การค้ามนุษย์เผือกในประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย 

ประเทศแทนซาเนียถือเป็นประเทศที่มีปัญหาการฆ่ามากที่สุดในทวีปแอฟริกา หนึ่งในเป้าหมายที่ถูกตามล่าคือ ‘มนุษย์เผือก’ ที่มีทั้งคนที่เห็นเป็นเรื่องปกติ และมีหลายคนที่รังเกียจพวกเขา แต่เบื้องหลังของโรคคนเผือกนี้ มีหลายอย่างที่น่าสะเทือนใจ 

โดยจะผู้ที่ไม่หวังดีมาลักพาตัวไปหรือคนในครอบครัวเต็มใจที่จะขายพวกเขา ในบางกรณีขณะที่นอนหลับอยู่ก็ต้องสูญเสียอวัยวะในร่างกายเนื่องจากถูกโจมตีด้วยมีดเพื่อเอาอวัยวะไปขาย ส่วนใหญ่มนุษย์เหล่านี้กลายเป็นผู้พิการเนื่องจากมีการตัดแขน และขาของพวกเขา และบางครั้งก็ต้องสูญเสียชีวิตให้กับผู้ที่ร่ำรวย  (ประมาณ 3,000-4,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับแขน หรืออาจมากกว่า 75,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับร่างกายทั้งตัว)
 
การนำชิ้นส่วนของมนุษย์เผือกไปขาย  เนื่องจากมีความเชื่อว่าหากได้ชิ้นส่วนของมนุษย์เผือกไปครอบครองจะนำโชคลาภ ความมั่งคั่งมาสู่ผู้ที่เป็นเจ้าของ  บางที่ถึงกับฆ่าคนเผือกตั้งแต่เกิด ข่มขืน เพราะเชื่อว่า การมีเพศสัมพันธ์กับคนเผือกนั้น จะช่วยรักษาโรคเอดส์ได้  ด้วยเหตุนี้คนเผือกหลายคนเลือกที่จะหนีออกจากหมู่บ้าน ในขณะที่บางครอบครัวก็พยายามจะหนีออกจากสังคม เมื่อรู้ว่าตัวเองมีลูกที่เป็นคนเผือก เพราะไม่อยากถูกสังคมรังเกียจ

ภาวะผิวเผือก (Albinism) เกิดจากการได้รับยีนด้อย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้ร่างกายไม่ผลิตเม็ดสีในผิวหนัง เส้นผม และดวงตา สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำหรับสัตว์ที่มีภาวะผิวเผือก จะมีความอ่อนแอกว่าสัตว์ลักษณะธรรมดาตามปกติ รวมถึงตกเป็นเหยื่อหรือเป้าโจมตีได้ง่ายกว่าเนื่องจากสีที่ขาวเห็นได้ชัดเจน  จากสถิติพบว่าโอกาสเกิดความบกพร่องดังกล่าวอยู่ที่ 1 ใน 20,000 คน แต่ที่ประเทศแทนซาเนีย และประเทศแถบฝั่งตะวันออกของแอฟริกา กลับมีเปอรเซนต์การเกิดคนผิวเผือกมากที่สุด

ในปี 2015 ประเทศแทนซาเนียเพียงที่เดียว มีจำนวนคนผิวเผือกกว่า 100 คนถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม และมีมากกว่า 150 คนที่สามารถเอาชีวิตรอดมาได้ พวกเขาถูกตัดแขน ขา หัว และอวัยวะเพศ ซึ่งบางครั้ง การขายชิ้นส่วนของคนผิวเผือก 1 คน อาจทำเงินได้ถึง 100,000 เหรียญ หรือราว 35 ล้านบาท ได้ในตลาดมืด

ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลของโครงการ Under The Same Sun องค์กรการกุศลเพื่อให้ความช่วยเหลือคนผิวเผือกพบว่า มีการฆ่าเพื่อเอาชิ้นส่วน
136 ครั้ง ทำร้ายร่างกายร่างกาย 211 ครั้งใน 25 ประเทศของทวีปแอฟริกา โดยร่างของเด็กเป็นที่ต้องการมากที่สุด เพราะความซื่อบริสุทธิ์และความอ่อนแอทำให้นักล่าคนเผือกจู่โจมได้ง่าย รวมทั้งการทำร้ายด้วยการข่มขืนเพียงเพราะเชื่อว่าจะช่วยรักษาโรคได้ ทั้งความเชื่อแบบผิดๆ ที่น่าตระหนกที่สุดคือ ยิ่งเจ้าของแขนที่ถูกตัดกรีดร้องเสียงดังเท่าไร ความขลังของเครื่องรางจะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น
 


(มาเรียม คนเผือกชาวแทนซาเนีย เล่าเรื่องราวรันทด จากการถูกเพื่อนบ้านและพรรคพวกบุกเข้ามาตัดแขน เพื่อนำไปขายให้แก่หมอผีซึ่งต้องการใช้ในการทำยา)


มาเรียม เป็นช่างทอผ้าในแทนซาเนีย เธอเล่าว่า มีกลุ่มคนร้ายบุกเข้ามาในบ้านของเธอ และใช้มีดสปาร์ตาตัดมือและแขนของเธอ เพื่อนำไปขายให้แก่หมอผี เมื่อเธอสามารถหันหน้าไปมองกลุ่มคนร้ายได้ เธอก็พบชายคุ้นหน้าคนหนึ่งอยู่ในกลุ่มคนร้าย
"เขาเป็นเพื่อนบ้านฉันไม่ต่ำกว่า 10 ปี เขาสนิทสนมกับฉันและครอบครัวมาก เขาเป็นคนที่ถือมีดสปาร์ตาและตัดแขนของฉัน จากนั้นก็ส่งชิ้นส่วนแขนของฉันให้เพื่อนของเขา" มาเรียมเล่า  ปัจจุบันมาเรียมใส่แขนเทียมช่วยทำให้เธอทอผ้าได้ เธอบอกว่ารู้สึกว่ามีคุณค่าที่สามารถทำงานได้เหมือนกับตอนที่มีแขน
มาเรียม เป็นเพียงหนึ่งในคนเผือกหลายพันคนที่ใช้ชีวิตอย่างหวาดผวาในแทนซาเนีย โดยคนเผือก ซึ่งมีผิวซีดเพราะผิวหนังไม่มีเม็ดสี ถูกฆ่าอยู่เป็นประจำในแทนซาเนียและหลายประเทศในแอฟริกา เพราะหมอผีเชื่อว่ายาที่ทำจากชิ้นส่วนร่างกายของคนเผือกจะทำให้ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้มีโชคด้านความรัก ชีวิต และธุรกิจ



(ศูนยหลบภัยของมนุษย์เผือก ซึ่งเต็มไปด้วยเหล่าคนเผือกนับร้อยที่มีปัญหาทางร่างและจิตใจ)
ช่างภาพ Ana Palacios วัย 43 ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์หลบภัย Kabanga ในแทนซาเนียมาแล้ว 3 ครั้ง ระหว่างปี 2012 และ 2016 เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชะตากรรมของมนุษย์เผือก และถ่ายทอดสู่สายตาคนทั่วไป  ซึ่งทางรัฐบาลแทนซาเนียเองได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ จึงได้ตั้งศูนย์คุ้มครองพิเศษสำหรับคนเผือก หลังจากพวกเขาหนีออกมาจากแหล่งค้ามนุษย์ได้ และคนที่ไม่ใช่คนเผือกหลายคนก็อยู่ที่นี่ด้วย

ที่ Tanzanian Albinism Society มีมนุษย์เผือก 8,000 คน ซึ่งรวมผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก แต่เชื่อว่ายังมีอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักศูนย์ช่วยเหลือนี้ หรือบางคนเลือกที่จะหลบภัยในที่ส่วนตัวมากกว่า  มีคนเผือกจากศูนย์ประมาณ 200 คนที่ทำงานตามร้านอาหาร ทำสวน ทำร้านเสื้อผ้าของตัวเอง และไปเรียนหนังสือ แต่ที่ที่ปลอดภัยที่สุดก็คือศูนย์แห่งนี้ เพราะสามารถปกป้องพวกเขาจากอันตรายได้

ช่างภาพบอกว่า “คนไหนที่มีโอกาสมีการถ่ายทอดโรคเผือกทางพันธุกรรม พวกเขาจะได้รับการแน่นำให้อยู่ที่นี่ เพื่อความอยู่รอด” ดังนั้นจึงมีเด็กหลายคน
ที่หนีออกจากบ้านและมาอยู่ที่นี่ บางคนถูกครอบครัวทิ้งมา เพราะมองว่า การมีลูกเผือกนั้น สร้างความอับอายให้กับครอบครัว

โดยครอบครัวไหนที่มีลูกเผือกมักจะได้รับการดูแลไม่ดี โดยให้กินมื้ออดมื้อและไม่ให้การศึกษา บางเผ่าอาจจะฆ่าลูกเผือกทันทีที่เกิดมา หรือเอาไปใช้ในพิธีบวงสรวง  พวกเขาเชื่อว่าหากไปสัมผัสกับผิวคนเผือก อาจจะทำให้ติดโรคเผือกหรืออาจล้มป่วยได้จึงรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ และการมาอยู่ที่ศูนย์ทำให้พวกเขามีเพื่อนในแบบเดียวกัน

แม้จะมีศูนย์ที่ให้การช่วยเหลือคนเผือก แต่ Ana เชื่อว่า การศึกษาเป็นทางเดียวที่จะลบอคติของผู้คนที่มีต่อคนเผือก และจะทำให้พวกเขาเสี่ยงอันตรายน้อยลง และควรจะมีความยุติธรรมกับพวกเขาด้วยการมีบทลงโทษสำหรับมนุษย์นักล่า  เธอหวังว่า ภาพเหล่านี้จะทำให้ผู้คนได้เปิดหูเปิดตา เพื่อให้มีการตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น และเชื่อว่า ความหวังนี้จะสำเร็จถ้าคนปกติอย่างเราช่วยกันทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ในปี 2008 มีทีมช่วยเหลือทีมแรกที่เข้ามาที่นี่ และพวกเขาก็กลับมาอีกในทุกๆ ปี เพื่อให้การช่วยเหลือในเรื่องมะเร็งผิวหนัง โดยได้ช่วยเหลือมาแล้วกว่า 1,000 คน

(Epafroida หนึ่งในคนเผือกที่มีความใฝ่ฝันอยากเปิดธุรกิจสิ่งทอในตลาดใกล้เคียง เพราะท้องตลาดควรมีเสื้อผ้าที่หลากหลาย โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่สามารถปกป้องผิวของคนเผือกจากรังสียูวีได้)
(เพราะผิวคนเผือกนั้นมีเมลานินน้อยหรือไม่มีเลย จึงทำให้พวกเขาต้องเสี่ยงกับการเป็นโรคมะเร็ง หากโดนแสงจากดวงอาทิตย์มากๆ เด็กๆ จึงมักใส่แว่นและหมวกเพื่อปกป้องตัวเอง)
(Luis Rios แพทย์ผู้เชี่ยวเรื่องโรคผิวหนัง ได้ทำงานที่ Dermatology Training Centre ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมโรคผิวหนังส่วนภูมิภาค และเป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ ที่คอยให้การช่วยเหลือคนเผือกเหล่านี้)
ปัจจุบันเหล่าเด็กๆ ผิวเผือกแทนซาเนียที่ถูกตัดแขนเพื่อนำไปขาย ได้รับอวัยวะเทียมทดแทนอีกครั้งจากการช่วยเหลือของ Global Medical Relief Fund
องค์กรไม่หวังผลกำไรช่วยเด็กจากพื้นที่แทนซาเนีย ภายใต้การดูแลของ Elissa โดย Montanti
 
โดย Baraka Cosmas วัย 7 ขวบ Mwigulu Matonange , Emmanuel Festo วัย 15 ปีและ Pendo Sengerema วัน 16 ปี คือกลุ่มเด็กที่ถูกช่วยเหลือให้รอดพ้นมาจากนักล่ามนุษย์เผือก ได้รับอวัยวะเทียมจากโรงพยาบาลในเมืองฟิลาเดเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลังจากที่พวกเขาได้รับอวัยวะเทียมเสร็จแล้ว พวกเขาก็จะถูกส่งตัวกลับไปในพื้นที่ที่ปลอดภัยของประเทศแทนซาเนียเพื่อใช้ชีวิตต่อไป

(Baraka กับแขนใหม่ของเขา)
ที่มา dailymail / posttoday.com/
Cr.https://www.catdumb.com/protects-albinos-777/ By เหมียวขี้ส่อง 
Cr.http://realmetro.com/การค้ามนุษย์เผือก/
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-40329622
Cr.https://www.clipmass.com/story/108692
Cr.https://www.winnews.tv/news/16808 / By เหมียวบ๊อบ 
Cr.https://incubator.wikimedia.org/wiki/Wy/th/ประเทศแทนซาเนีย

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่