เตียงนอนทำจากหญ้า
(FOREST & KIM STARR หญ้ากินี (Guinea grass) เป็นหนึ่งในวัสดุที่ใช้ทำเตียงนอนหลังแรก ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์)
นักโบราณคดีค้นพบซากวัสดุซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นเตียงนอนของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ถ้ำบอร์เดอร์ (Border cave) ในจังหวัดควาซูลู-นาทัล (KwaZulu-Natal) ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยซากเตียงที่หลงเหลือในชั้นดินเก่าแก่ที่สุดที่ขุดพบมีอายุระหว่าง 183,000 - 227,000 ปี
ถ้ำดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีร่องรอยการเข้าไปตั้งถิ่นฐานและทิ้งร้างไปเป็นช่วง ๆ ทำให้ทีมนักโบราณคดีสามารถขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้และร่องรอยของการดำรงชีวิตอื่น ๆ ได้จากหลายยุคสมัย ซึ่งสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งทำให้โบราณวัตถุเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ได้เป็นอย่างดี ในชั้นดินที่ระดับความลึกต่าง ๆ กัน ซากของเตียงนอนหลายหลังที่พบทำจากพืชหลากชนิด รวมถึงหญ้ากินี (Guinea grass) หรือที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pacinum Maximum ซึ่งยังคงมีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติที่ด้านหน้าของถ้ำในปัจจุบัน
รายงานการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science ระบุว่าซากเตียงนอนเหล่านี้จะอยู่เหนือกองเถ้าถ่านที่หนุนอยู่ด้านล่างสุดเสมอ ซึ่งเป็นหลักฐานชี้ว่ามนุษย์ถ้ำเผาทำลายเตียงหญ้าเก่าที่อาจเต็มไปด้วยแมลงรบกวนนานาชนิด ก่อนจะทำเตียงนอนใหม่ทับไว้บนกองเถ้าถ่านจากการเผาเตียงเก่า
ซากเตียงบางหลังอยู่บนกองเถ้าถ่านที่ได้จากการเผาไม้ โดยในบางครั้งพบว่าเป็นเถ้าถ่านจากไม้การบูร (Camphor) ซึ่งแสดงว่ามนุษย์ถ้ำใช้วิธีเผาไม้หอมให้เกิดควัน และนำเถ้าถ่านที่ได้มารองใต้เตียง เพื่อป้องกันแมลงที่จะเข้ามารบกวนยามหลับใหล
ซากเตียงยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ มักถูกพบอยู่บริเวณด้านในของถ้ำใกล้กับกองไฟ ขอบของเตียงบางหลังก็มีร่องรอยถูกไฟไหม้ด้วย นอกจากนี้ยังพบเศษผงดินเหลืองหรือดินแดงที่ใช้ทาตัวตกอยู่บนซากเตียง รวมทั้งพบเศษหินซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีการนั่งบนเตียงระหว่างทำเครื่องมือหินไว้ใช้สอย
SCIENCE 2011 / AAAS
(ซากวัสดุจากเตียงโบราณอายุ 77,000 ปี ซึ่งทำจากพืชจำพวกต้นกกหรือต้นอ้อ)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ลิน วาดลีย์ ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิตวอเทอร์สแรนด์ของแอฟริกาใต้ บอกว่าอายุของซากเตียงนี้มีความเก่าแก่พอ ๆ กับกำเนิดของมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโมเซเปียนส์ ซึ่งทีมวิจัยยังไม่แน่ใจว่า มนุษย์ถ้ำที่สร้างและใช้เตียงนี้เป็นมนุษย์ยุคใหม่ หรือว่าเป็นบรรพบุรุษมนุษย์เผ่าพันธุ์อื่นอย่างเช่นโฮโมนาเลดี (Homo naledi) กันแน่
เมื่อปี 2011 เคยมีรายงานการค้นพบซากของฟูกหรือเตียงนอนอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกมาแล้วที่ถ้ำซิบูดู (Sibudu cave) ทางตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้ เลียบกับแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในจังหวัดควาซูลู-นาทัลเช่นเดียวกัน โดยเตียงนี้มีอายุเก่าแก่ 77,000 ปี ทำจากวัสดุจำพวกต้นกกหรือต้นอ้อ และมีการใช้พืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติไล่แมลงปูทับที่ชั้นบนสุดของเตียงด้วย
หลักฐานของชิ้นส่วนที่น่าจะเป็นรังนอนหรือ"เตียง" บนพื้นถ้ำน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มมนุษย์สปีชี่ส์ โฮโมเซเปียน หรือมนุษย์ปัจจุบัน ถูกขุดค้นที่ใต้ชั้นตะกอนหนา 3 ม. ชิ้นส่วนเตียงนั้นได้ถูกวัดค่าอายุได้ราว 77,000 ปีก่อนนับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา
เตียงนั้นทำมาจากหญ้า วัชพืช และใบไม้พุ่มหนาประมาณ 30 ซม. และมีขนาดราว 2ตารางเมตร โดยนักโบราณคดีได้สังเกตเห็นชิ้นส่วนของเศษใบไม้
เมื่อทำการวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าเป็นใบจากพืชพุ่มสปีชี่ส์ Cryptocarya woodii ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นในแถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่แอฟริกาจรดออสเตรเลีย โดยใบมีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติขับไล่แมลงรบกวนอย่างริ้น ยุง และไรได้
เตียงนอนของมนุษย์โบราณทำให้เข้าใจว่า มนุษย์กลุ่มแรก ๆ นั้นดำรงชีวิตอย่างไรในช่วงเวลาที่ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่า รวมถึงทักษะการล่าและหาอาหาร และองค์ความรู้ด้านการใช้พืชสมุนไพรในการรักษา ป้องกัน และบรรเทาความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเจ็บป่วย
หมวกทอจากขนช้างแมมมอธ
นี่คือ หมวกทอจากขนช้างแมมมอธใบเดียวในโลก เจ้าของก็คือ Vladimir Ammosov วัย 44 ปี ชาวเมือง Yakutsk แถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย
Vladimir Ammosov เปิดเผยว่า เขาซื้อขนช้างแมมมอธ (ช้างสายพันธ์ขนรุงรังซึ่งอาศํยอยู่ในยุคน้ำแข็งและสูญพันธ์ไปนับหมื่นปีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์) จากลุงของเขาเองซึ่งเดินทางไปยังสุสานช้างแมมมอธในหมู่บ้าน Kazachye และขุดเจอซากช้างแมมมอธซึ่งถูกฝังอยู่ใต้พื้นดิน Permarost (พื้นดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถพบพื้นดินแบบนี้ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ และพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งบนผิวดินอาจไม่จำเป็นต้องมีน้ำแข็งปกคลุมก็ได้)
Vladimir Ammosov จ้างช่างทอให้ทอขนข้างแมมอธเป็นหมวกYakutian ที่ชาวเมือง Yakutsk นิยมสวม แต่เปลี่ยนจากขนม้าตามแบบดั้งเดิมมาเป็นขนช้างแมมมอธ และประกาศขายหมวกทอจากขนช้างแมมอธใบเดียวในโลก ด้วยราคา $ 1 หมื่นเหรียญ (ประมาณสามแสนสามหมื่นบาท) หมวกใบนี้ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก Semyon Grigoryev ผู้อำนวยการพิพิธภัณพ์ Mammoth Museum @ North-Eastern Federal University ในเมือง Yakutsk ว่าทอจากขนช้างแมมมอธ 100%
Semyon Grigoryev เปิดเผยว่าหมวกขนช้างแมมมอธใบนี้ไม่มีกลิ่นสาบแต่ขนหยาบและแข็งกว่าหมวกขนสัตว์ทุกชนิด
ปกติแล้วหมวกชาวยาคุเทียจะถักจากขนม้า และมีคุณสมบัติพิเศษทำให้รู้สึกเหมือนกำลังนวดศีรษะ ซึ่งว่ากันว่าช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น
ที่มา Siberian Times
เชือกจากเปลือกไม้
(PA MEDIA เศษเชือกถักเก่าแก่มีความยาวราว 6.2 มิลลิเมตร กว้าง 0.5 มิลลิเมตร)
ทีมนักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยานานาชาติจากฝรั่งเศส สหรัฐฯ และสเปน ค้นพบเศษเชือกถักโบราณติดอยู่กับหินเหล็กไฟ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ประดิษฐ์โดยมนุษย์โบราณนีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) เมื่อราว 50,000 ปีก่อน ที่ถ้ำแห่งหนึ่งในสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดี Abri du Maras ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
รายงานการค้นพบดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports ฉบับล่าสุด โดยระบุว่าพบเศษเชือกถักเก่าแก่ความยา;ประมาณ 6.2 มิลลิเมตร
กว้าง 0.5 มิลลิเมตร ในชั้นดินที่มีอายุเก่าแก่ 41,000 - 52,000 ปี ซึ่งเส้นใยเชือกน่าจะทำมาจากเปลือกไม้ชั้นในของพืชไม่มีดอก อย่างเช่นพืชจำพวกสน
เมื่อนำเศษเชือกถักดังกล่าวไปวิเคราะห์โครงสร้างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่ามีการแบ่งเส้นใยพืชออกเป็นสามกลุ่ม รวมทั้งมีการบิดและถักเส้นใยพืชแต่ละกลุ่มให้เป็นเกลียวตามเข็มนาฬิกา (S-twist) ก่อนจะนำมาถักรวมกันอีกครั้งให้เป็นเกลียวแบบทวนเข็มนาฬิกา (Z-twist) เพื่อให้เกิดเป็นเส้นเชือกที่แข็งแกร่งแน่นหนาขึ้น
ทีมผู้วิจัยระบุว่า การค้นพบร่องรอยของเชือกถักเก่าแก่ในพื้นที่ขุดค้นทางโบราณคดีซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของนีแอนเดอร์ทัลมาก่อน แสดงว่ามนุษย์โบราณเผ่าพันธุ์นี้มีความสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่ซับซ้อน ในระดับที่ต้องใช้สติปัญญาขั้นสูงไม่แพ้มนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโมเซเปียนส์
ก่อนหน้านี้นักมานุษยวิทยาเชื่อกันว่า สาเหตุที่ทำให้นีแอนเดอร์ทัลสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 40,000 ปีก่อน เป็นเพราะมีความเฉลียวฉลาดไม่ทัดเทียมกับมนุษย์ยุคใหม่ จึงไม่สามารถแข่งขันและปรับตัวเพื่ออยู่รอดได้
อย่างไรก็ตาม การค้นพบเชือกถักเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีมานี้ แสดงว่านีแอนเดอร์ทัลประดิษฐ์เครื่องมือดังกล่าวได้ก่อนมนุษย์ยุคใหม่หลายหมื่นปี ทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นไม้เป็นอย่างดี การถักเชือกยังแสดงถึงความเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่นการนับจำนวน การจับคู่ และเซต (Set) ส่วนเส้นเชือกที่ได้ยังอาจนำไปต่อยอดสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปสู่ความเจริญยิ่งขึ้น เช่นเสื้อผ้า กระเป๋า ตาข่าย หรือแม้กระทั่งเรือ
คาดว่ามีสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงถึงสติปัญญาระดับสูงของนีแอนเดอร์ทัลอยู่มากกว่าที่ขุดพบในปัจจุบัน แต่การที่เครื่องไม้เครื่องมือโบราณส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่สูญสลายได้ จึงยังไม่พบหลักฐานดังกล่าวมากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการพบหลักฐานที่ชี้ว่า นีแอนเดอร์ทัลสามารถสกัดยางคล้ายน้ำมันดินจากต้นเบิร์ช ทำลูกปัดจากเปลือกหอย สร้างสรรค์งานศิลปะบนผนังถ้ำ และประกอบพิธีศพได้
Cr.ภาพ northcountrypublicradio.org
หมากฝรั่งจากยางเปลือกไม้เบิร์ช
นักวิจัยขุดพบหมากฝรั่งยุคหิน ที่มีสารพันธุกรรมของมนุษย์อยู่ จนวิเคราะห์รูปร่างเด็กเมื่อ 5,700 ปีก่อนได้ โดย ‘ลอร่า’ เด็กสาวดวงตาสีฟ้า ผิวคล้ำ ผมสีเข้ม ที่อาศัยอยู่ในเดนมาร์ก เมื่อ 5,700 ปีก่อน เธอเคี้ยวพืชชนิดนึง ซึ่งอาจจะเปรียบได้ว่าเป็นหมากฝรั่งยุคโบราณ แล้วเธอก็คายทิ้งไว้ จนทำให้เราสามารถสืบค้นพันธุกรรมของมนุษย์ได้สิ่งอื่น นอกเหนือจากกระดูกของมนุษย์เป็นครั้งแรก
ฮันแนส ชเรอเดอร์ (Hannes Schroeder) นักมานุษยวิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) เจอก้อนหมากฝรั่งโบราณขนาดยาว 2 ซม. ซึ่งทำจากต้นเบิร์ช พืชชนิดหนึ่งที่ถูกใช้เป็นกาวธรรมชาติในยุคหินเก่า ผลิตจากเปลือกของต้นไม้ ด้วยการให้ความร้อนจนกลายเป็นของเหลว และถูกค้นพบในระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดี บนเกาะ Lolland ประเทศเดนมาร์ก และนำบางส่วนของก้อนนี้ไปวิเคราะห์เพื่อค้นหาดีเอ็นเอ พบว่ามันมีดีเอ็นเอจำนวนมากอยู่ในก้อนหมากฝรั่งนี้ จนสามารถสร้างจีโนมมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบมาเป็น "ลอร่า"
Cr.
https://th-th.facebook.com/thematterco/posts/2454934048055316/ The MATTER
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
สิ่งประดิษฐ์จากพืชในสมัยโบราณ
ถ้ำดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีร่องรอยการเข้าไปตั้งถิ่นฐานและทิ้งร้างไปเป็นช่วง ๆ ทำให้ทีมนักโบราณคดีสามารถขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้และร่องรอยของการดำรงชีวิตอื่น ๆ ได้จากหลายยุคสมัย ซึ่งสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งทำให้โบราณวัตถุเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ได้เป็นอย่างดี ในชั้นดินที่ระดับความลึกต่าง ๆ กัน ซากของเตียงนอนหลายหลังที่พบทำจากพืชหลากชนิด รวมถึงหญ้ากินี (Guinea grass) หรือที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pacinum Maximum ซึ่งยังคงมีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติที่ด้านหน้าของถ้ำในปัจจุบัน
ซากเตียงบางหลังอยู่บนกองเถ้าถ่านที่ได้จากการเผาไม้ โดยในบางครั้งพบว่าเป็นเถ้าถ่านจากไม้การบูร (Camphor) ซึ่งแสดงว่ามนุษย์ถ้ำใช้วิธีเผาไม้หอมให้เกิดควัน และนำเถ้าถ่านที่ได้มารองใต้เตียง เพื่อป้องกันแมลงที่จะเข้ามารบกวนยามหลับใหล
(ซากวัสดุจากเตียงโบราณอายุ 77,000 ปี ซึ่งทำจากพืชจำพวกต้นกกหรือต้นอ้อ)
เตียงนั้นทำมาจากหญ้า วัชพืช และใบไม้พุ่มหนาประมาณ 30 ซม. และมีขนาดราว 2ตารางเมตร โดยนักโบราณคดีได้สังเกตเห็นชิ้นส่วนของเศษใบไม้
เมื่อทำการวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าเป็นใบจากพืชพุ่มสปีชี่ส์ Cryptocarya woodii ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นในแถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่แอฟริกาจรดออสเตรเลีย โดยใบมีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติขับไล่แมลงรบกวนอย่างริ้น ยุง และไรได้
เตียงนอนของมนุษย์โบราณทำให้เข้าใจว่า มนุษย์กลุ่มแรก ๆ นั้นดำรงชีวิตอย่างไรในช่วงเวลาที่ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่า รวมถึงทักษะการล่าและหาอาหาร และองค์ความรู้ด้านการใช้พืชสมุนไพรในการรักษา ป้องกัน และบรรเทาความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเจ็บป่วย
http://science.sciencemag.org/content/334/6061/1388
https://news.nationalgeographic.com/…/111208-oldest-mattre…/
https://www.livescience.com/17375-oldest-mattresses-early-h…
ข้อมูลสายพันธุ์พืช : https://en.wikipedia.org/wiki/Cryptocarya
Vladimir Ammosov จ้างช่างทอให้ทอขนข้างแมมอธเป็นหมวกYakutian ที่ชาวเมือง Yakutsk นิยมสวม แต่เปลี่ยนจากขนม้าตามแบบดั้งเดิมมาเป็นขนช้างแมมมอธ และประกาศขายหมวกทอจากขนช้างแมมอธใบเดียวในโลก ด้วยราคา $ 1 หมื่นเหรียญ (ประมาณสามแสนสามหมื่นบาท) หมวกใบนี้ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก Semyon Grigoryev ผู้อำนวยการพิพิธภัณพ์ Mammoth Museum @ North-Eastern Federal University ในเมือง Yakutsk ว่าทอจากขนช้างแมมมอธ 100%
Semyon Grigoryev เปิดเผยว่าหมวกขนช้างแมมมอธใบนี้ไม่มีกลิ่นสาบแต่ขนหยาบและแข็งกว่าหมวกขนสัตว์ทุกชนิด
ปกติแล้วหมวกชาวยาคุเทียจะถักจากขนม้า และมีคุณสมบัติพิเศษทำให้รู้สึกเหมือนกำลังนวดศีรษะ ซึ่งว่ากันว่าช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น
ที่มา Siberian Times
รายงานการค้นพบดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports ฉบับล่าสุด โดยระบุว่าพบเศษเชือกถักเก่าแก่ความยา;ประมาณ 6.2 มิลลิเมตร
กว้าง 0.5 มิลลิเมตร ในชั้นดินที่มีอายุเก่าแก่ 41,000 - 52,000 ปี ซึ่งเส้นใยเชือกน่าจะทำมาจากเปลือกไม้ชั้นในของพืชไม่มีดอก อย่างเช่นพืชจำพวกสน
ก่อนหน้านี้นักมานุษยวิทยาเชื่อกันว่า สาเหตุที่ทำให้นีแอนเดอร์ทัลสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 40,000 ปีก่อน เป็นเพราะมีความเฉลียวฉลาดไม่ทัดเทียมกับมนุษย์ยุคใหม่ จึงไม่สามารถแข่งขันและปรับตัวเพื่ออยู่รอดได้