หลายปีที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสเห็นภาพยนตร์เล่นกับทฤษฎีย้อนเวลาต่างๆมากมาย นับตั้งแต่
Back to the future(1985) ,
terminator(1984) ต่างก็มีเงื่อนไขลูกเล่นที่ชัดเจนแทบจะเหมือนๆกัน ล่าสุดหนังปิดจักรวาลมาร์เวลอย่าง
Avengers : Endgame(2019) ก็ใช้ทฤษฏีการย้อนเวลาที่มีไอเดียอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้เรารู้ได้ว่าการย้อนเวลาไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนปัจจุบันเพียงอย่างเดียวเสมอไป เช่นเดียวกับ
TENET(2020) คือภาพยนตร์ที่เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการย้อนเวลาของเราอีกครั้ง ว่าการย้อนเวลามันเป็นได้มากกว่าการ"ย้อนอดีต"ที่ส่งผลกระทบต่อปัจจุบัน หรือการสร้างโลกคู่ขนานอีกโลก พูดให้ถูกตามที่ คริสโตเฟอร์ โนแลน บอกมาคือมันไม่ใช่การย้อนเวลา เป็นการย้อนกลับ การสัมผัสความรู้สึกของกลศาสตร์ควอนตัม ที่ย้อนกลับหลังทั้งหมดรอบๆตัวเรา
หนังเริ่มด้วยการเล่าเรื่องของสายลับ
(จอห์น เดวิด วอชิงตัน)ออกทำภารกิจและเกือบจบชีวิตลง ผ่านการทดสอบได้รับรู้เรื่องราวของคนๆนึง กับคนอีกกลุ่มๆหนึ่งที่ควบคุมเอ็นโทรปีให้เกิดการผกผันของเวลา ซึ่งมีนีล
(โรเบิร์ต แพตตินสัน)ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ เคท
(เอลิซาเบธ เดบิคกี้)ภรรยาของมหาเศษฐี และหัวหน้าทีมไอเวส
(แอรอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน)เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยหารู้ไหมว่าทั้งคนที่เขาพบเจอและเหตุการณ์ที่เขาเผชิญอาจจะเป็นจุดจบ หรือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดก็เป็นได้
หากพูดได้ว่าเทเน็ทคือภาพยนตร์ที่ต้องยอมรับว่ามีไอเดียแปลก ประหลาด แปลกใหม่ อยู่ในพื้นฐานเรื่องเดิมที่เรารู้จักกันเป็นทศวรรษแล้วอย่างการย้อนเวลา นำเสนอออกมาในรูปแบบที่ผู้ชมคนดูทุกคนกล้าพูดได้เลยว่ายุคนี้ไมมีใครสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกแหวกแนวได้มากกว่าเขาคนนี้อีกแล้ว และกล้ายืนยันได้อีกว่า ในอนาคตก็จะมีอะไรทำนองนี้ไปอีกนาน ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีของคนดูอย่างเราๆที่รับชมภาพยนตร์ที่มีความแน่นทางทฤษฎีและความบันเทิงควบคู่กันไป จุดสังเกตคือการเล่นกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์และการอุดช่องโหว่โดยใช้คำว่า"พิสูจน์ไม่ได้" ในทางปฏิบัติตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ทั้งเรื่องกฏฟิสิกส์อวกาศใน
Interstellar (2014) เรื่องของความฝันและจิตใต้สำนึกใน
Inception (2010) ที่ใช้คำว่าพิสูจน์ไม่ได้อย่างแนบเนียน ควบคู่ไปกับความสัมพันธ์ของตัวละคร การมีอารมณ์ร่วมที่อิ่มเอิบลงตัว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ความสัมพันธ์ของตัวละครเปราะบาง การมีอารมณ์ร่วมน้อยลง พล็อตโฮลของหนังก็จะหลุดออกมา ไม่มีฉากลูกข่างหมุนตลอดในตอนท้าย โนแลนจะรู้ตัวไหมว่ามันได้กลายเป็นแผลจุดบอดที่ทั้งใหญ่และน่าเกลียดจนเห็นได้ชัด ซึ่งกว่าจะรู้ตัวมันก็สายไปเสียแล้ว
เรื่องทฤษฎีเว่อวังอลังการมีความสมเหตุสมผลแบบไม่มีใครเถียง หากดูจากผลงานที่ผ่านมาก็บอกได้เลยว่าผู้กำกับรู้จักอุดช่องโหว่ด้วยคำว่าไม่รู้ การไม่เล่าว่าสิ่งนี้มีที่มาอย่างไร ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีก็ได้ที่ไม่ให้ผู้ชมรู้ข้อมูลมากจนเกินตัว โฟกัสเรื่องราวความสัมพันธ์ของตัวละครไปพลางสลับกับการฟังศัพท์วิทย์ไปพลาง ถ้าไม่นับเรื่องการย้อนกลับ เทคนิคโปรดักชั่นล้ำแล้วล้ำอีก ที่เหลือก็เป็นการตัดฉากอันรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงแรกกับการเปลี่ยนประเด็นนาทีต่อนาที ความสัมพันธ์และการมีอารมณ์ร่วมอันน้อยนิดซึ่งเป็นผลกระทบของการเล่าของหนังรึเปล่าอันนี้ไม่แน่ใจนัก แต่ที่แน่นอนคือผลกระทบของความสัมพันธ์ของตัวละครทำให้สิ่งที่หนังไม่ต้องการให้เราเห็นกลับผุดออกมา ว่าทำไมคนที่ไม่รู้จักกันถึงกล้าเล่าความลับให้ฟังตั้งแต่ตอนแรก ปมรูปภาพ กระสุน แกะร่องร่อย รังสี ธาตุพลูโทเนี่ยม เอ็นโทรปี อัลกอริทึ่มไม่รู้จะรีบเล่าไปไหน ไม่รู้ว่าคืออะไร?? เหมือนกำลังจะบอกว่า ไม่ต้องรู้หรอกคืออะไร เชื่อๆดูๆไปเถอะมันก็ย้อนเวลาได้ ย้อนกลับได้เหมือนกัน ซึ่งเราก็เชื่อและดูมาได้ตลอดจนกระทั่งหนังจบ พร้อมกับความรู้สึกที่ว่าสรุปแล้วคืออะไร
สรุปคือ
TENET(2020) จากใจแฟนโนแลนเรียกได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีทฤษฎีที่"ล้ำ"ที่สุด ในขณะเดียวกันประเด็นความสัมพันธ์ของตัวละครและการเอาใจช่วยแทบไม่มี ซึ่งถ้าใครหัวไวตามทันความซับซ้อนและความสมเหตุสมผล คิดถึงมุมภาพมุมกล้องการเล่าเรื่องที่คุ้นเคย ก็จะดูสนุกยกให้เป็นหนังขึ้นหิ้ง มีไอเดียที่ฉลาด แต่ถ้าไม่เรื่องนี้ก็เป็นได้แค่ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ที่มีทฤษฎีเพ้อเจ้อเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง
7.5/10
REVIEW:TENET(no spoil) อัจฉริยะหรือคนบ้า ฉลาดหรือเพ้อเจ้อ??
หนังเริ่มด้วยการเล่าเรื่องของสายลับ(จอห์น เดวิด วอชิงตัน)ออกทำภารกิจและเกือบจบชีวิตลง ผ่านการทดสอบได้รับรู้เรื่องราวของคนๆนึง กับคนอีกกลุ่มๆหนึ่งที่ควบคุมเอ็นโทรปีให้เกิดการผกผันของเวลา ซึ่งมีนีล(โรเบิร์ต แพตตินสัน)ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ เคท(เอลิซาเบธ เดบิคกี้)ภรรยาของมหาเศษฐี และหัวหน้าทีมไอเวส(แอรอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน)เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยหารู้ไหมว่าทั้งคนที่เขาพบเจอและเหตุการณ์ที่เขาเผชิญอาจจะเป็นจุดจบ หรือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดก็เป็นได้
หากพูดได้ว่าเทเน็ทคือภาพยนตร์ที่ต้องยอมรับว่ามีไอเดียแปลก ประหลาด แปลกใหม่ อยู่ในพื้นฐานเรื่องเดิมที่เรารู้จักกันเป็นทศวรรษแล้วอย่างการย้อนเวลา นำเสนอออกมาในรูปแบบที่ผู้ชมคนดูทุกคนกล้าพูดได้เลยว่ายุคนี้ไมมีใครสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกแหวกแนวได้มากกว่าเขาคนนี้อีกแล้ว และกล้ายืนยันได้อีกว่า ในอนาคตก็จะมีอะไรทำนองนี้ไปอีกนาน ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีของคนดูอย่างเราๆที่รับชมภาพยนตร์ที่มีความแน่นทางทฤษฎีและความบันเทิงควบคู่กันไป จุดสังเกตคือการเล่นกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์และการอุดช่องโหว่โดยใช้คำว่า"พิสูจน์ไม่ได้" ในทางปฏิบัติตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ทั้งเรื่องกฏฟิสิกส์อวกาศใน Interstellar (2014) เรื่องของความฝันและจิตใต้สำนึกใน Inception (2010) ที่ใช้คำว่าพิสูจน์ไม่ได้อย่างแนบเนียน ควบคู่ไปกับความสัมพันธ์ของตัวละคร การมีอารมณ์ร่วมที่อิ่มเอิบลงตัว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ความสัมพันธ์ของตัวละครเปราะบาง การมีอารมณ์ร่วมน้อยลง พล็อตโฮลของหนังก็จะหลุดออกมา ไม่มีฉากลูกข่างหมุนตลอดในตอนท้าย โนแลนจะรู้ตัวไหมว่ามันได้กลายเป็นแผลจุดบอดที่ทั้งใหญ่และน่าเกลียดจนเห็นได้ชัด ซึ่งกว่าจะรู้ตัวมันก็สายไปเสียแล้ว
เรื่องทฤษฎีเว่อวังอลังการมีความสมเหตุสมผลแบบไม่มีใครเถียง หากดูจากผลงานที่ผ่านมาก็บอกได้เลยว่าผู้กำกับรู้จักอุดช่องโหว่ด้วยคำว่าไม่รู้ การไม่เล่าว่าสิ่งนี้มีที่มาอย่างไร ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีก็ได้ที่ไม่ให้ผู้ชมรู้ข้อมูลมากจนเกินตัว โฟกัสเรื่องราวความสัมพันธ์ของตัวละครไปพลางสลับกับการฟังศัพท์วิทย์ไปพลาง ถ้าไม่นับเรื่องการย้อนกลับ เทคนิคโปรดักชั่นล้ำแล้วล้ำอีก ที่เหลือก็เป็นการตัดฉากอันรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงแรกกับการเปลี่ยนประเด็นนาทีต่อนาที ความสัมพันธ์และการมีอารมณ์ร่วมอันน้อยนิดซึ่งเป็นผลกระทบของการเล่าของหนังรึเปล่าอันนี้ไม่แน่ใจนัก แต่ที่แน่นอนคือผลกระทบของความสัมพันธ์ของตัวละครทำให้สิ่งที่หนังไม่ต้องการให้เราเห็นกลับผุดออกมา ว่าทำไมคนที่ไม่รู้จักกันถึงกล้าเล่าความลับให้ฟังตั้งแต่ตอนแรก ปมรูปภาพ กระสุน แกะร่องร่อย รังสี ธาตุพลูโทเนี่ยม เอ็นโทรปี อัลกอริทึ่มไม่รู้จะรีบเล่าไปไหน ไม่รู้ว่าคืออะไร?? เหมือนกำลังจะบอกว่า ไม่ต้องรู้หรอกคืออะไร เชื่อๆดูๆไปเถอะมันก็ย้อนเวลาได้ ย้อนกลับได้เหมือนกัน ซึ่งเราก็เชื่อและดูมาได้ตลอดจนกระทั่งหนังจบ พร้อมกับความรู้สึกที่ว่าสรุปแล้วคืออะไร
สรุปคือ TENET(2020) จากใจแฟนโนแลนเรียกได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีทฤษฎีที่"ล้ำ"ที่สุด ในขณะเดียวกันประเด็นความสัมพันธ์ของตัวละครและการเอาใจช่วยแทบไม่มี ซึ่งถ้าใครหัวไวตามทันความซับซ้อนและความสมเหตุสมผล คิดถึงมุมภาพมุมกล้องการเล่าเรื่องที่คุ้นเคย ก็จะดูสนุกยกให้เป็นหนังขึ้นหิ้ง มีไอเดียที่ฉลาด แต่ถ้าไม่เรื่องนี้ก็เป็นได้แค่ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ที่มีทฤษฎีเพ้อเจ้อเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง
7.5/10