นานๆจะมีหนังดีๆ สักเรื่องให้ดู ผมเลยอยากเขียนอะไรขึ้นมาสักอย่าง ให้กับ TENET หนังสุดทะเยอทะยานแห่งปี ของผู้กำกับที่เรียกได้ว่าสุดยอดแห่งยุคอย่าง คริสโตเฟอร์ โนแลนด์
คำเตือน สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ เปิดเผยเนื้อหาและแนวคิดด้านเวลาของหนังอย่างเต็มที่ SPOIL ALERT ดังนั้น ใครที่อยากจะสัมผัสอรรถรสของหนังแบบเต็มๆ ให้ไปชมภาพยนตร์ก่อนนะครับ
อย่างแรก ผมเคยรีวิวแบบไม่สปอยเนื้อหาของเรื่องเอาไว้ในเฟซบุ๊กตัวเอง โดยให้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า “หนังดีที่ไม่ได้สร้างมาให้ดูรอบเดียว” คำจำกัดความนี้ของผม ไม่ได้หมายความว่ามันดูไม่รู้เรื่องจนต้องดูสองรอบหรอกครับ แต่ด้วยตัวเนื้อเรื่องของหนัง มันทำให้การดูรอบที่สองขึ้นไป มันได้อรรถรสที่แตกต่างจากการดูรอบแรกแบบจริงๆ ผมว่านี่แหละมั้งเลยทำให้โนแลนด์ใช้ทุนกับหนังเรื่องนี้กว่า 200 ล้านเหรียญ เพราะถ้าทุกคนดูสองรอบ ก็ได้กำไรสองเท่า ล้อเล่น 555
เรื่องที่ 1 สิ่งที่ผมทึ่งที่สุดในเรื่องนี้คือ การหยิบทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเวลามาทำหนัง หากแต่ว่ามันมีความแปลกใหม่และ”น่าจะ”เป็นครั้งแรกที่มีคนนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเวลาในรูปแบบนี้
เท้าความกันก่อน เวลาเราพูดถึง การข้ามเวลา การย้อนเวลา หรือการท่องเวลา เท่าที่ผมรู้จักในโลกนี้ที่เคยผ่านมา มันมีแนวคิดที่มักจะเอามาทำหนัง การ์ตูน เกม อยู่ 2 แบบ คือ แนวคิดเก่ากับแนวคิดใหม่ แต่ผมชอบเรียกมันง่ายๆ ว่า แบบโดเรมอนกับแบบดรากอนบอล
แบบโดเรมอน ถ้าใครไม่ถนัดอาจจะใช้คำว่าแบบ Back To the Future ก็ได้ คือแนวคิดเรื่องการย้อนอดีต ไปอนาคต ในไทม์ไลน์เดียว เช่น การที่เซวาชิเห็นว่าตระกูลตัวเองมีโนบิ โนบิตะ ที่เป็นจุดอ่อนของตระกูล จึงส่งโดราเอมอนจากอนาคตมาขัดเกลาเพื่อให้โนบิตะเป็นคนดีขึ้น จากต้องแต่งงานกับไจโกะ กลายเป็นแต่งกับชิซูกะ หรือ เรื่อง Back To the Future ก็เหมือนกัน ตระกูลแมคฟลายที่ตอนแรกเป็นเบ๊และลูกไล่ของบิฟ เทนเนนท์ ตัวร้ายของเรื่อง พอพระเอกย้อนไปยุ่งกับอดีต เลยเปลี่ยนมาเป็นบิฟเป็นคนรับใช้ในบ้านแมคฟลายซะงั้น
แบบโดเรมอนนี้ ถ้าเท่าที่ผมเคยอ่าน ทราบว่ามันเป็นแนวคิดแรกเริ่มของการย้อนเวลา ข้อดีคือมันมีไทม์ไลน์เดียว เข้าใจง่าย การกระทำในอดีตมีผลต่ออนาคต แต่มันเกิดจุดบอดอย่างนึงที่เรียกว่า Time Paradox ขึ้นมา นักวิทยาศาตร์ตั้งคำถามกับแนวคิดนี้ว่า ถ้าในอนาคตมีการสร้างเครื่องย้อนเวลาได้จริง ถ้ามีคนๆ นึงย้อนเวลามาเจอตัวเองในอดีต ทำไมตัวเองในอดีตที่ผ่านมาแล้ว ณ เวลานั้นมันถึงไม่เคยเจอตัวเองในอนาคตล่ะ หรือถ้ามาฆ่าตัวเองในอดีต แล้วคนๆ มีชีวิตอยู่ไปจนย้อนเวลามาได้ไงจึ
จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่ 2 ที่ออกมาแก้ปัญหานี้ คือเรื่อง จักรวาลคู่ขนาน หรือ มิติที่ 5 ใน ทฤษฎี Space & Time ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นแหละ แนวคิดเรื่องกาล&อวกาศ นักฟิสิกส์สันนิษฐานว่ามีถึง 11 มิติ ซึ่งผมเคยลองพยายามอ่านแล้วโคตรไม่เข้าใจ ผมเข้าใจสูงสุดแค่มิติที่ 5 นี่แหละการท่องเวลาแบบดรากอนบอล
การกระทำใดๆในการย้อนเวลา จะไม่ส่งผลต่อไทม์ไลน์ปัจจุบัน เนื่องจากมันเกิดไทม์ไลน์คู่ขนาน หรือมิติคู่ขนาน ขึ้นมาพร้อมๆ ในจำนวนที่เป็นอนันต์ อย่างเรื่องดรากอนบอล มันจะมีทั้งไทม์ไลน์ที่ โกคูตายด้วยโรคหัวใจ นักรบ z ตายหมดเพราะโดนหมายเลข 17-18 ฆ่า เหลือแต่โกฮังที่ฝึกทรังซ์จนเป็นนักรบคนสุดท้ายแล้วบลูม่าจึงใช้ไทม์แมชชีนย้อนเวลาให้เอายามาช่วยโกคู ซึงอยู่คนละไทม์ไลน์กัน โกคูในไทม์ไลน์หลักไม่ตาย แล้วก็เอาชนะมนุษย์ดัดแปลงไปจนถึงเซลได้ เซลนี่ก็ย้อนมาจากอนาคตอีกไทม์ไลน์หนึ่งเหมือนกันที่ 17-18 หายไป จึงฆ่าทรังซ์แล้วยึดเอาไทม์แมชชีนกลับมาที่ไทม์ไลน์หลักเพื่อร่างสมบูรณ์ จะเห็นได้ว่าต่อให้ทรังซ์ย้อนเวลาไปฆ่า 17-18 หรือเซลล์ในอดีต ในไทม์ไลน์หลักก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ดี
แนวคิดนี้เค้าบอกว่า ไทม์ไลน์คู่ขนานมีจำนวนเป็นอนันต์มากมาย ซ้อนกันอยู่ เอาง่ายๆ ถ้าตามทฤษฏีนี้หมายความว่า วันนี้ที่ผมนั่งพิมพ์บทความนี้ มันอาจจะมีอีกไทม์ไลน์นึงที่ผมนั่งกินเหล้าอยู่ ผมหลับแล้ว ผมกินข้าวอยู่ หรือที่ผมไม่ได้มีชีวิตอยู่แล้ว เยอะแยะไปหมด เอาแค่ในอีก 1 วิข้างหน้า ผมอาจจะขยับนิ้วข้างขวา หรือาจจะไม่พิมพ์ต่อแล้ว หรืออาจะพิมพ์ผิด มันมีไทม์ไลน์เหล่านี้ซ้อนกันอยู่เป็นจำนวนมากมายไม่รู้จบ ดังนั้น การย้อนเวลาไปหาตัวเราเอง คือการย้อนไปไทม์ไลน์อื่นที่ไม่ใช่ของเรา ดังนั้น จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรก็จะไม่มีผลต่อโลกที่เราอยู่จริงๆ มันจึงแก้ไขปัญหา Time Paradox ได้ แต่มันเข้าใจยาก และ การเอาไปทำหนังมันก็ไม่สนุก เพราะทำอะไรก็ไม่ส่งผลกระทบมาเลย
ทีนี้ TENET หยิบเอาแนวคิดไหนมาใช้ล่ะ? คำตอบคือ ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง ความเจ๋งมันอยู่ตรงที่การนำข้อดีของทั้งสองอย่างมารวมกัน
แนวคิดด้านเวลาที่ใช้ในหนังเรื่องนี้ ใช้ไทม์ไลน์เดียวเท่านั้นไม่มีคู่ขนาน และมันแก้ไขเรื่อง Time Paradox เอาไว้ได้อย่างค่อนข้างสมเหตุสมผล ด้วยประโยคๆ เดียว คือ “อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด”
บางคนฟังประโยคนี้อาจคิดไปถึง ทุกอย่างถูกกำหนดมาแล้ว เป็นพรหมลิขิต เป็นโชคชะตารึเปล่า แต่มุมมองผมมองว่า โนแลนด์อธิบายในมุมวิทยาศาตร์มากกว่านั้น ประโยคนี้ไม่ได้บอกเล่าในหนังเรื่องนี้ด้วยความเชื่อ แต่นำเสนอความจริงที่มันปฏิเสธไม่ได้
เอาง่ายๆ พอดูหนังเรื่องนี้จบ จนเข้าใจแจ่งแจ้งแล้ว เราจะรู้ได้ทันทีว่า ตัวร้ายไม่มีทางทำสำเร็จ พระเอกชนะแน่นอนมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะว่า ภารกิจสุดท้ายในการที่จะทำให้โลกทั้งใบหายไป มันย้อนมาเกิดขึ้นในอดีต ในหนังดำเนินเรื่องเกินจากวันสุดท้ายนี้ไปก่อนแล้วจึงย้อนกลับมา มันจึงตอบได้ว่า “ถ้าตัวร้ายทำสำเร็จไปตั้งแต่ตอนนั้น เรื่องที่เราดูมาก่อนหน้าทั้งหมดมันต้องไม่เกิดขึ้นอยู่แล้ว”
หรือแนวคิดของผู้ที่ต้องการให้เกิดเรื่องนี้ในอนาคต ย้อนกลับมาในอดีต เพื่อหวังจะทำให้อนาคตที่มีแต่สิ่งแวดล้อมที่แย่ลงด้วยการทำลายอดีต มันไม่สำเร็จตั้งแต่แรกแล้ว เพราะถ้าสำเร็จจะไม่มีทางมีพวกเขาอยู่ในโลก
แสดงว่าหนังเรื่องนี้ คนในอนาคตยังพิสูจน์ไม่ได้เลยว่ามิติคู่ขนานมีอยู่จริง แต่แค่เชื่อว่า การกระทำในอดีตจะไม่ส่งผลถึงเขา และหนังแสดงให้เห็นตลอดเวลาว่า การเจอกันกับตัวเองในอดีตเป็นไปได้ และ ในตัวเองในอดีตล้วนผ่านประสบการณ์ที่เจอกับตัวเองในอนาคตมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งตอนที่เคทเล่าเรื่องที่เกิดบนเรือที่เวียตนาม ซึ่งมาเฉลยตอนจบว่าคือตัวเธอเองในอนาคต หรือตอนที่พระเอกได้ต่อสู้กับตัวเองครั้งแรกที่ฟรีพอต หรือตอนขับรถไล่ล่า
ดังนั้น เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ต่อให้ตัวเองรู้อนาคตแล้ว มันก็ต้องเกิดอยู่ดี ถามว่า สมมติตอนสุดท้ายที่นีลต้องลงไปตายเพราะรับกระสุนแทนพระเอกและเปิดประตูให้พระเอกนั้น นีลรู้อยู่แล้วหรือไม่ คำตอบของผมคือ ต่อให้นีลรู้หรือไม่รู้ หรือถ้านีลรู้แล้วอยากเปลี่ยนแปลงมันก็ทำไม่ได้ นีลก็จะตายตรงนั้นอยู่ดี เพราะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ซึ่งหนังโนแลนด์อธิบายได้ค่อนข้างดีทำให้คำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ Time Paradox แทบจะไม่มีเลย
[SPOIL] TENET หนังดีที่น่าจะไม่ได้สร้างให้ดูรอบเดียว
คำเตือน สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ เปิดเผยเนื้อหาและแนวคิดด้านเวลาของหนังอย่างเต็มที่ SPOIL ALERT ดังนั้น ใครที่อยากจะสัมผัสอรรถรสของหนังแบบเต็มๆ ให้ไปชมภาพยนตร์ก่อนนะครับ
อย่างแรก ผมเคยรีวิวแบบไม่สปอยเนื้อหาของเรื่องเอาไว้ในเฟซบุ๊กตัวเอง โดยให้คำจำกัดความสั้นๆ ว่า “หนังดีที่ไม่ได้สร้างมาให้ดูรอบเดียว” คำจำกัดความนี้ของผม ไม่ได้หมายความว่ามันดูไม่รู้เรื่องจนต้องดูสองรอบหรอกครับ แต่ด้วยตัวเนื้อเรื่องของหนัง มันทำให้การดูรอบที่สองขึ้นไป มันได้อรรถรสที่แตกต่างจากการดูรอบแรกแบบจริงๆ ผมว่านี่แหละมั้งเลยทำให้โนแลนด์ใช้ทุนกับหนังเรื่องนี้กว่า 200 ล้านเหรียญ เพราะถ้าทุกคนดูสองรอบ ก็ได้กำไรสองเท่า ล้อเล่น 555
เรื่องที่ 1 สิ่งที่ผมทึ่งที่สุดในเรื่องนี้คือ การหยิบทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเวลามาทำหนัง หากแต่ว่ามันมีความแปลกใหม่และ”น่าจะ”เป็นครั้งแรกที่มีคนนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเวลาในรูปแบบนี้
เท้าความกันก่อน เวลาเราพูดถึง การข้ามเวลา การย้อนเวลา หรือการท่องเวลา เท่าที่ผมรู้จักในโลกนี้ที่เคยผ่านมา มันมีแนวคิดที่มักจะเอามาทำหนัง การ์ตูน เกม อยู่ 2 แบบ คือ แนวคิดเก่ากับแนวคิดใหม่ แต่ผมชอบเรียกมันง่ายๆ ว่า แบบโดเรมอนกับแบบดรากอนบอล
แบบโดเรมอน ถ้าใครไม่ถนัดอาจจะใช้คำว่าแบบ Back To the Future ก็ได้ คือแนวคิดเรื่องการย้อนอดีต ไปอนาคต ในไทม์ไลน์เดียว เช่น การที่เซวาชิเห็นว่าตระกูลตัวเองมีโนบิ โนบิตะ ที่เป็นจุดอ่อนของตระกูล จึงส่งโดราเอมอนจากอนาคตมาขัดเกลาเพื่อให้โนบิตะเป็นคนดีขึ้น จากต้องแต่งงานกับไจโกะ กลายเป็นแต่งกับชิซูกะ หรือ เรื่อง Back To the Future ก็เหมือนกัน ตระกูลแมคฟลายที่ตอนแรกเป็นเบ๊และลูกไล่ของบิฟ เทนเนนท์ ตัวร้ายของเรื่อง พอพระเอกย้อนไปยุ่งกับอดีต เลยเปลี่ยนมาเป็นบิฟเป็นคนรับใช้ในบ้านแมคฟลายซะงั้น
แบบโดเรมอนนี้ ถ้าเท่าที่ผมเคยอ่าน ทราบว่ามันเป็นแนวคิดแรกเริ่มของการย้อนเวลา ข้อดีคือมันมีไทม์ไลน์เดียว เข้าใจง่าย การกระทำในอดีตมีผลต่ออนาคต แต่มันเกิดจุดบอดอย่างนึงที่เรียกว่า Time Paradox ขึ้นมา นักวิทยาศาตร์ตั้งคำถามกับแนวคิดนี้ว่า ถ้าในอนาคตมีการสร้างเครื่องย้อนเวลาได้จริง ถ้ามีคนๆ นึงย้อนเวลามาเจอตัวเองในอดีต ทำไมตัวเองในอดีตที่ผ่านมาแล้ว ณ เวลานั้นมันถึงไม่เคยเจอตัวเองในอนาคตล่ะ หรือถ้ามาฆ่าตัวเองในอดีต แล้วคนๆ มีชีวิตอยู่ไปจนย้อนเวลามาได้ไงจึ
จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่ 2 ที่ออกมาแก้ปัญหานี้ คือเรื่อง จักรวาลคู่ขนาน หรือ มิติที่ 5 ใน ทฤษฎี Space & Time ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นแหละ แนวคิดเรื่องกาล&อวกาศ นักฟิสิกส์สันนิษฐานว่ามีถึง 11 มิติ ซึ่งผมเคยลองพยายามอ่านแล้วโคตรไม่เข้าใจ ผมเข้าใจสูงสุดแค่มิติที่ 5 นี่แหละการท่องเวลาแบบดรากอนบอล
การกระทำใดๆในการย้อนเวลา จะไม่ส่งผลต่อไทม์ไลน์ปัจจุบัน เนื่องจากมันเกิดไทม์ไลน์คู่ขนาน หรือมิติคู่ขนาน ขึ้นมาพร้อมๆ ในจำนวนที่เป็นอนันต์ อย่างเรื่องดรากอนบอล มันจะมีทั้งไทม์ไลน์ที่ โกคูตายด้วยโรคหัวใจ นักรบ z ตายหมดเพราะโดนหมายเลข 17-18 ฆ่า เหลือแต่โกฮังที่ฝึกทรังซ์จนเป็นนักรบคนสุดท้ายแล้วบลูม่าจึงใช้ไทม์แมชชีนย้อนเวลาให้เอายามาช่วยโกคู ซึงอยู่คนละไทม์ไลน์กัน โกคูในไทม์ไลน์หลักไม่ตาย แล้วก็เอาชนะมนุษย์ดัดแปลงไปจนถึงเซลได้ เซลนี่ก็ย้อนมาจากอนาคตอีกไทม์ไลน์หนึ่งเหมือนกันที่ 17-18 หายไป จึงฆ่าทรังซ์แล้วยึดเอาไทม์แมชชีนกลับมาที่ไทม์ไลน์หลักเพื่อร่างสมบูรณ์ จะเห็นได้ว่าต่อให้ทรังซ์ย้อนเวลาไปฆ่า 17-18 หรือเซลล์ในอดีต ในไทม์ไลน์หลักก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ดี
แนวคิดนี้เค้าบอกว่า ไทม์ไลน์คู่ขนานมีจำนวนเป็นอนันต์มากมาย ซ้อนกันอยู่ เอาง่ายๆ ถ้าตามทฤษฏีนี้หมายความว่า วันนี้ที่ผมนั่งพิมพ์บทความนี้ มันอาจจะมีอีกไทม์ไลน์นึงที่ผมนั่งกินเหล้าอยู่ ผมหลับแล้ว ผมกินข้าวอยู่ หรือที่ผมไม่ได้มีชีวิตอยู่แล้ว เยอะแยะไปหมด เอาแค่ในอีก 1 วิข้างหน้า ผมอาจจะขยับนิ้วข้างขวา หรือาจจะไม่พิมพ์ต่อแล้ว หรืออาจะพิมพ์ผิด มันมีไทม์ไลน์เหล่านี้ซ้อนกันอยู่เป็นจำนวนมากมายไม่รู้จบ ดังนั้น การย้อนเวลาไปหาตัวเราเอง คือการย้อนไปไทม์ไลน์อื่นที่ไม่ใช่ของเรา ดังนั้น จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรก็จะไม่มีผลต่อโลกที่เราอยู่จริงๆ มันจึงแก้ไขปัญหา Time Paradox ได้ แต่มันเข้าใจยาก และ การเอาไปทำหนังมันก็ไม่สนุก เพราะทำอะไรก็ไม่ส่งผลกระทบมาเลย
ทีนี้ TENET หยิบเอาแนวคิดไหนมาใช้ล่ะ? คำตอบคือ ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง ความเจ๋งมันอยู่ตรงที่การนำข้อดีของทั้งสองอย่างมารวมกัน
แนวคิดด้านเวลาที่ใช้ในหนังเรื่องนี้ ใช้ไทม์ไลน์เดียวเท่านั้นไม่มีคู่ขนาน และมันแก้ไขเรื่อง Time Paradox เอาไว้ได้อย่างค่อนข้างสมเหตุสมผล ด้วยประโยคๆ เดียว คือ “อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด”
บางคนฟังประโยคนี้อาจคิดไปถึง ทุกอย่างถูกกำหนดมาแล้ว เป็นพรหมลิขิต เป็นโชคชะตารึเปล่า แต่มุมมองผมมองว่า โนแลนด์อธิบายในมุมวิทยาศาตร์มากกว่านั้น ประโยคนี้ไม่ได้บอกเล่าในหนังเรื่องนี้ด้วยความเชื่อ แต่นำเสนอความจริงที่มันปฏิเสธไม่ได้
เอาง่ายๆ พอดูหนังเรื่องนี้จบ จนเข้าใจแจ่งแจ้งแล้ว เราจะรู้ได้ทันทีว่า ตัวร้ายไม่มีทางทำสำเร็จ พระเอกชนะแน่นอนมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะว่า ภารกิจสุดท้ายในการที่จะทำให้โลกทั้งใบหายไป มันย้อนมาเกิดขึ้นในอดีต ในหนังดำเนินเรื่องเกินจากวันสุดท้ายนี้ไปก่อนแล้วจึงย้อนกลับมา มันจึงตอบได้ว่า “ถ้าตัวร้ายทำสำเร็จไปตั้งแต่ตอนนั้น เรื่องที่เราดูมาก่อนหน้าทั้งหมดมันต้องไม่เกิดขึ้นอยู่แล้ว”
หรือแนวคิดของผู้ที่ต้องการให้เกิดเรื่องนี้ในอนาคต ย้อนกลับมาในอดีต เพื่อหวังจะทำให้อนาคตที่มีแต่สิ่งแวดล้อมที่แย่ลงด้วยการทำลายอดีต มันไม่สำเร็จตั้งแต่แรกแล้ว เพราะถ้าสำเร็จจะไม่มีทางมีพวกเขาอยู่ในโลก
แสดงว่าหนังเรื่องนี้ คนในอนาคตยังพิสูจน์ไม่ได้เลยว่ามิติคู่ขนานมีอยู่จริง แต่แค่เชื่อว่า การกระทำในอดีตจะไม่ส่งผลถึงเขา และหนังแสดงให้เห็นตลอดเวลาว่า การเจอกันกับตัวเองในอดีตเป็นไปได้ และ ในตัวเองในอดีตล้วนผ่านประสบการณ์ที่เจอกับตัวเองในอนาคตมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งตอนที่เคทเล่าเรื่องที่เกิดบนเรือที่เวียตนาม ซึ่งมาเฉลยตอนจบว่าคือตัวเธอเองในอนาคต หรือตอนที่พระเอกได้ต่อสู้กับตัวเองครั้งแรกที่ฟรีพอต หรือตอนขับรถไล่ล่า
ดังนั้น เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ต่อให้ตัวเองรู้อนาคตแล้ว มันก็ต้องเกิดอยู่ดี ถามว่า สมมติตอนสุดท้ายที่นีลต้องลงไปตายเพราะรับกระสุนแทนพระเอกและเปิดประตูให้พระเอกนั้น นีลรู้อยู่แล้วหรือไม่ คำตอบของผมคือ ต่อให้นีลรู้หรือไม่รู้ หรือถ้านีลรู้แล้วอยากเปลี่ยนแปลงมันก็ทำไม่ได้ นีลก็จะตายตรงนั้นอยู่ดี เพราะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ซึ่งหนังโนแลนด์อธิบายได้ค่อนข้างดีทำให้คำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ Time Paradox แทบจะไม่มีเลย