อ้างอิงจากกระแสข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ของ ‘จอย’ Red Velvet ที่ต้องแบกรับทั้งคำด่าทอ และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ ในระดับที่มากเกินความพอดีจากสังคมออนไลน์ แค่เพียงเพราะเธอใส่เสื้อยืดที่มีคำว่า ‘Feminist’ สกรีนอยู่บนเสื้อที่เธอใส่
ชาวเน็ตมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชายในกลุ่มช่วงวัยผู้ใหญ่ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการที่ ‘จอย’ เลือกใส่เสื้อตัวนี้ และโพสต์รูปนี้ลงบนอินสตาแกรมส่วนตัวของเธอเองนั้นคือ ‘การกระทำที่ไม่มีความคิด’ และด้วยเหตุนั้น ‘จอย’ ควรจะสมัครใจถอนตัวออกจากวง Red Velvet ไป ซึ่งเหตุการณ์ที่ร้อนแรงนี้เกิดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ข้อความทั้งหมดที่สกรีนลงบนเสื้อเจ้าปัญหานั้นคือ ‘We should all be feminists’ โดยเป็นเสื้อยืดตัวนี้ได้รับการออกแบบโดยดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง ‘Maria Grazia Chiuri’ และได้รับการจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ดังระดับโลกอย่าง ‘Dior’ ซึ่งแน่นอนว่าดารานักแสดง ศิลปินไอดอล และคนดังมากมายทั่วโลกล้วน ‘เคย’ ใส่เสื้อยืดตัวนี้มาแล้วทั้งนั้น
อาทิเช่น ‘Rihanna’ ‘A$AP Rocky’ ‘Charlize Theron’ ‘Jessica Chastain’ ‘Jennifer Lawrence’ หรือแม้แต่ ‘Kendall Jenner’ ก็ล้วนเคยใส่เสื้อตัวดังกล่าวออกสื่อมาแล้วทั้งนั้น และเช่นเดียวกัน ดารานักแสดง และคนดังหญิงในวงการบันเทิงของเกาหลีใต้มากมายก็เคยสวมใส่เสื้อตัวดังกล่าว และมีรูปถ่ายเป็นหลักฐานอยู่บนโลกออนไลน์แทบทุกคน ดังเช่น ‘จอง ยูมิ’ ‘คิม ฮเยซู’ ‘ฮยอนอา’ และ ‘ซอนมี’ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้ง ‘จอง ยูมิ’ และ ‘คิม ฮเยซู’ สองนักแสดงชื่อดังชาวเกาหลีใต้จะเคยสวมใส่เสื้อตัวดังกล่าวออกงานสาธารณะ แต่นักแสดงทั้งสองคนกลับไม่เคยมีประเด็น หรือได้รับกระแสตอบรับด้านลบใด ๆ จากสังคม ในขณะที่ ‘จอย’ กลับต้องถูกวิพาษ์วิจารณ์อย่างหนัก ชาวเน็ตบางส่วนอธิบายเกี่ยวกับ ‘ความ 2 มาตรฐาน’ ของสังคมเกาหลีนี้ว่า เป็นเพราะสถานะของการเป็น ‘นักแสดง’ นั้นสูงกว่าการเป็น ‘ไอดอลเคป๊อป’ นั่นเอง
หากคุณคิดว่า ‘ความ 2 มาตรฐาน’ ของวงการบันเทิงเกาหลีใต้ที่ ‘ไอดอลเคป๊อป’ ต้องเผชิญคือสิ่งที่แย่ที่สุดแล้วล่ะก็ คุณคิดผิด เพราะความยากลำบากในการเป็น ‘ไอดอลเคป๊อป’ ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘ไอดอลเกิร์ลกรุ๊ป’ ที่มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในวงกว้าง และถูกตอกย้ำซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่า ‘ไอดอลบอยแบนด์’ แม้กระทั่งกับเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรจะมีประเด็นอะไรเกิดขึ้นเลยก็ตาม
ดังเช่นในกรณีการสวมเสื้อที่มีช้อความ ‘Feminists’ นี้ ไอดอลชายมากมายในวงการก็เคยสวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความที่คล้ายคลึง มีความหมาย หรือให้ความรู้สึกในลักษณะเดียวกันออกสื่อสาธารณะเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ‘จีมิน’ BTS สวมใส่เสื้อที่มีข้อความว่า ‘Gender Equality’ หรือ ‘จิน’ BTS ที่สวมใส่เสื้อที่มีข้อความว่า ‘Radical feminist’ (เสื้อทั้งสองตัวนี้เป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ ACNE Studios) และ ‘เร็น’ NU’EST ที่ใส่เสื้อยืดที่สกรีนข้อความว่า ‘A girl is a gun’ เป็นต้น
เพราะเหตุนี้ การโต้เถียงกันอย่างดุเดือดจึงเกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ของเกาหลีใต้ว่า ‘ทำไมการที่พวกเขาทุกคนแค่สวมใส่เสื้อยืดถึงเป็นประเด็น?’ ‘คนดังที่สวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความในทำนองที่สนับสนุน ‘feminists’ นั้นมีตั้งมากมาย แต่ทำไมถึงมีแค่ ‘จอย’ ที่ถูกด่าว่า?’ และ ‘ทำไมไอดอลชายถึงไม่เคยได้รับการวิจารณ์ในทำนองนี้บ้าง?’
ในส่วนของ ชาวเน็ตเพศชายที่มองว่าการสวมใส่เสื้อตัวที่มีข้อความในทำนองนี้ของ ‘จอย’ นั้นคือการกระทำที่ไม่สมควร พวกเขาให้เหตุผลว่า ‘เป็นเพราะ ‘จอย’ คือเกิร์ลกรุ๊ปที่ฐานแฟนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ดังนั้น ‘จอย’ ควรแคร์ความรู้สึกของแฟนคลับให้มากกว่านี้’ นั่นหมายถึง การเป็นเกิร์ลกรุ๊ปที่มีแฟนคลับเพศชายมากนั้น ‘ไอดอลสาว’ ไม่ควรแสดงออกว่าตัวเองเป็น ‘feminists’ นั่นเอง
โดยสำหรับเกิร์ลกรุ๊ปวง ‘Red Velvet’ นั้น ‘จอย’ ไม่ใช่สมาชิกเพียงคนเดียวของวงที่ต้องประสบกับปัญหาในลักษณะนี้ ในอดีต ‘ไอรีน’ เองก็ต้องเผชิญกับแรงกดดัน และคำวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงมากมายจากสังคมออนไลน์ (จากผู้ชายเป็นหลัก) เพียงเพราะมีคนสายตาดีพบเห็นว่า ‘ไอรีน’ นั้นอ่านหนังสือ ‘Kim Ji Young, Born in 1982’ ซึ่งเขียนโดยนักเขียน ‘Cho Nam Joo’ และได้รับการตัดสินว่าเป็นหนังสือสำหรับกลุ่ม ‘Feminists’ โดยเฉพาะ จากสังคมออนไลน์
ในทางเดียวกัน นอกจาก Red Velvet แล้ว ‘นาอึน’ สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวง ‘Apink’ นั้นก็เคยต้องประสบกับปัญหาเดียวกัน เพียงเพราะครั้งหนึ่ง ‘นาอึน’ ใช้เคสโทรศัพท์มือถือที่มีข้อความสกรีนว่า ‘Girls can do anything’ ส่งผลให้สังคมออนไลน์ตัดสินว่า ‘นาอึน’ นั้นเป็น ‘feminists’ และ ‘ไม่ให้เกียรติ’ กลุ่มแฟนคลับเพศชายของตนเอง
เพราะเหตุนี้ การโต้เถียงกันอย่างดุเดือดจึงเกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ของเกาหลีใต้ว่า ‘ทำไมการที่พวกเขาทุกคนแค่สวมใส่เสื้อยืดถึงเป็นประเด็น?’ ‘คนดังที่สวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความในทำนองที่สนับสนุน ‘feminists’ นั้นมีตั้งมากมาย แต่ทำไมถึงมีแค่ ‘จอย’ ที่ถูกด่าว่า?’ และ ‘ทำไมไอดอลชายถึงไม่เคยได้รับการวิจารณ์ในทำนองนี้บ้าง?’
ในส่วนของ ชาวเน็ตเพศชายที่มองว่าการสวมใส่เสื้อตัวที่มีข้อความในทำนองนี้ของ ‘จอย’ นั้นคือการกระทำที่ไม่สมควร พวกเขาให้เหตุผลว่า ‘เป็นเพราะ ‘จอย’ คือเกิร์ลกรุ๊ปที่ฐานแฟนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ดังนั้น ‘จอย’ ควรแคร์ความรู้สึกของแฟนคลับให้มากกว่านี้’ นั่นหมายถึง การเป็นเกิร์ลกรุ๊ปที่มีแฟนคลับเพศชายมากนั้น ‘ไอดอลสาว’ ไม่ควรแสดงออกว่าตัวเองเป็น ‘feminists’ นั่นเอง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ความเชื่อที่ว่า ‘ไอดอลหญิง’ นั้นถูกมองว่าเป็นเพียง ‘สินค้า’ ชิ้นหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงอีกต่อไป มาตรฐานที่กำหนดว่าไอดอลหญิงนั้นต้องสวย ต้องดูดี และต้องดูอ่อนหวานอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นเพราะไอดอลหญิงไม่เคยถูกมองว่า ‘เป็นปัญญเจกบุคคล’ เช่นเดียวกันกับไอดอลชายสำหรับสังคมออนไลน์
หากมีไอดอลหญิงสักคนที่กล้าแสดงออกอย่างเปิดเผย กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา หรือแม้แต่แสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองออกมา ‘เธอคนนั้น’ อาจถูกมองว่าเป็นพวกหัวรุนแรง และเป็นหนึ่งใน ‘feminists’ ที่มีภาพลักษณ์ในเชิงลบอย่างมากสำหรับสังคมเกาหลีใต้ไปโดยปริยาย โดยสำหรับสังคมชายชาวเกาหลีใต้ พวกเขามองว่ากลุ่ม ‘feminists’ นั้นเป็นพวกชอบเรียกร้องความสนใจ และแคร์แค่เฉพาะความต้องการของตัวเอง (ซึ่งเอาเปรียบเพศชาย) เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงของสังคมเกาหลีใต้ในขณะนี้นั้นดูจะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเปิดรับฟัง ‘มุมมองความคิด’ หรือ ‘ความต้องการ’ ของกลุ่ม ‘feminists’ อย่างไรก็ตาม ด้วยกระแสเคป๊อปที่โด่งดังไปทั่วโลกนี้ สังคม และวัฒนธรรมของเกาหลีใต้เริ่มเป็นที่จับจ้องจากผู้คนในทั่วทุกมุมโลกมากขึ้น ‘มาตรฐานที่เพศชายใช้เพื่อกดทับเพศหญิง’ นั้นอาจเป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้นในอนาคต (เพราะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง)
เพิ่มเติมในส่วนของข้อมูล – ข้อความ ‘We should all be feminists’ โดยดีไซเนอร์ ‘Maria Grazia Chiuri’ นี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากหนังสือในชื่อเดียวกันอย่าง ‘We Should All Be Feminists’ ซึ่งเขียนโดยนักเขียนชาวไนจีเรียอย่าง ‘Chimamanda Ngozi Adichie’ โดยเธอได้รับเลือกโดยนิตยสาร ‘Time’ ให้เป็นหนึ่งใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของโลกมาแล้ว
และเพราะเหตุนั้น ดีไซเนอร์ ‘Maria Grazia Chiuri’ ผู้ที่มีความหลงใหล ชื่นชม และเชื่อมั่นในพลังของผู้ (เยาวชน) หญิงนั้น จึงได้ตัดสินในเลือกใช้ข้อความดังกล่าวในการสร้างลวดลายบนเสื้อผ้า เพราะเธอต้องการเป็นกระบอกเสียง นำส่งข้อความอันแสนสำคัญ และทรงพลังนี้ไปยังผู้คนทั่วโลกผ่านการสร้างสรรค์ผลงานด้านแฟชั่นของเธอ
อ้างอิง
https://popcornfor2.com/m/detail?id=115944
ทำไม ‘ไอดอลหญิง’ ถึงมักจะได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงกว่า ‘ไอดอลชาย’ อยู่เสมอ?
อ้างอิงจากกระแสข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ของ ‘จอย’ Red Velvet ที่ต้องแบกรับทั้งคำด่าทอ และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ ในระดับที่มากเกินความพอดีจากสังคมออนไลน์ แค่เพียงเพราะเธอใส่เสื้อยืดที่มีคำว่า ‘Feminist’ สกรีนอยู่บนเสื้อที่เธอใส่
ชาวเน็ตมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชายในกลุ่มช่วงวัยผู้ใหญ่ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการที่ ‘จอย’ เลือกใส่เสื้อตัวนี้ และโพสต์รูปนี้ลงบนอินสตาแกรมส่วนตัวของเธอเองนั้นคือ ‘การกระทำที่ไม่มีความคิด’ และด้วยเหตุนั้น ‘จอย’ ควรจะสมัครใจถอนตัวออกจากวง Red Velvet ไป ซึ่งเหตุการณ์ที่ร้อนแรงนี้เกิดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ข้อความทั้งหมดที่สกรีนลงบนเสื้อเจ้าปัญหานั้นคือ ‘We should all be feminists’ โดยเป็นเสื้อยืดตัวนี้ได้รับการออกแบบโดยดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง ‘Maria Grazia Chiuri’ และได้รับการจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ดังระดับโลกอย่าง ‘Dior’ ซึ่งแน่นอนว่าดารานักแสดง ศิลปินไอดอล และคนดังมากมายทั่วโลกล้วน ‘เคย’ ใส่เสื้อยืดตัวนี้มาแล้วทั้งนั้น
อาทิเช่น ‘Rihanna’ ‘A$AP Rocky’ ‘Charlize Theron’ ‘Jessica Chastain’ ‘Jennifer Lawrence’ หรือแม้แต่ ‘Kendall Jenner’ ก็ล้วนเคยใส่เสื้อตัวดังกล่าวออกสื่อมาแล้วทั้งนั้น และเช่นเดียวกัน ดารานักแสดง และคนดังหญิงในวงการบันเทิงของเกาหลีใต้มากมายก็เคยสวมใส่เสื้อตัวดังกล่าว และมีรูปถ่ายเป็นหลักฐานอยู่บนโลกออนไลน์แทบทุกคน ดังเช่น ‘จอง ยูมิ’ ‘คิม ฮเยซู’ ‘ฮยอนอา’ และ ‘ซอนมี’ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้ง ‘จอง ยูมิ’ และ ‘คิม ฮเยซู’ สองนักแสดงชื่อดังชาวเกาหลีใต้จะเคยสวมใส่เสื้อตัวดังกล่าวออกงานสาธารณะ แต่นักแสดงทั้งสองคนกลับไม่เคยมีประเด็น หรือได้รับกระแสตอบรับด้านลบใด ๆ จากสังคม ในขณะที่ ‘จอย’ กลับต้องถูกวิพาษ์วิจารณ์อย่างหนัก ชาวเน็ตบางส่วนอธิบายเกี่ยวกับ ‘ความ 2 มาตรฐาน’ ของสังคมเกาหลีนี้ว่า เป็นเพราะสถานะของการเป็น ‘นักแสดง’ นั้นสูงกว่าการเป็น ‘ไอดอลเคป๊อป’ นั่นเอง
หากคุณคิดว่า ‘ความ 2 มาตรฐาน’ ของวงการบันเทิงเกาหลีใต้ที่ ‘ไอดอลเคป๊อป’ ต้องเผชิญคือสิ่งที่แย่ที่สุดแล้วล่ะก็ คุณคิดผิด เพราะความยากลำบากในการเป็น ‘ไอดอลเคป๊อป’ ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘ไอดอลเกิร์ลกรุ๊ป’ ที่มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในวงกว้าง และถูกตอกย้ำซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่า ‘ไอดอลบอยแบนด์’ แม้กระทั่งกับเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรจะมีประเด็นอะไรเกิดขึ้นเลยก็ตาม
ดังเช่นในกรณีการสวมเสื้อที่มีช้อความ ‘Feminists’ นี้ ไอดอลชายมากมายในวงการก็เคยสวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความที่คล้ายคลึง มีความหมาย หรือให้ความรู้สึกในลักษณะเดียวกันออกสื่อสาธารณะเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ‘จีมิน’ BTS สวมใส่เสื้อที่มีข้อความว่า ‘Gender Equality’ หรือ ‘จิน’ BTS ที่สวมใส่เสื้อที่มีข้อความว่า ‘Radical feminist’ (เสื้อทั้งสองตัวนี้เป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ ACNE Studios) และ ‘เร็น’ NU’EST ที่ใส่เสื้อยืดที่สกรีนข้อความว่า ‘A girl is a gun’ เป็นต้น
เพราะเหตุนี้ การโต้เถียงกันอย่างดุเดือดจึงเกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ของเกาหลีใต้ว่า ‘ทำไมการที่พวกเขาทุกคนแค่สวมใส่เสื้อยืดถึงเป็นประเด็น?’ ‘คนดังที่สวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความในทำนองที่สนับสนุน ‘feminists’ นั้นมีตั้งมากมาย แต่ทำไมถึงมีแค่ ‘จอย’ ที่ถูกด่าว่า?’ และ ‘ทำไมไอดอลชายถึงไม่เคยได้รับการวิจารณ์ในทำนองนี้บ้าง?’
ในส่วนของ ชาวเน็ตเพศชายที่มองว่าการสวมใส่เสื้อตัวที่มีข้อความในทำนองนี้ของ ‘จอย’ นั้นคือการกระทำที่ไม่สมควร พวกเขาให้เหตุผลว่า ‘เป็นเพราะ ‘จอย’ คือเกิร์ลกรุ๊ปที่ฐานแฟนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ดังนั้น ‘จอย’ ควรแคร์ความรู้สึกของแฟนคลับให้มากกว่านี้’ นั่นหมายถึง การเป็นเกิร์ลกรุ๊ปที่มีแฟนคลับเพศชายมากนั้น ‘ไอดอลสาว’ ไม่ควรแสดงออกว่าตัวเองเป็น ‘feminists’ นั่นเอง
โดยสำหรับเกิร์ลกรุ๊ปวง ‘Red Velvet’ นั้น ‘จอย’ ไม่ใช่สมาชิกเพียงคนเดียวของวงที่ต้องประสบกับปัญหาในลักษณะนี้ ในอดีต ‘ไอรีน’ เองก็ต้องเผชิญกับแรงกดดัน และคำวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงมากมายจากสังคมออนไลน์ (จากผู้ชายเป็นหลัก) เพียงเพราะมีคนสายตาดีพบเห็นว่า ‘ไอรีน’ นั้นอ่านหนังสือ ‘Kim Ji Young, Born in 1982’ ซึ่งเขียนโดยนักเขียน ‘Cho Nam Joo’ และได้รับการตัดสินว่าเป็นหนังสือสำหรับกลุ่ม ‘Feminists’ โดยเฉพาะ จากสังคมออนไลน์
ในทางเดียวกัน นอกจาก Red Velvet แล้ว ‘นาอึน’ สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวง ‘Apink’ นั้นก็เคยต้องประสบกับปัญหาเดียวกัน เพียงเพราะครั้งหนึ่ง ‘นาอึน’ ใช้เคสโทรศัพท์มือถือที่มีข้อความสกรีนว่า ‘Girls can do anything’ ส่งผลให้สังคมออนไลน์ตัดสินว่า ‘นาอึน’ นั้นเป็น ‘feminists’ และ ‘ไม่ให้เกียรติ’ กลุ่มแฟนคลับเพศชายของตนเอง
เพราะเหตุนี้ การโต้เถียงกันอย่างดุเดือดจึงเกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ของเกาหลีใต้ว่า ‘ทำไมการที่พวกเขาทุกคนแค่สวมใส่เสื้อยืดถึงเป็นประเด็น?’ ‘คนดังที่สวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อความในทำนองที่สนับสนุน ‘feminists’ นั้นมีตั้งมากมาย แต่ทำไมถึงมีแค่ ‘จอย’ ที่ถูกด่าว่า?’ และ ‘ทำไมไอดอลชายถึงไม่เคยได้รับการวิจารณ์ในทำนองนี้บ้าง?’
ในส่วนของ ชาวเน็ตเพศชายที่มองว่าการสวมใส่เสื้อตัวที่มีข้อความในทำนองนี้ของ ‘จอย’ นั้นคือการกระทำที่ไม่สมควร พวกเขาให้เหตุผลว่า ‘เป็นเพราะ ‘จอย’ คือเกิร์ลกรุ๊ปที่ฐานแฟนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ดังนั้น ‘จอย’ ควรแคร์ความรู้สึกของแฟนคลับให้มากกว่านี้’ นั่นหมายถึง การเป็นเกิร์ลกรุ๊ปที่มีแฟนคลับเพศชายมากนั้น ‘ไอดอลสาว’ ไม่ควรแสดงออกว่าตัวเองเป็น ‘feminists’ นั่นเอง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ความเชื่อที่ว่า ‘ไอดอลหญิง’ นั้นถูกมองว่าเป็นเพียง ‘สินค้า’ ชิ้นหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงอีกต่อไป มาตรฐานที่กำหนดว่าไอดอลหญิงนั้นต้องสวย ต้องดูดี และต้องดูอ่อนหวานอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นเพราะไอดอลหญิงไม่เคยถูกมองว่า ‘เป็นปัญญเจกบุคคล’ เช่นเดียวกันกับไอดอลชายสำหรับสังคมออนไลน์
หากมีไอดอลหญิงสักคนที่กล้าแสดงออกอย่างเปิดเผย กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา หรือแม้แต่แสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองออกมา ‘เธอคนนั้น’ อาจถูกมองว่าเป็นพวกหัวรุนแรง และเป็นหนึ่งใน ‘feminists’ ที่มีภาพลักษณ์ในเชิงลบอย่างมากสำหรับสังคมเกาหลีใต้ไปโดยปริยาย โดยสำหรับสังคมชายชาวเกาหลีใต้ พวกเขามองว่ากลุ่ม ‘feminists’ นั้นเป็นพวกชอบเรียกร้องความสนใจ และแคร์แค่เฉพาะความต้องการของตัวเอง (ซึ่งเอาเปรียบเพศชาย) เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงของสังคมเกาหลีใต้ในขณะนี้นั้นดูจะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเปิดรับฟัง ‘มุมมองความคิด’ หรือ ‘ความต้องการ’ ของกลุ่ม ‘feminists’ อย่างไรก็ตาม ด้วยกระแสเคป๊อปที่โด่งดังไปทั่วโลกนี้ สังคม และวัฒนธรรมของเกาหลีใต้เริ่มเป็นที่จับจ้องจากผู้คนในทั่วทุกมุมโลกมากขึ้น ‘มาตรฐานที่เพศชายใช้เพื่อกดทับเพศหญิง’ นั้นอาจเป็นไปในทิศทางที่ดีมากขึ้นในอนาคต (เพราะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง)
เพิ่มเติมในส่วนของข้อมูล – ข้อความ ‘We should all be feminists’ โดยดีไซเนอร์ ‘Maria Grazia Chiuri’ นี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากหนังสือในชื่อเดียวกันอย่าง ‘We Should All Be Feminists’ ซึ่งเขียนโดยนักเขียนชาวไนจีเรียอย่าง ‘Chimamanda Ngozi Adichie’ โดยเธอได้รับเลือกโดยนิตยสาร ‘Time’ ให้เป็นหนึ่งใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของโลกมาแล้ว
และเพราะเหตุนั้น ดีไซเนอร์ ‘Maria Grazia Chiuri’ ผู้ที่มีความหลงใหล ชื่นชม และเชื่อมั่นในพลังของผู้ (เยาวชน) หญิงนั้น จึงได้ตัดสินในเลือกใช้ข้อความดังกล่าวในการสร้างลวดลายบนเสื้อผ้า เพราะเธอต้องการเป็นกระบอกเสียง นำส่งข้อความอันแสนสำคัญ และทรงพลังนี้ไปยังผู้คนทั่วโลกผ่านการสร้างสรรค์ผลงานด้านแฟชั่นของเธอ
อ้างอิง https://popcornfor2.com/m/detail?id=115944