งมงายตรงไหน ขึ้นอยู่กับว่าเรามีปัญญาหรือเปล่า?

งมงายตรงไหน ขึ้นอยู่กับว่าเรามีปัญญาหรือเปล่า?

เทพทันใจ ศักดิ์สิทธิ์จริงไหม? งมงายไหม?
    คนพม่าอยากได้เงินจึงมาทำงานที่เมืองไทย แต่ในทางกลับกัน คนไทยอยากสมหวังอยากได้เงิน กลับไปขอพรกับเทพทันใจของพม่า ถ้าเทพทันใจศักดิ์สิทธิ์จริง ดลบันดาลได้จริง เมืองไทยคงไม่มีคนพม่า จริงไหม?
    ตอบว่า คนเรามีชะตากรรม มีภาวะของกรรม ประเทศหรือสังคมต่างๆ ก็มีจังหวะชีวิต จังหวะของชะตา
    คนเราอย่าไปหยิ่งทนงว่าชะตาของเราจะดีตลอด เราจะต้องยอมรับในชะตา ยกตัวอย่าง ทำไมเราจะต้องมีพระแก้วมรกต ทำไมต้องมีหลวงพ่อโต หลวงพ่อทอง หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อบ้านแหลม หลวงพ่อวัดไร่ขิง ฯลฯ ก็ได้นะสิ มันเป็นไปไม่ได้ 
    แต่ละที่มันมีแต่ละเวลา แต่ละวาระ คนเราอย่าไปหยิ่งทนงว่าตอนนี้ชะตาเราดีไม่ต้องไปพึ่งพาอะไร อย่าหลงผิด
 
พิธีกรรม งมงายไหม?
    วัดท่าไม้ ประกอบพิธีกรรมทางพุทธไหม?
    การประกอบพิธีกรรมทางพุทธ พระพุทธเจ้าท่านประทานอนุญาตให้อยู่แล้ว เขาใช้วิธีพิธีกรรมทางพุทธ เพราะว่าเขาใช้วิชามาร เดรัจฉานวิชา จึงมาเปลี่ยนเป็นคิดแบบวิถีพุทธ แล้วมันผิดตรงไหน เพราะว่าเขาใช้อาถรรพ์มนต์ดำมา แล้วเรามาแก้ไสยศาสตร์มนต์ดำเขาด้วยวิธีสายขาว สายพุทธ เกิดความคิดที่เป็นสัมมา เป็นวิถีพุทธ ไม่ดีตรงไหน ผิดตรงไหน 
    เราต้องรู้ว่าเขาใช้วิธีอะไร ใช้วิธีของพระพุทธเจ้าปรับเปลี่ยนวิธีคิดของเขา ยกตัวอย่าง ในครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังต้องเข้าไปหาพราหมณ์ที่มีความคิดที่ผิด พระองค์ยังต้องอาศัยไปพูดคุย สนทนา แล้วให้เขากลับตัวมานับถือพระพุทธเจ้า และพระมหาโมคคัลลานะก็เข้าไปยังลัทธิต่างๆ ให้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เป็นต้น แล้วปัจจุบันเราใช้วิธีการอย่างนี้ มันผิดตรงไหน 
    สำคัญอยู่ที่ว่า วัดท่าไม้ใช้วิธีการอย่างไร
    ถ้าถามว่า ทำไมต้องมีพิธีอาบน้ำมนต์? ก็เพราะว่าจะต้องมีการชำระร่างกายให้สะอาดแล้วค่อยมารับของดี
    ไม่ชำระร่างกายก่อนได้ไหม? ก็ไม่ได้ ทุกคนย่อมมีวิธีแตกต่างกันไป มีวิธีของเขา ยกตัวอย่าง ทางพระสงฆ์ไม่นุ่งห่มผ้าจีวร แล้วไปทำวัตรเช้า-เย็น จะได้ไหม? ก็ไม่ได้ นี่แหละ เช่นเดียวกัน แต่ละคนย่อมมีวิธีที่แตกต่างกันไป
    คนเราต้องเคารพซึ่งกันและกัน เขามีกติกา หรือมีวิธีการต่างๆ

 ฤกษ์-ยาม งมงายไหม?
    บางวัด บางสำนักให้ฤกษ์งาม ยามดี ขึ้นเสาเอก เป็นต้น ถูกต้องไหม?
    วัดท่านสอนอย่างนี้ตามพระพุทธเจ้าถูกต้องแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่าไปเชื่องมงายกับสิ่งที่เป็นฤกษ์เหล่านี้ แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไหมว่าให้ถืออะไร
    พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๘๖ ข้อที่ ๕๙๕ กล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย.."
    ถูกต้องแล้ว เวลานี้คุณต้องทำดี คุณทำดีถึงจะได้ดี เช่น ณ เวลา ๙ โมงคุณทำตัวให้ดี ทำจิตใจให้ผ่องใส ทำจิตใจให้ดี ระลึกถึงแต่พระพุทธเจ้าสิ่งนั้น ณ เวลา ๙ โมงนั้นคือฤกษ์ดีของคุณ แล้วอย่างนี้มันผิดตรงไหน?
    แล้วทำไมเราต้องมาดูฤกษ์ด้วย เพราะว่าจะต้องมีการกำหนดว่าเวลานั้นคุณจะต้องทำดีเป็นพิเศษ สิ่งนั้นก็จะเป็นฤกษ์ดีของคุณ แล้วมันผิดตรงไหน?
    ทำไมถึงไม่ทำเวลานั้นเลย ทำไมถึงต้องทำเวลานี้?
    แล้วทำไมพระอาทิตย์ไม่เกิดเที่ยงคืน แสดงว่าข้างในเขามีศาสตร์ แล้วทำไมเราถึงปฏิเสธพระอาทิตย์ เรานับถือพระพุทธเจ้าแล้วไม่ต้องยุ่งกับพระอาทิตย์ใช่ไหม? แน่ได้หรือไม่
    พระอาทิตย์ก็ต้องหมุนโคจรไปตามดวงอาทิตย์
    พระอาทิตย์ก็มีวิถีของอาทิตย์ เราจึงเอาวีถีการโคจรตรงนี้มาบวกวิถีพุทธเข้าไป มันผิดตรงไหน คุณปัญญาอ่อนต่างหากที่ไม่เข้าใจ

    คนเรา...ทำชั่วได้ทุกนาที พอจะทำดีต้องดูฤกษ์ยาม?
    ไม่ใช่เลย เพียงแต่ว่าเราทำดีตรงนี้ เป็นการทำดีพิเศษ คุณทำชั่วทุกนาทีแต่คุณทำชั่วตลอด เสมอกันไหม? ๑๐ ชั่วโมงเราทำชั่วเสมอกันไหม? ก็ไม่เสมอกัน บางเวลาเราทำชั่วมากกว่าปกติ บางเวลาทำชั่วน้อยกว่าปกติ ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราจะถือว่าเป็นฤกษ์ อันนั้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นขอให้ทำดีเป็นพิเศษ แล้วอย่างนี้มันผิดตรงไหน? หรือว่าเราจะบอกว่าเราทำชั่วสม่ำเสมอ? เลยไม่มีขึ้นลง? แต่ถ้าหากตอบว่าไม่มีการขึ้นลง แสดงว่าขาดพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) จบเลย จะต้องเคลื่อนอยู่ตลอด ไม่มีคำว่าเสมอ
    บางคนบอกว่า เราทำดีเวลาไหนก็ดีเวลานั้น
    ถูกต้อง ทำได้แค่ไหน ก็แค่นั้น คุณทำดีดีแค่ไหน คุณก็ได้ดีแค่นั้น
    ทำไมถึงไม่พูดว่า คุณเวลาไหนทำดีแค่ไหน ก็ได้แค่นั้น
    จะดีหรือจะชั่วขึ้นอยู่กับฟ้าดินด้วยเหรอ? 
    ถามว่าเราอยู่ภายใต้ฟ้าดินไหม? ฟ้าดินจะมีอิทธิพลให้เราได้ทำดีทำชั่วไหม? สมมติว่า เราไปอยู่ทะเลทรายอดยากไม่มีอะไรจะกิน ถ้าเจออะไรที่สามารถกินได้เราก็จะกิน หนีไม่พ้นธรรมชาติฟ้าดินหรอก เราไม่ใช่อรหันต์ทุกคน
    เรายอมรับว่าพระอาทิตย์ส่องแสงสว่างตอนกลางคืนได้ไหม?
    ก็ไม่ได้ ต้องออกกลางวัน แล้วจะมาบอกว่าฉันไม่รู้ ฉันทำดีก็จะต้องได้ดีอย่างนี้
    หนีความจริงไปหมด เอาแต่ความจริงของตนเอง แม้แต่พระพุทธเจ้ายังต้องอยู่ภายใต้พระอาทิตย์ แล้วเราจะไปปฏิเสธฤกษ์ ยาม ได้ยังไง 
    ฤกษ์ยาม ก็คือ เวลาของธรรมชาติที่หมุนเวียน
    เป็นเพราะว่า เราแปลฤกษ์ยามผิด อะไรคือฤกษ์? อะไรคือยาม? กลางวันของพระอาทิตย์ กลางคืนของพระจันทร์ นี่แหละ มันหมุนเวียนกันไป เราจะไปปฏิเสธธรรมชาติอย่างนี้ได้ไหม? เราแน่แค่ไหนที่จะไปปฏิเสธธรรมชาติของพระจันทร์และพระอาทิตย์ เราไม่สามารถปฏิเสธความจริงของธรรมชาติได้ นี่แหละคือฤกษ์ยาม
    ทำไมเวลาพระอาทิตย์จะตกดิน แล้วนกถึงบินกลับรัง แล้วถามว่า นกที่อยู่ในยุโรปจะบินกลับรังไหม? ก็ไม่ได้บินกลับรัง แต่กำลังจะบินออกจากรัง เพราะว่าฟ้าดินกำลังขึ้น นี่แหละ เป็นฤกษ์ยามในพื้นที่ของเขา และฤกษ์ยามในพื้นที่ของเราจึงไม่เหมือนกัน ถ้าจะบอกว่า ตอนนี้กลางคืนฉันจะทำงาน สลับเวลากัน ก็จะวุ่นวายไปหมด
    ฤกษ์-ยาม ก็คือ การหมุนเวียนของธรรมชาติ กาลเวลาของธรรมชาติ 
    เวลาพระอาทิตย์ตกดิน เราก็จะกลับบ้านกัน พระอาทิตย์ขึ้นเราก็จะไปทำงานออกจากบ้านกัน แม้แต่สัตว์พระอาทิตย์ตกดินก็ยังกลับบ้านเลย
    ขนาดพระพุทธเจ้ายังหนีออกจากธรรมชาติไม่ได้ แล้วเรารุ่นอะไรจะทำได้เหรอ

 ปีชง (冲) งมงายไหม?
    มีการสอนว่ามีปีชง แต่พระพุทธเจ้าสอนสุขทุกข์เกิดจากการกระทำ?
    เราต้องแปลคำว่า "ปีชง" (冲chōng) ให้ถูกต้อง เพราะว่าแปลคำว่า "ปีชง" ไม่ถูกเอง เราอย่ามีซี้ซัววิจารณ์
    บางคนบอกว่า ปีชงไม่มีหรอก ชงกันขึ้นมาเอง สร้างกันขึ้นมาเอง สมมติกันขึ้นมาเอง ดีหรือชั่วไม่ได้อยู่ที่วันเดือนปี มันอยู่ที่การกระทำของเรา?
    เราชงไม่มี แต่ปีชงอยู่ในจิตใจของทุกคน หมายความว่า สมมติว่า เราเคยถูกของแหลมแทง แล้วเรากลัวความแหลมไหม? นี่แหละปีชง เราแปลไม่เป็นเอง
    "ชง" ก็คือสิ่งที่เราปฏิฆะขัดเคืองอยู่ในใจของเรา เป็นวิบากกรรมของเรา ถ้าเราถูกงูกัด แม้แต่เชือกบางทีก็ยังกลัวเลย บางคนเจอใส้เดือน จิตใจเหมือนกับเจองูพิษ นี่แหละ เป็นปีชงของเขา
    วิธีแก้ ยกตัวอย่าง ถ้าเรากลัวงู เราก็จะต้องทำดีกับงู แล้วเราจะหายชงไหมล่ะ? ถ้าเราไม่เข้าใจว่าชงคืออะไร แล้วเรามาวิจารณ์ว่าเขาทำไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนก็ว่า มันเป็นเดียรัจฉานจะไปดีกับมันทำไม? นี่แหละเข้าใจผิดแล้ว ยกตัวอย่างบางคนตกใจกับความมืด แล้วเราจะทำให้เขาหายกลัวได้ยังไง? เราจะต้องไปเติมน้ำมันตะเกียงให้สว่างไหม? เราสว่างไว้แล้วเราจะกลัวไหม? เราจุดเทียนขึ้นมา แล้วเกิดความสว่าง นี่แหละแก้ปีชง เราชงความมืด ถ้ามีความสว่างเราก็หายกลัว
    ปีชงเฉพาะกิจ เฉพาะบุคคล เป็นปัจเจกบุคคล แก้ความคิดของเขา แก้จิตของเรา แก้วิบากกรรมของเขา
    พระพุทธเจ้าสอนให้ดูบัวมีตั้ง ๔ เหล่า เพราะว่าแต่ละคนมีวิบากไม่เหมือนกัน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่