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. ๑๙๐๒ มีตำแหน่ง “ขุนพระคลัง” กฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๙๐๓ มีตำแหน่ง “เจ้าขุนหลวงสพฤานครบาล”
แม้แต่ชื่อ "อู่ทอง" ที่เชื่อกันว่าคือพระนามเดิมของสมเด็จพระรามาธิบดีผู้สถาปนากรุงศรีอยุทธยา ก็เป็นคำไท-ลาวอย่างชัดเจน (เท่าที่ศึกษามายังไม่พบหลักฐานบ่งชี้ว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นมอญ)
ในราชสำนักอยุทธยาตอนต้นพบว่ายังใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชสำนักไปด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าเพราะกลุ่มชนชั้นปกครองเดิมเป็นเครือญาติกับกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร ดังที่เห็นว่าในราชสำนักอยุทธยาใช้ราชาศัพท์เป็นภาษาเขมรต่างจากสามัญชน แต่ก็น่าเชื่อว่ามีอิทธิพลไท-ลาวเข้าไปผสมผสานแล้ว ซึ่งอาจมาจากการเกี่ยวดองระหว่างผู้ปกครองเดิมที่เป็นขอม-เขมร กับรัฐที่ใช้ภาษาไท-ลาวซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นหลังจากรัชสมัยพระเจ้าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่เขมรเมืองพระนครเสื่อมอำนาจลง ดังที่พบว่า กรุงศรีอยุทธยาก่อกำเนิดมาจากรัฐละโว้ ที่เกี่ยวดองกับรัฐสุพรรณภูมิซึ่งใช้ภาษาไท-ลาว สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของกลุ่มที่ใช้ภาษาไท-ลาวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคอยุทธยาตอนต้นได้เป็นอย่างดีครับ
เรื่องนี้คงยังหาข้อสรุปชัดเจนได้ยาก เพราะประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคเสื่อมของเขมรพระนครลงมาจนถึงช่วงก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยามีหลักฐานน้อยมากจนถูกเรียกว่าเป็น “ยุคมืด” แต่ก็มีการศึกษาว่าละโว้ หรือ หลัวหู (羅斛) แยกตัวเป็นอิสระจากเมืองพระนครราว พ.ศ. ๑๘๔๐ สมัยพระเจ้าศรีนทรวรมัน เพราะส่งบรรณาการไปจีนด้วยตนเองหลายครั้ง
นอกจากนี้ยังปรากฏในหลักฐานของโจวต้ากวานว่ารัฐเซียน (暹) หรือ "สยาม" ได้เข้ามารุกรานกรุงกัมพูชาในรัชสมัยพระเจ้าศรีนทรวรมัน สยามในเวลานั้นควรจะมีอิทธิพลไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกรวมถึงละโว้ด้วย เพราะการยกกองทัพไปรุกรานเมืองพระนครก็ควรจะยกทัพผ่านละโว้เป็นหลัก จึงเป็นไปได้ว่าละโว้ซึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับเมืองพระนคร อาจถูกอิทธิพลของไท-ลาวเข้าไปครอบงำแล้ว สอดคล้องกับการส่งบรรณาการให้จีนของละโว้ที่บ่งชี้ว่าละโว้ มีสถานะเป็นรัฐอิสระจากเมืองพระนครแล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งสมมติฐานว่าผู้ปกครองละโว้รวมถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคนั้นเป็นต้นมาอาจจะเป็นกลุ่มสยามที่ใช้ภาษาไท-ลาวเป็นหลักแล้ว ในขณะที่เชื้อสายเขมรพระนครเดิมเสื่อมอำนาจลงไป แต่ทั้งนี้หลักฐานเกี่ยวกับผู้ปกครองที่เป็นเขมรก็ขาดตอนไปหลังยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่เมืองพระนครเริ่มเสื่อมอำนาจลงเช่นเดียวกัน จึงยากจะสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนครับ
หลักฐานจารึกภาษาไทยในสมัยอยุทธยาตอนต้น
จารึกแผ่นดีบุก พบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณว่าสร้างใน พ.ศ. ๑๙๑๗ (เพราะเป็นปีพระปรางค์วัดมหาธาตุถูกสร้างขึ้น) หลังสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีสวรรคตแค่ไม่กี่ปี ก็พบว่ามีจารึกภาษาไทยแล้วครับ ลองเทียบดูได้ว่ารูปแบบตัวอักษรและภาษาในจารึกต่างจากปัจจุบันมากแค่ไหนครับ
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/672
จารึกลานเงิน วัดมหาธาตุ สันนิษฐานว่าสร้างหลังสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีสวรรคตไม่นาน เนื้อหาในจารึกกล่าวถึงขุนศรีรัตนากรหล่อพระพิมพ์ ๗๖,๒๕๒ องค์ ถวายเป็นอานิสงส์แด่สมเด็จพระรามาธิบดี และสมเด็จพระศรีราชาธิราช
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=648
คนอยุทธยาเรียกตนเองว่า ไทย เรียกภาษาของตนเองว่าภาษาไทย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับจำนวนมากครับ
https://ppantip.com/topic/37451391?
อิทธิพลไท-ลาว ยังปรากฏในกฏหมายที่มีศักราชก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาจนถึงสมัยพระเจ้ารามาธิบดี มีการนำตำแหน่ง “ขุน” หรือ “หลวง” อย่างไท-ลาว มาใช้ แต่ถูกลดชั้นลงมาเป็นเพียงขุนนางไม่ได้มีความหมายเป็นผู้ปกครองอย่างในอดีต เช่น ในกฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๘๘๖ มีตำแหน่ง “ขุนกระเสตราธิบดี” กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. ๑๙๐๒ มีตำแหน่ง “ขุนพระคลัง” กฎหลายลักษณะเบ็ดเสร็จ พ.ศ. ๑๙๐๓ มีตำแหน่ง “เจ้าขุนหลวงสพฤานครบาล”
แม้แต่ชื่อ "อู่ทอง" ที่เชื่อกันว่าคือพระนามเดิมของสมเด็จพระรามาธิบดีผู้สถาปนากรุงศรีอยุทธยา ก็เป็นคำไท-ลาวอย่างชัดเจน (เท่าที่ศึกษามายังไม่พบหลักฐานบ่งชี้ว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นมอญ)
ในราชสำนักอยุทธยาตอนต้นพบว่ายังใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชสำนักไปด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าเพราะกลุ่มชนชั้นปกครองเดิมเป็นเครือญาติกับกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร ดังที่เห็นว่าในราชสำนักอยุทธยาใช้ราชาศัพท์เป็นภาษาเขมรต่างจากสามัญชน แต่ก็น่าเชื่อว่ามีอิทธิพลไท-ลาวเข้าไปผสมผสานแล้ว ซึ่งอาจมาจากการเกี่ยวดองระหว่างผู้ปกครองเดิมที่เป็นขอม-เขมร กับรัฐที่ใช้ภาษาไท-ลาวซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นหลังจากรัชสมัยพระเจ้าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่เขมรเมืองพระนครเสื่อมอำนาจลง ดังที่พบว่า กรุงศรีอยุทธยาก่อกำเนิดมาจากรัฐละโว้ ที่เกี่ยวดองกับรัฐสุพรรณภูมิซึ่งใช้ภาษาไท-ลาว สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของกลุ่มที่ใช้ภาษาไท-ลาวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคอยุทธยาตอนต้นได้เป็นอย่างดีครับ
เรื่องนี้คงยังหาข้อสรุปชัดเจนได้ยาก เพราะประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคเสื่อมของเขมรพระนครลงมาจนถึงช่วงก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยามีหลักฐานน้อยมากจนถูกเรียกว่าเป็น “ยุคมืด” แต่ก็มีการศึกษาว่าละโว้ หรือ หลัวหู (羅斛) แยกตัวเป็นอิสระจากเมืองพระนครราว พ.ศ. ๑๘๔๐ สมัยพระเจ้าศรีนทรวรมัน เพราะส่งบรรณาการไปจีนด้วยตนเองหลายครั้ง
นอกจากนี้ยังปรากฏในหลักฐานของโจวต้ากวานว่ารัฐเซียน (暹) หรือ "สยาม" ได้เข้ามารุกรานกรุงกัมพูชาในรัชสมัยพระเจ้าศรีนทรวรมัน สยามในเวลานั้นควรจะมีอิทธิพลไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกรวมถึงละโว้ด้วย เพราะการยกกองทัพไปรุกรานเมืองพระนครก็ควรจะยกทัพผ่านละโว้เป็นหลัก จึงเป็นไปได้ว่าละโว้ซึ่งเคยมีความใกล้ชิดกับเมืองพระนคร อาจถูกอิทธิพลของไท-ลาวเข้าไปครอบงำแล้ว สอดคล้องกับการส่งบรรณาการให้จีนของละโว้ที่บ่งชี้ว่าละโว้ มีสถานะเป็นรัฐอิสระจากเมืองพระนครแล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งสมมติฐานว่าผู้ปกครองละโว้รวมถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในยุคนั้นเป็นต้นมาอาจจะเป็นกลุ่มสยามที่ใช้ภาษาไท-ลาวเป็นหลักแล้ว ในขณะที่เชื้อสายเขมรพระนครเดิมเสื่อมอำนาจลงไป แต่ทั้งนี้หลักฐานเกี่ยวกับผู้ปกครองที่เป็นเขมรก็ขาดตอนไปหลังยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่เมืองพระนครเริ่มเสื่อมอำนาจลงเช่นเดียวกัน จึงยากจะสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนครับ
หลักฐานจารึกภาษาไทยในสมัยอยุทธยาตอนต้น
จารึกแผ่นดีบุก พบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณว่าสร้างใน พ.ศ. ๑๙๑๗ (เพราะเป็นปีพระปรางค์วัดมหาธาตุถูกสร้างขึ้น) หลังสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีสวรรคตแค่ไม่กี่ปี ก็พบว่ามีจารึกภาษาไทยแล้วครับ ลองเทียบดูได้ว่ารูปแบบตัวอักษรและภาษาในจารึกต่างจากปัจจุบันมากแค่ไหนครับ
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/672
จารึกลานเงิน วัดมหาธาตุ สันนิษฐานว่าสร้างหลังสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีสวรรคตไม่นาน เนื้อหาในจารึกกล่าวถึงขุนศรีรัตนากรหล่อพระพิมพ์ ๗๖,๒๕๒ องค์ ถวายเป็นอานิสงส์แด่สมเด็จพระรามาธิบดี และสมเด็จพระศรีราชาธิราช
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=648
คนอยุทธยาเรียกตนเองว่า ไทย เรียกภาษาของตนเองว่าภาษาไทย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับจำนวนมากครับ
https://ppantip.com/topic/37451391?
แสดงความคิดเห็น
ทำไมอยุธยาพูดภาษาไทยครับ