Earthquake House of Comrie
.
แม้ว่า สหราชอาณาจักรจะไม่ค่อยมีแผ่นดินไหว
แต่อย่างไรก็ตามหมู่เกาะเหล่านี้ยังคงถูกเขย่า
ด้วยแรงสั่นสะเทือนเพียงไม่กี่ 100 ครั้งต่อปี
ประชาชนจะรู้สึกว่ามีอาการแผ่นดินไหวเพียง 20 หรือ 30 ครั้งเท่านั้น
แต่ส่วนมากมีแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลกตะวันตก
ถูกสร้างขึ้นและติดตั้งในสกอตแลนด์ ณ สถานที่ที่เรียกว่า Comrie
แบบจำลองที่ใช้งานได้ยังคงตั้งอยู่ใน Earthquake House
ตั้งอยู่บนเนินหญ้าของ The Ross ในหมู่บ้าน
Comrie
ในเมือง Perthshire ทางตอนใต้ของ Scotland
เป็นบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางธรณีวิทยา
จากแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร
เพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่ติดกับรอยเลื่อน(แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน)
ที่
Highland Boundary Fault
จึงได้ฉายาว่าเมืองหลวงแห่งแผ่นดินไหวของสหราชอาณาจักร
เพราะมีแผ่นดินไหวถี่ถี่มากและมากกว่าที่อื่น ๆ ในหมู่เกาะเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้บางครั้งยังเรียกเมืองนี้ว่า เมืองสั่นคลอน
การบันทึกเรื่องแผ่นดินไหวครั้งแรกใน Perthshire
เป็นผลการจดบันทึกของ James Melville ในเดือนกรกฏาคม 1597
ซึ่งในบันทึกจะจดเรื่องราวเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวทั่วทั้งมณฑล
จนถึงปี 1789 มีการบันทึกข้อมูลและความรุนแรงอย่างเป็นระบบครั้งแรกที่ Comrie
ซึ่งบันทึกโดย บาดหลวง Taylor กับ Gilfillan ที่เริ่มจดบันทึกอาการสั่นสะเทือนเหล่านี้
ในช่วง 50 ปีต่อมา ทั้งคู่ได้ได้จดบันทึกการสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ได้มากถึง 70 ครั้ง
รวมถึงแผ่นดินไหวครั้งที่ใหญ่ที่สุดใน Comrie เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1839
บ้านเรือนหลายหลังใน Comrie ได้รับความเสียหาย
และเขื่อนกั้นน้ำใกล้กับ Stirling ก็พังลงมา
สร้างความตะหนกตกใจทั่วทั้งสกอตแลนด์
เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบไม้รูปทรงกระบอกยังคงมีให้เห็นที่ บ้านตรวจวัดแผ่นดินไหว
.
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 1839
Peter Macfarlane นายไปรษณีย์
กับ James Drummond ช่างทำรองเท้า
ทั้งคู่ได้รับฉายาว่า Comrie Pioneers
ได้สร้างเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว
และเริ่มจด/เก็บบันทึกอย่างเป็นทางการ
เครื่องมือนี้ประกอบด้วยแผ่นไม้สองแผ่น
วางในแนวเหนือ - ใต้ ตะวันออก - ตะวันตก
แกนไม้ทรงกระบอกจะวางลงบนแนวไม้กระดาน
เมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นจะส่งแรงสั่นสะเทือน/กระแทก
แกนไม้รูปทรงกระบอกให้เคลื่อน/กระเด็นออกมา
แกนไม้รูปทรงกระบอกจะมีขนาด/น้ำหนักที่แน่นอน (มีการชั่งน้ำหนักไว้แล้ว)
โดยรอบ ๆ จะมีพื้นทรายล้อมรอบเป็นตัวเพิ่มแรงเสียดทาน
ทำให้แกนไม้รูปทรงกระบอกไม่กลิ้งไปมาหรือกระแทกแกนไม้อันอื่น ๆ
ซึ่งทำให้ทั้งสองนักประดิษฐ์ (ช่างทำรองเท้ากับนายไปรษณีย์)
สามารถวัดความแรงของแผ่นดินไหวได้
แม้ว่าแบบดั้งเดิมจะดูเชยเชย แต่ดูเหมือนว่าได้ผล
ในปี 1841 จากข้อมูลที่รวบรวมมาได้
Comrie Pioneers ก็ได้จัดส่งเอกสารไปยัง
British Association for the Advancement of Science
ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องแผ่นดินไหว
Committee for the Investigation of Scottish and Irish Earthquake
ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีการสร้างและใช้เครื่องมือจำนวนมากรอบ ๆ Comrie
รวมถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่ทันสมัยเครื่องแรก
Seismometer
ที่ประกอบด้วยลูกตุ้มคว่ำที่เขียนการสั่นสะเทือนลงบนแผ่นเว้าด้านบน
สร้างโดย
James David Forbes นักฟิสิกส์ชาวสก็อตแลนด์
แต่ในปี 1844 กิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหว
ก็เริ่มมีคนสนใจลดลงไปกว่าเดิมมาก
จนเริ่มสนใจอีกครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งในปี 1869
จึงเริ่มมีการค้นหาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น
และในปี 1874 Earthquake House บ้านตรวจวัดแผ่นดินไหว
ก็ถูกสร้างขึ้นบนหินแข็งเพื่อเก็บเครื่องวัดแผ่นดินไหวของ
Robert Mallet
และก็อีกครั้ง กิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหวก็ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ
จนกระทั่งในปี 1911 สถานที่ทำการถูกทิ้งร้างและเลิกใช้งานไป
เพราะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่กว่าดีกว่าเดิม
และอาคารดังกล่าวก็ทำงานซ้ำซ้อนไม่เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่
หมายเหตุ
กิจกรรมความสนใจเรื่องแผ่นดินไหวที่ค่อย ๆ โรยรา
เพราะชาวบ้านเซ็งเป็ดที่รู้ทีหลังทุกที หลังจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นมาแล้ว
ยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถเตือนว่ากำลังจะมึแผ่นดินไหว
ในปี 1988 ได้มีการตัดสินใจให้บูรณะ
Earthquake House บ้านตรวจวัดแผ่นดินไหวได้รับการบูรณะ
พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยของ
British Geological Survey
ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถเข้าไปในตัวอาคารได้
แต่มีหน้าต่างบานใหญ่ซึ่งสามารถสังเกตเครื่องมือแบบใหม่
เช่นเดียวกับเครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบเก่า
รูปทรงกระบอกไม้วางบนแผ่นไม้ตั้งอยู่บนพื้นดิน
ที่พัฒนาโดย Peter Macfarlane และ James Drummond
สองนักประดิษฐ์ที่ได้รับฉายาว่า Comrie Pioneers
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/332peEu
https://bit.ly/2ZjzUxr
https://bit.ly/2DE0Jox
https://bit.ly/33mhf5x
https://bit.ly/3k1tL0Z
.
The modern seismometer installed in 1988
.
จากตำราแพทย์ใหญ่ ป๋อ หยางฟู่ (伯阳父)
ผู้มีชีวิตอยู่ในปลายรัชสมัยโจวตะวันตก (西周) ก่อนคริสต์ศักราช 780 ปี
เหตุแห่งการเกิดธรณีไหวนั้นมาจากธาตุหยิน (อิน) และหยาง เสียสมดุล
โดยระบุไว้ว่า พลังปราณแห่งฟ้าดิน ไม่อาจสูญเสียกฎระเบียบ
เมื่อหยางไหลลงแต่มิอาจเคลื่อนออก
อินอัดตัวลงไปแต่ไม่อาจระเหยออก ก็จะเกิดแผ่นดินไหว
แต่ตามหลักธรณีวิทยาแล้ว แผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นจาก
รอยเลื่อนระเบิดใต้ดิน การไหลหมุนเวียนของน้ำใต้ดิน
การเคลื่อนตัวของหินหลอมละลาย ลม ความดันบรรยากาศ
คลื่นในทะเล น้ำขึ้นหรือน้ำลง ความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การระเบิด
การชนของอุกาบาต การระเบิดของภูเขาไฟ และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น
จีนก็เป็นประเทศที่เกิดธรณีไหวบ่อยครั้ง
ในช่วงยุคฮั่นตะวันออก (ค.ศ.132) รัชกาลของฮ่องเต้ซุ่นตี้
นักดาราศาสตร์นาม จางเหิง (张衡)
จึงได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลก
ที่เรียกว่า โฮ่วเฟิงตี้ต้งอี๋ (候风地动仪)
ซึ่งเกิดก่อนเครื่องวัดแผ่นดินไหวของชาติตะวันตกราว 1,700 ปีทีเดียว
จางเหิง บิดาแห่งเครื่องวัดแผ่นดินไหว
ตามบันทึกระบุ เครื่องวัดของจางเหิง
สร้างขึ้นจากทองแดงมีลักษณะคล้ายไหเหล้าใบใหญ่
มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2.7 เมตร ต่อมาได้หายสาบสูญไป
(น่าจะถูกหลอมทำเป็นอาวุธ/เครื่องใช้ไม้สอยในยามศึกสงคราม)
แต่มีการเขียนอธิบายการทำงานของเครื่องวัดเครื่องนี้อย่างคร่าว ๆ
ทำให้มีการตีความการทำงานภายในเครื่องวัดที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งแนวคิดและงานวิจัยที่มีอิทธิพลและได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ
แนวคิดที่อธิบายว่า ด้านในของเครื่องวัด ประกอบไปด้วยกลไกต่าง ๆ
ได้แก่ เสาทองแดงเป็นแกนกลาง สัมพันธ์กับรางทั้ง 8
ซึ่งเชื่อมโยงกับปากมังกรทั้ง 8 ตัวภายนอกไห
เบื้องล่างมีคางคก 8 ตัวอ้าปากรอรับไข่มุกเม็ดเล็กทำจากทองแดง
หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในทิศทางใด
เสาทองแดงภายในไหจะเสียสมดุลและไปชนเข้ากับรางด้านใดด้านหนึ่ง
ทำให้มังกรอ้าปากคายเม็ดไข่มูกทองแดงจะตกใส่ปากคางคก และเกิดเสียง
ทำให้ผู้คุมเครื่องทราบว่าแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้น ณ ทิศทางใดและเวลาใด
โดยมังกรทั้ง 8 ตัวนั้นก็คือตัวแทนของ 8 ทิศนั่นเอง
ในบันทึกทางประวัติศาสตร์เคยระบุไว้ว่า
เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องนี้ เคยประสบความสำเร็จ
ในการวัดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่มณฑลกันซู่ เมื่อค.ศ.138
ในครั้งนั้นมังกรประจำทิศตะวันตกเปิดปากคายไข่มุกออกมา
ทำให้ผู้คุมเครื่องเชื่อว่าทางทิศตะวันตกของเมืองลั่วหยัง คงเกิดแผ่นดินไหว
แต่เมื่อสอบถามกลับพบว่าทางทิศตะวันตกของเมืองนั้นไม่มีแผ่นดินไหวแต่อย่างใด
ทำให้ชาวบ้านต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า เครื่องวัดของจางเหิงเชื่อถือไม่ได้
กระทั่งหลายวันต่อมา ม้าเร็วส่งจดหมายมารายงานว่า
เมืองหล่งซัน (มณฑลกันซู่ในปัจจุบัน) ซึ่งห่างจากเมืองลั่วหยัง
ไปทางตะวันตกอีกกว่า 1,000 ลี้ เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นการพิสูจน์ถึงความแม่นยำ
และน่าเชื่อถือของเครื่องวัดธรณีไหวภูมิปัญญาจีน
แม้ว่าเครื่องวัดนี้จะทำได้แค่บอกทิศทางคร่าว ๆ ของแผ่นดินไหวก็ตาม
แต่ก็นับว่าวิทยาการครั้งนี้ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่แก่วงการวิทยาศาสตร์โลกด้วย
©
จางเหิง ผู้ประดิษฐ์เครื่องวัดธรณีไหวคนแรกของโลก
The Earthquake House of Comrie แห่งแรกในสกอตแลนด์
แม้ว่า สหราชอาณาจักรจะไม่ค่อยมีแผ่นดินไหว
แต่อย่างไรก็ตามหมู่เกาะเหล่านี้ยังคงถูกเขย่า
ด้วยแรงสั่นสะเทือนเพียงไม่กี่ 100 ครั้งต่อปี
ประชาชนจะรู้สึกว่ามีอาการแผ่นดินไหวเพียง 20 หรือ 30 ครั้งเท่านั้น
แต่ส่วนมากมีแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลกตะวันตก
ถูกสร้างขึ้นและติดตั้งในสกอตแลนด์ ณ สถานที่ที่เรียกว่า Comrie
แบบจำลองที่ใช้งานได้ยังคงตั้งอยู่ใน Earthquake House
ตั้งอยู่บนเนินหญ้าของ The Ross ในหมู่บ้าน Comrie
ในเมือง Perthshire ทางตอนใต้ของ Scotland
เป็นบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางธรณีวิทยา
จากแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร
เพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่ติดกับรอยเลื่อน(แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน)
ที่ Highland Boundary Fault
จึงได้ฉายาว่าเมืองหลวงแห่งแผ่นดินไหวของสหราชอาณาจักร
เพราะมีแผ่นดินไหวถี่ถี่มากและมากกว่าที่อื่น ๆ ในหมู่เกาะเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้บางครั้งยังเรียกเมืองนี้ว่า เมืองสั่นคลอน
การบันทึกเรื่องแผ่นดินไหวครั้งแรกใน Perthshire
เป็นผลการจดบันทึกของ James Melville ในเดือนกรกฏาคม 1597
ซึ่งในบันทึกจะจดเรื่องราวเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวทั่วทั้งมณฑล
จนถึงปี 1789 มีการบันทึกข้อมูลและความรุนแรงอย่างเป็นระบบครั้งแรกที่ Comrie
ซึ่งบันทึกโดย บาดหลวง Taylor กับ Gilfillan ที่เริ่มจดบันทึกอาการสั่นสะเทือนเหล่านี้
ในช่วง 50 ปีต่อมา ทั้งคู่ได้ได้จดบันทึกการสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ได้มากถึง 70 ครั้ง
รวมถึงแผ่นดินไหวครั้งที่ใหญ่ที่สุดใน Comrie เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1839
บ้านเรือนหลายหลังใน Comrie ได้รับความเสียหาย
และเขื่อนกั้นน้ำใกล้กับ Stirling ก็พังลงมา
สร้างความตะหนกตกใจทั่วทั้งสกอตแลนด์
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 1839
Peter Macfarlane นายไปรษณีย์
กับ James Drummond ช่างทำรองเท้า
ทั้งคู่ได้รับฉายาว่า Comrie Pioneers
ได้สร้างเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว
และเริ่มจด/เก็บบันทึกอย่างเป็นทางการ
เครื่องมือนี้ประกอบด้วยแผ่นไม้สองแผ่น
วางในแนวเหนือ - ใต้ ตะวันออก - ตะวันตก
แกนไม้ทรงกระบอกจะวางลงบนแนวไม้กระดาน
เมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นจะส่งแรงสั่นสะเทือน/กระแทก
แกนไม้รูปทรงกระบอกให้เคลื่อน/กระเด็นออกมา
แกนไม้รูปทรงกระบอกจะมีขนาด/น้ำหนักที่แน่นอน (มีการชั่งน้ำหนักไว้แล้ว)
โดยรอบ ๆ จะมีพื้นทรายล้อมรอบเป็นตัวเพิ่มแรงเสียดทาน
ทำให้แกนไม้รูปทรงกระบอกไม่กลิ้งไปมาหรือกระแทกแกนไม้อันอื่น ๆ
ซึ่งทำให้ทั้งสองนักประดิษฐ์ (ช่างทำรองเท้ากับนายไปรษณีย์)
สามารถวัดความแรงของแผ่นดินไหวได้
แม้ว่าแบบดั้งเดิมจะดูเชยเชย แต่ดูเหมือนว่าได้ผล
ในปี 1841 จากข้อมูลที่รวบรวมมาได้
Comrie Pioneers ก็ได้จัดส่งเอกสารไปยัง
British Association for the Advancement of Science
ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องแผ่นดินไหว
Committee for the Investigation of Scottish and Irish Earthquake
ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีการสร้างและใช้เครื่องมือจำนวนมากรอบ ๆ Comrie
รวมถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่ทันสมัยเครื่องแรก Seismometer
ที่ประกอบด้วยลูกตุ้มคว่ำที่เขียนการสั่นสะเทือนลงบนแผ่นเว้าด้านบน
สร้างโดย James David Forbes นักฟิสิกส์ชาวสก็อตแลนด์
แต่ในปี 1844 กิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหว
ก็เริ่มมีคนสนใจลดลงไปกว่าเดิมมาก
จนเริ่มสนใจอีกครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งในปี 1869
จึงเริ่มมีการค้นหาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น
และในปี 1874 Earthquake House บ้านตรวจวัดแผ่นดินไหว
ก็ถูกสร้างขึ้นบนหินแข็งเพื่อเก็บเครื่องวัดแผ่นดินไหวของ Robert Mallet
และก็อีกครั้ง กิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหวก็ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ
จนกระทั่งในปี 1911 สถานที่ทำการถูกทิ้งร้างและเลิกใช้งานไป
เพราะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่กว่าดีกว่าเดิม
และอาคารดังกล่าวก็ทำงานซ้ำซ้อนไม่เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่
หมายเหตุ
กิจกรรมความสนใจเรื่องแผ่นดินไหวที่ค่อย ๆ โรยรา
เพราะชาวบ้านเซ็งเป็ดที่รู้ทีหลังทุกที หลังจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นมาแล้ว
ยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถเตือนว่ากำลังจะมึแผ่นดินไหว
ในปี 1988 ได้มีการตัดสินใจให้บูรณะ
Earthquake House บ้านตรวจวัดแผ่นดินไหวได้รับการบูรณะ
พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยของ British Geological Survey
ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถเข้าไปในตัวอาคารได้
แต่มีหน้าต่างบานใหญ่ซึ่งสามารถสังเกตเครื่องมือแบบใหม่
เช่นเดียวกับเครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบเก่า
รูปทรงกระบอกไม้วางบนแผ่นไม้ตั้งอยู่บนพื้นดิน
ที่พัฒนาโดย Peter Macfarlane และ James Drummond
สองนักประดิษฐ์ที่ได้รับฉายาว่า Comrie Pioneers
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/332peEu
https://bit.ly/2ZjzUxr
https://bit.ly/2DE0Jox
https://bit.ly/33mhf5x
https://bit.ly/3k1tL0Z
.
จากตำราแพทย์ใหญ่ ป๋อ หยางฟู่ (伯阳父)
ผู้มีชีวิตอยู่ในปลายรัชสมัยโจวตะวันตก (西周) ก่อนคริสต์ศักราช 780 ปี
เหตุแห่งการเกิดธรณีไหวนั้นมาจากธาตุหยิน (อิน) และหยาง เสียสมดุล
โดยระบุไว้ว่า พลังปราณแห่งฟ้าดิน ไม่อาจสูญเสียกฎระเบียบ
เมื่อหยางไหลลงแต่มิอาจเคลื่อนออก
อินอัดตัวลงไปแต่ไม่อาจระเหยออก ก็จะเกิดแผ่นดินไหว
แต่ตามหลักธรณีวิทยาแล้ว แผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นจาก
รอยเลื่อนระเบิดใต้ดิน การไหลหมุนเวียนของน้ำใต้ดิน
การเคลื่อนตัวของหินหลอมละลาย ลม ความดันบรรยากาศ
คลื่นในทะเล น้ำขึ้นหรือน้ำลง ความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การระเบิด
การชนของอุกาบาต การระเบิดของภูเขาไฟ และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น
จีนก็เป็นประเทศที่เกิดธรณีไหวบ่อยครั้ง
ในช่วงยุคฮั่นตะวันออก (ค.ศ.132) รัชกาลของฮ่องเต้ซุ่นตี้
นักดาราศาสตร์นาม จางเหิง (张衡)
จึงได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลก
ที่เรียกว่า โฮ่วเฟิงตี้ต้งอี๋ (候风地动仪)
ซึ่งเกิดก่อนเครื่องวัดแผ่นดินไหวของชาติตะวันตกราว 1,700 ปีทีเดียว
ตามบันทึกระบุ เครื่องวัดของจางเหิง
สร้างขึ้นจากทองแดงมีลักษณะคล้ายไหเหล้าใบใหญ่
มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2.7 เมตร ต่อมาได้หายสาบสูญไป
(น่าจะถูกหลอมทำเป็นอาวุธ/เครื่องใช้ไม้สอยในยามศึกสงคราม)
แต่มีการเขียนอธิบายการทำงานของเครื่องวัดเครื่องนี้อย่างคร่าว ๆ
ทำให้มีการตีความการทำงานภายในเครื่องวัดที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งแนวคิดและงานวิจัยที่มีอิทธิพลและได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ
แนวคิดที่อธิบายว่า ด้านในของเครื่องวัด ประกอบไปด้วยกลไกต่าง ๆ
ได้แก่ เสาทองแดงเป็นแกนกลาง สัมพันธ์กับรางทั้ง 8
ซึ่งเชื่อมโยงกับปากมังกรทั้ง 8 ตัวภายนอกไห
เบื้องล่างมีคางคก 8 ตัวอ้าปากรอรับไข่มุกเม็ดเล็กทำจากทองแดง
หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในทิศทางใด
เสาทองแดงภายในไหจะเสียสมดุลและไปชนเข้ากับรางด้านใดด้านหนึ่ง
ทำให้มังกรอ้าปากคายเม็ดไข่มูกทองแดงจะตกใส่ปากคางคก และเกิดเสียง
ทำให้ผู้คุมเครื่องทราบว่าแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้น ณ ทิศทางใดและเวลาใด
โดยมังกรทั้ง 8 ตัวนั้นก็คือตัวแทนของ 8 ทิศนั่นเอง
ในบันทึกทางประวัติศาสตร์เคยระบุไว้ว่า
เครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องนี้ เคยประสบความสำเร็จ
ในการวัดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่มณฑลกันซู่ เมื่อค.ศ.138
ในครั้งนั้นมังกรประจำทิศตะวันตกเปิดปากคายไข่มุกออกมา
ทำให้ผู้คุมเครื่องเชื่อว่าทางทิศตะวันตกของเมืองลั่วหยัง คงเกิดแผ่นดินไหว
แต่เมื่อสอบถามกลับพบว่าทางทิศตะวันตกของเมืองนั้นไม่มีแผ่นดินไหวแต่อย่างใด
ทำให้ชาวบ้านต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า เครื่องวัดของจางเหิงเชื่อถือไม่ได้
กระทั่งหลายวันต่อมา ม้าเร็วส่งจดหมายมารายงานว่า
เมืองหล่งซัน (มณฑลกันซู่ในปัจจุบัน) ซึ่งห่างจากเมืองลั่วหยัง
ไปทางตะวันตกอีกกว่า 1,000 ลี้ เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นการพิสูจน์ถึงความแม่นยำ
และน่าเชื่อถือของเครื่องวัดธรณีไหวภูมิปัญญาจีน
แม้ว่าเครื่องวัดนี้จะทำได้แค่บอกทิศทางคร่าว ๆ ของแผ่นดินไหวก็ตาม
แต่ก็นับว่าวิทยาการครั้งนี้ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่แก่วงการวิทยาศาสตร์โลกด้วย
© จางเหิง ผู้ประดิษฐ์เครื่องวัดธรณีไหวคนแรกของโลก