คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ตามปพพ มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิ์ในทรัพย์สิน ฉะนั้นหากผู้ซื้อสุจริต กฏหมายจะคุ้มครองผู้ซื้อ แต่กรณีนี้เมื่อคุณนำคำถามมาถามเท่ากับคุณรู้ข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าคุณสุจริตครับ
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิ์ในทรัพย์สิน ฉะนั้นหากผู้ซื้อสุจริต กฏหมายจะคุ้มครองผู้ซื้อ แต่กรณีนี้เมื่อคุณนำคำถามมาถามเท่ากับคุณรู้ข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าคุณสุจริตครับ
แสดงความคิดเห็น
ขอถามเกี่ยวกับกฎหมายที่ดินหน่อยครับ
นาย ก เสียชีวิตก่อนที่มีคำตัดสิน นาย ก มีที่ดินเป็นมรดก ทายาท รับโอนมรดกในที่ดินนั้น และภายหลัง
ต่อมา ทายาทต้องการขายที่ดินมรดกนั้น
คำถามคือ ผู้ที่ซื้อที่ดินที่ทายาทรับโอนมรดกมา จะต้องรับผิดชอบหรือไม่
ถ้าทายาทที่รับโอนถูกบังคับให้ชดใช้ในภายหลัง
ศาลปกครองกลาง ได้ตัดสินยกฟ้องไปแล้ว แต่หน่วยงานรัฐที่เสียหาย ได้อุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสูงสุด
ตอนนี้คดีอยู่ที่ศาลปกครองสูงสุด
ผู้ซื้อ ไม่ได้รู้จักกับผู้ขายมาก่อน เป็นการซื้อโดยสุจริต